ซื้อหุ้นแบบทยอยซื้อ หรือแบบรวดเดียวไปเลย ดีกว่ากัน ?

Should I buy stocks periodically or rather a big one time buy ?

ซื้อหุ้นแบบทยอยซื้อ หรือแบบรวดเดียวไปเลย ดีกว่ากัน ?

มีคนถามว่าเค้ามีเงินลงทุนอยู่ก้อนนึง  อยากจะเอามาลงทุนในหุ้นระยะยาวไม่ได้กะซื้อขายบ่อยๆ  ควรจะทยอยลงทุนซื้อทีละหน่อยแบบ DCA หรือลงทุนแบบซื้อเยอะๆทีเดียวเลยดี

เอาจริงๆผมว่าอันนี้มันไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่ต้องมากังวลหรือคิดอะไรมากเกินไป  ยังไงก็ได้แหละครับ

ถ้าเอาตามวิชาการจริงๆเลยนะ  ควรลงแบบรวดเดียวหรืออย่างน้อยถ้าจะทยอยก็ไม่ควรจะยืดยาวใช้ระยะเวลานาน  สาเหตุเพราะโดยเฉลี่ยภาพรวมตลาดหุ้นเป็นทิศทางขาขึ้นมากกว่าขาลง  ดังนั้นการลงทุนยิ่งเร็วก็จะยิ่งทำให้เงินเราไปอยู่ในหุ้นเร็วขึ้นได้ประโยชน์จากการที่ตลาดโดยรวมสูงขึ้น  และโดยเปรียบเทียบแล้วผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้นก็ดีกว่าการถือเงินสดหรือเงินฝากด้วย

แต่การทยอยซื้อแบบ DCA ก็มีข้อดีในเรื่องความสบายใจครับ  ตรงที่มันลดความเสี่ยงกรณีที่ตอนที่เราเริ่มซื้อหลังจากนั้นตลาดมันตกพอดี  ลดความเสี่ยงที่เราจะมาเสียดายทีหลังเวลาตลาดตกว่ารู้งี้รอดีกว่าอะไรประมาณนั้น  การทยอยซื้อมันก็จะเฉลี่ยๆไปซื้อตอนตลาดขึ้นบ้างลงบ้าง  แต่โดยรวมมันจะห่วยกว่าซื้อรวดเดียวเพราะตลาดโดยเฉลี่ยภาพรวมมันเป็นขาขึ้นไง  มันไม่ใช่ขึ้นหรือลง 50-50  ดังนั้นการ DCA ก็มักจะทำให้ได้ซื้อมาแพงมากกว่าที่จะได้ซื้อมาถูก

สรุปคือเอาที่เราสบายใจแหละ  ยังไงก็ได้  ถ้าเอาตามหลักการก็ซื้อรวดเดียวโดยเฉลี่ยผลลัพธ์ดีกว่า  แต่ถ้ากลัวจะเสียดายก็ซื้อเฉลี่ยครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ผลประกอบการดี ทำไมราคาหุ้นไม่เห็นขึ้น ?

Why stock does not rise, even with good earnings report ?

ผลประกอบการดี ทำไมราคาหุ้นไม่เห็นขึ้น ?

มีคนสงสัยว่าทำไมหุ้นที่เค้าถืออยู่ผลประกอบการดีนะแต่ราคาหุ้นไม่เห็นขึ้นตาม

ก่อนอื่นที่อยากจะบอกคืออย่าใจร้อนครับ  ต่อให้ไม่มีปัจจัยอื่นมากระทบเลยบางทีมันต้องใช้เวลาซักพักเหมือนกันกว่าคนในตลาดจะเชื่อว่าบริษัทมันจะทำได้ดีจริงหรือจะทำได้ดีขึ้นต่อไปในอนาคต  หรือบางทีมันก็แค่ว่าบริษัทนี้คนยังไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าไหร่  มันต้องให้เวลาบริษัทพิสูจน์ตัวเองซักพักครับ

นอกเหนือจากนั้นแล้วบางทีในระยะสั้นมันมีเรื่องอื่นเข้ามาแทรกได้  คนอาจจะกังวลเรื่องโควิดอยู่

หรือบางที  ที่ผลประกอบการออกมาดีนั่น  ตลาดอาจจะคาดไว้อยู่แล้วก็ได้  หรือเผลอๆอาจจะดีนะแต่ดีน้อยกว่าที่ตลาดคาดก็ได้

ดังนั้นสรุปคืออย่าใจร้อน  ถ้าเรามั่นใจว่าบริษัทมีอนาคตผลประกอบการดีขึ้นต่อเนื่องไปอีกหลายปี  เราก็รออย่างใจเย็นครับ  ให้เวลาบริษัทมันทำได้ดีไปซักพักตลาดก็จะได้สติในที่สุดครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบนี้คืออะไร ?

What is Statement of Changes in Stockholders Equity

งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบนี้คืออะไร ?

บางทีจะมีคนถามถึงงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นว่าสำคัญมั้ย  ทำไมไม่ค่อยมีใครพูดถึงกัน

ที่คนไม่ได้พูดถึงกันเยอะเป็นเพราะมันไม่ได้เป็นงบการเงินหลักน่ะครับ  อย่างบางบริษัทถ้าไม่ใช่งบปีเค้าไม่รายงานงบอันนี้ด้วยซ้ำ

วัตถุประสงค์หลักของงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้นก็คือตามชื่อมันน่ะครับ  คือมันแจกแจงรายการต่างๆในส่วนของผู้ถือหุ้น  รายการพวกที่เราเห็นบนงบดุลนั่นแหละ  แล้วก็บอกว่าที่ตัวเลขของแต่ละรายการมันเปลี่ยนแปลงไปมันเปลี่ยนเพราะเรื่องอะไร

ส่วนใหญ่ผมก็ไม่ได้สนใจดูเท่าไหร่  ที่เคยดูแล้วมีประโยชน์ก็จะมีตอนที่่ผมเห็นตัวเลขทุนเรือนหุ้นออกชำระแล้วมันเปลี่ยนไป  ผมก็จะอยากรู้ว่ามันเพราะอะไรเหรอ  ออกหุ้นใหม่หรือเปล่า  ถ้ามาดูตรงนี้ปกติมันก็จะบอกอยู่ว่าเปลี่ยนจากอะไรออกหุ้นใหม่หรือเป็นการปันผลเป็นหุ้นหรือเพราะอะไร

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

งบกระแสเงินสด รายการหลักๆที่ควรรู้

Essentials of Cash Flow Statement

งบกระแสเงินสด รายการหลักๆที่ควรรู้

งบกระแสเงินสดวัตถุประสงค์หลักก็คืออธิบายว่าเกิดอะไรขึ้นกับเงินสดบ้าง  เพิ่มหรือลดลงเพราะอะไร  ซึ่งสำคัญแหละเพราะสุดท้ายบริษัทดำเนินธุรกิจไปก็ต้องมีกระแสเงินสดเป็นบวกนะไม่งั้นก็เจ๊ง

หน้าตาการรายงานงบกระแสเงินสดมันจะมีแบบ direct กับ indirect method ซึ่งมันจะนำเสนอต่างกันตรงกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน  เท่าที่เห็นมาเจอแต่ indirect method  เคยได้ยินว่าบริษัทส่วนใหญ่นิยมเตรียมแบบ indirect method เพราะทำได้ง่ายกว่า  แต่ไม่ได้ซีเรียสอะไรเพราะมันแค่การนำเสนอเฉยๆ  ยังไงตัวกระแสเงินสดก็ต้องออกมาเท่ากันอยู่ดี

งบกระแสเงินสดจะมีรายการหลักๆเรียงตามนี้

1. ส่วนแรกจะเป็นกระแสเงินสดที่เกี่ยวกับกิจกรรมดำเนินงาน

  • เริ่มต้นจากกำไรสุทธิ  บางทีก็จะเห็นเริ่มต้นจากกำไรจากการดำเนินงาน  อันนี้ก็เอามาจากงบกำไรขาดทุนตรงๆ
  •  

  • ปรับรายการด้วยรายได้หรือค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เงินสด
  • รายการแถวนี้ก็จะเยอะไปหมด  ใหญ่ๆก็มักจะเป็นค่าเสื่อมกับการเปลี่ยนแปลงของเงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในธุรกิจ  มันจะมีบางอันที่ทำการกลับรายการเพื่อจะไปบันทึกในหมวดอื่น  เช่นอย่างค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย  เค้าจะไปบันทึกเงินสดที่จ่ายไปจริงอีกที

     

  • กระแสเงินสดสุทธิที่ได้จากกิจกรรมดำเนินงาน
  • รายการนี้ก็คือสรุปสุดท้ายว่าดำเนินธุรกิจไปนี่สรุปกระแสเงินสดเพิ่มขึ้นหรือลดลง  โดยปกติแล้วสิ่งที่เราต้องการคือมันควรจะไปในทางเดียวกันกับกำไรสุทธิของงบกำไรขาดทุน  ไม่ใช่เลขต้องเท่ากันนะ  แต่มันต้องไปทางเดียวกัน

2. ส่วนที่สองจะเป็นหมวดกิจกรรมการลงทุน

  • รายได้หรือเงินที่จ่ายไปสำหรับการลงทุน
  • บางทีก็เป็นเงินลงทุนระยะสั้น, ระยะยาวหรือลงทุนในธุรกิจร่วมอะไรก็แล้วแต่
     

  • ลงทุนในที่ดิน, อาคารและอุปกรณ์
  • อันนี้คือที่ปกติเค้าเรียกว่า CAPEX ซึ่งย่อจาก capital expenditure ครับ  มันคือเงินลงทุนที่บริษัทใช้ไปเพื่อซื้อสินทรัพย์ใหญ่ๆเพื่อมาขยายธุรกิจ  ถ้าสมมติเป็นธุรกิจที่ต้องมีลงทุนในใบอนุญาตหรือซื้อสัมปทานรายการมันจะชื่อสอดคล้องกับธุรกิจครับ  และอันนั้นก็เรียกว่าเป็น CAPEX เหมือนกัน
     

  • กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกกรรมการลงทุน

3. ส่วนที่สามคือหมวดกิจกรรมจัดหาเงิน

  • ดอกเบี้ยจ่าย
  • เงินสดรับจากการกู้ยืมเงิน
  • เงินสดจ่ายชำระเงินกู้ที่ยืมมา
  • จ่ายปันผล
  • เงินสดรับจากการออกหุ้นใหม่
  • เงินสดจ่ายเพื่อซื้อหุ้นคืน
  • กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกกรรมการลงทุน

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

รายการหลักๆบนงบกำไรขาดทุนที่ควรรู้

Income Statement essentials that you should know

รายการหลักๆบนงบกำไรขาดทุนที่ควรรู้

ต่อจากวีดิโอที่แล้ว  เราุพูดถึงรายการหลักๆบนงบการเงิน  โดยอันนี้เราจะดูงบกำไรขาดทุน

วัตถุประสงค์หลักของงบกำไรขาดทุนคือบอกเราว่าสรุปบริษัททำธุรกิจมานี่กำไรมั้ยเท่าไหร่  หรือว่าขาดทุน

รายการหลักๆที่เราจะเห็นบ่อยเรียงไปเลยก็จะมี

  • รายได้…
  • รายการนี้ก็คือรายได้ที่บริษัททำได้น่ะแหละ  ในหมายเหตุประกอบงบการเงินมันจะมีเกณฑ์การรับรู้รายได้อยู่  สมควรอ่าน

  • ต้นทุน…
  • อันนี้อย่างที่เคยอธิบายในวีดิโออื่น  มันคือต้นทุนตรงที่ให้ได้มาซึ่งสินค้าหรือบริการ

  • กำไรขั้นต้น
  • อันนี้คือรายได้ที่หักต้นทุนตรงของสินค้าหรือบริการ  โดยปกติสิ่งที่ผมจะมองคือมันสม่ำเสมอหรือเปล่า  บริษัททั่วไปก็จะค่อนข้างสม่ำเสมอนะ  ถ้าไม่นี่ก็จะเริ่มน่ากลัวละ  ในกรณีที่เป็นบริษัทในหมวดสินค้าเดียวกัน  การเปรียบเทียบอัตราส่วนกำไรขั้นต้นก็จะช่วยให้เราเห็นภาพว่าบริษัทไหนขายของได้แพงกว่ากันหรือน่าจะมีอำนาจในการตั้งราคามากกว่ากัน

  • ค่าใช้จ่าย…
  • พวกนี้ก็คือค่าใช้จ่ายอื่นๆที่ไม่ใช่ต้นทุนตรงของสินค้าหรือบริการ  เช่นค่าโฆษณา  คำเรียกสามัญเค้าจะเรียกว่า SG&A (Selling, general and administrative expenses)

  • ค่าเสื่อมและค่าตัดจำหน่าย
  • โดยทั่วไปมักจะรวมอยู่ในรายการอื่น  บางส่วนอยู่กับต้นทุนบางส่วนกับค่าใช้จ่าย  ถ้าสมมติต้องการตัวเลขค่าเสื่อมและตัดจำหน่ายก็ดูในงบกระแสเงินสดหรือในหมายเหตุประกอบงบการเงินก็ได้

  • กำไรจากการดำเนินงาน
  • รายการนี้ปกติเราก็จะนิยมเอาตั้งหารด้วยรายได้  จะได้ operating profit margin ซึ่งปกติผมจะคอยดูว่าทำได้สม่ำเสมอหรือเปล่า  ส่วนเรื่องสูงหรือต่ำนี่มันแล้วแต่อุตสาหกรรมมากๆ

  • ต้นทุนการเงิน
  • รายการนี้ก็แน่นอนว่ายิ่งน้อยยิ่งดี  ส่วนใหญ่ก็ดูเทียบกับกำไรจากการดำเนินงานหรือรายได้ก็ได้

  • ภาษี
  • กำไรสุทธิ
  • ตรงแถวนี้ก็คือกำไรสุทธิที่เป็นของผู้ถือหุ้นละ  บางทีจะมีส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยอยู่เค้าก็จะเขียนแยกออกมา

  • กำไรต่อหุ้น
  • มันจะมีแบบขั้นพื้นฐานกับปรับลด  ขั้นพื้นฐานก็คือกำไรหารด้วยจำนวนหุ้นที่ออกชำระแล้วอยู่ในปัจจุบัน  ส่วนปรับลดคือหารด้วยจำนวนหุ้นที่เผื่อสมมติว่ามีการใช้สิทธิพวกหลักทรัพย์ที่มีสิทธิแปลงเป็นหุ้นทั้งหลาย

  • กำไรเบ็ดเสร็จ
  • กำไรเบ็ดเสร็จนี่คือกำไรสุทธิที่รวมพวกรายการที่ยังไม่เกิดแต่อาจจะเกิดขึ้นเข้าไปด้วย

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

รายการหลักๆบนงบดุลที่ควรรู้

Balance Sheet essentials that you should know

รายการหลักๆบนงบดุลที่ควรรู้

มีคนขอให้ทำวีดิโออธิบายรายการหลักๆบนงบการเงิน  เราเริ่มจากงบดุลก่อนละกัน

งบดุลหรืองบแสดงสถานะทางการเงิน  วัตถุประสงค์หลักคือบอกว่าบริษัทมีสินทรัพย์อะไรอยู่และสินทรัพย์เหล่านั้นเป็นของใครบ้าง

รายการหลักๆที่เป็นสาระสำคัญก็จะมีดังนี้

เริ่มจากฝั่งสินทรัพย์ก่อน

หมวดแรกที่จะโผล่มาก่อนเสมอก็จะเป็นพวกสินทรัพย์หมุนเวียน  คำว่าสินทรัพย์หมุนเวียนคือหมายถึงสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง  เป็นเงินสดหรืออะไรที่เปลี่ยนเป็นเงินสดได้เร็วโดยไม่เสียมูลค่าเยอะ  รายการที่จะเห็นบ่อยๆก็จะมี

  • เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด  เงินลงทุนชั่วคราว  เงินลงทุนระยะสั้น
  • อันนี้ก็ได้แก่พวกเงินสดในบัญชีและรายการอื่นๆที่สภาพคล่องสูงมากจนใกล้เคียงเงินสด  โดยรวมแล้วรายการพวกนี้ดูไว้ให้รู้ว่าสมมติมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นบริษัทมีเงินไปจ่ายเท่าไหร่

  • ลูกหนี้การค้า
  • อันนี้คือลูกค้าที่ยังติดเงินเราอยู่  โดยปกติเราควรสังเกตว่าลูกหนี้การค้าเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียวกันกับยอดขาย

  • สินค้าคงเหลือ
  • อันนี้รวมทั้งพวกวัตถุดิบที่กำลังจะมาผลิตเป็นสินค้า, สินค้าที่ผลิตแล้วพร้อมขาย, ของอยู่ระหว่างการผลิตหรือของที่ซื้อมาแล้วพร้อมขาย  รายการนี้กับบางธุรกิจตัวเลขที่แสดงอยู่บนงบการเงินอาจจะไม่ตรงกับมูลค่าจริงๆของมันเท่าไหร่  ปกติเค้าจะบันทึกตามต้นทุนที่ซื้อมาแหละ  แต่บางธุรกิจเช่นสมมติแฟชั่นงี้  บางทีของที่เหลืออยู่มันอาจจะตกยุคไปแล้ว  มูลค่าขายจริงได้ต่ำกว่าที่บันทึกอยู่มากๆก็เป็นไปได้  ในทางกลับกันสมมติเป็นบริษัทก่อสร้าง  สินค้าคงเหลืออาจจะมูลค่าตรงมากก็ได้  รายการนี้เช่นเดียวกับลูกหนี้การค้าคือเราคอยดูว่ามันขยับไปทางเดียวกันกับยอดขาย

     
    หมวดถัดมาก็จะเป็นพวกสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน  พวกนี้ก็คือสินทรัพย์ที่แปลงเป็นเงินสดได้ยาก  รายการหลักๆก็จะมี

  • เงินลงทุนระยะยาว
  • ในกรณีที่มันเป็นจำนวนที่ใหญ่  เราก็สมควรไปอ่านหมายเหตุว่ามันคืออะไร

  • ที่ดินอาคารและอุปกรณ์
  • รายการอันนี้มีมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจแหละ  ในบางปีถ้าเราเห็นมันกระโดดพรวดขึ้นมาเราสมควรไปดูว่าบริษัททำอะไร

  • สินทรัพย์สิทธิการเช่า
  • สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
  • ค่าความนิยม
  • ถ้าเราเห็นค่าความนิยมเป็นสัดส่วนที่ใหญ่มันต้องแปลว่าบริษัทซื้อกิจการขนาดใหญ๋มาหรือไม่ก็ซื้อกิจการเยอะแน่นอน  ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องดีก็ได้แต่ก็เป็นอะไรที่เสี่ยงอยู่  สมควรอ่านเพิ่มเติมว่ามีการซื้อบริษัทอะไรมาเพราะอะไร

 

ฝั่งหนี้สิน

กลุ่มแรกก็จะเป็นหนี้สินหมุนเวียน  ซึ่งหมายถึงหนี้สินที่จะถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี  โดยปกติก็จะมี

  • เจ้าหนี้การค้า
  • เงินกู้ยืมระยะสั้น
  • ส่วนของเงินกู้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระ

โดยปกติตรงส่วนนี้ผมไม่ได้ซีเรียสเท่าไหร่  ยกเว้นในโหมดวิกฤติที่เราอาจจะต้องดูเงินกู้ระยะสั้นกับส่วนของเงินกู้ระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระหน่อยเพราะมันเป็นอะไรที่ใกล้ต้องจ่ายละ  ขนาดที่ใหญ่มากเทียบกับสภาพคล่องที่มีก็จะสยองนิดนึง

 

ส่วนถัดมาก็จะเป็นหนี้สินไม่หมุนเวียน  ซึ่งก็แน่นอนคือพวกที่ถึงกำหนดชำระเกิน 1 ปีขึ้นไป  ที่เห็นบ่อยๆก็จะมี

  • เงินกู้ระยะยาว  หุ้นกู้

อันนี้ซีเรียสละ  อย่างแรกเลยคือดูว่าเยอะหรือน้อยเมื่อเทียบกับกำไรที่บริษัททำได้  ถ้าเห็นเป็นตัวเลขที่เยอะและที่สำคัญถ้าเห็นว่ากำลังเพิ่มขึ้นก็ควรจะสงสัยว่ามีอะไรหรือเปล่า  เอาเงินไปทำอะไรเหรอ

 

ฝั่งส่วนของผู้ถือหุ้น

หลักๆจะมี

  • เงินของผู้ถือหุ้นตอนที่ระดมทุน
  • กำไรที่สะสมไว้ในบริษัท

ส่วนนี้ปกติไม่ค่อยซีเรียสเท่าไหร่

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

“ต้นทุนขาย” กับ “ค่าใช้จ่ายในการขาย” มันต่างกันยังไง ?

What are the differences between "Cost of Goods Sold" and "Selling Expenses" ?

“ต้นทุนขาย” กับ “ค่าใช้จ่ายในการขาย” มันต่างกันยังไง ?

มีคนอ่านงบการเงินแล้วมีคำถาม  เค้าเห็นว่าบนงบกำไรขาดทุนมันมีรายการอยู่สองอันชื่อคล้ายกันมาก  อันนึง “ต้นทุนขาย”  อีกอันนึง “ค่าใช้จ่ายในการขาย”  สองอันนี้มันต่างกันยังไง

เวลาเราเห็นคำว่า “ต้นทุน” นำหน้า  มันจะหมายถึงต้นทุนตรงที่ทำให้ได้มาของสินค้าหรือบริการนั้น  ถ้าสมมติเป็นบริษัทผลิตขนมปังขายอย่างฟาร์มเฮ้าส์  ต้นทุนตรงก็จะเป็นแป้ง, น้ำตาล, ของพวกที่ไปอยู่ในขนมปัง, รวมถึงบรรจุภัณฑ์พลาสติก, ค่าแรงคนงานที่ทำงานในโรงงานผลิต, ค่าเสื่อมของเครื่องจักรที่ผลิตขนมปัง, ฯลฯ  ถ้าเป็นธุรกิจค้าปลีกอย่าง CPALL, MAKRO ต้นทุนตรงหลักๆก็จะเป็นค่าสินค้าที่ซื้อจากผู้ผลิตมาขาย, รวมค่าขนส่งที่ขนมาจากผู้ผลิตมาถึงโกดัง, ติดบาร์โค้ดหรือฉลาก  ส่วนถ้าเป็นธุรกิจบริการต้นทุนตรงก็จะเป็นต้นทุนที่เกี่ยวกับตัวคนที่ให้บริการ  เช่นสมมติเป็นธุรกิจที่ปรึกษาต้นทุนตรงก็จะเป็นเงินเดือนและสวัสดิการต่างๆของที่ปรึกษา  ในทางบัญชีเค้าจะเรียกรายการนี้ว่า Cost of Goods Sold, COGS, Cost of Sales

ส่วนพวก “ค่าใช้จ่าย” ก็ตามชื่อแล้วแต่ว่าเป็นค่าใช้จ่ายเรื่องอะไร  พวกนี้ก็เป็นค่าใช้จ่ายอะไรก็ได้ที่ไม่ได้เป็นต้นทุนตรงของสินค้าหรือบริการเช่นค่าเช่าออฟฟิศ, โฆษณา, การตลาด, คอมมิชชั่น, เงินเดือนพนกงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าหรือให้บริการลูกค้า  รายการพวกนี้เรียกรวมๆว่า SG&A (Selling, general and administrative expenses)

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

เงินเฟ้อมีผลยังไงกับตลาดหุ้น ?

How is inflation related to stock market ?

เงินเฟ้อมีผลยังไงกับตลาดหุ้น ?

มีคนถามว่าเงินเฟ้อมีผลยังไงกับตลาดหุ้น  ถ้าเงินเฟ้อสูงจะทำให้หุ้นตกทั้งตลาดเหรอ  ทำไมคนถึงดูให้ความสนใจกับเงินเฟ้อ

เรื่องนี้เราแยกตอบสองประเด็น  ก่อนอื่นเลยต้องเข้าใจก่อนว่าที่คนเค้าพูดถึงเงินเฟ้อกันช่วงนี้  ไม่ใช่เพราะเค้ากังวลว่าเงินเฟ้อจะมีผลโดยตรงกับตลาดหุ้นนะ  เค้าแค่กังวลว่าเงินเฟ้อจะทำให้ธนาคารกลางหยุดกระตุ้นเศรษฐกิจเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น  และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะมีผลต่อตลาดหุ้นอีกที  การปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นทำให้ผลตอบแทนในสินทรัพย์อย่างพันธบัตรสูงขึ้น  ทำให้โดยเปรียบเทียบแล้วความน่าสนใจของหุ้นน้อยลง

ทีนี้ถ้าถามว่า  แล้วจริงๆเงินเฟ้อสูงขึ้นโดยตัวมันเองมีผลกระทบต่อตลาดหุ้นยังไง  อันนี้ยากนิดนึง  เพราะมันยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจน  ที่ผ่านมามันมีความพยายามในการศึกษาและมีคนเก็บข้อมูลได้ข้อสรุปต่างๆกันไป

โดยรวมแล้ว  ถ้าเป็นมุมมองระยะยาวมาก  เงินเฟ้อไม่มีผล  เพราะสุดท้ายในระยะยาวบริษัทก็สามารถปรับตัวตามเงินเฟ้อได้  ถ้าเงินเฟ้อสูงขึ้นต้นทุนสินค้าหรือบริการสูงขึ้น  บริษัทก็ขึ้นราคาขายสูงขึ้นตาม  ไม่ได้มีผลกระทบอะไร

แต่พอเป็นระยะสั้นมันเริ่มไม่แน่ละ  ส่วนใหญ่หลักฐานที่เค้าเจอคือเงินเฟ้อที่สูงราคาหุ้นก็มักจะตก  แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้เป็นทุกตลาดหุ้น  มีบางตลาดหุ้นที่ดูเหมือนเงินเฟ้อสูงขึ้นราคาหุ้นสูงขึ้นตามก็มี  (Sathyanarayana, S., Gargesa, S. (2018). An Analytical Study of the Effect of Inflation on Stock Market Returns. IRA-International Journal of Management & Social Sciences (ISSN 2455-2267), 13(2), 48-64. doi:http://dx.doi.org/10.21013/jmss.v13.n2.p3)

แต่ทั้งนี้มันก็มีความซับซ้อนจากปัจจัยอื่นๆอีกเช่น  เป็นหุ้นกลุ่มไหนบริษัทขนาดใหญ่หรือเล็ก, เงินเฟ้อสูงที่ว่านี่คือสูงแบบคนคาดอยู่แล้วมั้ยหรือว่าสูงกว่าที่คาด, เงินเฟ้อสูงที่ว่าคือสูงมากมั้ยเป็น hyperinflation เลยหรือเปล่า, เป็นเงินเฟ้อในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเติบโตหรือเป็นเงินเฟ้อช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ, ฯลฯ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ตอนนี้เศรษฐกิจอเมริกาฟื้นไปถึงไหนแล้ว ? ธุรกิจไหนฟื้นก่อน ? ธุรกิจไหนยัง ?

How is the recovery on US economy ? Which sector and industry recover first ? Which have not recovered yet ?

ตอนนี้เศรษฐกิจอเมริกาฟื้นไปถึงไหนแล้ว ? ธุรกิจไหนฟื้นก่อน ? ธุรกิจไหนยัง ?

ผมไปอ่านเจอบทความอันนี้ของ Morningstar คุยเรื่องเศรษฐกิจอเมริกาว่าฟื้นมาขนาดไหนแล้วเทียบกับช่วงก่อนโควิด  ซึ่งเป็นเรื่องที่กำลังอยากรู้พอดี  คือผมอยากรู้ว่าเศรษฐกิจของอเมริกาหลังจากเปิดให้ธุรกิจห้างร้านกลับมาปกติเกือบหมดแล้วมันเป็นยังไงบ้าง  เพราะถึงจุดนึงคาดว่าประเทศไทยก็น่าจะตามรอยเค้านะ

อันนี้ให้ดูจากเวป USA Today ว่าล่าสุดรัฐสีเขียวเป็นส่วนใหญ่ละ  หมายความว่าพวกข้อจำกัดต่างๆจากโควิดไม่มีละ  บางรัฐที่เป็นสีชมพูคือรัฐที่เริ่มมีนโยบายระวังโควิดกลับขึ้นมาเนื่องจากการระบาดเริ่มเยอะขึ้น  ส่วนสีน้ำเงินคือตอนนี้ข้อจำกัดยังไม่ยกเลิกแต่กำลังจะผ่อนคลายลง

ผมสรุปคร่าวๆเนื้อหาที่เค้าพูดถึงในบทความอัพเดทให้ฟัง

  • เค้ามองว่าการระบาดของ Delta ยังไงก็ไม่น่าจะมีผลต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจเท่าไหร่  เพราะคนที่ฉีดวัคซีนแล้วก็จะป่วยแบบอาการไม่หนักดังนั้นก็จะใช้ชีวิตได้ปกติ  ส่วนคนที่ยังไม่ฉีดก็คือคนที่ไม่แคร์และใช้ชีวิตตามปกติอยู่แล้ว
  • ในเรื่องเศรษฐกิจโดยรวม  เค้าคาดว่า Real GDP (GDP ที่ตัดผลของเงินเฟ้อแล้ว) จะเติบโต 6% และ 4.3% ในปี 2022  หลักๆแล้วมาจากปัจจัยทางฝั่งอุปทานคนกลับมาทำงานกันเยอะขึ้น  อัตราการว่างงานต่ำลง  ด้านอุปสงค์ไม่น่าจะมีปัญหาเพราะปัจจุบันเราก็เห็นอยู่แล้วว่าเงินเฟ้อสูงขึ้นเป็นเพราะความต้องการสินค้าบริการกลับขึ้นมาเร็วกว่าทางฝั่งผู้ผลิต
  • ส่วนเรื่องการบริโภค  ของอุปโภคบริโภคนี่เป็นตัวนำเศรษฐกิจฟื้นเลย  หลักๆน่าจะมาจากการที่รัฐบาลออกนโยบายให้เงินกระตุ้น  ส่วนภาคบริการก็ฟื้นขึ้นมาอย่างเร็ว  แต่ปัจจุบัน Q2 2021 ยังต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดอยู่ 3.3%  เชื่อว่าในอนาคตก็จะฟื้นตัวกลับไปสูงกว่าก่อนโควิด  Delta อาจจะทำให้ฟื้นช้าแต่คาดว่ายังไงก็ฟื้นแน่
  • กลุ่มธุรกิจร้านอาหารกับโรงแรม  ตอนนี้ต่ำกว่าช่วงก่อนโควิดแค่ประมาณ 3% เท่าน้ัน  ซึ่งถือว่าฟื้นมาเยอะมากเพราะเป็นกลุ่มธุรกิจที่กระทบหนักจริงๆ  ตอน Q2 2020 นี่ตกไป 40%
  • ธุรกิจกลุ่มสุขภาพตอนนี้ก็ต่ำกว่าก่อนโควิดประมาณ 4.3%  หลักๆมาจากการที่คนส่วนใหญ่ถ้าไม่จำเป็นก็ยังหลีกเลี่ยงการไปหาหมอเพราะความเสี่ยงจากการติดโควิด
  • สาเหตุที่ธุรกิจบริการบางประเภทฟื้นตัวเร็วกว่า  เช่นร้านอาหารดูฟื้นตัวเร็วกว่าบริการอย่างสุขภาพ  น่าจะเป็นเพราะธุรกิจบริการบางประเภทต้องมีการวางแผนล่วงหน้า  อย่างเช่นการท่องเที่ยว, คอนเสิร์ตหรือการรักษาทางการแพทย์ที่จริงจังอย่างผ่าตัด  พวกนี้ต้องใช้เวลาซักพักถึงจะเริ่มมองเห็นการฟื้นตัว
  • การจ้างงานฟื้นตัว  แต่ดูจะฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด  เค้าคาดว่าการจ้างงานน่าจะฟื้นเต็มที่กลางปีหน้า  ณ ตอนนี้ Q2 2021 อัตราการจ้างงานยังต่ำกว่าก่อนโควิดอยู่ประมาณ 4.5%
  • ทั้งที่การจ้างงานจะยังไม่กลับมาเต็มที่  แต่ Real GDP ของ Q2 2021 ก็สูงกว่าที่คาด  มาจากการที่คนทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • พนักงานกำลังกลับไปทำงานในออฟฟิศ  เมื่อปีที่แล้วเค้าคาดว่าพนักงานประมาณ 40% ทำงานจากที่บ้าน  แต่ตอนนี้น่าจะเหลือประมาณ 20%  เมื่อจบเรื่องโควิดก็คาดว่าจะเหลือประมาณ 13% ซึ่งสูงกว่า 9% ช่วงก่อนโควิด
  • ส่วนที่ยังห่างไกลกับก่อนโควิดมากคือพวกการเดินทางเรื่องงาน  ธุรกิจที่พึ่งพาการเดินทางเรื่องงานก็น่าจะลำบาก  ต่อให้โควิดหายไปก็ยังไม่แน่ว่าจะฟื้นกลับมามั้ย  และในเวลานี้จากการสำรวจของ Deloitte ที่ทำกับธุรกิจใหญ่ๆคาดว่า Q2 2021 ที่ผ่านมาการใช้จ่ายเพื่อการเดินทางในธุรกิจอยู่ในระดับ 10-15% ของปี 2019  คาดว่าจะกลับไปที่ 75% ภายในสิ้นปี 2022
  • สำหรับคนที่สนใจจะอ่านบทความอันนี้ของ Morningstar ผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้ครับ  https://www.morningstar.com/articles/1056741/how-close-is-the-us-economy-to-normal

น่าสนใจอยู่นะ  ในแง่นึงมันก็ทำให้ผมรู้ว่าเศรษฐกิจของอเมริกานี่ฟื้นมาเยอะละนะ  และการที่เห็นตัวอย่างว่าธุรกิจอย่างร้านอาหารหรือสินค้าต่างๆฟื้นก่อนบริการประเภทอื่นก็เป็นอะไรที่มีประโยชน์  เผื่อถึงเวลาของไทยฟื้นผมก็จะซื้อหุ้นกลุ่มพวกนี้ก่อน

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ถ้าบริษัทที่เราถือหุ้นเจ๊ง จะเกิดอะไรขึ้น เราจะได้เงินคืนมั้ย ?

What happens if the stock we held went out of business ? Do we get our money back ?

ถ้าบริษัทที่เราถือหุ้นเจ๊ง จะเกิดอะไรขึ้น เราจะได้เงินคืนมั้ย ?

ผมก็ไม่ได้ว่าเป็นนักกฎหมายหรือมีประสบการณ์ตรงรู้เรื่องอะไรนักหนา  แต่จะอธิบายเท่าที่เข้าใจละกัน

คือหลักๆแล้ว  เวลาบริษัทมีปัญหาหรือเจ๊งก็คือบริษัทดำเนินธุรกิจไปแล้วขายของไม่ได้หรือเก็บเงินไม่ได้  ไม่สามารถชำระหนี้ได้  บริษัทก็จะทำได้อยู่สองแบบหลักๆคือ

  1. เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ
  2. ล้มละลาย

ฟื้นฟูกิจการ  หลักๆก็คือตามชื่อแหละ  บริษัทมองว่าสถานการณ์ยังแก้ไขได้น่าจะรอด  เพียงแต่ในเวลานี้อาจจะไม่มีเงินจ่ายหนี้นะ  ต้องใช้เวลาแก้ไขสถานการณ์  บริษัทขอให้ศาลสั่งให้พักชำระหนี้  มีการเจรจากับเจ้าหนี้  เพื่อให้บริษัทยังสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้  บริษัทต้องมีการเสนอแผนการในการฟื้นฟูกิจการว่าจะทำยังไงให้สถานการณ์ดีขึ้นแล้วสุดท้ายจะกลับมาชำระหนี้ได้  เผื่อใครสนใจอ่านเพิ่มเติมผมเจอเอกสารอยู่ที่นี่ http://www.led.go.th/brd/file/2-%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89/%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89.pdf

ส่วนล้มละลายนี่คือจบละ  บริษัทเลิกกิจการ  มันก็จะมีการที่ศาลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มาเป็นคนจัดการทรัพย์สินของบริษัท  หลักๆก็คือตามเก็บเงินให้ครบแล้วก็ขายทรัพย์สินทุกอย่างทิ้ง  เอาเงินที่ได้มาจ่ายเจ้าหนี้ก่อน  แล้วเหลือยังไงก็มาจ่ายผู้ถือหุ้นสุดท้าย  เผื่อสนใจอ่านกระบวนการผมเคยเจออยู่ที่ลิ้งค์นี้ https://cbc.coj.go.th/th/content/article/index/id/6191

ทีนี้เรื่องต่อมาคือ  แล้วมันจะมีผลกับผู้ถือหุ้นยังไง  เราจะได้เงินคืนมั้ย  คำตอบโดยรวมก็คือเราจะเละแหละ  ถ้าสมมติบริษัทที่เราถือหุ้นอยู่เกิดมีปัญหาต้องฟื้นฟูกิจการหรือถึงขั้นต้องยื่นล้มละลาย  ในกรณีที่ล้มละลายนี่ก็ชัดเจนอยู่ละ  ไม่ว่าเราจะขายไปก่อนระหว่างทางหรือถืออยู่จนจบกระบวนการ liquidation  เงินที่เราได้มันก็ต้องน้อยกว่าก่อนที่บริษัทจะประกาศล้มละลายอยู่แล้ว  ส่วนกรณีฟื้นฟูกิจการก็เช่นกัน  มันอาจจะเป็นไปได้ที่แผนฟื้นฟูสำเร็จ  บริษัทฟื้นกลับมา  แต่ส่วนใหญ่แล้วกว่าจะทำได้ก็นาน  เพราะถ้าไม่ใช่ปัญหาซีเรียสจริงมันก็ไม่ต้องเข้ากระบวนการฟื้นฟูกิจการตั้งแต่แรก  และเคยอ่านเจอว่าเกินครึ่งก็ทำไม่สำเร็จด้วย

สรุปแล้ว  ถ้าหุ้นบริษัทที่เราเป็นเจ้าของอยู่เจ๊ง  ผลคือเงินลงทุนเราก็จะเละครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี