เสริมสร้างฐานะทางการเงิน 4 – ปรับจูนแผนการออม

Improve your financial life 4 – Calibrate your savings rate

save-money-and-the-money-will-save-you

จากหัวข้อที่แล้วเราจะมีเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจนมากขึ้นแล้ว  ตอนนี้เรามาพูดถึงการปรับแผนการออมให้ละเอียดขึ้นเพื่อให้เราไปถึงเป้าหมายนั้นกัน

ปกติในการปรับจูนแผนการออม  อย่างแรกเลยคือเอาเป้าหมายทางการเงินของเราเป็นตัวตั้ง  จากนั้นพิจารณาปัจจัยหลักๆคือ  รายได้ของเรา, เงินออมที่มีอยู่แล้ว ณ ปัจจุบัน, ระยะเวลาที่จะถึงวันเกษียณ  และผลตอบแทนที่คาดหวังจากการเอาเงินออมไปลงทุน  แล้วคำนวณดูว่าจะต้องออมเพิ่มเป็นเงินเดือนละหรือปีละเท่าไหร่กันแน่

ขั้นตอนคือทำตามนี้เลย

  1. จัดเรียงลำดับความสำคัญของเป้าหมาย

ขั้นตอนนี้น่าจะได้ทำมาตั้งแต่บทความหัวข้อที่แล้ว  หรือจะตั้งเดี๋ยวนี้เลยก็ได้  เอาเป้าหมายที่สำคัญที่สุดก่อนอย่างเช่น  จ่ายหนี้, เตรียมเงินก้อนสำรองเผื่อฉุกเฉิน  แล้วค่อยตามด้วยเรื่องอื่น  ลองตั้งดูซักเรื่องก่อน

  1. ตีเป้าหมายนั้นออกมาเป็นมูลค่าตัวเงิน

ถ้าเป็นเป้าหมายระยะสั้นพวกที่ต้องจ่ายปีหน้า  เช่น  ปีหน้าจะดาวน์คอนโด  ลักษณะนี้ก็ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องเงินเฟ้อ  ใช้ตัวเลขตรงๆไปเลย  แต่สมมติมันเป็นเป้าหมายห่างไกลออกไปหลายปี  ก็อาจจะต้องประมาณการณ์เงินที่ต้องใช้เผื่อเงินเฟ้อเข้าไปด้วย  ใช้เวปนี้ก็ง่ายดี http://www.calculatorweb.com/calculators/inflationcalc.shtml

  1. คำนวณเงินที่ต้องออมสำหรับเป้าหมายทั่วไป (ที่ไม่ใช่เรื่องการเกษียณ)

พอได้เป้าหมายตีเป็นมูลค่าตัวเงินคร่าวๆแล้ว  สิ่งที่ทำต่อคือคำนวณว่าเงินที่มีอยู่พอหรือยัง  และสมมติไม่พอต้องเก็บเงินเพิ่มกี่บาท  สำหรับเป้าหมายทั่วไปที่ไม่ใช่เรื่องการเกษียณ  ลองใช้เวปนี้ก็ได้ครับง่ายดี

http://www.thecalculatorsite.com/finance/calculators/savings-goal-calculator.php

ตัวอย่างวีธีใช้  สมมติเป้าหมายเราคือจะสะสมเงิน 300,000 บาททำอะไรซักอย่าง  ตอนนี้มี 70,000 บาทละ  อยากมีเงินให้ถึงเป้าหมายภายใน 2 ปี  สมมติว่าไม่ได้ลงทุนอย่างอื่นฝากเงินเฉยๆ  สมมติว่าดอกเบี้ยเงินฝาก 1% เวลาใส่ข้อมูลก็พิมพ์ใส่ไปในช่องตามนี้

Currency                                           ไม่ต้องสน  เป็นอะไรก็ได้

Savings Goal Total                          300,000

Current Savings Balance              70,000

Annual Interest Rate                     1%

Number of Years                            2

แล้วก็กดปุ่ม Calculate  มันจะขึ้นผลมาข้างล่าง  ดูตรง Monthly Deposit Required  เลขตัวนั้นคือบอกว่าจะต้องออมเดือนละเท่าไหร่  อย่างกรณีในตัวอย่างนี้มันจะได้ว่า  ต้องออมเพิ่มเดือนละ 9433.75 บาท  ถึงจะได้ตามเป้าในเวลาที่กำหนด

ลองไปเล่นดูครับ  ปรับตัวแปรต่างๆดูเอาให้มันเหมาะสมกับเป้าหมายส่วนตัวของตัวเอง

  1. วางแผนการออมสำหรับการเกษียณอายุ

อันนี้มันจะซับซ้อนกว่าการวางเป้าหมายทั่วไป  ก็เลยต้องใช้เครื่องมือคำนวณที่มีรายละเอียดมากกว่าหัวข้ออื่น  ผมเคยเห็นในเวปของธนาคารและบริษัทที่ให้บริการเรื่องกองทุนโดยปกติจะมีให้ทำออนไลน์  หรือไม่ก็ใช้ Excel Sheet ของผมก็ได้  เคยมีทำไว้  สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่

https://drive.google.com/open?id=1TP7t5aJmyoEr15vuB676_dIjMLdXl_AK

มันจะมีอยู่ 4 หน้า ข้างล่างคือ  Personal Data, Provident Fund, Assumptions กับ Result

เวลาเข้าไปทำ  ก็คือแค่กรอกข้อมูลของตัวเองลงไปในช่องที่ผมทำสีเขียวไว้  ทำเรียงไปทีละอันแค่นั้นเอง  ถ้าเราไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพก็ปล่อยว่างเอาไว้  พอใส่ครบหมดแล้วผลลัพธ์หน้าสุดท้ายมันจะบอกเลยว่าการออมของเรามันพอมั้ย  ถ้าไม่พอแล้วต้องออมเท่าไหร่

  1. กรณีที่เงินที่ต้องออมสูงจนไม่มีทางทำได้

เราอาจจะต้องย้อนกลับไปดูถึงเรื่องกระแสเงินสดของเราละ  ไปดูว่าเราสามารถจัดการลดค่าใช้จ่ายตรงไหนได้อีกมั้ย  เพื่อให้เราสามารถออมต่อเดือนได้มากขึ้น  เรามีพูดถึงหัวข้อนี้ไปแล้วในซีรี่ส์นี้บทความที่ 2 หรือเราอาจจะลองเกี่ยวกับหุ้นมากขึ้น  ทั้งจะลงทุนในกองทุนหุ้นหรือลงทุนในหุ้นด้วยตัวเอง  เพื่อเพิ่มโอกาสทำผลตอบแทนต่อปีที่สูงขึ้น  แต่ใช้ความระมัดระวังในการปรับประมาณการณ์เรื่องผลตอบแทนคาดหวังนะครับ  อย่าให้มันสูงเกินไป  เผื่อไว้ด้วยว่าถึงเวลาจริงผลลตอบแทนที่เราคาดหวังไว้อาจจะได้ได้ไม่ถึงที่คาดก็ได้

ถ้ามันยังไม่ได้จริงๆ  แปลว่าเราต้องหารายได้เพิ่มแล้วล่ะ  สิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้มันไม่น่าจะตอบโจทย์ชีวิตเราแน่นอนละครับ