การที่ Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายกับเงินเฟ้อที่สูงมีผลกับตราสารหนี้อย่างไร ?
การที่ Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายกับเงินเฟ้อที่สูงมีผลกับตราสารหนี้อย่างไร ?
อันนี้มีคนถามเข้ามา แล้วก็พบว่ายังไม่เคยทำวีดิโอตอบเรื่องนี้ เราตอบไปทีละเรื่อง
เริ่มจากดอกเบี้ยนโยบายมีผลยังไงกับตราสารหนี้ก่อน
การทำงานของการขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เคยอธิบายไปแล้วในวีดิโอก่อนหน้านี้ https://youtu.be/ucZ13xGl8BU
อย่างที่เข้าใจ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายทำให้ต้นทุนระยะสั้นของเงินของธนาคารพาณิชย์สูงขึ้น และดังนั้นสถาบันการเงินก็จะปรับอัตราดอกเบี้ยปล่อยกู้สูงขึ้นตาม
ทีนี้ต้องนึกภาพว่า การปล่อยกู้และการยืมเงินมันก็เป็นกลไกตลาดมันมีการแข่งขัน มันส่งผลถึงกันหมด
ถ้าตอนนี้อัตราดอกเบี้ยปล่อยกู้สูงขึ้น ซักพักอัตราดอกเบี้ยเงินฝากก็จะสูงขึ้นด้วยเพราะธนาคารจะยินดีให้ดอกเบี้ยเยอะขึ้นจากการที่เค้ารู้ว่าเค้าปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น
พอพวกผลตอบแทนจากเงินฝากสูงขึ้น ตราสารหนี้ที่กำลังจะออกใหม่ก็ต้องอัตราผลตอบแทนสูงขึ้นด้วย ไม่งั้นก็ไม่มีคนซื้อ
แล้วพอตราสารหนี้ออกใหม่มันให้ผลตอบแทนสูงขึ้น มันก็ไปแข่งกับตราสารหนี้ที่มีอยู่เดิมมะ ตราสารหนี้ที่มีอยู่เดิมมันกำหนดไว้อยู่เดิมว่าจ่ายดอกเบี้ยอะไรเท่าไหร่นี่เปลี่ยนไม่ได้ ความน่าสนใจมันก็จะลดลงโดยเปรียบเทียบกับตราสารหนี้ที่ออกใหม่ใช่มะ ก็เลยทำให้คนอยากได้น้อยลงราคาก็ตกครับ ตกมาจนกว่าผลตอบแทนของการถือตราสารหนี้ที่มีอยู่เดิมกับที่ออกใหม่มันไม่ต่างกันน่ะ
ส่วนการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ส่งผลกลับกัน มันก็ทำให้ต้นทุนของเงินระยะสั้นธนาคารพาณิชย์ต่ำลง แล้วก็เลยปล่อยกู้ระยะสั้นได้ต่ำลงด้วย แล้วสุดท้ายก็ส่งผลไปถึงผลตอบแทนพวกตราสารหนี้ออกใหม่ต่ำลง ราคาตราสารหนี้ที่อยู่เดิมก็เลยสูงขึ้นครับ
ส่วนเงินเฟ้อสูงล่ะ มีผลยังไงกับตราสารหนี้
จริงๆเงินเฟ้อเนี่ย โดยตัวมันเองโดดๆ ไม่ได้มองว่ามันทำให้ธนาคารกลางต้องขึ้นดอกเบี้ยหรือมองว่าเศรษฐกิจจะไม่ดีหรืออะไรนะ ผลโดยตรงคือมันทำให้ทุกสินทรัพย์ผลตอบแทนลดลงหมด ไม่ใช่แค่เฉพาะตราสารหนี้ ต่อให้เราบอกไม่ลงทุนเลยฝังเงินในไหอยู่หลังบ้าน เงินของเราก็ซื้อของได้น้อยลงและลดค่าอยู่ดี
ส่วนผลในทางอ้อมของเงินเฟ้อสูง มันจะเริ่มไม่ชัดละ
อาจมีผลกับตราสารหนี้ในแง่ว่ามันก็จะมีสินทรัพย์บางอย่างที่ต้านผลกระทบของเงินเฟ้อได้ดีกว่าอย่างอื่น เช่น ตราสารหนี้พวกที่ระบุไว้ว่าผลตอบแทนปรับขึ้นหรือลงตามเงินเฟ้อ อันนี้ก็ชัดเจนว่าต้านผลเงินเฟ้อได้ดี หรืออาจจะเป็นหุ้นบริษัทที่ผลประกอบการดีขึ้นในช่วงเงินเฟ้อเพราะสามารถปรับราคาได้ หรืออาจจะเป็นการลงทุนในบริษัทที่ขายสินค้าที่เป็นต้นเหตุของเงินเฟ้อนั่นแต่แรก เช่นบริษัทน้ำมัน หรืออาจจะเป็นการลงทุนในตัว commodity เลย เมื่อเปรียบเทียบสินทรัพย์ที่ต้านเงินเฟ้อได้ดีกว่ากับตราสารหนี้ซึ่งปกติผลตอบแทนมันคงที่ล็อคเอาไว้ สินทรัพย์ที่ต้านเงินเฟ้อได้ก็จะได้รับความสนใจมากกว่าในช่วงเงินเฟ้อสูงโดยเปรียบเทียบ ดังนั้นเงินลงทุนของคนบางส่วนก็จะขายตราสารหนี้แล้วไปซื้อสินทรัพย์พวกนั้นแทน ก็จะมีผลกับราคาตราสารหนี้บ้าง
หรือบางทีมันอาจจะทำให้คนกลัวว่าจะเกิดปัญหาเศรษฐกิจ แล้วก็เลยหนีจากสินทรัพย์เสี่ยงมาตราสารหนี้มากขึ้นก็เป็นไปได้
หรือบางทีมันอาจจะทำให้ Fed มีนโยบายขึ้นดอกเบี้ยแล้วทำให้ตราสารหนี้ราคาตกก็เป็นไปได้
ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ
หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂
ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/
หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg
ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/
หรือ ทดลองเรียนฟรี