ลงทุนทั้งหมด 100% ในหุ้นตัวเดียวที่เราเข้าใจเป็นอย่างดีเลยดีมั้ย ?

Should you put 100% of your money into one stock that you understand really well ?

ลงทุนทั้งหมด 100% ในหุ้นตัวเดียวที่เราเข้าใจเป็นอย่างดีเลยดีมั้ย ?

คำถามนี้ถ้าเป็นสมัยก่อนตอนเด็กๆผมน่าจะตอบว่าดี  แต่มาตอนนี้ผมว่าถือหุ้นบริษัทเดียวเลยมันเสี่ยงไปนิด  ต่อให้เข้าใจธุรกิจนั้นอย่างดีก็ตาม

ปัญหาของเรื่องคือบางทีมันพลาดได้น่ะครับ

  • ประเด็นแรกสำคัญสุดเลยคือ  ไม่ว่าเราจะใกล้ชิดหรือคุ้นเคยกับบริษัทนั้นขนาดไหน  บางทีมันก็มีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้  แล้วบางทีมันก็ปุบปับมากหรือมาจากเรื่องที่ควบคุมไม่ได้ด้วยนะ  นึกถึงอย่างหุ้นโรงเรียนกวดวิชาของจีน  หรือรัฐบาลสหรัฐยกเลิกการใช้คุกเอกชนเป็นต้น
  • และอีกเรื่องนึงสำคัญตามมาคือ  บางทีเรามี bias  คือคนเราก็ไม่ใช่จะตัดสินใจด้วย logic ตลอด  บางทีเราอาจจะมีความลำเอียงเข้าข้างบริษัทที่เราถือหุ้นอยู่มากไป  จะด้วยเพราะเราชอบสินค้าเค้ามากหรือเราอยู่ในธุรกิจนั้นหรือเราทำงานในบริษัทนั้นก็แล้วแต่  ทำให้บางทีเรามองข้ามสัญญาณของปัญหาครับ  ในอดีตมันก็มีเคสพนักงานบริษัทที่ถือหุ้นส่วนใหญ่ในบริษัทของตัวเองที่ดันเป็นบริษัทโกงอย่าง Enron, Worldcom แล้วก็เจ๊ง  เสียหายกันเยอะมากทั้งที่เป็นคนในด้วยนะ

สรุปแล้วคือ  ผมว่าลงทุนในหุ้นบริษัทเดียวเลยก็เสี่ยงไปนิด  ถ้าไม่นิยมลงทุนกระจายก็เลือกเอาซัก 3-4 บริษัทที่เราไว้ใจดีกว่า

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

รายการที่เป็น GAAP กับ Non-GAAP คืออะไร ต่างกันยังไง ?

Difference between GAAP and Non-GAAP

รายการที่เป็น GAAP กับ Non-GAAP คืออะไร ต่างกันยังไง ?

มีนักเรียนเรามีคำถามนี้หลังจากไปอ่านพวกรายงานประจำปีกับงบการเงินของบริษัทต่างประเทศ

จริงๆเรื่องนี้ไม่มีอะไรมาก  GAAP คือมาตรฐานบัญชีของสหรัฐอเมริกาย่อมาจาก Generally Accepted Accounting Principles  รายการอะไรก็แล้วแต่ที่ตาม GAAP ก็คือเป็นรายการที่รายงานตามมาตรฐานบัญชี  อย่างเช่น Net Income, Revenue, Gross Profit, Operating Profit, Reported EPS, ฯลฯ  พวกนี้จะมีกฎค่อนข้างตายตัวและโดยปกติคือสามารถใข้เปรียบเทียบข้ามบริษัทได้

ส่วน Non-GAAP ก็ตามชื่อคือรายการที่ไม่ได้อยู่ในมาตรฐานบัญชีแต่บริษัทอยากรายงานให้ผู้ถือหุ้นทราบ  อาจจะเพราะบริษัทเชื่อว่ามันจะทำให้ผู้ถือหุ้นเข้าใจบริษัทได้ดีขึ้นหรือสะท้อนผลประกอบการได้ดีกว่า  ซึ่งมีทั้งที่เราเห็นทั่วไปจนบางทีนึกว่าเป็น GAAP อย่างเช่น EBIT, EBITDA  และพวกที่ชัดเจนว่าแล้วแต่บริษัทเช่น Restaurant Margin, Adjusted Net Income, Funds from Operation, ฯลฯ  โดยปกติพวกนี้มันจะแล้วแต่นิยามของแต่ละบริษัทให้ความหมาย  ถ้าเราจะเอาตัวเลขนี้ของบริษัทนึงเปรียบเทียบกับอีกบริษัทอาจจะต้องใช้ความระมัดระวังมาก  ต้องดูในรายละเอียดว่ามันอันเดียวกันหรือเปล่าสมควรเปรียบเทียบกับจริงมั้ย  เช่นอย่าง Adjusted Net Income  คำว่า Adjusted นี่คือเรารู้ว่ามันมีการตัดหรือเพิ่มบางอย่างแน่  ไม่ใช่ Net Income ปกติตาม GAAP  แต่คนละบริษัทก็อาจจะตัดหรือเพิ่มรายการที่ไม่เหมือนกันดังนั้น Adjusted Net Income ถึงแม้จะชื่อเหมือนกันแต่ก็อาจจะเทียบกันตรงๆไม่ได้

ตัวอย่าง Non-GAAP  ลอง Search คำว่า “Non-GAAP” ดูแล้วอ่านๆดูจะเห็นภาพ

https://investor.texasroadhouse.com/press-releases/press-release-details/2021/Texas-Roadhouse-Inc.-Announces-Second-Quarter-2021-Results/default.aspx

https://d18rn0p25nwr6d.cloudfront.net/CIK-0001538990/dd33d358-255d-42ec-b2d8-2f5e0d2d6fec.html

สรุปคือ GAAP กับ Non-GAAP ก็คือตามหรือไม่ตามมาตรฐานบัญชีเท่านั้นเอง  Non-GAAP ก็ไม่ได้แปลว่ามีปัญหาอะไรนะ  แค่ว่าเราต้องทำความเข้าใจว่ามันคืออะไรเวลาอ่านเท่านั้นเอง  หลายครั้งก็มีประโยชน์นะ  หลายธุรกิจมันก็อาจจะมีอัตราส่วนทางการเงินหรือตัวเลขบางตัวที่เฉพาะธุรกิจนั้นๆอยู่  สุดท้ายที่จะฝากคือถ้าไม่ใช่ US  มาตรฐานบัญชีส่วนใหญ่จะอิง IFRS  ดังนั้นถ้าบริษัทที่ไม่ใช่ US บางทีเราก็จะเห็น IFRS กับ Non-IFRS ซึ่งก็คือความหมายเดียวกันกับ GAAP กับ Non-GAAP ครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

หา EBITDA ยังไง ?

How to find EBITDA ?

หา EBITDA ยังไง ?

มีคนถามว่าเราจะหา EBITDA จากไหน

หลักๆก็มีอยู่สองแบบคือ

  1. บางบริษัทมีอยู่ในรายงานประจำปี
  2. ถ้าไม่มีก็คำนวณเอง

ถ้ามันมีบอกอยู่แล้วก็ง่ายสุด  รายการนี้ไม่ได้เป็นรายการทั่วไปที่จะอยู่บนงบการเงิน  แต่บางบริษัทอาจจะพูดถึง  ดังนั้นโอกาสสูงสุดที่จะเจอคือเจอในรายงานประจำปี  ตัวอย่างบริษัทที่มีก็เช่น Minor International, National Express, etc.  ตัวอย่างบริษัทที่ไม่มีก็เช่น TFMAMA, Costco, etc.

แต่ถ้าบางบริษัทไม่มีก็คำนวณเองเลย  EBITDA มันก็คือกำไรก่อนค่าใช้จ่ายทางการเงินกับภาษีเงินได้ + ค่าเสื่อม + ค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน  ซึ่งเลขพวกนี้หาได้บนงบการเงินอยู่แล้ว  กำไรก่อนค่าใช้จ่ายทางการเงินกับภาษีเงินได้อยู่บนงบกำไรขาดทุน  ส่วนค่าเสื่อมกับค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะอยู่ในงบกระแสเงินสดต้นๆเลยเป็นรายการบวกกลับมา  อยู่ในหมวดกิจกรรมดำเนินงานแน่นอน

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

หุ้นจีนยังน่าลงทุนอยู่มั้ย ? หลังล่าสุดรัฐบาลออกกฎคุมเข้มธุรกิจต่างๆ

Are Chinese stocks still interesting given recent crackdowns ?

หุ้นจีนยังน่าลงทุนอยู่มั้ย ? หลังล่าสุดรัฐบาลออกกฎคุมเข้มธุรกิจต่างๆ

มีนักเรียนหลายคนถามถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาที่หุ้นจีนตกเพราะรัฐบาลออกมาจัดการกับบริษัทเทคโนโลยีในจีนกับออกกฎใหม่ที่กระทบธุรกิจเรียนพิเศษในจีน  จนทำให้หุ้นจีนตกเยอะมาก  กรณีแบบนี้ตลาดหุ้นจีนยังน่าสนใจอยู่มั้ยเห็นผมเคยสนใจหุ้นในจีนโดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นโรงเรียน  หรือกรณีแบบนี้ถือเป็นโอกาสหรือเปล่า

โดยรวมผมก็มองว่าเหตุการณ์นี้เป็นโอกาสนะ  แต่แค่เราต้องเลือกนิดนึง

ในมุมมองของผมคือการที่รัฐบาลจีนทำแบบนี้  ไม่ได้มีเจตนาขัดขวางทุนนิยมหรือต้องการกลับไปเป็นสังคมนิยม  แต่เค้าแค่ต้องการเอาให้ชัวร์ว่าบริษัทอย่าง Alibaba, Tencent พวกนี้ยังอยู่ภายใต้การควบคุมและไม่กลายเป็นผูกขาดหรือใหญ่เกินไปเท่านั้นเอง  ส่วนเรื่องที่จัดการธุรกิจเรียนพิเศษอันนั้นมันไม่ได้เกี่ยวกัน  แค่บังเอิญเกิดขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน  เป้าหมายของเค้าคือพยายามแก้ปัญหาเรื่องประชากรเกิดน้อยโดยการลดต้นทุนของการเลี้ยงลูกลง  ซึ่งอาจจะดูรุนแรงมากเป็นเพราะรัฐบาลมองว่าเด็กควรจะเรียนหนังสือที่โรงเรียนไม่ใช่มาเรียนพิเศษ  มุมมองของรัฐบาลต่อธุรกิจนี้เค้าพูดไว้ชัดเจนอยู่แล้วว่ามองว่าเป็นปัญหาสังคม  เค้าก็เลยจัดการหนัก  แต่ไม่คิดว่าเป็นไปได้ที่รัฐบาลจีนจะทำแบบนี้กับทุกธุรกิจ

ทีนี้ที่บอกมองว่าเป็นโอกาส  ก็เพราะมันลามไปทำให้หุ้นธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องตกไปด้วยมากกว่า

เราในฐานะนักลงทุน  เราก็อย่าไปซื้อบริษัทที่มันโดนจังๆแบบประเภทกะไม่ให้ทำธุรกิจได้เลย  อย่างพวกที่ทำกวดวิชาเป็นหลักนี่คือเลี่ยงแน่นอนเพราะมันเสี่ยงเกินไปเยอะ  เราไม่รู้เลยว่าบริษัทพวกนี้มันจะปรับตัวอะไรยังไงแล้วจะรอดมั้ย  ส่วนหุ้นกลุ่ม tech อย่าง Alibaba หรือ Tencent  ผมก็มองว่าโอเคอยู่นะ  รัฐบาลจีนไม่ได้มีเจตนาจะเอาจนเละอยู่แล้ว  แต่ก็มีความเสี่ยงอยู่ว่ารัฐบาลจีนอาจจะอยากให้บริษัทพวกนี้มีอำนาจผูกขาดน้อยลง

ทีนี้สำหรับหุ้นโรงเรียนระดับประถมมัธยมที่ผมเคยพูดถึงในวีดิโอก่อนหน้า  ดูแล้วก็มีความเสี่ยงอยู่  ส่วนตัวไม่คิดว่าอยู่รัฐบาลจะประกาศให้โรงเรียนทั้งหมดต้องเป็น Non-profit แบบกวดวิชา  เพราะยังไงเค้าก็ยังต้องมีโรงเรียนเอกชนเหลืออยู่  ไม่เหมือนกวดวิชาเรียนพิเศษที่เค้ามองว่าไม่จำเป็นเลย  แต่ทั้งนี้ก็อาจจะมีมาตรการเช่นจำกัดการตั้งราคาค่าเทอมหรืออะไรออกมา  ดังนั้นก็มีความเสี่ยง  แต่เนื่องจากราคาหุ้นบริษัทกลุ่มนี้ก็ตกเยอะเหลือเกิน  ผมคิดว่าสำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้มากหน่อยหุ้นกลุ่มนี้ก็ยังเป็นโอกาสดีอยู่

ส่วนที่ดีสุดเลยคือเรามองหาหุ้นที่มันไม่เกี่ยวสุดๆแต่ราคาดันตกจะดีที่สุด เช่นหุ้นอุตสาหกรรม, หุ้นของกิน, ฯลฯ  เพราะในเหตุการณ์นี้มันไม่เหมือนกับโควิด  มันเป็นนโยบายรัฐบาลซึ่งอะไรก็เกิดขึ้นได้จริงๆ  ถ้ามีทางเลือกเราฉวยโอกาสเอาในกลุ่มที่ตกแบบไม่มีเหตุผลดีกว่า

แต่ทั้งนี้  ต้องบอกว่าอันนี้คือมองระยะยาวเท่านั้นนะ  ในระยะสั้นก็อาจจะมีการแทรกแซงเพิ่มและตลาดอาจจะตกอีกก็ได้  ถ้าใครรู้ตัวว่าไม่สามารถถือยาวหรือทนความตื่นเต้นเวลาราคาตกได้  ก็สมควรหลีกเลี่ยงหุ้นจีนครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

อัพเดทสถานการณ์การลงทุน : ดูเหมือนเดลต้าจะไม่เลวร้ายอย่างที่คิด

Augest 2021 Investment Update : Delta variant isn't as bad as previously thought.

อัพเดทสถานการณ์การลงทุน : ดูเหมือนเดลต้าจะไม่เลวร้ายอย่างที่คิด

วีดิโอนี้เราติดตามสถานการณ์ต่อจากวีดิโอที่แล้ว

คำถามสำคัญของวีดิโอที่แล้วที่เราทิ้งไว้คือ  “สรุปการฉีดวัคซีนได้เยอะทำให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติได้หรือเปล่า  หรือซักพักก็ต้องกลับมาปิดธุรกิจปิดห้างร้านอาหารกันใหม่อยู่ดี ?”  ถ้าได้ก็หมายความว่าประเทศต่างๆถึงจุดหนึ่งก็จะสามารถกลับมาสู่สภาวะปกติได้ธุรกิจก็จะฟื้น  หุ้นบริษัทที่เกี่ยวกับท่องเที่ยวหรือโดนโควิดกระทบตรงๆก็จะฟื้น  แต่ถ้าไม่ได้ก็แปลว่าพวกหุ้นท่องเที่ยวหรือโดนโควิดกระทบตรงๆก็เตรียมเละได้เลย  เพราะไม่รู้เมื่อไหร่จะกลับมาสู่สภาวะปกติได้  บริษัทไม่สามารถทนขาดทุนไปได้เรื่อยๆ  โดยเราบอกให้จับตามองประเทศอังกฤษเป็นหลัก  เพราะฉีดวัคซีนได้เยอะและเพิ่งกลับมาอนุญาตให้คนใช้ชีวิตได้ค่อนข้างปกติ  ในขณะเดียวกันในตอนนั้นจำนวนผู้ป่วยใหม่ก็กำลังพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว  และก็เลยเป็นเหตุผลที่วีดิโอที่แล้วผมบอกว่าความเสี่ยงสูงขึ้นนะ

มาถึงตอนนี้  ประมาณ 1 เดือนผ่านไป  สถานการณ์ยังไม่ถึงกับชัด  แต่เท่าที่ดูดูเหมือนความเสี่ยงจะลดลง  ไม่เลวร้ายอย่างที่คิด

ปรากฎว่าหลังจากช่วงที่ทำวีดิโอรอบที่แล้วไป  จำนวนผู้ป่วยใหม่ในอังกฤษไม่ได้สูงแบบพรวดๆต่อเนื่อง  ดูเหมือนอยู่ในระดับที่ไม่เลวร้ายเท่าไหร่เมื่อพิจารณาประกอบว่า Freedom Day ผ่านมา 1 เดือนแล้ว

จำนวนผู้ป่วยใหม่ต่อวันก็น้อยกว่าช่วงเดือนที่แล้ว  จำนวนคนตายเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับจำนวนคนป่วยที่เพิ่มขึ้น  แต่ก็เห็นได้ชัดว่าวัคซีนน่าจะได้ผลเพราะจำนวนคนตายต่อวันรวม 7 วันแค่ 687 คน  ซึ่งคือเฉลี่ย 98.14 คนต่อวัน  ต่ำกว่าไทยอีก  และเรื่อง Positivity rate ก็ไม่สูง  กะคร่าวๆคือ 227,391 คนจาก 5,213,493 ที่ตรวจ  คิดเป็น 4.36% เท่านั้น (ตัวเลขไม่เป๊ะเพราะสังเกตว่าวันที่มันไม่ตรง)

บางประเทศก็ยังไม่ชัดเท่าไหร่เช่นใน US ที่จำนวนผู้ป่วยใหม่ก็ดูเยอะอยู่และยังอยู่ในทิศทางขาขึ้น  แต่อย่างน้อยจำนวนการตายก็ยังดูไม่เลวร้าย  คล้ายๆกับอังกฤษช่วงก่อนหน้านี้ที่เคสเยอะแต่ถึงตายน้อย

โดยรวมแล้วผมก็สบายใจขึ้นนะ  เพราะเราเห็นตัวอย่างของอังกฤษว่ามันจะไม่ใช่พุ่งสูงไปเรื่อย  และดังนั้นหมายความว่าก็ไม่น่าจะต้องปิดธุรกิจตราบใดที่ไม่มีสายพันธุ์ใหม่อะไรโผล่มาพลิกสถานการณ์  เป็นผลดีอย่างยิ่งกับหุ้นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากโควิดที่ผมถืออยู่

พูดถึงประเทศไทยนิดนึง  ช่วงนี้เห็นตัวเลขจำนวนคนป่วยใหม่ต่อวันใกล้เคียงเดิมและมีแววจะลดลง  บางคนก็บอกว่าเพราะตรวจน้อย  ก็เป็นไปได้แหละ  แต่ในสาระสำคัญภาพใหญ่ก็คือมันจะมีจุดสิ้นสุด  เพราะเราเห็นว่าวัคซีนได้ผล  และเอาจริงๆถ้าติดกันเยอะมากถึงจุดนึงมันก็จะเริ่มระบาดน้อยลงเพราะคนติดกันไปหมดแล้ว  เหมือนอย่างในอินเดีย  

ดังนั้นภาพรวมในการลงทุนผมก็มองเหมือนเดิมคือเป็นผมจะลงทุนในบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากโควิดและคิดว่ามีเงินทุนเหลือพอน่าจะรอด

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

กองทุนรวมที่เลียนแบบ Hedge Fund

A Type of Fund Replicating the Successes of Hedge Funds

กองทุนรวมที่เลียนแบบ Hedge Fund

พอดีผมเจอบทความของ Morningstar พูดถึงเรื่อง Liquid Alternatives Funds น่าสนใจเลยมาเล่าให้ฟังครับ

คือต้องเล่าให้เห็นภาพนิดนึง  ช่วงหลังมานี้การลงทุนใน Hedge fund มันได้รับความนิยมมากขึ้น  เค้ามองว่าเป็นการลดความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตได้  เพราะผลตอบแทนของ Hedge fund ปกติจะต่างจากสินทรัพย์อื่นเยอะ  และในบางประเภทอาจจะคาดหวังว่าได้เปรียบเวลาที่ตลาดตกด้วยซ้ำอย่าง Hedge fund ที่ใช้กลยุทธ์แบบ Short only  แต่ที่ผ่านมา Hedge fund ไม่ได้ขายให้กับบุคคลทั่วไป  ตัว Liquid Alternatives Funds นี่ก็มีขึ้นมาในภายหลัง  หลักการคือเป็นกองทุนรวมที่เปิดให้กับบุคคลทั่วไปลงทุน  โดยกองทุนรวมพวกนี้ใช้วิธีการลงทุนแบบ Hedge fund

พอดีเจอบทความของ Morningstar พูดถึง Liquid Alternatives Funds ว่าสรุปแล้วกองทุนพวกนี้ผลงานเป็นไงบ้าง  อ่านดูก็น่าสนใจผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้เผื่อใครสนใจไปอ่านเองครับ https://www.morningstar.com/articles/1049091/liquid-alternatives-funds-is-there-any-hope

หลักๆแล้วสรุปได้ว่า  

  • ผลตอบแทนสุทธิที่กองทุนประเภทนี้ทำได้เฉลี่ยแค่ 1.66% ต่อปีเท่านั้นเอง  
  • ผลตอบแทนแย่กว่ากองทุนประเภทอื่นเกือบทั้งหมด  รวมถึงกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ด้วย
  • กองทุนประเภทนี้ทั้งหมดที่ออกมาตั้งแต่ปี 2009 มี 453 กอง  ปัจจุบันเหลืออยู่ 153 กองเท่านั้น
  • ปัญหาอย่างนึงที่ทำให้กองทุนประเภทนี้ไม่ได้รับความนิยมน่าจะเป็นเพราะความซับซ้อน  นักลงทุนอาจจะไม่เห็นภาพว่ากองทุนลงทุนอะไรยังไง  ขาดทุนขึ้นมาก็ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นเพราะอะไร
  • ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ Hedge fund ก็ผลตอบแทนแย่พอดี  และพวก Liquid Alternatives Funds เองก็เลียนแบบวิธีการลงทุนของ Hedge fund ได้ไม่สมบูรณ์เพราะข้อจำกัดว่ามันต้องมีสภาพคล่องให้คนลงทุนสามารถซื้อขายได้ตลอดด้วย
  • ค่าธรรมเนียมเฉลี่ยคือ 1.66%  ถูกกว่า Hedge fund แต่ก็แพงกว่ากองทุนรวมทั่วไป  เนื่องจากผลตอบแทนสุทธิก็ 1.66% เหมือนกันพอดี  แปลว่าช่วงที่ผ่านมาผลตอบแทนทั้งหมดที่กองทุนประเภทนี้ทำได้โดยเฉลี่ยก็แบ่ง 50/50 กับนักลงทุนพอดี

ฟังแบบนี้ก็เหมือนกองทุนประเภทนี้ดูไม่มีประโยชน์  แต่ทั้งนี้ผู้เขียนก็ยังมองว่ามันน่าจะมีประโยชน์อยู่นะ

  • ตอนปีที่กองทุนพวกนี้เริ่ม  มันเป็นช่วงตลาดขาขึ้นซึ่งกองทุนพวกนี้ไม่มีประโยชน์เท่าไหร่พอดี
  • ในเวลานี้อัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์ที่คนนิยมใช้เพื่อกระจายความเสี่ยงอย่างตราสารหนี้มันต่ำลง  ดังนั้นโดยเปรียบเทียบกองทุนพวกนี้ก็น่าจะน่าสนใจขึ้น
  • กองทุนที่รอดอยู่ในเวลานี้มีประวัติยาวนานมากขึ้น  กองห่วยๆตายไปเยอะแล้ว

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ต้นเหตุที่แท้จริง ทำไมคนลงทุนไม่ประสบความสำเร็จ

Main reason why people fail

ต้นเหตุที่แท้จริง ทำไมคนลงทุนไม่ประสบความสำเร็จ

ที่ผ่านมามีหลายครั้งที่มีคนปรึกษาเรื่องการลงทุนเพราะลงทุนได้ผลลัพธ์ไม่ดี  ผมก็เริ่มสังเกตนะว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้บางคนลงทุนแล้วดูไม่ค่อยเวิร์ค  ในตอนแรกผมก็รู้สึกว่ามันมีสาเหตุได้หลายแบบนะ  ทั้งเรื่องตัดสินใจด้วยอารมณ์, มือใหม่มากเลยไม่มีความรู้, ฯลฯ  แต่ในภายหลังพอเจอเคสเยอะขึ้นเรื่อยๆ  ผมก็รู้สึกว่าจริงๆสาเหตุที่คนลงทุนไม่ได้ดีมาจากสาเหตุหลักๆอยู่เรื่องเดียว  นั่นคือไม่ได้รู้สึกว่าการซื้อหุ้นคือการซื้อความเป็นเจ้าของในบริษัท

พอคนไม่รู้สึกว่าการซื้อหุ้นคือการเข้าไปเป็นเจ้าของบริษัท  มองแค่ซื้อมาขายไปหรือเห็นเป็นรหัสบนกระดานตัวเลขวิ่งๆหรืออะไรซักอย่าง  มันก็จะทำให้เกิดอาการอื่นๆตามมา  ยกตัวอย่างเช่น

  • ไม่ได้ศึกษาข้อมูลก่อนซื้อ
  • ซื้อตามๆคนอื่น
  • ซื้อตอนแพง
  • ตกใจเวลาราคาตก
  • เครียด
  • ถือยาวไม่ได้
  • ตัดสินใจบนอารมณ์

สรุปคือ  ถ้าจินตนาการไว้แต่แรกว่าการซื้อหุ้นคือการซื้อบริษัท  หรืออย่างน้อยตั้งกติกากับตัวเองว่าถ้าซื้อแล้วจะไม่ขายภายในระยะเวลา 1 ปี  น่าจะช่วยแก้ปัญหาได้เยอะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

เวลาคำนวณผลตอบแทนที่ทำได้ อย่ามองแค่ Capital Gain

Focus on an Investment's Total Return Not Capital Gains

เวลาคำนวณผลตอบแทนที่ทำได้ อย่ามองแค่ Capital Gain

คือบางทีผมเจอคนบ่นว่าผลตอบแทนของหุ้น XYZ อะไรซักอันนึงน้อย  ถือไว้หลายปีราคาหุ้นมันขึ้นมา 10% เอง  แต่พอถามว่า Total return ซึ่งคือผลตอบแทนที่รวมปันผลด้วยมันคือเท่าไหร่  ส่วนใหญ่จะบอกไม่รู้เพราะที่ผ่านมาไม่ได้สังเกต  แล้วเวลาดูบนหน้าจอสรุปพอร์ตมันไม่โชว์ปันผลด้วยไง  มันโชว์แต่กำไรขาดทุนที่มาจากราคาที่เปลี่ยนแปลงไป

วีดิโอนี้ผมเลยอยากจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพว่าการเอาปันผลที่ได้มากลับเข้าไปลงทุนทำให้ผลตอบแทนโดยรวมเพิ่มขึ้นได้เยอะขนาดไหน  และดังนั้นหมายความว่าเวลาดูผลตอบแทนจากการลงทุน  คือเราต้องดูผลตอบแทนทั้งหมด  ไม่ใช่แค่ดูว่าราคาหุ้นเฉยๆ

ตัวอย่างบน Excel

สมมติหุ้นบริษัท A  ค่อนข้าง mature แล้ว  ไม่ได้เติบโตอะไรมาก  กำไรเติบโตเฉลี่ย 2%  ราคาหุ้นก็ตามกันคือ 2%  ปันผล 3%

  • กรณีที่ 1  ดูเฉพาะราคาที่สูงขึ้น  จากเงินลงทุน 100 บาท  5 ปีต่อมาก็โตเป็น 110.40 บาทเท่านั้น  ประมาณ 10% ตามที่บ่นเลย
  • กรณีที่ 2  นับปันผลเข้าไปด้วย  จากเงินลงทุน 100 บาท  5 ปีต่อมากลายเป็น 125.82 บาท  ต่างกันกับตอนที่ดูแต่ราคาเยอะนะ

ดังนั้นสรุปคือ  เวลาพิจารณาผลตอบแทนอย่าดูบนหน้าจอซื้อขายอย่างเดียว  เก็บข้อมูลตัวปันผลด้วย  และอย่าประมาทบริษัทที่ปันผลสม่ำเสมอ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ความพยายามในการเดาจุดต่ำสุด

Predicting the lowest point in a stock drop

ความพยายามในการเดาจุดต่ำสุด

หัวข้อนี้ไม่แน่ใจว่าเคยพูดไปแล้วหรือยัง  แต่เร็วๆนี้ที่มีตลาดตกต่อกันหลายวันผมเริ่มคนถามคำถามประมาณว่า “ตลาดจะตกต่อมั้ย”, “ตอนนี้ตกสุดหรือยัง” บ่อยขึ้นเยอะ  แม้กระทั่งนักเรียนผมก็เป็น  ดังนั้นผมเลยรู้สึกว่าควรจะพูดเรื่องนี้อีกทีเพราะมันสำคัญครับ

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่าตลาดหุ้นในระยะสั้นนี่มันขึ้นกับอารมณ์เยอะมากและมันพลิกไปมาได้เร็วมาก  ถ้าเราสังเกตลองย้อนไปดูเราก็จะเห็นว่าบางทีตลาดก็ตก -1% กว่าและในวันต่อมาก็อาจจะกลับตัวทันทีเป็นบวก +1% กว่าก็เป็นอะไรที่เกิดขึ้นได้  ไม่มีใครเดาได้จริงๆหรอกว่าพรุ่งนี้ตลาดจะเป็นยังไง

ทีนี้แน่นอนว่าเราทุกคนก็จะมีความเห็นต่อตลาดหุ้นของตัวเองแหละ  บางคนก็ว่าตลาดน่าจะตกต่อนะ  บางคนก็บอกน่าจะขึ้นนะ  ซึ่งตรงนั้นก็ไม่มีปัญหาอะไร  เราแค่ต้องรู้ว่ามันเป็นแค่ความเห็นเรานะและมันไม่ได้จำเป็นต้องถูก  แต่ปัญหามันจะเริ่มเกิดถ้าเราเผลอไปคิดว่าความเห็นของเรามันจะแม่น  แล้วเริ่มใช้กลยุทธ์ในการลงทุนที่ต้องพึ่งพาความแม่นยำในการเดานั่น  อย่างเช่นเราจะซื้อตอนหุ้นตกต่ำที่สุดอะไรแบบนั้นเป็นต้น  พอกลยุทธ์ในการลงทุนมันไปอิงกับสิ่งที่อาศัยโชคปุ๊บก็แปลว่าผลลัพธ์ในการลงทุนเราก็กลายเป็นอาศัยโชคไปด้วย  และตรงนี้มันก็จะเริ่มอนาถละ

ถึงเวลาเหตุการณ์จริง  สิ่งที่มันจะเกิดขึ้นคือประมาณนี้  สมมติหุ้นตกมา 10% ละจาก 100 เหลือ 90  คำถามคือแล้วควรจะซื้อหรือยัง  ถ้ากลยุทธ์เรามีเกณฑ์ตายตัวเช่นดูว่าราคาต่ำกว่ามูลค่าพอสมควรแล้วถึงซื้อมันก็ไม่ต้องเดาถูกมะ  ก็แค่ดูว่าราคา 90 นี่ต่ำกว่ามูลค่าพอสมควรยัง  ถ้าสมมติเราคิดว่ามูลค่าที่แท้จริงบริษัทนี้อยู่ 100 บาทนะแล้วเรากะซื้อต่ำกว่ามูลค่าที่เหมาะสมซัก 15% ซึ่งคือที่ 85 บาทหรือต่ำกว่่า  เราก็ตัดสินใจได้ทันทีว่ายังไม่ซื้อ  แต่สมมติกลยุทธ์เราไม่มีเกณฑ์ตายตัวต้องอาศัยการเดาซื้อที่จุดต่ำสุด  งั้น 90 บาทนี่ต่ำสุดยังอ่ะ  ก็ไม่รู้และก็จะคอยสงสัยอยู่ว่ามันจะตกไปอีกหรือเปล่า  แล้วสมมติวันต่อมามันตกไปอีกเหลือ 87 บาทล่ะ  อันนี้คือควรซื้อหรือยัง  ก็ไม่รู้อีกมันก็อาจจะตกไปอีกพรุ่งนี้ก็ได้ถูกมะ  แล้วถ้าพรุ่งนี้เหลือ 85 บาทล่ะ  ก็จะมีคำถามเดิมอีกอยู่ดี  ไม่จบไม่สิ้น

สุดท้ายสิ่งที่ผมแนะนำโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับนักเรียนเราก็คือ  เราจะมีความเห็นว่าตลาดหุ้นจะขึ้นหรือจะลงก็ตามสบายไม่มีปัญหา  แต่การตัดสินใจในการซื้อยังไงก็ต้องมีระบบชัดเจน  จะใช้วิธีประมาณการผลตอบแทนแบบที่เรียนไปก็ได้  หรือจะใช้วิธีประเมินมูลค่าหุ้นแบบ DCF อะไรก็ได้  หรือจะดู P/E, Dividend yield ก็ได้แล้วแต่  ที่สำคัญขอให้มันมีเกณฑ์ในการตัดสินใจให้ชัดเจนว่าจะซื้อเมื่อไหร่  ไม่เอาแบบใช้ความรู้สึกโอเคมะ  ใช้ความรู้สึกมันมั่วครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

จะรู้ได้ไงว่าหุ้นตกจริงหรือหุ้นตกหลอก ?

How to differentiate between a permanent stock drop and temporary stock drop ?

จะรู้ได้ไงว่าหุ้นตกจริงหรือหุ้นตกหลอก ?

มีนักเรียนเราบอกว่าเค้าแยกไม่ออกระหว่างหุ้นตกชั่วคราวกับหุ้นขาลงของจริง  วีดิโอนี้ผมตอบเรื่องนี้ครับ

ก่อนอื่นในความเข้าใจผม  คำว่าตกชั่วคราวคือราคาตกที่เราคาดหมายได้ว่าสุดท้ายมันจะราคาฟื้นกลับขึ้นมาเมื่อเวลาผ่านไป  ซึ่งเวลาผ่านไปในที่นี้อาจจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆภายใน 1 ปีหรือยาวนานกว่านั้น 3-5 ปีก็แล้วแต่  ประเด็นสำคัญมันอยู่ที่เราคาดหมายได้ว่ามันจะฟื้น

ส่วนคำว่าตกขาลงของจริงหมายถึงเคสที่เราคาดหมายได้ว่าราคาหุ้นมันจะตกไปอย่างถาวร  คือราคามันจะไม่ฟื้นกลับขึ้นมาอย่างมีนัยสำคัญและจะอยู่ในระดับต่ำเมื่อเทียบกับราคาในช่วงก่อนหน้าไปตลอดหรืออย่างน้อยเป็นระยะเวลาอีกนานมาก  ประเด็นสำคัญคือไม่คาดหมายว่ามันจะฟื้น

พอเรานิยามมันแบบนี้วิธีสังเกตมันก็จะง่ายขึ้น  เราก็สังเกตพิจารณาเหตุที่ทำให้หุ้นตกน่ะครับ  ถ้าเหตุการณ์นั้นไม่ได้มีผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทหรือมีผลกระทบแต่ดูแล้วไม่ได้เป็นอะไรที่เป็นไปตลอด  แบบนี้ก็เป็นหุ้นตกชั่วคราวแน่นอน  แต่ถ้าเหตุการณ์นั้นมีผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัท  บริษัทจะเจ๊งหรือดูแล้วผลประกอบการจะแย่ลงถาวร  งั้นมันก็เป็นหุ้นขาลงของจริงละ

เพื่อให้เห็นภาพเดี๋ยวเรายกตัวอย่าง

  • หุ้นตกจากบริษัทโดนแฮ็ก  ต้องจ่ายค่าเสียหาย  แบบนี้ก็เรียกชั่วคราว  เหตุการณ์มีผลต่อผลประกอบการบริษัทนะ  แต่มันก็ไม่ได้โดนแฮ็กทุกปีนี่และค่าเสียหายก็ไม่ได้ว่าต้องจ่ายทุกปีเช่นกัน
  • หุ้นตกเพราะบริษัทโกหกงบบัญชี  ผู้บริหารโกงหรืออะไรซักอย่างแนวนั้น  แบบนี้ก็อาจจะถาวรละ  เหตุการณ์แบบนี้มีผลต่อผลประกอบการของบริษัทแน่  และอาจจะบ่งชี้ว่ามีอะไรผิดปกติรุนแรงผู้บริหารถึงต้องโกหกหรือโกง
  • หุ้นตกเพราะรัฐบาลออกมากำหนดกฎหมายใหม่  เช่นอย่างเร็วๆนี้รัฐบาลจีนมีข่าวว่าจะห้ามเด็กเรียนพิเศษช่วงปิดเทอมหรือเสาร์อาทิตย์  สำหรับบริษัทที่ทำกวดวิชาแบบนี้ก็ถาวรละ
  • หุ้นตกเพราะรัฐบาลจีนบอกว่าพฤติกรรมผูกขาด  ปรับเงิน  ถ้าแค่นี้ก็มีแนวโน้มว่าจะชั่วคราว  ตราบใดที่ไม่มีการกำหนดหรือบังคับอะไรเพิ่มเติม
  • หุ้นตกเพราะโควิด  บริษัทไม่โดนผลกระทบอะไร  แค่ราคาตกพร้อมๆกันทั้งตลาด  แบบนี้ก็เรียกชั่วคราว  สุดท้ายโควิดก็ไม่ได้ว่าจะกระทบไปตลอด  ถึงวันนึงก็มีวัคซีนมียาก็จบเหมือนหวัดนก  บริษัทรอดอยู่แล้วด้วยเพราะไม่ได้ว่าจะขาดทุนรุนแรงหรืออะไรแต่แรกนี่
  • หุ้นตกเพราะโควิด  บริษัทโดนผลกระทบจังๆ  แต่ระดมทุนและมีเงินสดดูน่าจะทนได้อีกเป็นปี  แบบนี้แนวโน้มจะชั่วคราว  สุดท้ายโควิดก็ไม่ได้ว่าจะกระทบไปตลอด  ถึงวันนึงก็มีวัคซีนมียาก็จบเหมือนหวัดนก  บริษัทรอดได้เป็นปีก็มีโอกาสจะฟื้นอยูู่
  • หุ้นตกเพราะโควิด  บริษัทโดนผลกระทบจังๆ  เงินทุนมีไม่พอหนี้สินเยอะอยู่แต่แรก  แบบนี้มีแววจะไม่ชั่วคราวละ  ถ้าบริษัทเจ๊งล้มละลายไป  มันก็ตกจริงละ
  • หุ้นตกเพราะเฟดจะขึ้นดอกเบี้ย  ต้นทุนในการกู้ยืมของบริษัทอาจจะเริ่มสูงขึ้น  นักลงทุนอาจจะเอาเงินไปลงทุนในตราสารหนี้มากขึ้น  แบบนี้ก็มีแววจะไม่ชั่วคราวละ  อาจจะไม่ส่งผลกับผลประกอบการของบริษัทโดยตรงแต่อาจจะส่งผลให้คนโดยรวมลงทุนในหุ้นน้อยลง  ปกติผลของพวกนี้มันจะไม่รุนแรงมาก  บริษัทที่เข้มแข็งมากปกติก็หนี้ไม่เยอะอยู่แล้ว
  • หุ้นตกเพราะสินค้าคนไม่ซื้อ  ไม่ได้รับความนิยมแล้ว  อย่างนี้ก็ถาวร
  • หุ้นตกรัฐประหารยึดอำนาจ  เปลี่ยนผู้นำ  แบบนี้ก็ชั่วคราว  ไม่ได้ส่งผลโดยตรงกับบริษัทนี่  อาจจะเศรษฐกิจแย่ลงในอนาคต  แต่อันนั้นมันบอกไม่ได้ชัดเจน  และบริษัทที่เข้มแข็งก็ยังอาจจะทำได้ดีอยู่
  • หุ้นตกรัฐประหารยึดอำนาจ  เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบเกาหลีเหนือ  ไม่มีระบบทุนนิยมแล้วทุกอย่างเป็นของรัฐ  แบบนี้ก็จะถาวรละ  ผลประกอบการห่วยทั้งประเทศ  อนาถ

สรุปคือ  ตกชั่วคราวกับตกจริง  มันวัดกันที่เหตุครับ  ถ้าอะไรที่ทำให้บริษัทเจ๊งหรือผลประกอบการแย่ลงไปยาวๆ  มันก็เป็นตกขาลงของจริง  แต่ถ้ามันเป็นอะไรที่ไม่เกี่ยวกับผลประกอบการของบริษัทหรือดูแล้วมีผลกระทบแค่ชั่วคราว  งั้นมันก็ตกชั่วคราวครับ  มีเท่านี้แหละ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี