กลายเป็นว่า พอร์ตความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนดีกว่า!
เมื่อเร็วๆนี้ผมไปอ่านเจอว่าดัชนีหุ้นที่เน้น Minimum volatility ทำได้ดีกว่าดัชนี benchmark อย่างมีนัยสำคัญ ผมเลยเอาเรื่องนี้มาเล่าให้ฟังครับ
Minimum volatility มันก็เป็นไอเดียการลงทุนแบบนึงที่เน้นจัดพอร์ตการลงทุนเลือกหุ้นให้โดยรวมความผันผวนต่ำที่สุดไว้ก่อนโดยที่ไม่สนใจเรื่องผลตอบแทนคาดหวัง (expected return) ซึ่งถ้าตามทฤษฎีแล้วมันก็เป็นจุดที่อยู่ซ้ายสุดบน efficient frontier น่ะแหละ
ทีนี้ในทางทฤษฎีมันก็ควรจะใช้การได้นะ แต่มันไม่น่าจะผลตอบแทนดีมากได้เพราะตามทฤษฎีคือยิ่งอะไรที่มีความเสี่ยงต่ำผลตอบแทนมันก็ควรจะต่ำตาม เพราะถ้าอะไรที่ความเสี่ยงต่ำด้วยและผลตอบแทนสูงด้วยคนก็น่าจะแห่มาทำแบบเดียวกันจนทำให้ราคาของมันสูงขึ้นและดังนั้นผลตอบแทนก็จะต่ำลงจนสอดคล้องกับความเสี่ยง
แต่ผลปรากฎว่าดัชนีที่ใช้ Minimum volatility เป็นเกณฑ์ชนะดัชนีที่เป็นค่าเฉลี่ยตลาดครับ แล้วก็ไม่ใช่แค่ในตลาดใดตลาดหนึ่งด้วยนะ แต่เป็นแบบนั้นทั้งโลกครับ ผมเอาตัวอย่างมาให้ดู
MSCI World Minimum Volatility vs. MSCI World ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีย้อนหลังไม่ว่าจะเป็น 3ปี, 5ปี, 10ปี หรือนับตั้งแต่ก่อตั้ง Minimum Volatility ก็ชนะมาโดยตลอดประมาณปีละ 1% https://www.msci.com/documents/10199/4d26c754-8cb9-4fa8-84e6-a51930901367
ถ้าเทียบในตลาดหุ้นอเมริกา MSCI USA Minimum Volatility vs. MSCI USA ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีย้อนหลังไม่ว่าจะเป็น 3ปี, 5ปี, 10ปี หรือนับตั้งแต่ก่อตั้ง Minimum Volatility ก็ชนะมาโดยตลอดเช่นกัน แต่ส่วนต่างแคบลงมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้านับช่วงยาวๆ https://www.msci.com/documents/10199/f5c0900d-ab44-4bdd-bec7-94761d009094
ส่วนยุโรป MSCI Europe Minimum Volatility vs. MSCI Europe ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีย้อนหลังไม่ว่าจะเป็น 3ปี, 5ปี, 10ปี หรือนับตั้งแต่ก่อตั้ง Minimum Volatility ก็ชนะมาโดยตลอดเช่นกัน แล้วชนะแบบทิ้งห่างด้วยนะ https://www.msci.com/documents/10199/ddd35203-4b36-4c5b-b2cb-2c77e0e4a751
ส่วนในเอเชีย MSCI AC Asia Pacific ex. Japan Minimum Volatility vs. MSCI AC Asia Pacific ex. Japan นี่แปลกออกไปหน่อย ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีย้อนหลังระยะสั้น 3ปี กับ 5ปี Minimum Volatility แพ้ แต่ถ้าเป็นช่วงยาว 10ปีหรือนับตั้งแต่ก่อตั้ง Minimum Volatility ก็ชนะอยู่และจริงๆก็ชนะอยู่มากกว่า 1% ต่อปีทีเดียว https://www.msci.com/documents/10199/4db07b71-9b9d-405e-a7c4-06b0854603ea
สาเหตุที่ทำไม Minimum Volatility ถึงผลตอบแทนดีกว่าก็มีคนพยายามออกมาให้เหตุผลอธิบายหลากหลาย บางคนก็บอกว่าอาจเป็นเพราะพวกนักลงทุนสถาบันหรือพวกกองทุนเค้าถูกวัดผลจากผลตอบแทนเทียบกับค่าเฉลี่ยก็เลยทำให้ส่วนใหญ่เลือกที่จะลงทุนในหุ้นที่มีความผันผวนมากกว่าและผลตอบแทนคาดหวังสูงกว่าจนทำให้หุ้นพวกนั้นแพงในขณะที่หุ้นที่ผันผวนต่ำกว่าไม่ได้รับการสนใจเลยทำให้มันราคาถูก หรือบางคนก็บอกว่าเป็นเพราะหุ้นที่มีความผันผวนมากกว่าถูกพูดถึงในข่าวบ่อยกว่าทำให้คนสนใจมากเกินเลยทำให้ราคาพวกนี้แพง แต่เอาจริงๆก็คือไม่มีใครรู้ว่าทำไมอย่างชัดเจน
แล้วเมื่อรู้แบบนี้แล้วเราจะลงทุนแบบ Minimum Volatility ยังไง สำหรับคนที่เลือกหุ้นรายตัวลงทุนด้วยตัวเองก็คงทำอะไรไม่ได้เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับเราเท่าไหร่ แต่สำหรับคนที่ลงทุนในกองทุนรวมในไทยมันมีกองทุนรวมประเภทนี้อยู่แน่นอนครับ
สำหรับใครที่อยากอ่านว่าวิธีการสร้างตัวดัชนีของ MSCI เค้าทำยังไงผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้ตรงนี้ครับ https://www.msci.com/eqb/methodology/meth_docs/MSCI_Minimum_Volatility_Methodology_Sep2017.pdf
ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ
หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂
ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/
หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg