ทำไมราคาหุ้นแต่ละบริษัทต่างกันเยอะ ทั้งที่บางบริษัทธุรกิจคล้ายกันมาก ?
คำถามนี้เข้าใจไม่ยาก ผมอธิบายให้เห็นภาพด้วยตัวอย่างง่ายๆครับ
สมมติมี 2 บริษัท A กับ B ที่เหมือนกันเป๊ะเลย ขายของเหมือนกันกำไรเท่ากันทุกอย่าง มูลค่าของทั้งบริษัทสำหรับ A และ B ก็ควรเท่ากันถูกมะ เพราะเหมือนกันเป๊ะนี่
ในกรณีนี้สมมติว่ามูลค่าทั้งบริษัทของ A = B = 100 บาทละกัน
สมมติบริษัท A ตัดสินใจออกหุ้นนะ เค้าแบ่งบริษัทออกเป็นทั้งหมด 10 หุ้น แต่ละหุ้นก็ควรจะราคา 10 บาทถูกมะ เพราะ 1 หัุ้นเท่ากับเป็นความเป็นเจ้าของ 10% ของบริษัท (1 หุ้นจากทั้งหมด 10)
ส่วนบริษัท B ออกหุ้นเหมือนกัน เค้าแบ่งบริษัทออกเป็นทั้งหมด 100 หุ้น แต่ละหุ้นก็ควรจะราคา 1 บาทถูกมะ เพราะ 1 หัุ้นเท่ากับเป็นความเป็นเจ้าของ 1% ของบริษัท (1 หุ้นจากทั้งหมด 100)
ก็แค่เนี้ยครับ ราคาหุ้นต่างกันละไง ขนาดว่าบริษัท A กับ B นี่เหมือนกันเป๊ะเลยนะ ดังนั้นราคาหุ้นในตลาดจริงต่อให้ธุรกิจคล้ายๆกันก็ไม่จำเป็นต้องราคาเท่ากันเพราะ
- บริษัทคล้ายแค่ไหนแต่ในรายละเอียดจริงๆก็ทำกำไรหรือสถานะทางการเงินต่างกัน
- จำนวนหุ้นที่ออกไม่เท่ากัน
นั่นคือเหตุผลที่เวลาคนดูว่าหุ้นแพงหรือเปล่า เค้าก็จะไม่พูดถึงราคาหุ้นอย่างเดียว เค้าจะดูราคาเทียบกับอะไรซักอย่าง เช่นเทียบกับกำไรต่อหุ้น (P/E) หรือเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้นต่อหุ้น P/BV เพราะราคาเดี่ยวๆมันไม่ได้สื่ออะไรเท่าไหร่น่ะครับ
ดังนั้นถ้าคุณเจอคนที่เค้าบอกรู้สึกว่าหุ้นบริษัทที่ราคาหลักร้อยแพง หุ้นที่ราคาไม่ถึงบาทนี่ถูก เพราะด้วยเงินเท่ากันซื้อได้จำนวนหุ้นเยอะกว่า คุณต้องรีบอธิบายให้เค้าฟังเลยว่าเค้ากำลังเข้าใจผิดอยู่ หุ้นราคาหลักร้อยแค่ราคาสูงแต่ไม่ได้แปลว่าแพง และหุ้นที่ราคาไม่ถึงบาทนี่ก็แค่ราคาต่ำไม่ได้แปลว่ามันถูก จุดสำคัญมันอยู่ที่ว่าหุ้นหนึ่งหุ้นนั้นมันเท่ากับเราเป็นเจ้าของอะไรมากกว่าโอเคนะ
ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ
หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂
ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/
หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg
ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/
หรือ ทดลองเรียนฟรี