อ้าว กลายเป็นว่าผลประกอบการไม่ค่อยมีผลกับราคาหุ้น ?

Myth-Busting: Earnings Don’t Matter Much for Stock Returns

อ้าว กลายเป็นว่าผลประกอบการไม่ค่อยมีผลกับราคาหุ้น ?

อันนี้เป็นบทความของเวป CFA ที่ผมไปอ่านเจอมา  เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากสำหรับผมเพราะเนื้อหามันขัดแย้งกับความเชื่อพื้นฐานที่สุดของผมเลย

หลักการในการลงทุนที่ผมใช้คือซื้อบริษัทที่ดีและพยายามซื้อมันให้ได้ตอนที่มันราคาถูกใช่มะ  วิธีการนี้ความเชื่อพื้นฐานของมันก็คือเชื่อว่าถ้าบริษัทผลประกอบการดีขึ้นในอนาคตราคาหุ้นก็จะสูงขึ้นด้วย  และดังนั้นวิธีการลงทุนนี้มันถึงจะได้ผล

แต่บทความนี้เค้ากำลังจะบอกว่า Earnings ซึ่งคือผลประกอบการของบริษัท  Doesn’t matter much ไม่ได้มีผลเท่าไหร่  for stock returns ต่อผลตอบแทนของหุ้น

บทความนี้เขียนโดย Nicolas Rabener  ผมอ่านเจอบนเวปของ CFA ซึ่งผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้ครับ https://blogs.cfainstitute.org/investor/2021/03/22/myth-busting-earnings-dont-matter-much-for-stock-returns/

ในบทความเค้าพบว่า

  • ถ้าเราเอาเฉลี่ย 5 ปีผลตอบแทนของหุ้น US กับเฉลี่ย 5 ปีอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิของหุ้น US  ย้อนไปตั้งแต่ปี 1904 ถึง 2020 มาเปรียบเทียบกัน  เราจะพบว่ามันขยับไปในทิศทางเดียวกันอยู่ช่วงหนึ่ง  แต่ก็มีช่วงที่ดูไม่เกี่ยวกัน  correlation แค่ 0.2 เท่านั้น  และไม่ว่าเราจะเปลี่ยนเป็นเฉลี่ย 10 ปีหรือ 1 ปี  หรือเราจะดู real return  สิ่งที่เจอก็คือความเกี่ยวข้องกันมันน้อยมากในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา

  • ที่ดูไม่เกี่ยวกันเป็นเพราะนักลงทุนมองอนาคตหรือเปล่า  ตัวเลขอดีตก็เลยไม่ค่อยเกี่ยวมั้ย
  • เค้าก้เลยลองเปลี่ยนมาใช้อัตราการเติบโตของกำไรสุทธิในอนาคตแทน  คือไม่ใช้ย้อนหลัง 5 ปีละ  ใช้ไปข้างหน้า 12 เดือนแทน  สมมติว่านักลงทุนสามารถเดาการเติบโตของกำไรได้ถูกต้องแน่นอน  แต่ผลก็คล้ายเดิมคือดูไม่ค่อยเกี่ยวกัน  ยกเว้นช่วงที่อัตราการเติบโตของกำไรสุทธิในอนาคตจะต่ำมากเท่านั้นที่ราคาหุ้นในตลาดลดลง  นอกนั้นดูไม่เกี่ยวข้องอะไรเลย

  • อีกเรื่องที่เค้าลองดูคือดูความสัมพันธ์ระหว่าง P/E กับอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิในอนาคต  โดยคอนเซปต์คือหุ้น P/E สูงคือหุ้นที่คนเชื่อว่าจะดีก็เลยให้ราคาสูง  สิ่งที่เจอคือไม่เกี่ยวอีกเช่นกัน  ดูเหมือน P/E ที่สูงไม่ได้แปลว่าอัตราการเติบโตของกำไรสุทธิใน 12 เดือนข้างหน้าจะดี

สุดท้ายคนเขียนเค้าก็ตั้งคำถามว่า  ทำไมผลประกอบการดูไม่เกี่ยวกับราคาหุ้นเลยล่ะ  เดาว่าเป็นเพราะคนในตลาดหุ้นไม่ได้ใช้เหตุผลในการตัดสินใจ  ดูเหมือนตลาดหุ้นจะเป็นเรื่องของอารมณ์มากกว่า  ปัจจุบันเราเห็นหลักฐานเช่นนักลงทุนแห่เข้าไปซื้อหุ้น Gamestop  หรือนักลงทุนบางกลุ่มใช้วิธีลงทุนแบบโมเมนตัมซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับผลประกอบการเลย  ผู้เขียนจึงสรุปว่าเราอาาจะไม่สามารถพูดได้ว่าราคาหุ้นขึ้นหรือลงเพราะผลประกอบการของบริษัท

เป็นบทความที่น่าสนใจอยู่นะ  ผมงงเพราะพอดีมันไม่ตรงกับประสบการณ์ส่วนตัวผมเลย  เพราะที่ผ่านมาผมก็เห็นว่าบริษัทที่ทำได้แย่ลงเรื่อยๆระยะยาวราคามันก็ต่ำลงเรื่อยๆจริง  และบริษัทที่ทำได้ดีขึ้นเรื่อยๆราคาหุ้นระยะยาวมันก็สูงขึ้นเรื่อยๆจริง

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

สำหรับเป้าหมายระยะสั้น 1-2 ปี ลงทุนหุ้นยังไงดี ?

What about investing for short-term goals ?

สำหรับเป้าหมายระยะสั้น 1-2 ปี ลงทุนหุ้นยังไงดี ?

มีคนบอกว่าเวลาฟังคนพูดเรื่องการลงทุนในหุ้น  ส่วนใหญ่จะได้ยินพูดถึงแต่เป้าหมายระยะยาวเช่นการเกษียณหรือไม่ก็ 10 ปีผ่านไปอะไรประมาณนั้น  แล้วถ้าเกิดเป็นเป้าหมายระยะสั้นล่ะจะลงทุนในหุ้นยังไง  ต้องปรับกลยุทธ์มาลงทุนระยะสั้นหรือเปล่า

เปลี่ยนวิธีลงทุนหรือกลยุทธ์ไม่ช่วยครับ  ลงทุนหุ้นแบบระยะสั้นก็ใช่ว่าจะชัวร์หรือกำไรแน่นอน  วิธีการลงทุนในหุ้นผมยืนยันเหมือนเดิมคือซื้อบริษัทที่ดีและซื้อให้ได้ราคาถูกนี่ถูกต้องแล้ว  ทำวิธีเดิมครับ  สิ่งที่เปลี่ยนคงจะเป็นว่าถ้าระยะเวลามันสั้นมากก็ไม่ต้องลงทุนในหุ้นเลยมากกว่า

คือหลักๆผมว่ามันอยู่ที่ความซีเรียสของเป้าหมายที่ว่านั่นครับ  ถ้ามันเป็นเป้าหมายซีเรียสแล้วมันอีกไม่กี่ปีกำลังจะต้องใช้เงิน  งั้นก็อย่าลงทุนในหุ้นดีกว่า  ซึ่งในที่นี้รวมถึงกองทุนที่ลงทุนในหุ้นด้วยนะ  เพราะถึงแม้ผมจะเชื่อว่าในระยะยาวการลงทุนในหุ้นเป็นเรื่องดีนะ  แต่ในระยะสั้น 1-2 ปีนี่มันอะไรก็เกิดขึ้นได้  อย่างเกิดโควิดอย่างเนี้ย  ดังนั้นถ้ามันกำลังจะมีเรื่องซีเรียสต้องใช้เงินในเวลาอันสั้นอย่าลงทุนในหุ้น  ลงทุนในอะไรที่เน้นปลอดภัยชัวร์เกือบ 100% ว่าเงินจะไม่เสียหายไปดีกว่าเช่นเงินฝากประจำ, พันธบัตรรัฐบาลพวกนี้

แต่ถ้าสมมติเป้าหมายระยะสั้นที่ว่ามันยาวกว่า 1-2 ปีเช่นซัก 5-6 ปี  แบบนี้ผมก็คิดว่าควรจะลงทุนในหุ้นบ้างครับ  เพราะถ้าจะลงทุนแต่พวกเน้นปลอดภัยมันก็จะผลตอบแทนต่ำมาก  การมีลงทุนในหุ้นบ้างผมว่าดีกว่าเพราะมันจะได้มีผลตอบแทนสูงหน่อยมาช่วยบ้าง  และระยะเวลา 5-6 ปีนานพอที่จะข้ามปัญหาในกรณีที่เกิดตลาดตกหรืออะไรขึ้นมา  อาจจะใช้วิธีการถือหุ้นน้อยลงเมื่อจำนวนปีเหลือน้อยๆอันนี้แล้วแต่  แต่คิดว่ามีหุ้นบ้างดี

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

จะหาหุ้นปันผลสูงของต่างประเทศได้ที่ไหน ?

Where to find high dividend foreign stocks ?

จะหาหุ้นปันผลสูงของต่างประเทศได้ที่ไหน ?

มีคนถามเข้ามาก็นึกได้ว่าหัวข้อนี้เคยทำไปสำหรับหุ้นไทยแต่ยังไม่เคยทำสำหรับหุ้นต่างประเทศ

วิธีการที่ตรงประเด็นสุดคือใช้พวก Stock Screener เลยครับ  ผมพบว่าของ Tradingview ก็ใช้ง่ายดี  ไปที่ลิ้งค์นี้ https://www.tradingview.com/screener/

วิธีการใช้ก็ง่ายมาก  ตอนนี้มันจะ default หุ้นอเมริกาอยู่  สมมติเราต้องการจะเปลี่ยนประเทศก็กด Filter ที่อยู่ทางขวามือเปลี่ยนเป็นตลาดประเทศที่เราต้องการ  จากนั้นก็เลือกแถบ Dividends  แล้วก็กดให้มันเรียงปันผลจากมากไปน้อยเท่านั้นเองครับ  แค่นี้ก็ได้รายชื่อหุ้นปันผลสูงในประเทศที่เราต้องการละ

เวลาเราเลือกนี่ก็อย่าลืมว่าใช้ความระมัดระวังนะ  คืออย่าเห็นแค่ว่าปันผลสูง  ต้องดูด้วยว่ามันมีความสามารถในการทำกำไรสม่ำเสมอมั้ย  ไม่งั้นปันผลที่เห็นว่าสูงนั่นมันก็อาจจะลดลงหรือไม่มีได้ในอนาคต

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

คำนวณกำไรต่อหุ้น (EPS) ยังไง ? ทำไมลองทำเองแล้วไม่ตรง ?

How to calculate EPS ? Why do I get a wrong EPS number ?

คำนวณกำไรต่อหุ้น (EPS) ยังไง ? ทำไมลองทำเองแล้วไม่ตรง ?

มีคนสงสัยเรื่องวิธีคำนวณกำไรต่อหุ้น  เพราะรู้สึกว่าลองคำนวณเองดูแล้วมันได้ไม่ตรงกับเวปตลาดหลักทรัพย์หรืองบกการเงินของบริษัท

คือสาเหตุที่คำนวณไม่ตรงเป็นเพราะส่วนใหญ่ใช้กำไรสุทธิตั้งหารด้วยจำนวนหุ้นที่ออกชำระแล้วตอนสิ้นปีครับ  ในขณะที่ถ้าเอาแบบถูกต้องจริงๆคือเค้าคำนวณด้วยจำนวนหุ้นเฉลี่ยระหว่างปีครับ

ตัวอย่าง

เพื่อเป็นตัวอย่างเราใช้ STGT ที่เคยมีคนถามคำนวณให้ดูละกัน

  • กำไรปี 2563 คือ 14,400,868,953 บาท  
  • จำนวนหุ้นตอนสิ้นปี 2563 คือ 2,857,560,000 หุ้น  พาร์ 0.5 บาท
  • จำนวนหุ้นตอนสิ้นปี 2562 คือ 990,000,000 หุ้น  พาร์ 1 บาท

วิธีคำนวณ

  • วิธีการคือแปลงหน่วยพาร์ให้มันเท่ากันก่อน  ปรับจำนวนหุ้นของปี 2562 ให้มันเป็นพาร์ 0.5 บาทก่อนจะได้เปรียบเทียบกับปี 2563 และหาจำนวนเฉลี่ยได้
  • จำนวนหุ้นสิ้นปี 2562 ถ้าพาร์ 0.5 บาทมันควรจะเป็น 990,000,000*2 = 1,980,000,000 หุ้น
  • หลังจากนั้นก็หาจำนวนหุ้นเฉลี่ยระหว่างปี 2563 ซึ่งคือ (2,857,560,000+1980,000,000)/2 = 2,418,780,000 หุ้น
  • แล้วก็คำนวณ EPS  14,400,868,953/2,418,780,000 = 5.95 บาท / หุ้น

บนรายงานประจำปีเค้าได้เลขต่างกันนิดหน่อย  มาจากจำนวนหุ้นเฉลี่ยต่างกันเล็กน้อย  ไม่แน่ใจว่าเค้าคิดเลขมายังไง  แต่คาดว่าอาจจะถ่วงน้ำหนักถัวเฉลี่ยต่างกันเล็กน้อยครับ  แต่โดยไอเดียวิธีการคำนวณก็คือแบบที่คำนวณให้ดูเนี่ยครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

Buffett indicator กำลังบอกว่าตอนนี้ตลาดหุ้นแพงมากแล้ว !!

Buffett indicator

Buffett indicator กำลังบอกว่าตอนนี้ตลาดหุ้นแพงมากแล้ว !!

ผมเคยอ่านเจออยู่ทีนึงเมื่อนานมาแล้ว  Warren Buffett เคยพูดถึงอัตราส่วนอันนึงที่เป็นตัววัดที่ดีว่าตอนนี้ตลาดหุ้นแพงไปแล้วหรือยัง  แล้วก็บอกตามตรงคือลืมไปแล้ว  จนเมื่อเร็วๆนี้ไปอ่านเจอคนพูดถึงว่าตัวอัตราส่วนนี้กำลังส่งสัญญาณว่าหุ้น ณ ปัจจุบันแพงไปเยอะมาก  ผมเลยกลับไปดูว่ามันคืออะไรแล้วเลยมาพูดถึงให้ฟังครับ

อัตราส่วนนี้ปัจจุบันคนนิยมเรียกว่า Buffett Indicator เพราะมันดังจาก Warren Buffett เป็นคนพูดถึง  อัตราส่วนนี้เปรียบเทียบระหว่างมูลค่าทั้งหมดของหุ้นทั้งตลาดใน US เทียบกับ GDP ของทั้งประเทศ  ถ้าราคาของหุ้นสูงเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของทั้งประเทศก็แปลว่าราคามันน่าจะแพงเมื่อเทียบกับปัจจัยพื้นฐาน

ปัจจุบันอัตราส่วนนี้อยู่ที่ 234%  ซึ่งถือว่าสูงเมื่อเทียบกับที่ผ่านมาในอดีต  สูงว่าตอนช่วง Dotcom bubble ด้วย  มันก็เลยมีคนเริ่มทักขึ้นมาว่าตอนนี้ตลาดหุ้นร้อนแรงเกินไปแล้วหรือเปล่า  มันจะมี crash เกิดขึ้นในเร็วๆนี้มั้ย  ผมทิ้งลิ้งค์ของเวปที่คำนวณอัตราส่วนนี้ไว้ให้ครับ

https://www.currentmarketvaluation.com/models/buffett-indicator.php

ส่วนตัวผมก็มองว่าเหตุผลที่ทำให้ตลาดหุ้นราคาสูงขึ้นไปเยอะขนาดนี้ (โดยเฉพาะช่วงนี้) น่าจะเพราะนโยบายการเงินที่กระตุ้นเศรษฐกิจโดยการลดอัตราดอกเบี้ยและเพิ่มเงินในระบบเศรษฐกิจหรือเปล่า  มันก็เลยผลักให้เงินจำนวนมากวิ่งหาผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากเช่นหุ้น  ก็เลยทำให้ราคาหุ้นโดยรวมสูงขึ้นเยอะ  ถ้าเป็นเพราะสาเหตุนี้จริงงั้นความกังวลว่าจะ crash ก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นเร็วๆนี้นะ  เพราะ fed ก็ยังพูดชัดเจนว่าจะยังต้องกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปอีกซักพัก  บวกกับวัคซีนเริ่มได้ผลใน US และเราเริ่มเห็นยอดขายสินค้าปลีกสูงขึ้นการจ้างงานสูงขึ้น  ดังนั้นผมก็คิดว่าด้วยปัจจัยบวกเหล่านี้ตลาดหุ้นโดยรวมก็ไม่น่าจะ crash เร็วๆนี้นะ

https://www.wsj.com/articles/us-economy-march-retail-sales-coronavirus-recovery-11618450223

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมก็ไม่รู้อนาคตและสิ่งที่ผมเชื่อก็ไม่ใช่ว่าจะถูก  ดังนั้นตัว Buffett indicator ดูไว้ก็ไม่ได้เสียหายครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

หุ้น p/e ต่ำ ไม่ได้ดีเสมอไป

Don't focus on just low P/E

หุ้น p/e ต่ำ ไม่ได้ดีเสมอไป

ผมเจอคนถามประมาณว่า P/E เท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าถูกหรือว่า P/E นี้แพงเกินไปหรือยังบ่อยมาก  ซึ่งบางทีผมเริ่มรู้สึกกังวลว่าคนเน้นดู P/E ต่ำมากเกินไปหรือเปล่า  วีดิโอนี้ผมมาพยายามอธิบายว่า P/E ที่ต่ำก็ไม่ได้แปลว่าซื้อแล้วจะดีเสมอไป  ประเด็นสำคัญที่เราควรจะดูคือตัวบริษัทมากกว่าครับ

ก่อนอื่นเลย P/E ต่ำก็ได้เปรียบอันนี้จริง  เพราะ P/E มันคือเทียบราคากับหุ้นกับกำไรต่อหุ้นซึ่งบริษัททำได้ไปแล้ว  เป็นมูลค่าที่เป็นปัจจุบันไม่ใช่สิ่งที่ภาวนาว่าจะเกิดในอนาคต  และการที่หุ้น P/E ต่ำก็คือเราใช้เงินน้อยกว่าเพื่อซื้อกำไรเท่ากันเทียบกับหุ้นที่ P/E สูง

แต่ P/E ต่ำก็ไม่ได้ดีเสมอไป  เพราะบริษัทที่ P/E ต่ำนั่นผลประกอบการในอนาคตอาจจะแย่ลง  ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลที่ทำไม P/E มันต่ำตั้งแต่แรก  ตัวอย่างเหตุผลที่หุ้นมี P/E ต่ำเช่น

1. เป็นบริษัทในธุรกิจที่อนาคตอาจจะหดตัว  เช่นบริษัทบุหรี่

  • British American Tobacco:  P/E 9.83 เท่า, Dividend yield 7.66%
  • Japan Tobacco: P/E 11.87 เท่า, Dividend yield 7.45%

2. เป็นบริษัทในธุรกิจที่เป็นวัฎจักร  แล้วที่ผ่านมาอยู่ในช่วงพีคพอดีเช่นบริษัทสร้างบ้านคอนโด, เหมือง

  • LPN: P/E 10.2 เท่า (ถ้าใช้กำไรปี 2019 จะเป็น 5.81 เท่า), Dividend yield 28% (ถ้าใช้ปี 2019 จะเป็น 12%)

3. เป็นบริษัทที่อาจจะมีปัญหาอื่นๆ  เช่นบันทึกกำไรจริงแต่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบ  หรือมีข่าวเรื่องโกงทุจริต  หรือมีหนี้สินเยอะมาก  หรืออะไรซักอย่าง

ดังนั้นย้ำประเด็นที่ผมอยากจะสื่อคืออย่าดู P/E ว่าต่ำเฉยๆ  P/E ต่ำเนี่ยดีนะแต่อย่าลืมไปพิจารณาตัวบริษัทด้วยว่ามันมีเหตุอะไรที่ทำให้คนไม่ชอบบริษัทขนาดนั้น  ถ้าเราเจอเหตุผลที่ทำให้คนไม่ชอบ  เราก็ถามต่อเลยว่าดูแล้วเหตุผลนี้มันจะทำให้บริษัทแย่ถาวรหรือเปล่า  คนตกใจเว่อร์เกินไปมั้ย  ถ้าดูแล้วไม่ใช่เหตุผลที่มีผลถาวรหรือดูว่าคนตกใจเว่อร์เกินไปแบบนี้โอเค  P/E ต่ำอันนี้อาจจะเป็นโอกาสกำไรดีมากก็เป็นได้

จะศึกษาข้อมูลหุ้น IPO ได้จากที่ไหน ?

Where to find info on IPO ?

จะศึกษาข้อมูลหุ้น IPO ได้จากที่ไหน ?

ช่วงนี้รู้สึกคนกำลังฮิตพูดถึงหุ้น TIDLOR ที่กำลังจะ IPO  แม้กระทั่งเพื่อนผมก็มีถามถึง  จริงๆก็รู้สึกคนฮิตมาตั้งแต่ตอนหุ้น PTTOR ละ  แต่ปัญหาอย่างนึงที่ผมเจอคือคนส่วนใหญ่นี่ถามจังดีมั้ยๆแต่ไม่มีใครศึกษาอะไรจริงๆจังๆ  เข้าใจว่าอาจจะเพราะคนส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าจะหาข้อมูลเกี่ยวกับหุ้น IPO ได้จากที่ไหนดี  วันนี้ผมจะพูดถึงหนังสือชี้ชวน (prospectus) ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญที่คนคิดจะซื้อหุ้น IPO สมควรอ่านครับ

เออแต่ก่อนเข้าเรื่อง  บอกเผื่อสำหรับคนที่สนใจ IPO อยากรู้แค่ซื้อวันแรกราคาจะพุ่งขึ้นมั้ย  ตั้งใจแค่จะลุ้นระยะสั้นๆ  ปิดวีดิโอนี้ได้เลยนะครับ  ตัวหนังสือชี้ชวนไม่ได้ช่วยอะไร  เดาเองน่าจะดีกว่า  แต่สำหรับคนที่สนใจ IPO เพราะคิดว่าบริษัทน่าจะดีนะระยะยาวน่าจะเติบโต  อันนี้หนังสือชี้ชวนช่วยคุณได้ครับ  อย่างน้อยเป็นจุดเริ่มต้นให้ทำการบ้านต่อครับ  แนะนำให้ฟังต่อ

เปิดไปที่เวป www.sec.or.th  หน้าแรกมันมี “หนังสือชี้ชวนตราสารออกใหม่” พอดีเราก็เข้าไปตรงนั้น  หลังจากนั้นไปแถบหนังสือชี้ชวนแล้วก็ค้นหาหุ้นที่เราอยากได้  อย่างกรณีเอาที่คนกำลังฮิตคือ TIDLOR  แล้วก็ดาวน์โหลดเอกสารมาตามหัวข้อที่เราสนใจ

โดยส่วนตัวถ้าเป็นผม  ผมจะเริ่มอ่านส่วนที่เกี่ยวกับธุรกิจที่บริษัททำ, ผลประกอบการ, เหตุผลที่ระดมทุน  อะไรพวกนี้ก่อนเลย

โอเคนะ  หลังจากนี้คุณก็จะไม่ต้องพึ่งพาความเห็นคนแปลกหน้าอีกต่อไป  ข้อมูลเรากับเค้าก็รู้เท่ากันละ  ถามไปก็ได้แต่ข้อคิดเห็นซึ่งก็ไม่รู้ว่ามันรู้เรื่องจริงมั้ย  ที่เหลือถ้าจะหาข้อมูลเพิ่มคนที่จะรู้ดีไปกว่านั้นก็คือพวกคนในธุรกิจนี้ละครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

REIT กับ IF มีข้อเสียอะไรบ้าง ?

Disadvantages of REIT and IF

REIT กับ IF มีข้อเสียอะไรบ้าง ?

มีนักเรียนที่เค้าเห็นผมลงทุนใน REIT เยอะ  เค้าเลยมีคำถามว่า REIT หรือ IF พวกนี้มันไม่มีข้อเสียอะไรเลยเหรอ  วีดิโอนี้ผมเลยรวบรวมจุดอ่อนของ REIT หรือ IF มาพูดถึงครับ  ซึ่งในที่นี้ขอให้เข้าใจว่าเวลาพูดนี่คือผมนับพวก Property fund รวมๆไปด้วยกับ REIT นะ

1. REIT กับ IF ส่วนใหญ่คาดหวังการเติบโตได้น้อย

จุดบอดสำคัญสุดของ REIT หรือ IF ผมว่าคือเรื่องการเติบโตเลย  สาเหตุที่ทำให้โดยรวมการเติบโตต่ำเป็นเพราะ

  • กำไรที่ได้จากการดำเนินงานส่วนใหญ่ต้องจ่ายเป็นปันผลตามกฎคืออย่างน้อย 90%  ดังนั้นถ้าจะขยายก็ต้องทำโดยการกู้ยืมเงินหรือไม่ก็ต้องระดมทุนเพิ่ม  ไม่สามารถใช้กำไรสะสมขยายได้เหมือนบริษัททั่วไป
  • REIT กับ IF ในไทยคาดหวังการเติบโตได้น้อยไปอีก  เป็นเพราะว่าส่วนใหญ่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์จะขยายหรือโตตั้งแต่แรก  วัตถุประสงค์หลักของการจด REIT หรือ IF คือทำโดยบริษัทที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินและแค่ต้องการเงินทุนไปทำอย่างอื่น

ด้วยเหตุผลนี้การเติบโตของรายได้ส่วนใหญ่ก็จะมาจากการขึ้นราคาค่าเช่าเป็นหลัก  ซึ่งมันก็คงไม่ใช่การเติบโตพรวดพราด

2. ได้รับผลกระทบถ้า interest rate สูงขึ้น

อันนี้ก็ตรงไปตรงมา  ถ้าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากหรือพันธบัตรสูงขึ้น  เงินฝากหรือพันธบัตรก็จะดูน่าลงทุนมากขึ้นและทำให้ REIT กับ IF ดูน่าสนใจน้อยลงโดยเปรียบเทียบ

3. บาง REIT กับ IF มีปัญหาถ้าเงินเฟ้อสูง

สำหรับ REIT กับ IF บางอันเงินเฟ้อไม่ได้เป็นปัญหาเพราะถ้าเงินเฟ้อสูงก็เพิ่มค่าเช่าตามได้  แต่บางอันลักษณะสัญญามันตกลงค่าเช่าเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว  ดังนั้นถ้าเงินเฟ้อสูงพวกนี้ก็เดือดร้อนเพราะปรับค่าเช่าตามไม่ได้

4. เสี่ยงไปอีกแบบเพราะบาง REIT หรือ IF มีทรัพย์สินที่เจาะจงมาก

เรื่องสุดท้ายที่คิดออกคือเรื่องความเสี่ยง  บาง REIT หรือ IF ความเสี่ยงก็กระจายนะ  เช่นบางอันได้ค่าเช่าจากห้างเซ็นทรัลหลายห้าง  หรือจากโลตัสหลายสาขา  แต่บาง REIT หรือ IF ก็ความเสี่ยงกระจุกตัวมากเช่นโกดังสินค้ากับโรงงานในพื้นที่เดียว, ตึกออฟฟิศตึกเดียว, ศูนย์แสดงสินค้าจุดเดียว  นั่นแปลว่าถ้าเกิดอะไรขึ้นกับทรัพย์สินอันนั้นหรือพื้นที่นั้นไม่ได้รับความนิยมขึ้นมานี่คือจบเลย

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ต้องทำผลตอบแทนได้กี่ % ถึงเรียกว่าดี ?

At what % return is deemed a good performance ?

ต้องทำผลตอบแทนได้กี่ % ถึงเรียกว่าดี ?

มีคนมีคำถามเกี่ยวกับการประเมินผลงานการลงทุน  ว่าผลตอบแทนเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าดี  ต้องสูงกว่า 10% ขึ้นไปหรือว่าต้องเท่าไหร่

คืออันนี้มันแล้วแต่วัตถุประสงค์ด้วย  สมมติเรามีเป้าหมายส่วนตัวว่าจะต้องเฉลี่ยต่อปี 10% ด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่  ถ้าผลตอบแทนที่ได้คือ 10% ขึ้นไปก็คือถือว่าดี  แต่โดยปกติทั่วไปเพื่อจะวัดว่าผลตอบแทนที่ทำได้ดีหรือไม่ดีเราจะวัดด้วยการเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยครับ

หลักการในการเลือกตัวเปรียบเทียบคือ

  1. สินทรัพย์ใกล้เคียง
  2. เอาสิ่งที่ใกล้เคียงกับสินทรัพย์ที่เราลงทุน  ไม่ใช่เอาหุ้นเราเปรียบเทียบกับเงินฝาก  หรือเอาหุ้นเราซึ่งลงทุนในไทยเปรียบเทียบกับเพื่อนที่ลงทุนในหุ้นเวียดนาม

  3. ช่วงเวลาเดียวกัน
  4. นับช่วงเวลาเดียวกันด้วย  คือเราจะไม่เปรียบเทียบผลตอบแทนปีนี้กับผลตอบแทนปีที่แล้ว  มันไม่เกี่ยวกันน่ะ

    สมมติว่าพอร์ตเราลงทุนในหุ้นไทย 100%  ผมก็แนะนำว่าเราเทียบกับ SET Total Return Index เลย  มันเป็นดัชนีที่วัดว่าถ้าเราลงทุนแบบกระจายตามดัชนี SET จะได้ผลตอบแทนเท่าไหร่  อันนี้ Total Return คือรวมทั้ง capital gain และปันผลด้วย

SET TRI ไปดูได้ที่  https://www.set.or.th/en/market/tri.html


เวลาคำนวณว่า SET TRI ผลตอบแทนเท่าไหร่ก็แค่เอาตัวเลข index ตอนวันท้ายตั้งหารด้วย ตัวเลข index ตอนก่อนวันแรกหนึ่งวัน (เพราะเราต้องการตัวเลขเริ่มต้นของวันแรก)  แล้วก็ลบ 1  เช่น  สมมติเราจะดูว่า SET TRI ปี 2020 ทั้งปีกำไรกี่ %  เราก็เอา (9,659.25/10,193.52)-1 =  -5.24%  อันนี้แปลว่าถ้าเราเริ่มต้นลงทุนด้วยเงิน 100 บาทใน SET ตอนต้นปี 2020  พอจบปี 2020 เราจะได้ผลตอบแทน -5.24%  มีเงินเหลือ 94.76 บาท  ถ้าในช่วงเดียวกันเราผลตอบแทนที่เราทำได้ดีกว่านี้ก็คือแปลว่าเราชนะตลาดละครับ

หรืออีกทางเลือกนึงคือเทียบกับผลตอบแทนกองทุนรวมก็ได้  เราก็ไปหาดูว่ากองทุนที่ลักษณะการลงทุนคล้ายกันกับเราเฉลี่ยได้ผลตอบแทนเท่าไหร่  ถ้าเราทำได้ดีกว่าก็แปลว่าดี  ผลตอบแทนกองทุนก็หาเอาจาก Morningstarthailand ครับ  https://www.morningstarthailand.com/th/screener/fund.aspx#?filtersSelectedValue=%7B%7D&page=1&sortField=legalName&sortOrder=asc

พอทำแบบนี้เราก็จะรู้ละครับว่าที่เราทำได้คือดีหรือไม่ดี  บางปีเราทำได้ 20% ก็อาจจะห่วยก็ได้เพราะเฉลี่ยทำได้เกินนั้น  หรือบางปีเราอาจจะนึกว่าแย่ทำได้ -10%  แต่จริงๆอาจจะชนะตลาดก็ได้เพราะเฉลี่ยห่วยกว่านั้น  ถ้าสมมติเราทำได้ดีกว่าตลาด  ก็คือดีละเราทำต่อไปและคอยเก็บข้อมูลต่อไปให้ชัวร์ว่าเราทำได้ดีกว่าในระยะยาวจริงไม่ฟลุค

แต่ถ้าสมมติเราทำได้แย่กว่าตลาด  ก็อย่าตกใจเพราะการแย่กว่าแค่ปีสองปีมันปกติครับ  สิ่งที่เราต้องการคือภาพรวมระยะยาวเราชนะตลาดไม่ใช่แค่ปีใดปีหนึ่ง

แต่ถ้าสมมติเราทำได้แย่กว่าตลาดต่อเนื่องหลายปี  เราก็ต้องเริ่มสงสัยละว่าอาจจะต้องเปลี่ยนวิธีการนะ  หรือไม่งั้นอาจจะสมควรลงทุนด้วยกองทุน  เพราะการลงทุนด้วยตัวเองของเราส่งผลเสียมากกว่าดีครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ดัชนีหุ้นเห็นมีหลายอัน มันคืออะไร ? ต่างกันยังไง ?

Major indices

ดัชนีหุ้นเห็นมีหลายอัน มันคืออะไร ? ต่างกันยังไง ?

มีนักเรียนเราถามเรื่องดัชนีว่ารู้สึกสับสนเห็นมันมีหลายอันเช่น Dow Jones, S&P 500, Russell, etc.  อยากให้อธิบาย  

โดยไอเดียคือขอให้เข้าใจว่าดัชนีนี่มันมีเยอะแยะไปหมด  แล้วแต่ว่าจะจัดกลุ่มตามอะไรเช่นตามประเทศ, ตามขนาด, ลักษณะธุรกิจ, สไตล์, ฯลฯ  แล้วก็มีคนจัดกลุ่มหลายเจ้าอีกต่างหากซึ่งบางทีก็จัดกลุ่มซ้ำกัน  ดังนั้นอย่าไปสนใจมันมาก  รู้จักไว้แค่ดัชนีหลักๆที่ได้ยินในข่าวบ่อยๆก็พอละ

เริ่มจากดัชนีของไทยก่อน  หลักๆก็จะมี

  • SET  อันนี้เห็นบ่อยสุด  ดัชนีนี้คือหุ้นทุกตัวใน SET
  • mai  ส่วนอันนี้คือหุ้นทุกตัวในตลาด mai  ซึ่งส่วนใหญ่คือหุ้นเล็กกว่า
  • SET 50  ดัชนีที่รวมหุ้น market cap ใหญ่สุด 50 บริษัท
  • SET 100  อันนี้คือ market cap ใหญ่สุด 100 บริษัท
  • SETHD  อันนี้คือหุ้นปันผลสูง

ส่วนที่ดัชนีต่างประเทศอันหลักๆที่เรามักจะได้ยินก็จะมี

  • Dow Jones  อันนี้เข้าใจว่าดังเพราะเป็นดัชนีที่เก่าแก่  แต่ในดัชนีมีหุ้นอยู่ 30 บริษัท  มันก็จะไม่ได้สะท้อนภาพรวมของตลาดเท่าไหร่
  • S&P 500  หุ้นใหญ่ 500 บริษัท  อันนี้คนติดตามกันเยอะ
  • Nasdaq  เป็นตลาดหุ้นอีกอันนึงนอกเหนือจาก NYSE  ดัชนี Nasdaq นี่เป็นตัวแทนของหุ้นเทคโนโลยีเพราะหุ้นที่จดใน Nasdaq เป็นหุ้นเทคโนโลยีซะเยอะ
  • Russell 2000  อันนี้คือหุ้นเล็ก 2000 บริษัท  ดัชนีนี้ดังในฐานะตัวแทนของหุ้นเล็ก
  • VIX (CBOE Volatility index)  มาได้ยินช่วงหลังๆนี้  เป็นดัชนีที่วัดความผันผวนของราคาหุ้นในตลาด  เค้ามักจะตีความว่าตลาดผันผวน = คนกำลังกลัว
  • FTSE 100  หุ้นใหญ่สุด 100 บริษัทของตลาดหุ้นอังกฤษ
  • CAC 40  หุ้นใหญ่สุด 40 บริษัทของตลาดหุ้นฝรั่งเศส
  • DAX  หุ้นใหญ่สุด 30 บริษัทของตลาดหุ้นเยอรมัน
  • Euro Stoxx 50  หุ้นใหญ่สุด 50 บริษัทในยูโรโซน  ซึ่งส่วนใหญ่คือหุ้นฝรั่งเศสกับเยอรมัน
  • Nikkei 225  อันนี้ก็ไม่รู้ทำไมมันดังเหมือนกัน  แต่เข้าใจว่าเป็นดัชนีที่ทำโดยหนังสือพิมพ์แล้วได้รับความนิยม  เป็นดัชนีที่เอาหุ้นใหญ่ 225 บริษัทจาก Tokyo Stock Exchange มาทำ
  • S&P/ASX 200  หุ้นใหญ่สุด 200 บริษัทในตลาดหุ้นออสเตรเลีย
  • Shanghai Composite  อันนี้คล้ายๆ SET คือเอาหุ้นทุกตัวในตลาด Shanghai Stock Exchange
  • Shenzhen Component  หุ้นใหญ่สุด 500 บริษัทในตลาด Shenzhen  ชื่อมันจะคล้ายๆกับ Shenzhen Composite
  • Hang Seng  หุ้นใหญ่สุด 50 บริษัทในฮ่องกง
  • Kospi  หุ้นทุกตัวในตลาดหุ้นเกาหลีใต้

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี