Work From Home จะทำให้ความต้องการในออฟฟิศสำนักงานหายไปหรือเปล่า ?

Is office demand going to come back ?

Work From Home จะทำให้ความต้องการในออฟฟิศสำนักงาน หายไปหรือเปล่า ?

ช่วงนี้หนึ่งในธุรกิจที่ดูยังไม่ได้ฟื้นกลับมาเต็มที่ก็จะเป็นออฟฟิศสำนักงาน  ถ้าเราไปดูพวก REIT ที่ทำออฟฟิศในหลายประเทศเราจะเห็นว่าราคามันฟื้นมาจากช่วงโควิดหนักๆแล้วแหละ  แต่มันยังฟื้นกันไม่เต็มที่  อาจจะเป็นโอกาสก็ได้ถ้าเราเชื่อว่าความต้องการในพื้นที่ออฟฟิศจะกลับมา  หรืออาจจะไม่เป็นโอกาสก็ได้ถ้าเรามองว่าอนาคตคนทำงานจากบ้านกันหมด  คำถามคือในเวลานี้หลักฐานบ่งชี้ไปทางไหนมากกว่ากัน

เท่าที่ผมดูในเวลานี้เหมือนหลักฐานจะเทไปทางฝั่งว่าออฟฟิศจะยังมีความต้องการอยู่นะ

  • บริษัทที่ในตอนแรกเหมือนจะสนับสนุนให้ทำงานจากที่บ้านหมด  ตอนนี้ส่วนใหญ่ก็เริ่มเปลี่ยนท่าทีแล้ว
  • Google ปัจจุบันแผนคือ 20% เท่านั้นที่จะทำงานจากนอกออฟฟิศ  ที่เหลือ 80% จะมีบางวันที่ทำงานที่ออฟฟิศ  อีเมล์จาก CEO บอกว่าพนักงาน 60% ต้องการที่จะมาที่ออฟฟิศบ้าง  ไม่ใช่ไม่มาเลย
  • Amazon, Apple พวกนี้ชัดเจนว่าต้องการให้กลับมาออฟฟิศทุกคน  อาจจะไม่ได้ต้องเข้าทุกวันแต่ทุกคนต้องกลับมาออฟฟิศ
  • สายธนาคารกับ investment bank ซึ่งจริงๆก็เป็นสายที่ควรจะทำงานได้ขอแค่มี Bloomberg Terminal  ตอนนี้ก็ชัดเจนว่าต้องการให้คนกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ  JP Morgan, Morgan Stanley, Goldman Sachs, Wells Fargo, Citibank, ฯลฯ

ส่วนสาเหตุว่าทำไมเค้าถึงยังอยากให้เข้าออฟฟิศกันตอนนี้ยังไม่ชัด

  • บางคนก็บอกว่าเข้าออฟฟิศงานออกมาดีกว่า  JP Morgan กับ Citibank นี่คือพูดชัดเจน
  • บางคนก็บอกว่าเป็นเพราะคนยังต้องการสังคม  หรือต้องการอยู่ในบรรยากาศของการทำงานไม่มีเรื่องอื่นมารบกวน
  • บางคนก็บอกว่ามันเป็นเรื่องของการมีเวลาชัดเจนเป็นระเบียบกว่า  ทำให้คนจัดการตัวเองได้ง่าย
  • ปัญหาอย่างนึงที่เจอคือคนใหม่  สำหรับคนที่รู้จักกันเคยทำงานด้วยกันสนิทกันอยู่แล้วก่อนที่จะ WFH มันก็ทำงานกันได้ไม่มีปัญหา  แต่สำหรับพนักงานใหม่  การจะสอนงานกันก็เป็นเรื่องยาก

แต่สรุปแล้ว  โดยรวมเหมือนจะชี้ว่าออฟฟิศจะยังจำเป็นอยู่  และดังนั้นการลงทุนใน REIT ที่ทำให้เช่าออฟฟิศก็ดูน่าสนใจอยู่นะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

จะประมาณการเติบโตของบริษัทยังไงดี ?

How to estimate future growth rate ?

จะประมาณการเติบโตของบริษัทยังไงดี ?

อันนี้เป็นคำถามต่อเนื่องจากหัวข้อเรื่องการประเมินมูลค่าหุ้น Discounted cash flow  มีคนถามว่าเราจะประมาณการเติบโตของบริษัทไปในอนาคตยังไงดี

เหมือนอย่างที่บอกในวีดิโออันก่อนๆว่าสมมติฐานเรื่อง growth กับ discount rate ที่ใช้มีผลต่อมูลค่าหุ้นที่ได้ออกมาเยอะมาก  และมันก็เป็นอะไรที่แล้วแต่คนทำมาก  คือมันก็มีทฤษฎีมีสูตรว่าควรจะเป็นเท่าไหร่ดีนู่นนี่นะ  แต่สุดท้ายไม่มีใครรู้จริงๆหรอก  เพราะ growth มันเป็นเรื่องของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและมันไม่มีใครรู้อนาคตไงนึกออกมะ  ส่วน discount rate ตามคอนเซปต์ควรจะเป็นตัวเลขที่สอดคล้องกับความเสี่ยงของหุ้นนั้น  ซึ่งเอาเข้าจริงก็ไม่รู้จะวัดยังไงว่าหุ้นนั้นเสี่ยงมากหรือน้อยอีก  ดังนั้นย้ำอีกทีว่า growth กับ discount rate นี่มันเป็นอะไรที่ไม่ค่อยตายตัว  ทำได้แค่กะๆเท่านั้น  ไม่มีคำว่าแม่นยำ

ทีนี้เข้าเรื่อง  โดยปกติวิธีที่เค้าทำกันก็จะมีประมาณนี้

  1. ใช้ตัวเลขของนักวิเคราะห์
  2. ซึ่งอาจจะเป็นของเจ้าใดเจ้าหนึ่งหรือจะเป็นการเฉลี่ยของหลายเจ้าก็แล้วแต่  ข้อดีคือเราคาดหวังว่านักวิเคราะห์จะศึกษาและติดตามบริษัทที่เค้าเขียนบทวิเคราะห์ดังนั้นอาจจะทำการคาดการณ์ได้ดีกว่าเรา  ข้อเสียคือบางทีเราไม่รู้ที่มาของสมมติฐานอะไรของเค้าเลย

  3. ใช้ historical growth rate ของกำไรตรงๆ
  4. จะใช้เฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีหรือ 10 ปีอะไรก็แล้วแต่  โดยปกติจะใช้ช่วงเวลาที่มองว่าใกล้เคียงปัจจุบัน  จะมีประโยชน์ในกรณีที่เราคิดว่าสถานการณ์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมาก  เหตุใดที่ทำให้บริษัทโตในช่วงที่ผ่านมาจะยังดำเนินต่อไป

  5. ใช้ sustainable growth rate
  6. ROE*(1-dividend payout ratio)

    อันนี้จริงๆก็อาศัยอดีตในการเดา growth เหมือนกัน  สมมติฐานก็คือบริษัทเติบโตจากการที่ทำกำไรนะแล้วก็กำไรส่วนที่สะสมไว้ไม่ได้จ่ายเป็นปันผลออกมาไปลงทุนต่อนะ

  7. ใช้การเดาอนาคตอุตสาหกรรม, ส่วนแบ่งการตลาดและปัจจัยเชิงคุณภาพอื่นๆของบริษัท
  8. อื่นๆ  คนก็มีไอเดียอะไรไม่รู้อีกเยอะแยะแหละ

ส่วนตัวแล้วสิ่งที่ผมทำคือศึกษาตัวบริษัทก่อน  แล้วก็สรุปออกมาว่าเท่าที่เห็นนี่บริษัทน่าจะทำได้ดีใกล้เคียงเดิมมั้ย  น่าจะโตเร็วขึ้นมั้ย  หรือน่าจะโตช้า  หลังจากนั้นก็ใช้ expectation อันนี้ไปปรับกับการเติบโตในอดีตอีกที  ซึ่งปกติก็ใช้ historical growth rate หรือ sustainable growth rate เป็นตัวตั้ง  เช่นสมมติเฉลี่ยที่ผ่านมาบริษัทโตปีละ 8%  ด้วยการศึกษาสถานการณ์ตอนนี้ผมว่ามันน่าจะโตช้าลงนะ  growth rate ที่ใช้ประมาณไปในอนาคตก็อาจจะเหลือ 6-7% ต่อปีแทนอะไรงี้  ซึ่งก็แน่นอนว่าเป็นการกะคร่าวๆเท่านั้น  ไม่มีคำว่าแม่นยำอยู่แล้ว  แต่คนที่จะเดาได้ใกล้เคียงกว่าก็คือคนที่เข้าใจธุรกิจและความเป็นไปของบริษัทน่ะครับ  ถึงได้พยายามย้ำว่าอย่ามัวแต่งมสูตรอะไรไร้สาระแล้วเอาเวลาไปทำความเข้าใจตัวบริษัทดีกว่า

สรุปคือไอเดียวิธีการมันก็มีประมาณนี้แหละ  คุณอยากใช้วิธีไหนก็ได้แล้วแต่เลย  เอาที่รู้สึกว่ามันสมเหตุสมผลสำหรับคุณก็คือใช้ได้  แค่อย่าเผลอไปคิดว่ามันจะแม่นหรือเผลอไปเสียเวลาเยอะแยะกับความพยายามเรียนสูตรนู่นนี่นั่นเท่านั้นเองครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

เทคโนโลยีจับทุจริตผู้บริหาร ด้วยการวิเคราะห์ Text

Text-based analysis, Fraud and Deception Detection

เทคโนโลยีจับทุจริตผู้บริหาร ด้วยการวิเคราะห์ Text

ผมไปอ่านเจอบทความน่าสนใจ  คนเขียนคุณ Jason Voss เค้าเป็น CFA และเป็นคนที่ทำพวกโปรแกรมสำหรับวิเคราะห์ข้อความเพื่อจับสัญญาณการหลอก  ในบทความเค้าพยายามจะบอกว่าการจับทุจริตโดยคนมันไม่ได้ผล  เราควรจะเริ่มหันมาใช้โปรแกรมคอมได้แล้ว  โอเคบางส่วนเค้าอาจจะพยายามขายตัวบริการของบริษัทเค้าแต่เหตุผลที่เค้าอ้างก็น่าสนใจทีเดียว

  1. ในรายงานประจำปี  ตัวเลขเป็นแค่ 13.5% ของทั้งหมด  ส่วนใหญ่เป็นข้อความ  
  2. ดังนั้นการวิเคราะห์ใดๆก็สมควรที่จะให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ตัวข้อความด้วย  ไม่ใช่ตัวเลขเฉยๆ

  3. การใช้คนทำติดปัญหาเรื่องข้อจำกัดด้านเวลา
  4. รายงานประจำปีมันยาว  บริษัทส่วนใหญ่ก็เป็นร้อยหน้า  ถ้าจะใช้คนอ่านทั้งหมดก็ใช้เวลาเยอะมากและไม่ใช่ทุกหน่วยงานจะสามารถจ้างนักวิเคราะห์จำนวนมากพอที่จะอ่านข้อมูลพวกนี้ทั้งหมด

  5. เคยมีการทดสอบและพบว่าความสามารถในการจับโกหกของคนค่อนข้างห่วย
  6. เฉลี่ยจากการวิจัยจำนวนมากพบว่าทำได้ดีกว่าสุ่มแค่ 4%  และคนเขียนมีทำทดสอบคนในสายงานการเงินพบว่าเดาถูกแค่ 49.4% เท่านั้น  หรือถ้าทดสอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวกับไฟแนนซ์เช่น earnings call ก็เดาถูกเยอะขึ้นแต่ก็แค่ 51.8% เท่านั้น

  7. ผู้ตรวจสอบบัญชีเองก็มีข้อจำกัด
  8. เป็นการตรวจตัวเลขเช่นกัน  ไม่ได้วิเคราะห์จากตัวข้อความที่เป็นส่วนใหญ่ของรายงาน

  9. การวิเคราะห์ตัวข้อความได้ผล
  10. เคยมีการใช้ NLP (Natural Language Processing) ในการวิเคราะห์  มีการเอาคำที่ใช้, ภาษาที่ใช้, ความถี่ของการใช้คำบางประเภทมาทดสอบว่าสามารถจับการหลอกลวงได้มั้ย  ผลคือทำได้อยู่ประมาณ 64-80%  ซึ่งดีกว่าคนมาก  และที่สำคัญใช้เวลาน้อยกว่าให้คนมานั่งอ่านเยอะมาก

    จนในภายหลังเมื่อมีคนใช้วิธีการนี้มากขึ้น  บริษัทก็เริ่มจ้างคนที่ทำ NLP มาใช้กับรายงานของตัวเองเพื่อกำจัดการใช้คำที่มีปัญหาออกไป  เลยทำให้การจับโกหกด้วยการมองหา keyword คำบางประเภททำได้ยากขึ้น

  11. สิ่งที่บริษัทเค้าทำเพื่อแก้ปัญหานี้คือการวิเคราะห์โครงสร้างของประโยคหรือการใช้ภาษา  ไม่ใช่แค่ว่าใช้คำว่าอะไรเฉยๆ
  12. อันนี้เค้าก็อ้างว่าใช้จับโกหกได้เกิน 70%  และจากการทดสอบกับเคสโกหกใหญ่ๆในอดีตก็ใช้ได้ผล  สามารถจับว่ามีการหลอกได้ล่วงหน้าก่อนที่บริษัทจะเริ่มเกิดปัญหายาวนานถึง 6 ปี

แล้วเค้าก็เล่าให้ฟังว่ามันมีสัญญาณบ่งชี้สำคัญอยู่ 5 อันที่ถ้าเจอในบริษัทไหน  บริษัทนั้นมีโอกาสจะผิดปกติเยอะขึ้นกว่าสัญญาณอันอื่น
 

สัญญาณ 5 อันมีดังนี้

  1. ใช้คำที่สื่อถึงความเป็นมิตรเป็นพวกเดียวกัน
  2. เค้าพบว่าบริษัทที่พยายามจะหลอกจะพยายามสร้างความรู้สึกว่าเป็นมิตรมากกว่าบริษัทปกติ  ตัวอย่างคำประเภทนี้เช่น “เพื่อน”, “พรรคพวก”, “แก๊งค์”, “เพื่อนบ้าน”, ฯลฯ

  3. ใช้คำที่สื่อถึงความเสี่ยง
  4. บริษัทที่พยายามหลอกมีการใช้คำที่สื่อหรือเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงเยอะกว่าปกติ  ตัวอย่างคำก็เช่น “หลีกเลี่ยง”, “น่าเป็นห่วง”, “น่ากังวล”, “ป้องกัน”, “ยากลำบาก”, “หยุด”, ฯลฯ

  5. ใช้คำสรรพนามที่ไม่เจาะจง
  6. คำสรรพนามที่ไม่เจาะจงเช่น “คนอื่น”, “ทุกคน”, “ใครบางคน”, “อันไหนซักอัน”, ฯลฯ

  7. ไม่ใช้คำที่พูดถึงความแตกต่าง
  8. เค้าพบว่าบริษัทที่พยายามจะหลอกจะใช้คำที่สื่อถึงความแตกต่างหรือทำการเปรียบเทียบน้อยกว่า ประโยคที่พูดถึงความแตกต่างหรือการเปรียบเทียบเช่น “เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้วบริษัท …”

  9. ใช้คำที่เป็นการปฏิเสธ
  10. เช่น “ไม่ใช่”, “ไม่เคย”, “ไม่ควร”, “ไม่ได้ทำ”, “อย่าทำ”, ฯลฯ

    นอกเหนือจากนี้ก็จะมีอีกกรณีที่หายากซึ่งคือการใช้คำสบถ  แต่ถ้าเจอนี่คือส่อแววโอกาสจะมีปัญหาสูงมาก

โดยรวมเรื่องนี้อาจจะไม่ได้กระทบอะไรกับเราเท่าไหร่  เพราะเราที่เป็นนักลงทุนรายย่อยก็คงไม่ไปซื้อโปรแกรมมาทำอยู่แล้ว  แต่ผมว่าการศึกษาการใช้ภาษาว่าแบบไหนส่อแววจะโกหกก็เป็นการศึกษาที่น่าสนใจทีเดียว

เผื่อใครสนใจอ่านผมทิ้งลิ้งค์เอาไว้ให้ครับ https://blogs.cfainstitute.org/investor/2021/02/15/fraud-and-deception-detection-text-based-analysis/

https://blogs.cfainstitute.org/investor/2021/03/11/fraud-and-deception-detection-five-language-fingerprints/

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

อย่าไปให้ความหมายกับราคาหุ้นขึ้นๆลงๆ

Don't look too much into price movement

อย่าไปให้ความหมายกับราคาหุ้นขึ้นๆลงๆ

ผมสังเกตเห็นพวกเราหลายคนให้ความหมายกับการขึ้นลงของราคาหุ้นมากเกินไป  คือประมาณว่าถ้าเห็นราคาหุ้นขึ้นก็เข้าใจว่าบริษัทต้องทำได้ดีและดังนั้นก็สบายใจมองยังไงก็เห็นแต่เรื่องดี  กลับกันถ้าเห็นราคาหุ้นตกก็รู้สึกว่าบริษัทต้องมีปัญหาอะไรแน่แล้วก็เริ่มเครียดมองยังไงก็เห็นแต่เรื่องร้าย  ซึ่งอาการแบบนี้มันทำให้ใจเราไม่นิ่งตัดสินใจพลาดได้น่ะ

อย่างแรกที่อยากให้มีการแยกแยะก่อนคือราคาหุ้นขึ้นลงมันแค่แปลว่าคนโดยรวมมีมุมมองต่อบริษัทดีขึ้นหรือแย่ลงเฉยๆ  เค้าอาจจะมีมุมมองว่าบริษัทจะผลประกอบการดีขึ้นนะ  หรือเค้าอาจจะมองว่าบริษัทน่าจะทำได้แย่ลงนะ  มันสะท้อนความเห็นของคนโดยรวมในตลาดเฉยๆ  ซึ่งมันคนละอย่างกับบริษัททำได้ดีหรือไม่ดี  ประเด็นสำคัญคือแค่เพราะคนโดยรวมเชื่อมันก็ไม่ได้แปลว่ามันจะถูกต้อง

อย่างที่สองคือถ้าเราคาดหวังว่าจะทำผลตอบแทนได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยตลาด  เราก็ต้องมีมุมมองหรือการกระทำบางอย่างต่างออกไปจากคนโดยรวมอยู่แล้ว  ไม่งั้นผลตอบแทนเราก็ต้องเท่าๆคนทั่วไปสิ  ดังนั้นเราควรจะชินและรู้สึกเฉยๆกับการที่ราคาหุ้นไม่เห็นด้วยกับเราอย่างน้อยในระยะสั้นอยู่แล้ว  ถ้าเราซื้อสิ่งที่ทุกคนก็คิดว่าดีทำเหมือนๆกัน  งั้นมันจะผลตอบแทนดีกว่าค่าเฉลี่ยได้ไงน่ะ

แต่ทั้งนี้เราก็ต้องอย่าประมาท  เพราะเราจะมีมุมมองและทำแตกต่างจากคนอื่นทั่วไปเฉยๆไม่ได้  ความแตกต่างนั้นมันต้องถูกด้วย  ดังนั้นเวลาราคาหุ้นมันขึ้นหรือลงไม่ว่ามันจะไปในทิศทางที่เราคาดหรือเปล่า  เราต้องนึกในใจว่ามันก็แค่ความเห็นโดยรวมคนชอบบริษัทมากขึ้นหรือน้อยลงก็แค่นั้น  ซึ่งไม่ได้มีความหมายอะไรมากไปกว่านั้น  สิ่งที่เราโฟกัสคือตัวบริษัทเท่านั้น  ถ้าราคาหุ้นตกแต่บริษัทมันทำได้ดีขึ้นก็คือดีขึ้น  ถ้าราคาหุ้นขึ้นแต่บริษัททำได้แแย่ลงก็คือแย่ลง  ถ้าราคาหุ้นตกแต่บริษัทไม่ได้มีอะไรใหม่เกิดขึ้นก็คือไม่มีอะไรเกิดขึ้น

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

อย่าเมินแค่เพราะหุ้นมัน Volume ต่ำ

Low volume stocks

อย่าเมินแค่เพราะหุ้นมัน Volume ต่ำ

มีนักเรียนเราหลายคนดูตัดพวกหุ้น volume ต่ำหรือหุ้นที่มีปริมาณการซื้อขายต่ำออกไป  คือไม่ดูเลย  ซึ่งผมเข้าใจแหละว่าหุ้น volume ต่ำก็มีข้อเสียเปรียบอยู่  แต่มันก็มีข้อดีบ้างเหมือนกัน  ดังนั้นผมมองว่าการตัดออกไปไม่ดูเลยมันก็เว่อร์ไปนิด  วีดิโอนี้ผมพูดถึงหุ้น volume ต่ำซักหน่อย

หุ้น volume ต่ำมันก็มีข้อเสียจริงคือ

  • ซื้อขายยาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเราจะลงทุนด้วยเงินก้อนที่ใหญ่เมื่อเทียบกับ volume การซื้อขายในแต่ละวัน  ต้องซื้อขายทีละหน่อย  หรือไม่งั้นก็ต้องยอมว่าราคาเปลี่ยนแปลงเยอะ
  • คนให้ความสนใจน้อย  บางทีต่อให้บริษัททำได้ดีขึ้นแต่กว่าราคาจะตอบสนองอาจจะนาน
  • อาจจะมีคนเข้ามาปั่นหรือ manipulate ราคาได้ง่าย  แต่อันนี้ก็ไม่ควรจะมีปัญหากับเรา

แต่หุ้น volume ต่ำมันก็มีข้อดีเช่น

  • หาหุ้นราคาไม่แพงได้ง่ายกว่า  เพราะปกติการที่หุ้นมันราคาแพงคือมันมาจากคนสนใจซื้อกันเยอะ  หุ้น volume ต่ำมันคือพวกที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจอยู่แล้ว
  • การที่คนสนใจน้อยและดังนั้นบางทีมีระยะเวลานานกว่าที่ผลประกอบการที่ดีขึ้นจะส่งผลต่อราคาหุ้นก็ทำให้เรามีเวลาฉวยโอกาสได้ง่ายกว่า
  • ในกรณีที่เราเป็น VI กำลังมองหาหุ้นที่ยังไม่เป็นที่รู้จักยังไม่ดัง  แต่มีศักยภาพจะเติบโตแบบก้าวกระโดดและอาจจะกำไรหลายเท่า  เราก็ต้องซื้อตอนที่มันยังไม่ดังป้ะ  และตอนไม่ดัง volume มันก็ต่ำก็ถูกแล้วนี่  ถ้าเราไปซื้อตอน volume มันเยอะก็แปลว่าคนให้ความสนใจเยอะแล้วสิ

ดังนั้นสรุปคืออย่าไปมองว่าหุ้น volume ต่ำแล้วมีปัญหา  ถ้าไม่ใช่ว่าขนาดเงินลงทุนเรามหาศาลจัดจนซื้อขายยากมันเป็นอุปสรรค์  ประเด็นสำคัญมันยังอยู่ที่ว่าหุ้นที่ว่านั่นทำธุรกิจอะไร  เป็นบริษัทที่มีความได้เปรียบมีอำนาจบังคับผู้บริโภคหรือเปล่า  ถ้าใช่มันก็ยังเป็นการลงทุนที่ดีได้  เราอาจจะได้ซื้อมันในเวลาที่ราคามันถูกผิดปกติเพราะคนยังไม่สนใจ volume ต่ำก็ได้ครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

กำไรสะสมเพิ่มขึ้น แปลว่าบริษัทมีเงินสดเพิ่มขึ้นหรือเปล่า ?

Does increase in retained earnings translate to increase in cash ?

กำไรสะสมเพิ่มขึ้น แปลว่าบริษัทมีเงินสดเพิ่มขึ้นหรือเปล่า ?

มีคนมีความสงสัยเกี่ยวกับรายการบนงบการเงินตัว “กำไรสะสม”  เค้าถามว่ากำไรสะสมนี่คืออยู่ในรูปเงินสดใช่มั้ย

คำตอบคือไม่ใช่นะครับ  เพื่อความเข้าใจวีดิโอนี้ผมขยายความด้วยการอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นบนบัญชีงบดุลให้ดูนะ

 

สมมติสถานการณ์ไล่ไปดังนี้

1. เริ่มต้นมาเราทำธุรกิจอะไรซักอย่างด้วยเงินทุน 100 บาท

ขั้นตอนนี้เราก็จะบันทึกบนงบดุลว่ามีเงินสด 100 บาทโผล่ขึ้นมาเป็นทรัพย์สิน  และบันทึก 100 บาทในฝั่งส่วนของเจ้าของว่าเป็นเงินลงทุน 100 บาท

2. เราเอาเงิน 100 บาทไปซื้อสินค้ามาเตรียมขาย

ขั้นตอนนี้เราก็จะบันทึกบนงบดุลว่าเงินสด 100 บาทหายไปละ  แทนที่มาด้วยสินค้าคงเหลือ 100 บาท

3. ขายสินค้าไปในราคา 120 บาท  สมมติว่าลูกค้าติดเงินเราไว้ก่อน

ขั้นตอนนี้เราก็จะบันทึกบนงบดุลว่าสินค้าคงเหลือ 100 บาทก็หายไปละ  แล้วมีลูกหนี้การค้า 120 บาทโผล่ขึ้นมา  ส่วนต่าง 20 บาทที่เพิ่มขึ้นมานับเป็นกำไรดังนั้นก็บันทึกตรงส่วนของเจ้าของว่ามีกำไรสะสมโผล่ขึ้นมา 20 บาท  จะเห็นว่าตรงนี้มีกำไรสะสมเกิดขึ้นละนะ  แต่มันก็ไม่ได้อยู่ในรูปเงินสดถูกมะ  ตอนนี้ยังอยู่ในรูปลูกหนี้การค้าอยู่เพราะคนยังไม่จ่ายเงินเรา

4. ลูกค้าเอาเงิน 120 บาทมาจ่าย

ขั้นตอนนี้เราก็จะบันทึกบนงบดุลว่าลูกหนี้การค้า 120 บาทหายไปละ  แทนที่ด้วยเงินสด 120 บาท  ตอนนี้กำไรสะสม 20 บาทนั่นก็อยู่ในรูปเงินสดแล้วใช่มะ

5. เราเอาเงิน 110 บาทไปซื้อสินค้ามาเตรียมขาย

ขั้นตอนนี้เราก็จะบันทึกบนงบดุลว่าเงินสด 110 บาทหายไป  แทนที่มาด้วยสินค้าคงเหลือ 110 บาท  กำไรสะสมก็ 20 บาทเหมือนเดิมถูกมะ  แต่เปลี่ยนรูปไปอีกละส่วนนึงยังเป็นเงินสดอยู่ 10 บาทกับอีกส่วนนึงอยู่ในรูปของสินค้าคงเหลือ 10 บาท

6.เราจ่ายเงิน 10 บาทออกมาเป็นปันผลให้ตัวเอง

ขั้นตอนนี้เราก็จะบันทึกบนงบดุลว่าเงินสด 10 บาทหายไป  และกำไรสะสมก็หายไป 10 บาท  เพราะในเมื่อจ่ายปันผลออกมาแล้วก็ไม่ใช่สะสมแล้ว

 

นึกภาพออกมั้ยครับ  ในบริษัทของจริงมันก็จะมีธุรกรรมเยอะแยะไปหมดดังนั้นกำไรสะสมนั่นไม่ได้จำเป็นต้องอยู่ในรูปเงินสดเลยครับ  และเวลาเราเห็นบนงบการเงินว่าบริษัทมีกำไรสะสม X บาท  ไม่ได้แปลว่าบริษัทมีเงิน X บาทอยู่ในมือในเวลานั้น  อาจจะมี 0 บาทเลยก็ได้

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

Enterprise Value คืออะไร ? EV/EBITDA อัตราส่วนนี้ต่างจาก P/E ยังไง ?

What's enterprise value and what is its use ?

Enterprise Value คืออะไร ? EV/EBITDA อัตราส่วนนี้ต่างจาก P/E ยังไง ?

มีคนถามเกี่ยวกับ Enterprise value เพราะเคยอ่านเจออัตราส่วน EV/EBITDA เอาไว้ใช้ดูว่าหุ้นถูกหรือแพง  เค้าถามว่า Enterprise Value มันคืออะไร  แล้ว EV/EBITDA ดีกว่าหรือต่างจาก P/E ยังไง

เอาจริงๆมันก็ไม่ได้ว่าเป็นวิธีการที่ดีกว่าหรือสุดยอดอะไรนะ  มันก็แค่อีกไอเดียหนึ่งในการประเมินว่าหุ้นถูกหรือแพงเท่านั้นเอง  ไม่ได้มีอะไรมาก

ไอเดียของมันคือการใช้อัตราส่วนอย่าง P/E เปรียบเทียบบริษัทมันมีจุดอ่อนอยู่ตรงที่บริษัทแต่ละบริษัทมีสัดส่วนหนี้สินกับทุนไม่เท่ากัน  บางบริษัทใช้หนี้เยอะบางบริษัทใช้หนี้น้อย  ต่อให้อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันทำธุรกิจคล้ายๆกันเก่งพอกัน  ถ้าบริษัทนึงมีหนี้สินเยอะเสี่ยงเยอะกว่าก็ไม่ควรจะ P/E เท่ากับอีกบริษัทนึงที่หนี้สินน้อยเสียงน้อย  การใช้ P/E เทียบกันตรงๆก็อาจจะไม่ค่อยเหมาะ

มันก็เลยมีคนเสนอว่าถ้างั้นเราก็อย่ามองจากเฉพาะมุมของผู้ถือหุ้นสิ  อย่าง P/E หรือ P/BV นี่คือมองจากผู้ถือหุ้นเท่านั้น  Price คือราคาหุ้น, Earnings ก็คือกำไรสุทธิที่เป็นของผู้ถือหุ้น, Book value ก็เป็นมูลค่าทางบัญชีของส่วนของผู้ถือหุ้น  แทนที่จะมองแค่ราคาหุ้นซึ่งเป็นราคาที่จะซื้อส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทก็เปลี่ยนมาเป็นมองจากมุมของการซื้อทั้งบริษัทเลย  คือถามว่าถ้าจะซื้อทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัทเลยไม่ใช่แค่ส่วนของผู้ถือหุ้นจะเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่  ตัวเงินที่จะต้องใช้เพื่อซื้อทั้งหมดของบริษัทก็คือรวมราคาตลาดทั้งหมดของส่วนของผู้ถือหุ้น  แล้วก็ราคาตลาดทั้งหมดของส่วนเจ้าหนี้  แล้วก็รวมราคาตลาดของส่วนผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์ด้วยถ้ามี  แล้วก็หักเงินสดที่บริษัทมีอยู่ออกไปก็จะได้ตัวเลขมาใช่มะ  ซึ่งตัวเลขเงินที่ต้องใช้เพื่อซื้อทั้งหมดของบริษัทนั่นคือเรียกว่า Enterprise value ครับ

ทีนี้พอจะเอา Enterprise value ไปเทียบกับกำไรสุทธิมันก็ไม่เหมาะละ  เพราะกำไรสุทธิมันมองจากมุมผู้ถือหุ้นเท่านั้น  เพื่อให้ตัวเลขกำไรมันเป็นตัวเลขที่เป็นกำไรสำหรับทั้งเจ้าหนี้และผู้ถือหุ้นเค้าก็เลยเสนอให้เทียบกับกำไรก่อนที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยแทน

ปัจจุบันที่นิยมใช้สุดจะเป็น EV/EBITDA ซึ่งก็คือที่คนถามบอกว่าเคยอ่านเจอนั่นแหละ  หรือไม่งั้นก็ EV/EBIT ก็เคยเห็นเหมือนกัน

ข้อดีของการใช้อัตราส่วนนี้ก็เช่น

  1. ใช้ได้แม้กรณีบริษัทขาดทุน
  2. บางที P/E มันติดลบ  แต่ EV/EBITDA ไม่ค่อยเป็นเพราะส่วนใหญ่ EBITDA มันจะไม่เป็นเลขติดลบ

  3. EV/EBITDA ต่างกันน้อยกว่าเวลาเปรียบเทียบบริษัทที่มีหนี้สินต่อทุนต่างกันเยอะๆ

ข้อเสียก็มีเช่น

  1. ราคาตลาดของส่วนของหนี้สินอาจจะหาไม่ได้  ต้องเปรียบเทียบหนี้สินที่ใกล้เคียงเอา
  2. ปัญหาเดียวกับ P/E คือมันเป็นวิธีประเมินมูลค่าประเภท Price multiple ซึ่งมีประโยชน์ในเชิงเปรียบเทียบ  อาจจะเจอกรณีหุ้นมันแพงทั้งตลาดแต่แค่อันนี้ EV/EBITDA ต่ำสุดก็เลยดูว่าถูกกว่าโดยเปรียบเทียบก็ได้
  3. มันเป็นมุมมองของคนที่จะซื้อทั้งบริษัท  แต่เราเป็นผู้ถือหุ้น  เราไม่ได้จะซื้อทั้งหมดของบริษัท

สุดท้ายคือ  มันก็แค่อีกไอเดียนึงเท่านั้นครับ  ไม่ได้ว่าสุดยอดหรืออะไร  คนรู้จักก็อาจจะดูเท่ขึ้นนิดหน่อยเท่านั้น  ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเป็นพิเศษ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ถ้าหุ้นที่ถืออยู่ผลประกอบการแย่ลง ควรขายเลยมั้ยหรือรอดูก่อน ? ถ้ารอดูควรรอนานแค่ไหน ?

What to do if the company profit dropped ? Sell or hold on ?

ถ้าหุ้นที่ถืออยู่ผลประกอบการแย่ลง ควรขายเลยมั้ยหรือรอดูก่อน ? ถ้ารอดูควรรอนานแค่ไหน ?

มึคนถามว่าในกรณีที่บริษัทที่ซื้อมาผลประกอบการเแย่ลงกว่าที่คาด  เราควรที่จะขายหุ้นเลยมั้ยหรือควรจะรอดู  แล้วสมมติถ้ารอดูควรจะรอดูนานขนาดไหน

เข้าใจในความกังวลนะ  เพราะกรณีแบบนี้มันไม่เหมือนกับซื้อมาแล้วราคาหุ้นตกเฉยๆโดยที่ผลประกอบการไม่ได้แย่  กรณีลักษณะแบบนี้อาจจะเป็นเราพลาดจริงก็ได้

ตอบตามตรงคือคงไม่ได้มีเกณฑ์ตายตัวแล้วแหละ  ผมแนะนำว่าเราทำดีที่สุดนั่นคือ

พยายามหาต้นเหตุว่าผลประกอบการที่แย่ลงนั่นมาจากเรื่องอะไร

  • ยอดขายแย่ลง ?
  • ยอดขายโต  แต่ค่าใช้จ่ายโตเร็วกว่า ?
  • หนี้สินเยอะขึ้น  ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเยอะขึ้น ?
  • แล้วเหตุที่มันเป็นอย่างนั้นคืออะไร  ยอดขายแย่ลงเพราะว่าขึ้นราคาแต่คู่แข่งลดราคา ?  ยอดขายโตแต่ค่าใช้จ่ายโตเร็วกว่าเพราะเพิ่งขยายสาขา  ค่าใช้จ่ายมาแล้วแต่ยอดขายยังไม่เต็มที่ ?

พิจารณาต้นเหตุนั้นบวกกับสิ่งที่บริษัทกำลังทำ  แล้วค่อยตัดสินใจ

  • บางทีผลประกอบการที่แย่ลงอาจจะมาจากบริษัทกำลังลองทำอะไรอยู่
  • หรือบางทีบริษัทก็กำลังพยายามแก้ไขปัญหานั่นอยู่

ทีนี้สิ่งที่มันยากคือ

  • ต่อให้ทำดีแค่ไหน  เราก็อาจจะพลาดได้เพราะบางทีสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมันก็ไม่ชัดเจนว่าเกิดจากอะไรหรือว่ามันเป็นอะไรที่แก้ไขได้หรือเปล่า
  • ต้องระวังการมี bias  บางทีเราก็ทัศนคติดีเพราะชอบสินค้าของบริษัทนั่น  หรือบางทีเราก็อคติเพราะเห็นราคาตกมาเยอะ

ทีนี้สมมติตัดสินใจรอดู  ควรจะรอดูนานขนาดไหน  อันนี้ก็ตอบยากเหมือนกัน  เพราะส่วนตัวก็มีเคสรอดูนานเกินจนขาดทุนเยอะก็มีอยู่  หรือมีเคสที่รอดูแล้วบริษัทก็ฟื้นกลับมาทำได้ดีและกำไรก็มีเหมือนกัน  ดังนั้นอาจจะไม่มีเกณฑ์ตายตัวซะทีเดียว  แต่ส่วนตัวแล้ว 1 ปีเป็นอย่างน้อยนะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

Warrant คืออะไร ? ราคาขึ้นลงจากอะไร ? แล้วน่าลงทุนมั้ย ?

What is warrant ? What factors affect its price ? Should you invest in warrant ?

Warrant คืออะไร ? ราคาขึ้นลงจากอะไร ? แล้วน่าลงทุนมั้ย ?

มีคนมีคำถามเกี่ยวกับ warrant เราเลยทำวีดิโอตอบให้ครับ

คืออะไร

Warrant หรือใบสำคัญแสดงสิทธิ  มันคือตราสารที่ให้สิทธิเราซื้อหุ้นในราคาที่กำหนดกันไว้ภายในระยะเวลาที่กำหนดครับ

เพื่อให้เห็นภาพ  ลองดูตัวอย่างของจริงโดยไปโหลดเอกสารที่บริษัท Minor International อธิบายเกี่ยวกับ warrant ที่เค้าออกครับ MINT-W9

https://mint.listedcompany.com/newsroom/240520212055000170T.pdf

https://mint.listedcompany.com/newsroom/270520210809250527T.pdf

เราจะเห็นว่ามันก็จะมีสาระสำคัญต่างๆอธิบายอยู่ในนั้นแหละ  อย่างเช่นการออก MINT-W9 ที่ออกให้ใครอย่างไร, มีค่าใช้จ่ายมั้ย, อัตราการแปลงสิทธิ 1 สิทธิแปลงได้กี่หุ้น, ราคาการใช้สิทธิ, ใช้สิทธิได้เมื่อไหร่บ้าง, วันครบกำหนดอายุ, ฯลฯ

แล้วมันมีประโยชน์อะไรกับเรา

ประโยชน์แบบแรกก็คือเอาไปขายครับ  ตัว warrant มันขายได้เราไม่ได้ว่าต้องใช้สิทธินะ  เราขายสิทธิไปให้คนอื่นก็ได้  และแน่นอนมันจะมีคนอยากได้หรือเปล่ามันก็ขึ้นกับว่าราคาหุ้นคือเท่าไหร่, ราคาการใช้สิทธิคือเท่าไหร่, วันครบกำหนดอายุเมื่อไหร่

หรืออีกแบบนึงก็คือเราใช้สิทธิครับ  ซึ่งแน่นอนมันก็ขึ้นกับราคาหุ้น ณ ตอนที่ใช้สิทธิคือเท่าไหร่เทียบกับราคาการใช้สิทธิ  ถ้าเราสามารถซื้อหุ้นได้จากสิทธิที่ราคา 100 บาท  แล้วตอนนั้นราคาหุ้นในตลาด 120 บาท  เราก็รีบใช้เลยเพราะเราซื้อได้ถูกกว่าตลาด  ซื้อมาปุ๊บก็ขายเลยก็ได้  แต่ถ้าราคาการใช้สิทธิ 100 บาท  แต่ราคาหุ้นในตลาดตอนนั้นคือ 80 บาท  สิทธิก็เทียบเท่าไม่มีประโยชน์อะไร

ข้อควรรู้อื่นๆและเรื่องสำคัญที่ต้องระวัง

  • Warrant มันมีวันครบกำหนดอายุ  ไม่ใช่ว่าถือนานแค่ไหนก็ได้  ดังนั้นเสี่ยงกว่าหุ้นแน่ๆ
  • Warrant ไม่ใช่ว่าใช้สิทธิเมื่อไหร่ก็ได้

  • หุ้นที่เป็นตัวอ้างอิงกับ warrant โดยปกติราคามันไปในทิศทางเดียวกัน  แต่ไม่เสมอไป  เพราะ warrant นี่มันมี factor อื่นๆอย่างเช่นระยะเวลาถึงวันครบกำหนดอายุอะไรพวกนี้ด้วย  เช่นสมมติราคาใช้สิทธิ 100 บาท  หมดอายุวันพรุ่งนี้  วันนี้ราคาหุ้นจาก 70 บาทสูงขึ้นมาเป็น 80 บาท  ราคาของ warrant ก็อาจจะไม่ได้เปลี่ยนเท่าไหร่เพราะดูแล้วก็โอกาสที่จะหมดอายุไปอย่างไร้ค่าก็สูงมากอยู่ดี

น่าลงทุนมั้ย

ส่วนตัวผมว่าไม่  Warrant มันเป็นอะไรที่เราต้องเดาถูกทั้งทิศทางและระยะเวลา  ซึ่งผมว่ามันเพิ่มความเสี่ยงโดยไม่จำเป็นน่ะครับ

 

เรื่องที่ควรรู้ก็ประมาณนี้นะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ถ้าอัตราดอกเบี้ยถูกปรับขึ้น ธุรกิจอะไรได้ประโยชน์บ้าง ?

Businesses that benefit from higher interest rate

ถ้าอัตราดอกเบี้ยถูกปรับขึ้น ธุรกิจอะไรได้ประโยชน์บ้าง ?

ช่วงนี้มีคนเก็งว่า Fed อาจจะขึ้นดอกเบี้ยหรือเปล่าเพราะเงินเฟ้อเริ่มสูงขึ้น  แล้วก็เลยมีคนถามว่าสมมติว่าอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นจริงมันจะมีบริษัทอะไรได้ประโยชน์บ้าง

เท่าที่ผมรู้มันก็จะมีอยู่

1. ประกัน  ทั้งประกันภัยและประกันชีวิต

บริษัทพวกนี้เค้าจะมี float อยู่ที่สามารถเอาไปลงทุนได้  นึกภาพเวลาคนจ่ายเบี้ยประกันบริษัทก็จะมีเงินสดเข้ามาแล้วในระหว่างนั้นก็จ่ายออกไปในเวลาที่มันเกิดเหตุ  ด้วยความที่ลูกค้ามีจำนวนเยอะมันก็จะมีเงินเข้าๆออกๆอยู่ตลอดเวลา  แต่โดยรวมบริษัทก็จะมีเงินก้อนใหญ่ก้อนนึงอยู่ตลอด  ซึ่งปกติเค้าก็จะเอาไปลงทุนแหละ

แต่ทีนี้เวลาลงทุน float ด้วยความว่าบริษัทก็ต้องมีสำรองเผื่อคนมาเคลมเยอะหรืออะไร  ดังนั้นเค้าก็ไม่สามารถจะไปลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากได้  บางบริษัทอาจจะมีลงทุนในหุ้นแต่ยังไงต้องไม่ใช่หุ้น 100% แน่นอน  ส่วนใหญ่ลงทุนในสินทรัพย์พวก fixed income ที่ความเสี่ยงต่ำ  ดังนั้นถ้าอัตราดอกเบี้ยต่ำก็จะทำให้รายได้ดอกเบี้ยต่ำและถ้าเกิดอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นก็เป็นเรื่องดีเพราะรายได้ดอกเบี้ยก็จะสูงขึ้น

หรืออย่างกรณีสินค้าของประกันชีวิตอย่างพวก annuities ที่ให้ผลตอบแทนปีละเท่าไหร่ไปเรื่อยๆจนกว่าจะเสียชีวิตหรืออายุที่กำหนด  พวกนี้เค้าก็ต้องเอาเงินก้อนที่คนซื้อสัญญา annuities มาไปลงทุนให้ไ้ด้ผลตอบแทนสูงกว่าภาระที่ต้องจ่ายตามสัญญา  ดังนั้นถ้าอัตราดอกเบี้ยของพวก fixed income ต่ำลงไปกว่าที่คาดเยอะๆเค้าก็ลำบาก  แต่ถ้าโชคดีอัตราดอกเบี้ยสูงเค้าก็สบาย

2. บริษัทโบรกเกอร์หุ้นหรือ platform ที่ไว้ลงทุน

ไอเดียมันคล้ายๆกับประกันแหละ  บริษัทพวกนี้ก็จะมีเงินสดที่นักลงทุนเอามาฝากไว้บางส่วนยังไม่ได้ลงทุนในอะไร  เค้าก็สามารถที่จะเอาเงินสดเหล่านี้ไปฝากธนาคารได้  และดังนั้นถ้าอัตราดอกเบี้ยธนาคารสูงขึ้นก็เป็นเรื่องดี

3.บริษัทอื่นๆที่ถือเงินสดอยู่เยอะๆ

พวกนี้ก็น่าจะมีรายได้จากดอกเบี้ยเยอะขึ้นแหละ  แต่ไม่ควรจะเป็นสาระสำคัญอะไรเท่าไหร่

 

นอกเหนือจากนี้จริงๆอาจจะมีบริษัทประเภทอื่นอีกที่ได้ประโยชน์แต่ผมไม่รู้ละ  ที่นึกออกมีเท่านี้

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี