ไปลงทุนต่างประเทศ โบรกเกอร์ไหนดี ?
มีคนถามผมว่าเปิดพอร์ตหุ้นต่างประเทศกับโบรกเกอร์ไหนดี ? มันมีความแตกต่างกันมั้ย ? ปกติผมก็จะตอบว่าแต่ละโบรกเกอร์ก็มีความต่างกันบ้างเหมือนกัน แต่เปิดกับโบรกเกอร์ที่เราสะดวกน่ะแหละ เรามีบัญชีอยู่แล้วกับ SCB หรือ KBANK ก็เปิดกับเจ้านั้น แต่วันนี้เราจะมาเปรียบเทียบกันอย่างละเอียดที่สุดเท่าที่ผมรู้ละกันนะครับ
ค่าธรรมเนียมซื้อขาย
โดยภาพรวม KBANK จะชนะครับ ประเทศส่วนใหญ่ค่าธรรมเนียม SCB กับ KBANK จะเท่ากัน แต่ KBANK จะดีกว่าตรงค่าธรรมเนียมขั้นต่ำต่ำกว่า ดังนั้นถ้าสมมติเรากะจะซื้อประมาณหลักหลายแสนซื้อผ่าน KBANK ก็จะได้เปรียบ แต่ถ้าเราเป็นพวกซื้อครั้งนึงเป็นล้านอยู่แล้ว SCB กับ KBANK ก็จะไม่ต่างกัน ส่วน Kim Eng โดยรวมจะแพงกว่าคนอื่นเกือบทุกตลาด
แต่ไม่ใช่ว่า KBANK จะดีสุดตลอดนะครับ SCB จะค่าธรรมเนียมต่ำสุดตลาดหุ้นเวียดนาม KBANK ผมเห็นเด่นแคนาดา ส่วน Kim Eng จะเด่นเกาหลี
ค่าใช้จ่ายตอนโอนเงินออกจากหรือกลับเข้ามาไทย
เรื่องนี้ SCB จะดีกว่า KBANK
ของ SCB มีเฉพาะตอนเอาเงินกลับไทย ครั้งละ 500 บาท
KBANK มีทั้งตอนโอนเงินออกและกลับเข้ามา ครั้งละ 1,300
ส่วน Kim Eng เห็นว่าจะมีทั้งตอนโอนเงินออกและเอากลับมา ครั้งละ 500 หรือ 1,000 บาทแล้วแต่สกุลเงินที่เราแปลงไปหรือกลับมา
ดูแล้วเรื่องนี้ SCB ดีสุดชัดเจน
ตลาดที่ไปได้
หัวข้อนี้ต่างอยู่ เป็นเหตุผลที่ทำไมผมมีบัญชี SCB อยู่แล้วแต่ยังจะไปเปิดบัญชีกับ KBANK เพราะมันมีบางประเทศที่ไปได้ต่างกันนี่แหละ ตลาดหุ้นหลักๆทั่วประเทศนี่ไปได้อยู่แล้ว แต่มันจะมีบางประเทศที่ต่างกัน ผมไปเช็คบนเวปเค้าผลปรากฎว่า SCB ไปได้น้อยสุดละ
SCB ครอบคลุมตลาดหลักๆทั้งหมด
KBANK จะมีเพิ่มจาก SCB คือ Norway, Poland, Ireland, Austria, Turkey
Kim Eng จะมีเพิ่มจาก SCB คือ Norway, Ireland, Greece, Luxembourg
แต่แปลกมากที่ตลาดใหญ่ๆบางประเทศไม่มีโบรกเกอร์ไหนไปได้เลยเช่น South Africa, India
ข้อมูลพวก research
ของ SCB และ KBANK ก็ค่อนข้างน้อยทั้งคู่ครับ แต่เข้าใจว่าในอนาคตถ้ามีการลงทุนหุ้นต่างประเทศได้รับความนิยมเยอะขึ้นลูกค้าเยอะขึ้นเค้าจะมีเพิ่มขึ้นมาเอง ส่วน Kim Eng ยังไม่เคยใช้บริการผมไม่ทราบจริงๆ
โดยรวมก็ไม่ต้องคิดมาก คิดซะว่าต้องทำการหาข้อมูลเองแน่ๆไว้ก่อน
สรุปว่า ถ้าเป็นผมก็จะใช้ของ SCB เป็นหลักเพราะผมจะให้ความสำคัญกับเรื่องของค่าธรรมเนียมมากกว่าเรื่องอื่น ถ้าสังเกตเรื่องค่าธรรมเนียมซื้อขายกับค่าธรรมเนียมโอนเงินเข้าออก SCB จะดีสุด แล้วก็น่าจะเป็น KBANK ตามมาในบางกรณีที่ไปซื้อหุ้นในตลาดที่ SCB ไปไม่ได้ อย่าง Norway, Poland, Turkey ก็น่าสนใจอยู่ครับ ส่วนถ้าเป็นคุณก็เอาตามที่สะดวกเลยครับผมมาให้ข้อมูลเฉยๆไม่ได้มีใครจ้างมาอยู่แล้วครับ
หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂
ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/
หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg