ภาษีใหม่ ลงทุนต่างประเทศยังคุ้มอยู่มั้ย ?

With the new tax, is it still worth investing abroad?

ภาษีใหม่ ลงทุนต่างประเทศยังคุ้มอยู่มั้ย ?

ภาษีใหม่ ลงทุนต่างประเทศยังคุ้มอยู่มั้ย ?

มีนักเรียนถามเกี่ยวกับเรื่องภาษีเงินลงทุนต่างประเทศ ต้องการให้แนะนำเรื่องนี้ เอาตามตรงผมก็ไม่ได้มีข้อมูลมากไปกว่าคนอื่นหรืออะไร จะพยายามอธิบายเท่าที่รู้ครับ

ภาษีเงินลงทุนต่างประเทศนี่คืออะไร และคิดยังไง ?

มันก็ตรงไปตรงมาคือเป็นภาษีที่เก็บจากกำไรหรือรายได้ที่เกิดขึ้นในต่างประเทศครับ กติกาคือถ้ามีเงินได้พึงประเมินเกิดขึ้นจากต่างประเทศ แล้วในปีนั้นเราอยู่ในไทยมากกว่า 180 วันขึ้นไป รายได้พึงประเมินนั่นเราต้องเสียภาษีละเมื่อไหร่ก็ตามที่เราเอากลับเข้ามาในไทย

อย่างพวกเราที่ลงทุนในหุ้น unrealized gain ต้องเสียภาษีมั้ย ?

ไม่ครับ นับเป็นเงินได้พึงประเมินเมื่อมีการขายเท่านั้น

แล้วขาดทุนที่เกิดขึ้นล่ะ ?

ไม่ชัดเจน ไม่มีเอกสารหรือมีใครพูดถึงประเด็นนี้ แต่เข้าใจว่าน่าจะหักลบกันเป็นสุทธิกำไรหรือขาดทุนที่ realized ในปีนั้นๆได้ ไม่งั้นก็น่าจะมึนมาก

สมมติปีนี้กำไรมีการขายรับรู้กำไรแล้ว และปีหน้าขาดทุนกำไรหายหมดมีการขายรับรู้ขาดทุนแล้วเช่นกัน แบบนี้ยังต้องเสียภาษีหรือเปล่า ?

อยากรู้เหมือนกัน ถ้าใครรู้บอกที แต่ยังไม่เห็นมีเอกสารพูดถึง ตามความเข้าใจตอนนี้คือใช่เพราะในปีที่กำไรนั่นเรามีเงินได้พึงประเมินเกิดขึ้น ส่วนปีที่ขาดทุนนั้นก็ไม่มีเงินได้พึงประเมินแต่ก็ไม่ได้ว่ามี tax credit ซึ่งก็เป็นอะไรที่ดูเสียเปรียบมาก

ปันผลหรือดอกเบี้ยที่มีการหัก ณ ที่จ่ายไปแล้วล่ะ ?

ไม่ต้องเสียภาษีซ้ำซ้อน แต่เข้าใจว่าเราต้องเสียภาษีในส่วนต่าง เช่นสมมติเราเอาเงินปันผลกลับเข้ามา แล้วเราต้องโดนภาษี 35% แต่เราโดนภาษีหัก ณ ที่จ่ายไปแล้วก่อนที่ปันผลจะถึงมือเรา 15% เราก็ยังต้องเสียตัว 20% ที่เหลือ ความเข้าใจนี้มาจากข้อความในรูปนี้

ผมแนะนำให้ทำอย่างไร ?

ผมก็ไม่ได้มีวิธีอะไรเป็นพิเศษ ส่วนตัวตอนนี้สิ่งที่จะทำแน่ๆคือขายให้หมดและรับรู้กำไรเป็นรายได้พึงประเมินให้หมดในปีนี้ เข้าใจว่าไม่ได้ต้องโอนกลับมาก็ได้ แต่ต้องมีหลักฐานว่ามีการรับรู้กำไรไปแล้วในปีนี้ ในปีต่อๆไปสมมติเราเอาเงินกลับมาก็จะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้พึงประเมินที่เกิดในปีนี้ละ

แล้วปีหน้าต่อๆไปล่ะ ยังควรจะเอาเงินกลับไปลงทุนในต่างประเทศต่อมั้ย ?

เรื่องนี้ก็เป็นคำถามที่ดี ถ้าถามผมเป็นการส่วนตัวคือใช่ เนื่องจากลงทุนในหุ้นไทยโอกาสการเติบโตน้อยกว่าผมเคยเห็นตัวเลข EPS ของ SET Index แล้วพบว่าต่ำมากไม่ถึง 1% ต่อปีเทียบกับอเมริกา, ยุโรปซึ่งเป็นเลขสองหลัก หรือแม้กระทั่งญี่ปุ่นหรือจีนก็ยังประมาณ 5% ต่อปี แน่นอนไม่ได้แปลว่าหุ้นไทยไม่มีบริษัทไหนดีเลย แต่แปลว่าโดยเฉลี่ยหาโอกาสการเติบโตได้น้อยกว่ามากเท่านั้นเอง

ทีนี้ถ้ากลับไปลงทุนในต่างประเทศลงทุนยังไงดี ผ่านกองทุนรวมในไทยมั้ย หรือลงทุนตรงเหมือนเดิมดี ?

อันนี้ผมก็มานั่งคิดเหมือนกัน หลักๆแล้วมันขึ้นอยู่กับสองอย่างหลักๆคือ หนึ่งเราตั้งใจจะลงทุนนานหรือเปล่า ถ้าเราตั้งใจลงทุนยาวหลายปีมากลงทุนตรงก็ยังคุ้มกว่าอยู่ กับสองคือเราคาดว่าจะลงทุนได้ดีกว่าดัชนีหรือเปล่า ถ้าเรามั่นใจว่าดีกว่าการลงทุนตรงก็มีโอกาสจะคุ้มมากกว่า เพื่อให้เห็นภาพความแตกต่างผมทำบน Excel ให้ดู

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

เรื่องจีน ผมเปลี่ยนใจละ

I changed my mind on China.

เรื่องจีน ผมเปลี่ยนใจละ

ผมเปลี่ยนใจเรื่องจีน

ในวีดิโอก่อนๆที่ผ่านมาที่ผมพูดถึงหุ้นจีน โดยรวมผมจะมีมุมมองที่ดี แต่ตอนนี้ผมเปลี่ยนใจละ ก็เลยมาทำวีดิโอพูดถึงเอาไว้ครับ

ก่อนหน้านี้ ผมจะมีมุมมองที่ดีเพราะเศรษฐกิจจีนเติบโต, หุ้นจีน P/E ถูก ติดปัญหาแค่หาข้อมูลยากกับเสี่ยงจากการแทรกแซง ก็ซื้อกองทุนรวมเอา



แต่ล่าสุดผมเปลี่ยนใจเพราะ
ผมเพิ่งมีโอกาสไปเจอข้อมูลบน Bloomberg พบว่าตลาดหุ้นจีนและฮ่องกงโดยรวมการเติบโตของกำไรต่อหุ้นเลวร้ายมาก ในช่วงตั้งแต่ 2016 ถึง 2022 เติบโตเพียง 1% กว่าๆต่อปีเท่านั้น สาเหตุที่มันดูแตกต่างจากการเติบโตของเศรษฐกิจมากเป็นเพราะอะไรอันนี้ผมไม่รู้ แต่ด้วยข้อมูลนี้หมายความว่าถ้าเราจะคาดหวังว่าหุ้นจีนกับฮ่องกงโดยรวมจะราคาสูงขึ้น ก็ต้องอาศัย multiples อย่างเดียวเลย
หนังสือเรื่อง Why Nations Fail นำเสนอเหตุผลพยายามอธิบายสาเหตว่าทำไมบางประเทศเจริญและบางประเทศล้มเหลว คือเค้ากำลังบอกว่าระบอบการปกครอบแบบอำนาจกระจายในวงกว้างหรืออยู่ในหมู่คนกลุ่มแคบๆ จะเป็นตัวกำหนดว่าประเทศนั้นจะล้มเหลวหรือเปล่า ประเทศที่อำนาจอยู่ในหมู่คนกลุ่มแคบๆ ก็มักจะมาพร้อมกับเศรษฐกิจที่เอาเปรียบและเอื้อประโยชน์กับคนกลุ่มแคบๆนั้น และก็จะกลัวความเปลี่ยนแปลงกลัวนวัตกรรมเพราะอาจจะทำให้ตัวเองเสียอำนาจ ผมรู้สึกว่ามันมีเหตุผลอยู่ แล้วพอมองประเทศจีน เราก็เห็นวี่แววสถานการณ์ที่แย่ลง เราเห็น Xi Jinping เริ่มออกกฎให้ตัวเองอยู่ในอำนาจเอาพวกตัวเองเข้ามาอยู่ในตำแหน่งสำคัญ เป็นการทำให้อำนาจอยู่กับคนกลุ่มเล็กลงเรื่อยๆ ผมได้ยินมานานแล้วจากเพื่อนที่ทำงานอยู่บริษัทที่จะเอาสินค้าไปขายในจีน ก็จะถูกสั่งว่าต้องทำงานกับบริษัทนั้นนี้เท่านั้น เราเห็นนโยบายเศรษฐกิจที่เริ่มพยายามควบคุมกำกับบริษัทเทคโนโลยี หรืออยู่ดีๆก็จัดการโรงเรียนกวดวิชา, ห้ามโรงเรียนสอนหลักสูตรนานาชาติ, หยุด Ant Financial ซึ่งอาจจะมาแข่งกับธนาคารที่ภาครัฐเป็นเจ้าของ, ฯลฯ นานๆไปในที่สุดก็จะไม่มีใครอยากจะพัฒนาหรือทำอะไรเพราะวันดีคืนดีก็อาจจะโดนจัดการได้ ทำให้เชื่อว่าโครงสร้างรูปแบบการปกครองของจีนจะทำให้การเติบโตหยุดในที่สุด ทั้งที่จริงๆแล้วคนจีนเป็นคนที่ขยัน, สร้างสรรค์และกล้าที่จะทำนู่นทำนี่มากๆ

ดังนั้นสรุปคือ ในเมื่อ Fact มันบอกว่าบริษัทในตลาดหุ้นจีนโดยรวมไม่โตเลย บวกกับตอนนี้ผมไม่เชื่อว่าจีนด้วยการปกครองแบบนี้ต่อไปจะสามารถเติบโตไปได้เรื่อยๆ ก็เลยเป็นเหตุผลที่เปลี่ยนมุมมองครับ และก็เลยอยากจะทำวีดิโอสื่อสารให้ชัดๆเพราะแตกต่างไปจากวีดิโอที่พูดมาในอดีตมาก

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

Negative P/E หมายความว่ายังไง แล้วดูยังไง ?

What does negative P/E mean and how to interpret it?

Negative P/E หมายความว่ายังไง แล้วดูยังไง ?

Negative P/E หมายความว่ายังไง แล้วดูยังไง ?

คำถามนี้ง่าย เอาหมายความว่ายังไงก่อน

P/E มันคือ ราคาหุ้นหารด้วยกำไรต่อหุ้นใช่มะ ราคาหุ้นนี่มันไม่มีทางติดลบอยู่ละอย่างต่ำสุดก็คือ 0 ดังนั้นการที่ P/E มันจะเป็นเลขติดลบ ก็คือกำไรต่อหุ้นเป็นเลขติดลบน่ะครับ หรือก็คือบริษัทผลประกอบการขาดทุน ความหมายมันก็คือแค่นี้แหละ

ทีนี้ดูยังไง

เอาจริงๆคือไม่มีความหมายอะไร ตัวเลขนี้ไม่ได้ว่าติดลบเยอะแล้วดีหรือติดลบน้อยแล้วดีหรืออะไร ในทางปฏิบัติคือมันห่วยหมดน่ะ สมมติเรามีความสนใจในตัวบริษัทจะด้วยชอบธุรกิจหรืออะไรก็แล้วแต่แล้วมาเห็นเลข P/E ติดลบ สาระสำคัญที่เราควรใส่ใจก็คือไปทำความเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น สาเหตุที่บริษัทขาดทุนมันคืออะไรนะ แล้วมันจะดีขึ้นมั้ย P/E จะหายเป็นลบมั้ย

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

Bond Yield คืออะไรนะ ?

What's bond yield?

Bond Yield คืออะไรนะ ?

Bond Yield คืออะไร ?

มีคนถามเรื่องตราสารหนี้ อยากให้อธิบายว่า bond yield คืออะไร

เพื่อความเข้าใจง่าย เราอธิบายคอนเซปต์กับคำหลักๆของตราสารหนี้ก่อน

เวลาเราลงทุนในตราสารหนี้คือเราเป็นเจ้าหนี้ บริษัทหรือใครที่ออกตราสารหนี้นี่คือเค้ายืมเงินเราไป ต้องคืน

มันก็จะมีองค์ประกอบหลักๆดังนี้
Face value (มูลค่าหน้าตั๋ว) คือจำนวนเงินที่เค้าจะให้เราตอนท้ายสุดเมื่อครบอายุตราสารหนี้ ซึ่งทั่วไปเค้าใช้ 1,000 เป็นมาตรฐาน
Coupon คือดอกเบี้ยที่จ่ายระหว่างทางก่อนที่จะคืน ซึ่งจะมีหรือไม่มีก็ได้ บางตราสารหนี้ก็ไปคืนเงินก้อนเดียวเลยตอนท้าย
Years to maturity คืออายุของตราสารหนี้ว่าเหลือกี่ปี
Bond price คือราคาของตราสารหนี้ที่ขายอยู่ในตลาดตอนนี้ ปกติจะคุยกับเป็นอัตราส่วนเทียบจาก 100% ของมูลค่าหน้าตั๋ว เช่น 92, 105, ฯลฯ อย่าง 92 ก็คือราคาคิดเป็น 92 จาก 100 ของราคาหน้าตั๋ว ถ้าราคาหน้าตั๋วคือ 1,000 ราคาตอนนี้ก็คือ 920

สังเกตว่ามันมีองค์ประกอบหลายอย่างที่ทำให้การดู bond price อย่างเดียวบางทีมันก็ไม่ชัดเจนเท่าไหร่ อย่างเช่นสมมติเปรียบเทียบตราสารหนี้สองอัน
Bond price 90 เท่ากัน ทุกอย่างเหมือนกันหมดยกเว้น coupon คืออายุที่เหลืออยู่เท่ากัน Face value เท่ากัน แต่อันนึง coupon สูงกว่า อันที่ coupon สูงกว่าก็จะให้ผลตอบแทนสูงกว่าทันที
หรือสมมติไม่มี coupon เลย Bond price 90 เท่ากัน Face value ก็เท่ากัน แต่อายุที่เหลืออยู่ไม่เท่ากัน ผลตอบแทนที่ได้ของสองอันนี้ก็ต่างกันละ

มันเปรียบเทียบกันยากเห็นภาพนะ ก็เลยเป็นที่มาของ bond yield

Bond yield คือผลตอบแทนต่อปีที่คาดว่าจะได้จากการถือตราสารหนี้สมมติว่าไม่มีการเบี้ยว ตัวเลขก็จะเป็น % ผลตอบแทนต่อปีเลย และมันก็จะกลับกันกับ bond price ในเมื่อ coupon กับ face value มันคงที่ตั้งแต่แรกยิ่งราคาตราสารหนี้ต่ำผลตอบแทนคาดหวังก็ยิ่งสูง กลับกันยิ่งราคาตราสารหนี้สูงผลตอบแทนคาดหวังก็ยิ่งต่ำลง

ประโยชน์ของการใช้ ฺbond yield คือมันก็จะง่ายขึ้นในการเปรียบเทียบครับ เราเห็นตัวเลขนี้เราก็จะเปรียบเทียบได้ทันทีว่าอันไหนให้ผลตอบแทนมากกว่ากัน มากกว่ากันอยู่เท่าไหร่ ประหยัดเวลา แล้วเราก็จะได้ไปมองรายละเอียดอื่นต่อไปว่าทำไมมันถึงให้ผลตอบแทนไม่เท่ากันล่ะ เป็นเพราะอายุสัญญาที่ยาวกว่าหรือเปล่า หรือเพราะคนที่ยืมเงินเราคนนึงเป็นรัฐบาลอีกคนเป็นบริษัทเอกชนเสี่ยงเจ๊งมั้ย
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ถ้าต้องเลือกถือกองทุนเดียวล่ะ จะเลือกกองไหน ?

If I can only choose one fund to invest in, what would it be?

ถ้าต้องเลือกถือกองทุนเดียวล่ะ จะเลือกกองไหน ?

อันนี้เป็นคำถามต่อจากอันที่แล้ว ว่าสมมติเลือกลงทุนในกองทุนเดียวจะเลือกอะไร

คำถามนี้ง่าย อย่างที่เคยเล่าให้ฟังในวีดิโอเรื่องเลือกกองทุน ส่วนตัวผมนิยมกองทุนดัชนีอยู่แล้ว ถ้าต้องเลือกลงทุนในกองทุนกองเดียวเท่านั้นเลยผมก็จะลงในกองทุนที่ลงทุนแบบ passive ใน S&P 500 ครับ

เหตุผลก็ไม่ได้มีอะไรมาก ค่อนข้าง bias ด้วยซึ่งคือ
U.S. เป็นประเทศที่มีความเสรีสูง มีคนที่เป็นนักวิทยาศาสตร์หรือ entrepreneur ลองนู่นลองนี่เยอะ
บริษัทใน S&P 500 ก็คือบริษัทที่ใหญ่สุดใน U.S. 500 บริษัท ซึ่งจำนวนพอสมควรทำธุรกิจอยู่นอก U.S. ด้วย ไม่ใช่ว่าพึ่งพาเศรษฐกิจของ U.S. อย่างเดียว
บริษัทขนาดใหญ่ดูจะมีความได้เปรียบ
ดัชนีมีการเปลี่ยนแปลง 500 บริษัทที่ว่านี่เป็นระยะ

ที่ผ่านมาก็ทำได้ดีอยู่ ผลตอบแทนเฉลี่ย 10 ปีที่ผ่านมาคือ 12.49% ต่อปีเลยทีเดียว

มีคนถามว่าทำไมไม่เลือกหุ้นโลกเหรอ ทำไม S&P 500 ซึ่งเป็น U.S. เท่านั้นล่ะ อันนี้ก็ไม่ได้มีเหตุผลอะไรเป็นพิเศษ ผมแค่รู้สึกว่าประเทศอเมริกาเป็นประเทศที่โดยโครงสร้างเอื้อให้มีนวัตกรรมเท่านั้นเอง ซึ่งผมว่าเรื่องนี้ไม่เท่ากันทั่วโลกนะ

ผมแนะนำว่าถ้าไม่ใช่เพื่อภาษีอย่าง RMF, SSF ก็ลงทุนซื้อ ETF ตรงไปเลยจะดีกว่าลงทุนผ่าน feeder fund ในไทย เพราะค่าธรรมเนียมถูกมาก 0.03% เท่านั้น ETF ของ Blackrock กับ Vanguard ตัวย่อ IVV กับ VOO ครับ เหมือนกัน อันไหนก็ได้



 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ถ้าต้องถือหุ้นเดียวเลยถือหุ้นอะไร ?

What one stock will I buy if I have to hold it forever?

ถ้าต้องถือหุ้นเดียวเลยถือหุ้นอะไร ?

มีคนถามว่าสมมติผมต้องถือหุ้นเดียวเลยไปยาวๆจะถือหุ้นอะไร

เอาจริงๆอันนี้ยากนะ ผมก็ชอบหลายบริษัทแต่พอโจทย์คือต้องหุ้นเดียวยาวนี่ทำให้ยากเพราะเราก็รู้ว่าโลกมีการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจที่ดีวันนี้อนาคตอาจจะตกยุคตายไปก็ได้

ดังนั้นถ้าต้องหุ้นเดียวจริงๆ มั่นใจสุดคงเป็น Berkshire Hathaway มั้ง แน่นอน Warren Buffet อาจจะไม่ได้อยู่ไปตลอด แต่ด้วยความที่ตอนนี้ Berkshire Hathaway เป็น Holdings Company ที่มีบริษัทลูกในกลุ่มที่ทำได้ดีจำนวนมาก และมีถือหุ้นบริษัทที่ดีที่อยู่ในตลาดหุ้นอีก โอกาสที่จะเละเทะก็จะยากหน่อย

อันนี้เอามาให้ดู ตัวอย่างบริษัทที่เป็นบริษัทลูก ไม่แน่ใจว่าครบมั้ยนะ

ส่วนนี่ก็จะเป็นตัวอย่างบริษัทที่เค้ามีถือหุ้น อันนี้จะเปลี่ยนแปลงบ่อยหน่อย ดังนั้นเช่นกันอาจจะไม่ครบหรือมีการเปลี่ยนแปลง

แล้วที่ผ่านมาเค้าก็ทำได้ดีนะ

บางคนบอกหุ้น Berkshire Hathaway แพงมากซื้อไม่ไหว แนะนำให้ซื้อ Class B ครับ ราคาจะเป็นประมาณ 1 ใน 1,500 ของ Class A สัดส่วนความเป็นเจ้าของในแง่ส่วนแบ่งกำไรจะเหมือนซอยย่อย Class A ลงมาเป็น 1 ใน 1,500 สอดคล้องกับราคาหุ้น ที่แย่กว่าคือเรื่องสิทธิในการโหวตเท่านั้นเอง จะเป็น 1 ใน 10,000 ของ Class A ซึ่งเอาจริงเราก็คงไม่ได้สนใจอยู่แล้ว

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

เงินเฟ้อมาจากไหนกันแน่ ?

Where does inflation come from?

เงินเฟ้อมาจากไหนกันแน่ ?

เงินเฟ้อเอาง่ายๆก็คือราคาสินค้าบริการแพงขึ้น แค่นั้นเลย

ส่วนประเด็นว่ามันมาจากไหน ก็ขอให้นึกง่ายๆว่าปัจจัยใดๆที่มีผลกับความต้องการสินค้าหรือความสามารถในการผลิตสินค้า พวกนี้ก็มีผลกับเงินเฟ้อหมดแหละ

อะไรที่ทำให้ความต้องการสินต้าสูงขึ้น คนพร้อมจ่ายมากขึ้น ก็ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น หรือกลับกันอะไรที่ทำให้ความต้องการสินต้าต่ำลง คนพร้อมจ่ายน้อยลง ก็ทำให้เงินเฟ้อต่ำลง

ส่วนฝั่งผลิต อะไรที่ทำให้ผลิตได้เยอะขึ้น สินค้าหรือบริการเยอะขึ้น ก็ทำให้เงินเฟ้อต่ำลง หรือกลับกันอะไรที่ทำให้ผลิตได้น้อยลง สินค้าหรือบริการน้อยลง ก็ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น

เท่านั้นเองไม่มีอะไรมาก

ตัวอย่างเช่น
พิมพ์เงินเพิ่ม ก็ทำให้เงินในมือคนมีเยอะขึ้น คนก็พร้อมจ่ายมากขึ้น ก็ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น
เปิดโควิดกลับมา คนก็อยากไปทำนู่นนี่ พร้อมใช้เงิน ก็ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น
สงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งออกข้าวสาลีไม่ได้ มีจำนวนสินค้าให้ขายน้อยลง เงินเฟ้อก็สูงขึ้น

แล้วในโลกความเป็นจริงมันก็จะมีปัจจัยหลายๆอย่างเกิดขึ้นพร้อมๆกัน เงินเฟ้อในเวลานั้นก็จะมาจากผลของปัจจัยทั้งหมดยำรวมกันครับ
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

REIT ใน U.S. ทำไม payout ratio เกิน 100% ได้ ?

Why are U.S. REITS having over 100% dividend payout ratio?

REIT ใน U.S. ทำไม payout ratio เกิน 100% ได้ ?

มีนักเรียนมีคำถาม เค้าไปเจอ REIT ต่างประเทศที่ Dividend payout ratio เกิน 100% อย่างต่อเนื่องหลายปี แล้วก็เลยสงสัยว่าเป็นไปได้ยังไงที่มันเกิน 100% ไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้ใน REIT ไทย

อันนี้เป็นคำถามที่ดีนะ เผื่อคนไม่คุ้นเคย Dividend payout ratio คืออัตราส่วนระหว่างจำนวนเงินที่จ่ายปันผลเทียบกับกำไรสุทธิ Dividend payout ratio 50% ก็คือจากกำไรสุทธิ 100 จ่ายออกมาเป็นปันผล 50 ถ้า Dividend payout ratio มากกว่า 100% ก็คือกำไรสุทธิ 100 จ่ายออกมาเป็นปันผลเกิน 100 ซึ่งมันไม่ควรจะเป็นอะไรที่ทำได้ตลอด ทำบางปีอาจจะได้ แต่โดยหลักการมันไม่ควรจะทำได้ต่อเนื่อง ก็เลยเป็นเหตุผลที่นักเรียนเรามีความสงสัย

ตัวอย่างที่นักเรียนผมพูดถึงก็จะเป็น Realty Income ซึ่งเป็น REIT เจ้าใหญ่ใน US

จะสังเกตว่า payout ratio ก็เกิน 100% ตลอดจริงๆ

ให้ดูอีกตัวอย่าง W. P. Carey เป็น REIT ขนาดใหญ่เช่นกัน

สังเกตว่าคล้ายกันตรงที่ payout ratio เกิน 100% ตลอด

ประเด็นเรื่องนี้สมัยที่เริ่มดู REIT ใน U.S. ตอนแรกๆผมก็เคยสงสัยเหมือนกัน สิ่งที่ผมเจอคือเป็นเพราะวิธีการบันทึกบัญชีมันไม่เหมือนกับที่ไทยครับ คือ REIT ที่อเมริกาเค้ามีการบันทึกค่าเสื่อม ในขณะที่ REIT ที่ไทยไม่บันทึกเพราะมองว่าเป็น investment

เพื่อให้เห็นภาพเดี๋ยวผมเปิดเทียบให้ดู

ส่วนสาเหตุว่าทำไมบันทึกต่างกัน ผมเข้าใจว่าเพราะในมุมของ US GAAP เค้ามองว่า REIT นี่เป็น operating assets ในขณะที่ของไทยมองว่าเป็น investment assets ครับ

สมมติเราคำนวณ payout ratio เองเลยนะ เอาแบบตรงๆ เราจะได้ว่า
Realty Income 208.58%, 342.21%
W. P. Carey 143.48%, 190.65%

แต่สมมติเราคำนวณ payout ratio แบบตัดผลของ depreciation ออกไป เราจะได้ว่า
Realty Income 72.13%, 97.84%
W. P. Carey 77.97%, 88.41%

ดูปกติขึ้นมะ มันเป็นเพราะแบบนี้แหละครับ ตอบคำถามว่าทำไม payout ratio ของ REIT ใน U.S. มันถึงสูงเกิน 100% ตลอด

ทีนี้โดยปกติ REIT ใน U.S. นี่เค้าจะรายงานตัวเลข Funds From Operations (FFO) กับ Adjusted Funds From Operations (AFFO) ประกอบในรายงานด้วย และปกติธุรกิจนี้เวลาเค้าพูดถึงการจ่ายปันผลเค้าจะเทียบ payout ratio กับไม่ FFO ก็ AFFO มากกว่าที่จะเทียบกับ Net Income ตัวเลขพวกนี้ก็จะเป็นตัวเลขที่มีการบวกกลับค่าเสื่อมและมีการปรับตัวเลขด้วยรายการอื่นอีก มันจะไม่ได้ตามมาตรฐานบัญชี US GAAP แต่มันเป็นตัวเลขที่อุตสาหกรรมนี้เค้าตกลงร่วมกันว่าช่วยให้เข้าใจผลการดำเนินงานของ REIT มากขึ้นและเพื่อให้นิยามการคำนวณเหมือนกันเค้าจะอิงตาม NAREIT ผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้สำหรับคนที่มีความสนใจ REIT ใน U.S. ควรต้องอ่านครับ
https://www.reit.com/sites/default/files/2018-FFO-white-paper-(11-27-18).pdf

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

จ่ายปันผลเป็นหุ้น บันทึกบัญชียังไง ?

How do you record stocks dividend?

จ่ายปันผลเป็นหุ้น บันทึกบัญชียังไง ?

จ่ายปันผลเป็นหุ้น บันทึกบัญชียังไง ?

ไม่แน่ใจว่าทำไมมีทั้งนักเรียนและคนทั่วไปถาม แล้วถามเจาะจงวิธีบันทึกบัญชีของการจ่ายปันผลเป็นหุ้นด้วยนะ แต่อันนี้ง่ายจริง ผมทำวีดิโอตอบครับ

เพื่อให้เข้าใจตรงกัน การจ่ายปันผลเป็นหุ้นมันคือการจ่ายปันผลแบบบริษัทไม่ได้มีการจ่ายเงินอะไรออกมา แต่เป็นการออกหุ้นใหม่ให้กับคนที่ถือหุ้นอยู่แล้วเป็นสัดส่วนกับจำนวนที่ถืออยู่ อย่างเช่นสมมติเค้าบอก 1 หุ้นใหม่ต่อ 10 หุ้นเดิม ก็คือแปลว่าถ้าเรามีหุ้นอยู่ 10 หุ้นเราก็จะได้เพิ่ม 1 หุ้น ถ้ามี 20 หุ้นก็จะได้ 2 หุ้น

ทีนี้มาพูดถึงการบันทึก งบการเงินมันมี 3 อันหลักคือ
– งบกำไรขาดทุน
– งบแสดงสถานะทางการเงิน
– งบกระแสเงินสด

เวลาบันทึกบัญชีเราก็ต้องใช้ความเข้าใจความหมายของงบ แล้วพิจารณาการจ่ายปันผลเป็นหุ้นว่ามันควรบันทึกยังไง
– งบกำไรขาดทุนไม่บันทึก เพราะการจ่ายปันผลเป็นหุ้น ไม่ได้ทำให้บริษัทกำไรมากขึ้นหรือน้อยลง การจ่ายปันผลเป็นหุ้นไม่ได้ทำให้บริษัทขายของได้มากขึ้นหรือเป็นค่าใช้จ่าย
– งบกระแสเงินสดก็แน่นอนว่าไม่เกี่ยว เพราะการจ่ายปันผลเป็นหุ้นไม่ได้มีการขยับของเงินสด ไม่มีการได้รับเงินสด และไม่มีการจ่ายเงินสด
– งบแสดงสถานะทางการเงิน อันนี้ถึงจะเกี่ยว เพราะมันมีส่วนที่แสดงตัวเลขรายการส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ การจ่ายปันผลเป็นหุ้นยังไงต้องมีจำนวนหุ้นเพิ่มย่อมต้องเกี่ยวแน่

วิธีการบันทึกบัญชีก็จะเป็น เพิ่มทุนจดทะเบียนที่ออกและชำระแล้วเป็นจำนวนเท่ากับจำนวนหุ้นที่ปันผลทั้งหมดคูณ par เช่นสมมติออกหุ้นใหม่ทั้งหมด 20 หุ้นและพาร์หุ้นละ 10 บาท ก็คือเพิ่มทุนจดทะเบียนที่ออกและชำระแล้ว 200 บาท จากนั้นก็ลดกำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรรไปเป็นจำนวนเท่ากัน 200 บาท งบก็จะดุลละ แค่นี้แหละครับ

แล้วสมมติว่าเป็นฝั่งได้รับการปันผลเป็นหุ้นล่ะ

วิธีการบันทึกก็ง่ายเพราะไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับงบกำไรขาดทุนและงบกระแสเงินสดเช่นกัน และจริงๆก็ไม่เกี่ยวกับงบแสดงสถานะทางการเงินด้วยเพราะการได้รับปันผลเป็นหุ้นไม่ได้ทำให้มูลค่าเงินลงทุนเพิ่มขึ้นหรือลดลง อย่างมากก็บันทึกรายละเอียดว่าจำนวนหน่วยลงทุนที่บริษัทถืออยู่เพิ่มขึ้นกับมูลค่าต่อหน่วยที่ถือลดลงเป็นสัดส่วนที่ทำให้มูลค่ารวมอยู่เท่าเดิมก็เท่านั้นเอง

อนาคตเผื่อมีคำถามอะไรที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกบัญชี ผมแนะนำว่า Google หาแล้วอ่านมาตรฐานการบันทึกที่เป็นทางการเลยจะชัวร์สุดครับ ส่วนตัวเวลาผมสงสัยผมก็ทำแบบนั้นเหมือน

ยกตัวอย่างเช่นสมมติกรณีนี้เลยจ่ายปันผลเป็นหุ้นบันทึกบัญชียังไง เค้าจะอธิบายไว้แบบนี้ครับ
https://www.tfac.or.th/upload/9414/NxXYuS6oyY.pdf
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

Peter Lynch & Howard Marks มองอนาคตยังไง ?

What is the economic outlook from Peter Lynch and Howard Marks perspective?

Peter Lynch & Howard Marks มองอนาคตยังไง ?

ล่าสุดมีนักเรียนส่งวีดิโอบน YouTube 2 อันมาให้ดูแล้วถามขอให้อธิบายมุมมองของนักลงทุนในตำนานที่อยู่ในวีดิโอพวกนั้น

อันแรกจะเป็น https://www.youtube.com/watch?v=edDe4K3QcWc
เป็นวีดิโอของ Bloomberg สัมภาษณ์ Howard Marks

เรื่องหลักๆคือเค้าบอกว่า
– ช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่หลังวิกฤติปี 2008 มาถึง 2021 Fed ลดอัตราดอกเบี้ยต่ำมากและทำ QE ช่วงนี้เป็นช่วงที่ธุรกิจทำกำไรได้ง่ายเพราะเงินทุนหาง่าย การผิดนัดชำระหนี้ก็น้อย เป็นช่วงที่ easy
– เร็วๆนี้เงินเฟ้อสูง Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ย ทำธุรกิจให้กำไรก็ยากขึ้น
– คนถามเค้าว่า เมื่อไหร่จะกลับไปสู่ช่วงก่อนที่มันง่ายเหมือนเดิม เค้ามองว่าอาจจะไม่กลับไป easy เหมือนเดิมนะ ช่วงนั้นมันผิดปกติ อนาคตต้นทุนเงินจะไม่ต่ำเหมือนเดิม, การทำธุรกิจจะไม่ง่ายเหมือนเดิม

ส่วนอันที่สองนี่จะเป็น https://youtu.be/U-6fv09KCDw
เป็นวีดิโอของ CNBC สัมภาษณ์ Peter Lynch

หลักๆคือเค้าบอกว่า
– เค้าก็พูดเหมือนเดิม วิธีการลงทุนเค้าคือ มองหาเหตุผลว่าทำไมบริษัทควรจะทำได้ดี แล้วก็ดู balance sheet ของบริษัท ดูว่ามีหนี้เยอะมั้ย ทุกคนควรจะทำได้
– มีคนถามความเห็นเกี่ยวกับที่ธนาคารล้มในช่วงที่ผ่านมา Peter Lynch บอกก่อนหน้านี้ก็มีธนาคารล้ม มีความกังวลอื่นๆเยอะแยะ ปัจจุบันธนาคารเข้มแข็งขึ้นเยอะ
– สุดท้ายคือเค้าถามว่าอนาคตจะมีปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจมั้ย Peter Lynch ก็บอกไม่รู้อนาคต ที่ผ่านมามีวิกฤติเศรษฐกิจก็ฟื้นกลับมาทำได้ดีตลอดนะ

โดยสรุปคือ Howard Marks คิดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจจะไม่ง่ายเหมือนช่วงก่อน ส่วน Peter Lynch ดูเฉยๆ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี