ก็ยังยืนยันว่าโอกาสที่อ่านงบการเงินแล้วจะไปเจอการตกแต่งบัญชีแบบรุนแรงมันน้อยมาก ดังนั้นจริงๆแล้วเราไม่ต้องวิตกจริตไปกับเรื่องนี้ก็ได้ แต่บทนี้เราจะเขียนแนะนำวิธีการลดความเสี่ยงสำหรับกลุ่มคนขยันที่หวาดระแวง ยกระดับการระวังตัวไปอีกขั้นนึงครับ
ก็เหมือนวิธีป้องกันตัวจากการโดนต้มตุ๋นประเภทอื่นๆเนี่ยแหละครับ วิธีที่ดีที่สุดคือ ศึกษาวิธีการของโจร เรียนรู้ว่าโจรคิดอย่างไร หลอกกันแบบไหน วิธีการคืออะไร
การป้องกันตัวจากการตกแต่งงบบัญชีก็เหมือนกันครับ ที่ดีที่สุดคือ เราเนี่ยแหละต้องศึกษาวิธีการตกแต่งงบบัญชี เราควรทำความเข้าใจว่าสภาพแวดล้อมบริษัทแบบไหนที่เสี่ยงจะมีการตกแต่งงบบัญชี สาเหตุที่ผู้บริหารจะตัดสินใจทำแบบนั้นเพราะอะไร แล้วถ้าเค้าจะหลอกเรา มันจะตกแต่งงบบัญชีที่ตรงจุดไหนได้บ้าง ตกแต่งได้ด้วยวิธีไหนได้บ้าง แล้วแต่ละวิธีมันจะมีอาการอย่างไร มีจุดสังเกตตรงไหนบ้าง
ผมแนะนำให้อ่านหนังสือเล่มนี้
“Financial Shenanigans: How to detect accounting gimmicks & fraud in financial reports” by Howard M. Schilit
ต้องบอกว่าเขียนได้ดีมาก การเขียนจะแบ่งตามวิธีการตกแต่งงบบัญชีแบบต่างๆ ใช้ภาษาอธิบายที่กระชับเข้าใจง่าย รวมทั้งมีตัวอย่างประกอบเหตุการณ์จริงที่บริษัทใช้วิธีเหล่านั้นทำให้เราเห็นภาพ และผู้เขียนมีการสรุปตลอดว่าวิธีการตกแต่งงบบัญชีเหล่านั้น จะมีสัญญาณผิดปกติทางบัญขีพบได้จากอะไรบ้าง เราต้องคอยสังเกตอะไร
*** แต่แนะนำให้คนที่จะไปอ่านหรือศึกษาเรื่องการแต่งงบบัญชี ช่วยมีพื้นฐานบัญชีก่อนนิดนึง ไม่ได้ต้องบันทึกบัญชีเป็น แค่ต้องเห็นภาพกว้างของบัญชี คุ้นเคยกับ Balance Sheet, Income Statement และ Cash Flow Statement
สรุปว่า ใช่ครับงบการเงินเชื่อถือ 100% ไม่ได้ แต่เราต้องอ่านเพราะมันสำคัญเกินไปที่จะไม่อ่าน
สำหรับคนทั่วไป อ่านไปเถอะ โอกาสจะเจอตกแต่งงบการเงินชนิดแหลกลาญมันน้อยมาก
สำหรับคนขยันที่หวาดระแวง เช่นผมเป็นต้น ศึกษาเพิ่มให้รู้ไปเลยว่าเค้าแต่งงบบัญชีกันยังไง จะได้ไหวตัวทัน
พูดมาขนาดนี้แล้ว ที่เหลือข้ออ้างไม่มีละนะ จากประสบการณ์ที่เคยเจอจะมีเหลืออย่างเดียวก็คือ ลึกๆแล้วขี้เกียจก็เลยไม่อ่าน แต่จะยอมรับตรงก็เขิน เลยหาเหตุผลนู่นนี่มาทำให้ตัวเองไม่ต้องอ่าน ซึ่งผมคงช่วยอะไรกลุ่มนั้นไม่ได้ ทำได้แค่ขอให้ RIP พวกเราอย่าเป็นกลุ่มแบบนั้นเชียวครับ