ตัวบ่งชี้เศรษฐกิจ (Economic Indicator) ที่เราควรรู้ หลักๆคืออะไร หาได้จากไหน ?
มีนักเรียนอยากให้เราพูดถึง “การมองจังหวะเข้าซื้อ กรณี Top Down Approach ว่าควรมองยังไง สังเกตอะไรเป็นสัญญาณ/ตัวชี้วัด หรือดูค่ากราฟของเศรษฐกิจยังไง”
คุยกันให้ชัดเจนก่อนเลยคือเวลาที่ผมลงทุนเงินของตัวเอง ผมไม่ได้ใช้ Top Down approach และก็ไม่ได้ใช้สัญญาณหรือตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจอะไรในการตัดสินใจก็เลยไม่ได้มีสอนเรื่องนี้บน Online Course แต่เนื่องจากเคยเรียนเศรษฐศาสตร์มาและในเมื่อนักเรียนอยากให้พูดถึงผมก็จะอธิบายเท่าที่รู้ให้ฟังในวีดิโอนี้ แต่ผมอธิบายได้แค่ว่า Economic indicator แต่ละอย่างคืออะไรและบอกอะไรกับเราได้เท่านั้น จะเอามันไปใช้มองจังหวะเข้าซื้อยังไงคุณคงต้องไปคิดเองละผมช่วยไม่ได้เพราะตัวผมไม่ได้ใช้
- GDP Growth
- อัตราการว่างงาน
- เงินเฟ้อ
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
- ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ
- ตัวเลขการซื้อสินค้าทุน, ยอดขายเครื่องจักรและตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน
อันแรกที่คนพูดถึงบ่อยสุดก็คือเลขการเติบโตของ GDP (Gross domestic product) หรือผลผลิตมวลรวมของประเทศ
อันนี้ก็ตรงไปตรงมา ถ้าตัวเลขนี้เป็นตัวเลขติดลบก็คือเศรษฐกิจโดยรวมหดตัว หรือถ้าเลขนี้เป็นบวกนะแต่น้อยลงเรื่อยๆในช่วงปีที่ผ่านๆมาก็มักเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจโตใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว
จุดบอดอย่างหนึ่งของตัวเลขนี้คือมันต้องเก็บข้อมูลเยอะมันก็จะอัพเดท real-time ไม่ได้ ดังนั้นเลขส่วนใหญ่ที่รู้ชัดเจนก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว ถ้าจะเอาไว้ดูอนาคตมันก็จะไม่มี มีแต่เลขคาดการณ์ ซึ่งไปดูได้ของ Bank of Thailand กับของ IMF
https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/MonetPolicyComittee/MPR/Pages/default.aspx
https://www.imf.org/external/datamapper/NGDP_RPCH@WEO/OEMDC/ADVEC/WEOWORLD
โดยปกติเลขนี้สูงขึ้นก็คือคนว่างงานเยอะขึ้น มันก็เป็นสัญญาณว่าไม่ดีแหละ
แต่สำหรับประเทศไทยเลขนี้ผมรู้สึกว่าไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่เพราะประเทศไทยเราอัตราการว่างงานต่ำมาก เข้าใจว่าเป็นเพราะประเทศไทยเรามี informal sector ใหญ่ แต่สมมติใครอยากดูตัวเลขนี้ก็ไปดูได้ที่เวปธนาคารแห่งประเทศไทยอีกเช่นกัน
https://www.bot.or.th/Thai/Segmentation/Business/Pages/UnemploymentRate.aspx
สูงไปไม่ดี ต่ำไปก็ไม่ดี ต้องมีแบบอ่อนๆกำลังดี
https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=409&language=TH
อันนี้มันเป็นตัวเลขจากการสุ่มสอบถามความคิดเห็นคนว่าคิดว่าจะจับจ่ายซื้อของเพิ่มขึ้นหรือเท่าเดิมหรือว่าลดลง เค้ารวมเอาคำตอบมาทำเป็น index ถ้าตัวเลขเกิน 50 ก็คือคนตอบว่าเพิ่มขึ้นมีเยอะกว่า ก็แปลว่าคนเชื่อมั่นและน่าจะมีการบริโภคมากขึ้น เลข 50 พอดีคือเท่าเดิม ส่วนเลขต่ำกว่า 50 คือคนตอบว่าน้อยลงมีเยอะกว่า
ผมเห็นมีตัวเลขนี้อยู่ที่เวปของกระทรวงพาณิชย์
http://www.indexpr.moc.go.th/PRICE_PRESENT/cbi/cbi_index.asp?list_year=2563&type_index=cci&lu=t
คล้ายๆกับของผู้บริโภคแต่เปลี่ยนเป็นถามผู้ประกอบการแทน
หาได้บนเวปของธนาคารแห่งประเทศไทย “ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ”
https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/EconomicIndices/Pages/default.aspx
พวกนี้ก็เป็นตัววัดความต้องการของคนในตลาดแบบหนึ่ง ถ้าผู้บริโภคซื้อของ ผู้ผลิตก็จะซื้อของและมีผลิตซึ่งสะท้อนในตัวเลขเหล่านี้
หาได้บนเวปของธนาคารแห่งประเทศไทยเช่นกัน “ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนและองค์ประกอบที่ปรับฤดูกาล”
https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/EconomicIndices/Pages/default.aspx
และจะเห็นว่ามีข้อมูลอื่นๆอีกมาก ก็ขอให้ไปดูเองละกันครับ
ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ
หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂
ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/
หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg
ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses