Earnings ชื่อต่างๆที่อาจเจอในงบการเงินต่างประเทศ

What are these different earnings: reported, operating, core, pro forma?

Earnings ชื่อต่างๆที่อาจเจอในงบการเงินต่างประเทศ

มีคนอ่านงบการเงินภาษาอังกฤษแล้วไปเจอคำพวกนี้  เค้าถามว่ามันต่างกันอย่างไร

Reported earnings กับ Basic earnings เป็นอันเดียวกัน  เค้าหมายถึงกำไรสุทธิที่รายงานตามมาตรฐานบัญชี  มาจากรายได้ที่หักค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้ว  ซึ่งมันก็เป็นตัวเลขที่ถือว่าแฟร์เพราะทุกบริษัทต้องบันทึกภายใต้กฎเดียวกันหมด

Total Revenue – Cost of Goods Sold – Selling, General and Admin expenses – Depreciation – Interest – Tax

แต่ Reported earnings มันก็จะมีผลของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเข้ามาเกี่ยว  ซึ่งตรงนี้มันมาจากโครงสร้างเงินทุนของบริษัทว่าใช้หนี้เยอะมั้ย  มันไม่ค่อยเกี่ยวกับการบริหารตัวธุรกิจเท่าไหร่  ดังนั้นมันก็เลยมีบางคนที่นิยมดูตัว Operating earnings แทน  ถ้าเป็นภาษาไทยอันนี้คือกำไรจากการดำเนินงานหรือคือกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายทางการเงินและภาษีเงินได้  ตัว EBIT น่ะครับ

Total Revenue – Cost of Goods Sold – Selling, General and Admin expenses – Depreciation

ส่วน Core earnings นี่เป็นตัวที่โดยหลักการคือต้องการจะดูกำไรที่เกิดจากธุรกิจหลักของบริษัท  ดังนั้นเค้าก็พิจารณารายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของบริษัท  แล้วก็ตัดพวกรายการพิเศษออกเช่น ค่าใช้จ่ายที่มาจากการฟ้องร้อง, กำไรจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าเงินลงทุนในสินทรัพย์เผื่อขาย, ฯลฯ

Pro Forma earnings หรือก็คือ Adjusted earnings  พวกนี้คือปรับยังไงก็ได้เลยแล้วแต่ผู้บริหาร  เค้าก็จะอ้างว่าเป็นการปรับตัวเลขตัดนู่นนี่ออกหรือไม่นับรายการบางอย่างเพื่อให้สะท้อนผลประกอบการของบริษัทได้ชัดเจนขึ้น  อารมณ์มันจะคล้ายๆกับ Core earnings นะแต่ยิ่งยืดหยุ่นมากขึ้นไปอีก

Reported earnings กับ Operating earnings ถือเป็นตัวเลขที่ยึดหลักตามมาตรฐานบัญชี

แต่ Core earnings กับ Pro Forma นี่ถือว่าไม่ใช่ตัวเลขที่ยึดหลักตามมาตรฐานบัญชีละ  เวลาดูต้องใช้ความระมัดระวังมาก  ไม่สามารถใช้ตัวเลขนี้ในการเปรียบเทียบข้ามบริษัทได้  และต่อให้เป็นการเปรียบเทียบแต่ละปีของบริษัทเดียวกันก็ยังต้องใช้ความระมัดระวัง  ปกติมันจะมีหน้า reconciliation ที่แจกแจงว่าเลขพวกนี้ปรับมาจากกำไรสุทธิปกติยังไงบ้าง  ถ้าจะดู earnings สองอันนี้ต้องดูรายละเอียดที่มาทุกครั้ง

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม คืออะไร ? ต่างจากกำไรสุทธิยังไง ?

What is Comprehensive Income? How different is it from Net Income?

กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวม คืออะไร ? ต่างจากกำไรสุทธิยังไง ?

มีคนถามหัวข้อนี้ว่ามันต่างกันอย่างไร  แล้วเราต้องดูอันไหน

สองอันนี้มันจะมีความเกี่ยวข้องกันและจะอยู่ใกล้ๆกันบนงบกำไรขาดทุน  งบกำไรขาดทุนสาระสำคัญคือมันก็พูดว่าบริษัทขายของไปมีรายได้เท่าไหร่มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างแล้วสุดท้ายกำไรหรือขาดทุนเหลือเท่าไหร่  บรรทัดสุดท้ายของงบกำไรขาดทุนก็จะเป็นกำไร(ขาดทุน)สุทธิ พอจบส่วนนั้นปุ๊บต่อมาก็จะเป็นส่วนของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จเลย

สาระสำคัญของกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นคือพวกกำไรหรือขาดทุนที่ถูกกำหนดให้บันทึกแยกออกจากกำไรสุทธิบนงบกำไรขาดทุนเพราะพวกนี้ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง  การจะนับว่ารายได้, รายจ่าย, กำไรหรือขาดทุนเกิดขึ้นจริงคือตัวธุรกรรมมันจะต้องถูกทำเรียบร้อยแล้ว เช่นเมื่อได้มีการขายเงินลงทุนไปแล้ว สมมติบริษัทมีซื้อตราสารหนี้เอาไว้แบบเป็นหลักทรัพย์เผื่อขายแล้วเกิดราคามันสูงขึ้นหรือต่ำลง  มันก็จะมีการบันทึกการเปลี่ยนแปลงราคานั้นอยู่ในกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น เมื่อบริษัทมีการขายตราสารหนี้นั้นจริงๆแล้วเท่านั้นถึงจะไปบันทึกผลกำไรขาดทุนในงบกำไรขาดทุน มันจะมีรายการบางอันด้วยที่อาจจะไม่ผ่านงบกำไรขาดทุนเลยแต่มีการเปลี่ยนแปลงตัวส่วนของผู้ถือหุ้นบนงบดุลตรงๆเลยแต่ผมจำไม่ได้ว่ารายการเรื่องอะไรบ้าง•

รายการกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นเช่น

  • ผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยน
  • ผลกำไร (ขาดทุน) จากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย  พวกนี้คือสำรองผลประโยชน์ของพนักงาน

ทีนี้คำถามคือแล้วเราควรจะดูอันไหน  ส่วนตัวผมแนะนำให้ดูตัวกำไรสุทธิเป็นหลัก  เพราะมันเป็นอันที่เป็นสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับกิจกรรมหลักของบริษัท  ส่วนตัวกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จเราสังเกตไว้ว่ามันไม่ได้แตกต่างรุนแรงกับตัวกำไรสุทธิก็ใช้ได้  ส่วนใหญ่มันจะแตกต่างเล็กน้อยเพราะพวกรายการกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่นของบริษัทปกติมันไม่ควรจะเป็นรายการใหญ่  กับคอยดูตรง “องค์ประกอบอื่นของส่วนของผู้ถือหุ้น” บนงบดุลซึ่งเป็นตัวเลขสะสมว่าไม่เป็นตัวเลขติดลบมโหฬารก็โอเคละ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg