SPAC คืออะไร ทำไมเป็นข่าวขึ้นมาช่วงนี้ แล้วน่าสนใจลงทุนหรือเปล่า ?

What is SPAC ? Why does it make multiple headlines these days? And should you invest in SPAC ?

SPAC คืออะไร ทำไมเป็นข่าวขึ้นมาช่วงนี้ แล้วน่าสนใจลงทุนหรือเปล่า ?

บังเอิญมีคนถามเกี่ยวกับ SPAC ขึ้นมาบวกกับมันกำลังดังเป็นข่าวในต่างประเทศอยู่ตอนนี้  ผมก็เลยคิดว่าน่าจะทำวีดิโออธิบาย SPAC ซะหน่อยเผื่อคนฟังเราเวลาได้ยินคนพูดถึงจะได้รู้ว่าเค้าคุยอะไรกัน

SPAC นี่คืออะไร

SPAC ย่อมาจาก Special-purpose acquisition company ครับ  บริษัทแบบนี้ตามชื่อเลยคือตั้งขึ้นมาเพื่อทำการ acquisition อย่างเดียว  ไม่มีการดำเนินธุรกิจใดๆ  บางทีจะได้ยินเค้าเรียกว่าเป็น shell company เพราะมันมีแต่เปลือกเอาไว้ควบรวมกิจการอื่นอย่างเดียว

ขั้นตอนของ SPAC มันจะมีสองตอน  ขั้นแรกเค้าจะจดบริษัท SPAC นี่เข้ามาในตลาดหลักทรัพย์ออกหุ้นระดมทุนจากนักลงทุนเข้ามารวบรวมเงินสดเตรียมสำหรับซื้อบริษัทอื่น  นักลงทุนที่เข้ามาซื้อตอนแรกนี่ปกติก็จะได้หุ้นแล้วก็ได้ warrant เผื่อลงทุนเพิ่ม  ส่วนคนสปอนเซอร์หรือคนที่เป็นคนบริหาร SPAC ก็จะมีหน้าที่ไปหาเป้าหมายในการควบรวมกิจการให้ได้ภายใน 2 ปีไม่งั้นก็คือ SPAC ก็จะต้องปิดไปคืนเงินให้ผู้ถือหุ้น  สิ่งที่คนสปอนเซอร์จะได้คือเค้าจะได้สัดส่วนความเป็นเจ้าของใน SPAC ถ้าหาเป้าหมายได้  โดยปกติเข้าใจทั่วไปคือได้ 20%

ขั้นที่สองคือตอนหาเป้าหมายได้แล้วและทำการรวมกิจการ  ขั้นนี้เค้าก็จะเรียกวา de-SPAC  พอหาเป้าหมายได้และผู้ถือหุ้นโหวตเห็นชอบแล้ว  บริษัท SPAC ก็ซื้อเป้าหมายนั้น  บริษัทเป้าหมายนั้นก็จะกลายเป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์

แล้วเกิดอะไรขึ้นทำไมดังตอนนี้

ช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา SPAC ระดมทุนได้เยอะมาก  โตขึ้น 462% เทียบกับปี 2019  ปีนี้ 2021 มาถึงเดือนเมษายนนี้จำนวนที่ระดมทุนก็เยอะกว่า 2020 ทั้งปีแล้ว  จากความนิยมที่เยอะขึ้นมากนี้ก็เลยเป็นที่มาว่าทำไมเป็นข่าวจัง

เข้าใจว่ามาจากหลายปัจจัยรวมกัน  ไม่กี่ปีมานี้มันมีการเปลี่ยนกฎในการโหวตตอนที่คนบริหารเจอบริษัทที่เป็นเป้าหมาย  แต่ก่อนเวลาโหวตคือเห็นด้วยกับไม่เห็นด้วยมันจะผูกกับการขายหุ้นคืน  ถ้าไม่เห็นด้วยปุ๊บก็คือเท่ากับจะขายหุ้นคืนเลย  แต่ปัจจุบันคนสามารถโหวตแยกได้ว่าไม่เห็นด้วยแต่ยังไม่ขายหุ้นคืนก็ได้  หรือบอกเห็นด้วยแต่จะขายหุ้นคืนก็ได้  โดยรวมมันทำให้ SPAC ทำขั้นตอน de-SPAC ได้สำเร็จเยอะขึ้น  บวกกับว่าช่วงที่ผ่านมามีการเพิ่มเงินในระบบเศรษฐกิจทำให้มีเงินเหลือล้น  คนพร้อมจะลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงๆเยอะขึ้น  ส่วนมุมของคนที่เป็นคนสปอนเซอร์ SPAC ก็ต้องยินดีอยู่แล้วเพราะทำแล้วได้เงินนี่

ทำไมบริษัทที่เป็นเป้าหมายถึงเลือกเข้าตลาดผ่าน SPAC แทนที่จะ IPO ปกติ

เข้าใจว่าเรื่องหลักคือทำได้ง่ายกว่า  คือถ้า IPO เองมันต้องมีขั้นตอนมีกระบวนการและข้อจำกัดมากมายเช่นข้อจำกัดว่าห้ามมีหนี้เยอะเกินอะไรงี้  การทำผ่าน SPAC ซึ่งตัวมันเองอยู่ในตลาดอยู่แล้วก็จะลัดขั้นตอนพวกนี้ได้

สำหรับเจ้าของเดิม  การขายหุ้นกับ SPAC ก็อาจจะได้ราคาที่ชัดเจนกว่า  เพราะคุยตกลงกันกับผู้บริหาร SPAC โดยตรง  ไม่ต้องลุ้นเหมือนเวลาทำ IPO ที่ราคาขึ้นอยู่กับความนิยมของคนจำนวนมาก  ออกมาบางทีขายไม่หมด

อีกอย่างนึงที่ได้ยินคือในฐานะที่เป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์  SPAC เค้าอยู่ภายใต้ Private Securities Litigation Reform Act ซึ่งอนุญาตให้เค้าสามารถพูด Forward-looking statement ได้โดยไม่มีคนมาฟ้องร้อง

แล้วเราควรลงทุนใน SPAC หรือเปล่า

เอาจริงๆก็ไม่ค่อยเกี่ยวกับเรานะ  เพราะไม่มีในไทยอยู่แล้วนี่  แต่เข้าใจว่ามีบางคนลงทุนในหุ้นต่างประเทศเหมือนกัน  ส่วนตัวผมฟังแล้วรู้สึกว่าไม่ได้เรื่องนะ  โดยรวมน่าจะห่วยด้วยเหตุผลดังนี้

  1. ตอนซื้อ SPAC นี่เรายังไม่รู้เลยนะว่ามันจะไปซื้อบริษัทเป้าหมายคือบริษัทอะไร  ถึงแม้จะบอกนโยบายคร่าวๆว่าเป้าหมายจะประมาณไหน  แต่มันก็สุ่มสุดๆ
  2. บริษัทที่เป็น private ที่ดีและต้องการเงินทุนอยากเข้าตลาดหุ้นยังไงมันก็มีจำนวนจำกัด  ในขณะที่จำนวน SPAC เพิ่มขึ้นอย่างบ้าเลือด  ก็แปลว่ากำลังมี SPAC จำนวนมากขึ้นเยอะมากวิ่งหาโอกาสที่มีจำกัด
  3. Conflict of interest ของคนสปอนเซอร์  เค้าได้รายได้จากการปิดดีลด้วย  แล้วยิ่งระยะเวลาใกล้ครบ 2 ปีผมเชื่อว่าเค้าก็จะยิ่งรู้สึกกดดันต้องหาดีลให้ได้  พอสภาพเป็นแบบนี้เค้าก็มีแนวโน้มจะยอมเลือกบริษัทเป้าหมายที่ห่วยหรือไม่งั้นก็ยอมซื้อในราคาที่แพง

ความเห็นอื่นๆ

อย่างนึงที่ผมรู้สึกหลังจากฟังเรื่อง SPAC คือมันทำให้สงสัยว่าตลาดหุ้นตอนนี้กำลังอยู่ในโหมดโลภหรือเปล่า  ถ้าตลาดเริ่มอยู่ในโหมดโลภก็อาจจะเป็นสัญญาณว่าเราต้องระวังมากขึ้นหรือเปล่า

กับความเห็นอีกอย่างคือเรื่องที่บริษัทเป้าหมายที่สนใจจะเข้าตลาดผ่าน SPAC สนใจเพราะสามารถพูด Forward-looking statement ได้  ปลอดภัยไม่โดนฟ้องแน่นอน  ผมคิดว่าไม่น่าจะจริงนะ  คิดว่าเป็นความเข้าใจผิด  เพราะปกติแล้วตามกฎบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นไม่สามารถพูดไม่ตรงกับความจริงหรือไม่สามารถไม่เปิดเผยข้อมูลสำคัญได้  เช่นสมมติบริษัทมีการประมาณการณ์ยอดขายกับกำไรในอนาคตไว้  อันนึงเลิศมากไว้ป่าวประกาศ  ส่วนอีกอันคือของจริงที่ผู้บริหารคิดจริงๆ  การเปิดเผยกับนักลงทุนเฉพาะอันที่คิดว่าดีคือผิดชัวร์นะ  เพราะถือว่าเป็นการให้ข้อมูลที่รู้และตั้งใจให้เข้าใจผิดได้

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ดัชนีวัดระดับความกลัว/โลภ

Fear and Greed index

ดัชนีวัดระดับความกลัว/โลภ

เมื่อเร็วๆนี้เพิ่งพูดถึงหนังสือเรื่องวัฎจักรของตลาดไปเอง  พอดีบังเอิญไปเจอว่า CNN เค้ามีทำ Fear and Greed Index (ดัชนีวัดความกลัวกับความโลภ) ก็เลยเอามาเล่าให้ฟังครับ

คือดัชนีนี้ไอเดียคือเค้าพยายามจะวัดว่าตอนนี้ตลาดอยู่ในโหมดกลัวหรืออยู่ในโหมดโลภ  โดยวัดจากสัญญาณบ่งชี้ 7 ตัว  ผมทิ้งลิ้งค์เอาไว้ให้  https://money.cnn.com/data/fear-and-greed/

สัญญาณบ่งชี้ 7 อย่างที่เค้าใช้มีดังนี้

  1. Junk bond demand
  2. อันนี้วัดความต้องการหุ้นกู้ความเสี่ยงสูง  วิธีการคือดูจากส่วนต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนหุ้นกู้ปลอดภัยกับหุ้นกู้ความเสี่ยงสูง  ถ้าช่วงไหนความแตกต่างมันแคบกว่าปกติก็คือแปลว่าคนยินดีซื้อหุ้นกู้เสี่ยงสูงโดยที่ผลตอบแทนต่างกันไม่เยอะ  ก็แปลว่าคนอยู่ในโหมดโลภ

  3. Safe haven demand
  4. อันนี้วัดความต้องการในสินทรัพย์ปลอดภัยอย่างตราสารหนี้  วิธีคือดูเทียบว่าช่วงที่ผ่านมาผลตอบแทนของหุ้นเทียบกับตราสารหนี้เยอะกว่ากันขนาดไหน  ถ้าเยอะกว่ากันเยอะเทียบกับค่าเฉลี่ยปกติก็แปลว่าคนแห่ไปลงทุนในหุ้นเยอะ  ก็คือคนอยู่ในโหมดโลภ

  5. Market momentum
  6. อันนี้ดูโมเมนตัมตลาด  วิธีคือดูระดับของ S&P 500 ตอนนี้เทียบกับเส้น moving average 125 วัน  ถ้าสูงกวาเยอะๆก็คือแสดงถึงความต้องการลงทุนในหุ้นเยอะ  ก็คือคนอยู่ในโหมดโลภ  

  7. Put and Call option
  8. อันนี้ไว้วัดมุมมองของนักลงทุนว่าเค้ามองอนาคตตลาดเป็นยังไง  วิธีคือเทียบจำนวน put option กับ call option ทั้งหมดในช่วง 5 วันที่ผ่านมา  ถ้า put option น้อยกว่า call option เยอะๆก็คือคนเชื่อว่าตลาดจะขึ้น  ดังนั้นเป็นการแสดงว่าอยู่ในโหมดโลภ

  9. Market volatility
  10. อันนี้เค้าวัดความผันผวนของราคา  วิธีดูก็คือดูตัว VIX ที่เป็นดัชนีวัดความผันผวน  ไอเดียคือถ้าผันผวนมากแปลว่าคนไม่มั่นใจแปลว่ามีความกลัว

  11. Stock price strength
  12. อันนี้วัดจำนวนหุ้นที่ทำ 52-week high เทียบกับจำนวนหุ้นที่ทำ 52-week low  ถ้าส่วนต่างตรงนี้เยอะกว่าช่วงปกติก็คือคนกำลังโลภ

  13. Stock price breadth
  14. อันนี้วัดว่า volume การซื้อขายหนักไปทางไหนมากกว่ากัน  วิธีการคือใช้ McClellan Volume Summation Index ซึ่งผมขี้เกียจไปอ่านว่าสูตรมันคืออะไร  แต่หลักๆแล้วไอเดียคือเค้าเทียบดูว่า volume การซื้อขายเกิดในหุ้นที่เป็นทิศทางขึ้นมากกว่าหุ้นที่เป็นทิศทางลงหรือเปล่า  ถ้า volume ส่วนใหญ่เกิดในหุ้นที่เป็นทิศทางขึ้นมากกว่าช่วงปกติเค้าก็จะตีความว่าคนกำลังโลภ

แล้ว CNN ก็เอาผลรวมของพวกนี้ทั้งหมดมาเฉลี่ยน้ำหนักเท่าๆกัน  ออกมาเป็นตัวเลข 0-100  0 คือกลัวสุดๆ  100 คือโลภสุดๆ  ประมาณนี้ครับ  แต่ข้อจำกัดมันก็เหมือนกับที่เรารู้กันแหละ  ดัชนีนี้อาจจะบอกได้คร่าวๆว่าตอนนี้สภาพเราอยู่ตรงไหน  แต่ไม่ได้บอกว่าสถานการณ์มันจะเปลี่ยนตอนไหน  อย่างที่หนังสือ Mastering the market cycle บอกแหละ  ผมเห็นว่าน่าสนใจอยู่และอาจจะมีประโยชน์เลยเอามาเล่าให้ฟังครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

มีวิธีอะไรมั้ย ทำให้ไม่ตกใจเวลาตลาดหุ้นตก ?

How to not panic when SHFT in the stock market

มีวิธีอะไรมั้ย ทำให้ไม่ตกใจเวลาตลาดหุ้นตก ?

มีคนอยากได้วิธีคิดให้สามารถถือหุ้นข้ามวิกฤติ  เพราะเค้าบอกต่อให้เรารู้ว่าพื้นฐานไม่เปลี่ยนแต่เวลาหุ้นตกกันทั้งตลาดก็ตกใจอยู่ดี  ก็เป็นคำถามที่ดีนะ  ผมก็มานั่งนึกนะว่าอะไรจะช่วยได้บ้าง

ปัจจัยสำคัญอันนึงที่ผมว่าช่วยได้เยอะคือประสบการณ์  คนที่ลงทุนมานานระดับนึงมันก็จะเห็นกับตาไงว่ามันไม่เป็นไรจริงๆนะการถือหุ้นข้ามวิกฤติตราบใดที่พื้นฐานหุ้นยังดีอยู่  คนที่มีประสบการณ์เคยเจอมาก่อนมันก็จะคุมสติง่ายกว่า  แต่อันนี้มันไม่ค่อยช่วยเท่าไหร่เพราะคนที่ไม่มีก็คือไม่มี  มันไม่มีทางทำให้คนไม่มีประสบการณ์อยู่ๆมีขึ้นมาได้

สิ่งที่น่าจะช่วยได้หลักๆเลยก็น่าจะเป็นการตัดสินใจด้วยตรรกะนะ  คือตราบใดที่เราตัดสินใจแบบเอาอารมณ์ออกไปได้มันก็น่าจะช่วยตัดความกลัวที่ไม่มีเหตุผลออกไปได้เยอะ  ซึ่งการจะให้คนเราตัดสินใจตรรกะล้วนมันเป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว  แต่ผมคิดว่าถ้าทำสิ่งต่อไปนี้น่าจะช่วยได้

  1. เรียบเรียงการตัดสินใจของเราว่าทำไมเราถึงซื้อหรือไม่ซื้อหุ้นนั้น
  2. เขียนประเด็นสำคัญที่มีผลต่อหุ้นนั้นออกมาในกระดาษ
  3. คอยเช็คดูว่าเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบทำให้เราตกใจนี่หรือเปลี่ยนแปลงไป  มันกระทบประเด็นสำคัญเหล่านั้นมั้ย  พิจารณาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
  4. ตัดสินใจอีกทีจากประเด็นสำคัญที่เราสรุปได้

ตัวอย่างเช่น  อย่างผมนี่มี REIT ที่ทำห้างในยุโรปนะ

เรียบเรียงสาเหตุที่ผมตัดสินใจซื้อมีดังนี้

  • เช็คดูแล้วว่าห้างพวกนั้นดูมีความต้องการอยู่  จากการที่ occupancy สูงมากก่อนโควิดมาตลอด
  • โควิดเกิดขึ้นแล้ว  มีการปิดห้างบางช่วง  บริษัทมีการยกเว้นค่าเช่าให้ร้านค้า  แต่โดยรวมก็ยังกำไรอยู่ไม่ได้ถึงกับขาดทุน
  • หลังจากห้างกลับมาเปิด  ปริมาณการขายของในห้างกลับมาอยู่ในระดับที่สูงมากจนเกือบปกติ
  • Occupancy แทบไม่ลด  และดูเหมือนจะยังปล่อยเช่าได้โดยที่ค่าเช่าสูงขึ้น  เก็บเงินได้เกิน 90%
  • ราคาหุ้นตกรุนแรง  โดยที่เท่าที่ดูแล้วไม่เห็นแนวโน้มของปัญหาถาวร  กำไรหดจากแค่ค่าเช่าที่ยกให้กับการประเมินมูลค่าทรัพย์สินเฉยๆ
  • เชื่อว่าโควิดไม่ได้อยู่ไปตลอด

ประเด็นสำคัญที่จะมีผลคือ

  • โควิดจบหรือไม่  ขึ้นกับวัคซีนฉีดมั้ย, ฉีดแล้วได้ผลหรือเปล่า
  • โควิดต้องไม่นานเกินจนผู้เช่าเจ๊งหมด  ซึ่งเราจะวัดจาก occupancy, collection, rent renewal

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่น

  • 3rd wave  ก็ไม่เกี่ยวนี่  เรารู้อยู่แล้วว่ามันก็จะระบาดไปเรื่อยจนกว่าจะแก้ได้ถาวร
  • ฉีดวัคซีนช้าด้วยเหตุอะไรก็แล้วแต่  อันนี้สมควรติดตามดู
  • ไวรัสกลายพันธุ์  เท่าที่ทราบวัคซีนยังได้ผลอยู่นี่  และตามข่าวคือถ้าจำเป็นก็ปรับวัคซีนตามได้
  • ตลาดหุ้นตกโดยเฉพาะพวกกลุ่มหุ้น tech  …  ไม่เกี่ยวสุดๆ

สรุป ถือต่อไปไม่มีอะไร
 

หรืออีกตัวอย่างนึงที่มีการเปลี่ยนใจ  คือกรณีที่ซื้อหุ้นเรือสำราญ  จากตอนแรกไม่ซื้อ

เรียบเรียงสาเหตุที่ผมตัดสินใจไม่ซื้อตอนแรกสุดมีดังนี้

  • บริษัทขาดทุนหนัก  เดินเรือไม่ได้เลย = ไม่มีรายได้  ต่อให้ระดมทุนได้ก็แค่ยืดเวลาออกไปเท่านั้น
  • ณ เวลานั้น  วัคซีนข่าวบอกอาจกว่าจะได้ต้องใช้เวลาถึง 2021-2022  ไม่รวมว่าต้องใช้เวลาฉีดอีก

ประเด็นสำคัญที่จะมีผลคือ

  • การมีวัคซีนหรือยาที่จะทำให้โควิดจบ
  • บริษัททนได้นานขนาดไหน

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่น

  • กู้ยืมเงิน + ออกหุ้นใหม่ได้เพิ่ม  ก็แค่ยืดเวลา  โดยตัวมันเองไม่มีประเด็นเท่าไหร่
  • ลดค่าใช้จ่ายได้บ้าง  ก็แค่ยืดเวลาเช่นกัน  โดยตัวมันเองไม่สำคัญเท่าไหร่
  • มีวัคซีนตอนปลายปี 2020  ทดลองฉีดแล้วได้ผล  อันนี้สำคัญมากละ

สรุป เปลี่ยนจากไม่ซื้อมาซื้อในภายหลัง

 

ประมาณนี้แหละนึกภาพออกมั้ย  คือเวลาตัดสินใจให้จับตามองประเด็นที่มันสำคัญเป็น key จริงๆ  ถ้ากลัวสติแตกก็เขียน  ช่วยได้ครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

หา P/E เฉพาะกลุ่มธุรกิจได้จากที่ไหน ?

Where to find P/E of stock sectors ?

หา P/E เฉพาะกลุ่มธุรกิจได้จากที่ไหน ?

มีนักเรียนเราที่บอกเดี๋ยวนี้คนนิยมลงทุนตามธีม  แล้วก็เลยอยากรู้ว่าปกติถ้าเราอยากรู้ว่าหุ้นแต่ละกลุ่มธุรกิจ P/E เท่าไหร่นี่จะดูได้จากที่ไหน

เป็นคำถามที่ดีนะ  บอกตามตรงว่าถ้าเป็นหุ้นไทยผมก็ไม่รู้เหมือนกัน  มันมีดัชนีที่แยกตามอุตสาหกรรมอย่าง SET Consumer, SET Financials, etc.  ซึ่งผมก็มั่นใจว่ามันต้องมี P/E ของแต่ละอันแน่  แต่หาไม่เจอจริงๆและก็ไม่คุ้นว่าเคยเห็นด้วย

แต่ถ้าเป็นต่างประเทศหาได้แน่  เราสามารถไปเปิดพวก factsheet ของ index ที่เค้าจัดกลุ่มหุ้น  มันจะมี P/E อยู่ครับ  เช่นสมมติถ้าใน US ก็ใช้ของ S&P ก็ได้  หรือไม่งั้นถ้าจะเอาทั่วโลก S&P ก็น่าจะมีนะแต่จำได้ว่าเคยเห็นของ MSCI มีแน่ๆ

วีธีหาก็ Google คำว่า “MSCI” กับ “(ชื่อกลุ่มธุรกิจที่ต้องการ)”  แค่นี้แหละ

ตัวอย่างเช่น

สมมติเราอยากรู้ P/E ของหุ้นเทคโนโลยีรวมๆ  https://www.msci.com/documents/10199/69aaf9fd-d91d-4505-a877-4b1ad70ee855

หรือสมมติเราอยากได้ P/E ของหุ้นเทคโนโลยีของ US  https://www.spglobal.com/spdji/en/indices/equity/sp-500-information-technology-sector/#overview

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ใช้เว็ป Settrade ยังไง ?

How to use Settrade ?

ใช้เว็ป Settrade ยังไง ?

มีคนมือใหม่มากอยากให้เราพูดถึงการใช้เวป Settrade  เอาจริงๆผมก็ไม่ได้เชี่ยวชาญเวปเค้าขนาดนั้น  แต่จะพูดถึงที่ผมใช้หรือสิ่งที่คิดว่าอาจจะมีประโยชน์ละกันครับ

  1. รายละเอียดเกี่ยวกับหุ้นที่เราสนใจ
    1. งบการเงิน
    2. เวปไซต์บริษัท
    3. ประวัติการจ่ายปันผล
    4. ประมาณการโดยนักวิเคราะห์
  2. Opportunity day
  3. พวกที่เป็นข้อมูลเรียนรู้ต่าง
    1. Publication เรียนรู้เรื่องกองทุนรวม
    2. หลักสูตรอบรมสัมมนา
    3. เรื่อง financial planning
    4. เอกสารเผยแพร่
  4. หน้าแรกมีสรุป index ตอนนี้
    1. กดเข้าไปจะโหลดรายละเอียดย้อนหลังของ index ได้
  5. สรุปสถิติสำคัญ
    1. P/E ย้อนหลัง
    2. Dividend yield ย้อนหลัง

ถือหุ้นปันผลยาวไปตลอดเลยได้มั้ย ?

Should I hold dividend stocks forever

ถือหุ้นปันผลยาวไปตลอดเลยได้มั้ย ?

ส่วนตัวผมก็ไม่เห็นว่าจะมีปัญหาตรงไหนนะ  ควรหรือไม่นี่น่าจะขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์  ถ้าอยากถือยาวไปตลอดเพื่อเอาปันผลก็ทำได้ครับ

แต่ทีนี้ถึงแม้ว่าเราจะตั้งใจถือยาวไปตลอดไม่ขาย  ไม่ได้แปลว่าเราไม่ต้องคอยติดตามดูเลยนะ  เพราะหุ้นบริษัทที่เข้มแข็งทำได้ดีอยู่วันนี้ไม่ได้แปลว่ามันจะดีตลอดไป  ถึงจุดหนึ่งบริษัทอาจจะมีคู่แข่งสำคัญโผล่เข้ามาหรือเริ่มตกยุคไปเพราะมีสินค้าบริการที่ดีกว่าหรือเพราะพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไป  เราก็ต้องรู้ให้ทันเพราะเราอาจจำเป็นต้องขายออกมา

โดยรวมแล้วแนะนำว่าคอยติดตามดู

  • ปีละครั้งประมาณเดือนเมษายน  ผลประกอบการของปีก่อนทั้งปีจะออกไปแล้ว
  • ตัวธุรกิจที่บริษัททำยังทำได้ดีอยู่ใช่มั้ย
  • สถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงที่กระทบกับเรื่องที่ทำให้บริษัทเข้มแข็งหรือเปล่า

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ถ้าอเมริกาถอดหุ้นจีนออกจากตลาด แล้วเราถือหุ้นอยู่ จะเกิดอะไรขึ้น ?

Delisting, what is it and what is the impact ?

ถ้าอเมริกาถอดหุ้นจีนออกจากตลาด แล้วเราถือหุ้นอยู่ จะเกิดอะไรขึ้น ?

เร็วๆนี้มีคนถามเกี่ยวกับข่าวที่บอกตลาดหุ้นอเมริกาจะเอาหุ้นจีนออกจากตลาดว่ามันจะเกิดขึ้นจริงมั้ย  แล้วสมมติเกิดขึ้นแล้วเราถือหุ้นอยู่จะเกิดอะไรขึ้น

Delist นี่คืออะไร ?

การ delist นี่ก็คือแค่ไม่ให้ซื้อขายบนตลาดหลักทรัพย์เท่านั้นเอง  และมันเกิดขึ้นเป็นปกติอยู่แล้วนะ  ตลาดหุ้นไทยก็มีหุ้นที่ออกจากตลาดเหมือนกัน  อย่างล่าสุดที่ดังๆก็มีข่าวว่าหุ้นการบินไทยจะโดนเพราะขาดทุนติดต่อกันจนส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ  แน่นอนตลาดหุ้นที่อเมริกาก็มีเช่นกัน  หุ้นจีนที่โดน delist ไปก่อนหน้านี้ก็เช่น Luckin Coffee ที่มีเรื่องโกหกตัวเลขยอดขาย

ทำไมอเมริกาถึงจะเอาหุ้นจีนออกจากตลาด ?

ทีนี้เรื่องที่บอกจะมีการ delist หุ้นจีนที่อยู่บนตลาดหุ้นอเมริกา  สาเหตุบางส่วนอาจจะมาจากเรื่องการเมืองที่บอกว่าบริษัทจีนอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลจีนนู่นนี่นั่น  แต่หลักๆเข้าใจว่ามาจากการที่บริษัทจีนไม่ยอมให้หน่วยงานในสหรัฐอเมริกาตรวจสอบการตรวจสอบบัญชีของบริษัท  ซึ่งอันนี้เป็นกฎหมายในอเมริกาที่มีมาตั้งแต่หลังเรื่อง Enron  แต่บริษัทจีนไม่ยอมก็เพราะเป็นกฎหมายความมั่นคงของชาติในจีนเช่นกัน  ภายหลังเรื่องนี้ก็ยิ่งเป็นประเด็นเข้าไปใหญ่ตอนที่เจอว่า Luckin Coffee โกหกตัวเลขยอดขาย

การเอาหุ้นจีนออกจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ?

เห็นในข่าวคืออีก 3 ปี  คือมันจะประมาณว่าไม่ปฏิบัติตามกฎของกลต.  โดนเตือนต่อเนื่องกัน  แล้วก็ค่อยเอาออก

แล้วถ้าเราถือหุ้นที่ถูกเอาออกจากตลาด  จะเกิดอะไรขึ้น ?

ก็คือแค่ว่าไม่สามารถซื้อขายบนตลาดหุ้นได้  เราจะยังเป็นเจ้าของหุ้นบริษัทจีนนั่นอยู่  แต่แค่ว่าไม่สามารถซื้อหรือขายหุ้นจีนนั่นบนตลาดหุ้นได้ก็เท่านั้นเอง  ถ้าเกิดเราจะอยากขายขึ้นมาก็จะต้องทำแบบ Over the counter ซึ่งก็คือผ่านดีลเลอร์  สภาพคล่องก็จะน้อยกว่า  โดยรวมด้วยความสภาพคล่องน้อยก็อาจจะทำให้ราคาที่ขายได้ต่ำกว่าที่จริงๆน่าจะได้ถ้าขายผ่านตลาดหุ้น

โดยส่วนตัวผมว่าขายออกมาเถอะถ้ามันจะ delist นะ  ถือไปจน delist ก็เป็นการหาความยุ่งยากใส่ตัวนะผมว่า  ไม่รู้เหมือนกันว่าถ้าจะขายแบบ OTC ขึ้นมาจะต้องทำไง  แต่ทั้งนี้ไม่ได้ต้องรีบเพราะมีเวลาเหลือเฟือ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

แนะนำหนังสือ: Mastering the Market Cycle

Recommend book: Mastering the market cycle by Howard Marks

แนะนำหนังสือ: Mastering the Market Cycle

แนะนำหนังสือเล่มนี้  Mastering the Market Cycle โดย Howard Marks ครับ

คนนี้เค้าเป็นนักลงทุนที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว  ดังเรื่องการลงทุนใน distressed assets  เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทจัดการกองทุน Oaktree  และ Warren Buffett เองก็บอกว่าเวลา Howard Marks เขียนอะไร Buffett จะอ่านและได้อะไรใหม่เสมอ

หนังสือ Mastering the Market Cycle นี่คิดว่าเป็นเล่มล่าสุดที่เค้าเขียนนะ  สิ่งที่ทำให้ผมมองว่าหนังสือนี่น่าสนใจคือเค้ากำลังพยายามบอกว่าถึงแม้เราจะไม่มีทางรู้อนาคตอย่างชัดเจนหรือเดาทิศทางตลาดได้  เราไม่รู้ว่า bull market ขึ้นสูงสุดหรือยังจะตกเมื่อไหร่  หรือตลาดจะตกต่ำสุดอยู่ตรงไหนจะหยุดตกเมื่อไหร่  แต่เราสามารถบอกได้คร่าวๆว่าเราอยู่ตรงไหนของ cycle  โดยการสังเกตเรื่องต่างๆที่เป็นตัวบ่งชี้  และเมื่อเราบอกได้คร่าวๆว่าเราอยู่ตรงไหนของ cycle เช่นเรารู้ว่าตอนนี้อยู่ในช่วง bull มากแน่นอน  เรารู้ว่ามันจะไม่เป็นแบบนี้ไปตลอดแน่นอน  จะมีวันนึงที่ตลาดกลับทิศถึงแม้เราจะไม่รู้ว่าเมื่อไหร่  แต่มันมีแนวโน้มที่จะเกิดมากขึ้นเรื่อยๆ  เราก็จะได้ระมัดระวังมากขึ้น  อาจจะถือเงินสดมากขึ้น  และดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่เข้า bear market  เราก็จะอยู่ในสภาพที่พร้อมจะฉวยโอกาส  หรือกลับกันถ้าเรารู้ว่านี่อยู่ในช่วง bear มากแล้ว  ถึงเราจะไม่รู้ชัดเจนว่าจะฟื้นเมื่อไหร่  แต่เราก็จะได้มีโอกาสซื้อ

โดย concept แล้ว  ไอเดียมันก็ไม่ยาก  แต่มันยากตรงที่ถึงเวลาเหตุการณ์มันเกิดขึ้นจริงแล้วเราจะมีสติอยู่หรือเปล่า  หนังสือนี้เค้าก็พยายามเล่าเหตุการณ์ให้เราเห็นภาพของ cycle ว่าธรรมชาติมันเป็นยังไง  แล้วต้องสังเกตอะไรบ้าง  โดยหวังว่าถ้าเราเข้าใจมันมากพอ  ถึงเวลาเราจะเอะใจได้ไม่แตกตื่นเสียสติไป

เค้ามีพูดถึง credit cycle ว่ามันเป็นยังไงแล้วมีผลยังไงกับเศรษฐกิจ, cycle ของอสังหาริมทรัพย์, สภาวะจิตในแต่ละช่วงของ cycle  และที่สำคัญคือ checklist เวลาเราจะดูว่าน่าจะอยู่ประมาณไหนแล้ว

สรุปแล้วแนะนำให้อ่านครับ  ขนาดผมโดยปกติไม่ชอบเรื่อง marketing timing นะ  เพราะมองว่ายังไงก็ไม่มีทางเดาถูกแน่นอน  พออ่านแล้วยังรู้สึกว่าไอเดียเข้าท่าเลย

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ตลาดหุ้นปี 2021 น่าลงทุนมั้ย ?

Our view on 2021

ตลาดหุ้นปี 2021 น่าลงทุนมั้ย ?

มีคนถามเรื่องมุมมองของเรากับตลาดหุ้นปีนี้หลายคำถามละ  ผมรวบรวมตอบในวีดิโอนี้ครับ

ภาพรวม

ผมก็มีมุมมองคล้ายกับคนอื่นๆทั่วไปนะ  คือมองว่าปัจจัยหลักต่อทั้งตลาดหุ้นและเศรษฐกิจคิดว่าเป็นเรื่องของการแก้ปัญหาโควิด  ซึ่งในเวลานี้ก็ดูดีขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากวัคซีนออกมาเยอะขึ้น  ตอนนี้ผ่านมาจะจบไตรมาส 1 ละ  เราเริ่มเห็นประเทศที่ฉีดวัคซีนได้เยอะอย่างอิสราเอลมีปัญหาโควิดน้อยลงเยอะ  วัคซีนดูจะได้ผล  และเราเห็นประเทศที่มีเงินอย่างอเมริกากับอังกฤษฉีดไปได้เยอะแล้ว  ผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้เผื่อใครสนใจติดดามเรื่องวัคซีน  ปกติผมจะดูของ Bloomberg ครับ  https://www.bloomberg.com/graphics/covid-vaccine-tracker-global-distribution/

และดังนั้นโดยรวมผมก็เชื่อว่าสถานการณ์เศรษฐกิจจะดีขึ้น  ซึ่งส่งผลให้ตลาดหุ้นดีขึ้นด้วย  โดยหุ้นที่แต่เดิมโดนผลกระทบจากโควิดจังๆแล้วไม่รู้จะรอดมั้ย  น่าจะเป็นกลุ่มที่ได้รับผลดีสุด  ส่วนหุ้นกลุ่มอื่นที่ขึ้นไปแล้วหรือไม่เกี่ยวเท่าไหร่ก็น่าจะเฉยๆ  ถ้าขึ้นก็ไม่น่าจะเยอะอะไรนักหนา

IMF world economic outlook

การฉีดวัคซีนดูช้า  หลายประเทศยังไม่เริ่ม

อันนี้ก็จริง  พวกประเทศที่ไม่ค่อยรวยนี่ก็เข้าใจได้ว่าจะยังเข้าไม่ถึงวัคซีน  แต่อย่างเยอรมณีที่เป็นประเทศมีเงินก็ดูช้าจริง

เท่าที่เห็นคือมันช้ามีอยู่ 2 แบบ  อันนึงเป็นเรื่องปริมาณวัคซีนที่ผลิตได้ทั้งหมด  และอีกอันเป็นเรื่องการจัดการ

ทั้งสองอย่างก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้การฟื้นตัวช้า  แต่ไม่ได้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ไม่ฟื้น  โดยรวมผมมองว่าไม่มีปัญหา  เรื่อง supply ผมคิดว่าบริษัทผู้ผลิตก็จะพยายามเพิ่มกำลังการผลิตให้เยอะและเร็วที่สุดแน่ๆ  เพราะในเวลานี้วัคซีนมันมีหลายเจ้าละไงไม่ใช่แบบทำอยู่คนเดียว  ถ้าเจ้าไหนช้าก็มีโอกาสขายได้น้อย  งบประมาณที่วิจัยไปแล้วมันเป็นค่าใช้จ่ายใช้ไปแล้ว  ที่เหลือคือกำไรเยอะหรือน้อยขึ้นกับขายได้เยอะหรือน้อยละ  ดังนั้นเชื่อว่ามันรีบกันทุกบริษัทแน่  และตอนนี้มี J&J เข้ามาแล้วด้วย  เป็นแบบเข็มเดียวจบทำให้จัดการเรื่องการฉีดง่ายขึ้น  แล้วตัว J&J เองก็เป็นเจ้าใหญ่มาก  น่าจะคุ้นเคยกับการผลิตจำนวนมากอยู่แล้วด้วย  ส่วนเรื่องการจัดการ  ถ้าประเทศที่มันช้าๆเห็นตัวอย่างประเทศที่มันเร็วแล้วเห็นว่าพวกนั้นกลับมาเปิดประเทศได้กลับมาใช้ชีวิตปกติได้  ผมก็คิดว่ามันจะเร็วขึ้นมาเองแหละ  ประชาชนด่าครับถ้าช้า

แล้วเรื่องโควิดกลายพันธุ์ล่ะ

คิดว่าไม่มีประเด็น  เพราะเท่าที่ฟังคือวัคซีนก็ยังได้ผลอยู่  กับถ้าจำเป็นจริงๆบริษัทที่ทำวัคซีนก็สามารถที่จะปรับวัคซีนตามได้  แต่เนื่องจากเรื่องนี้มันใหม่มากเราก็ต้องคอยติดตามแหละ  แต่โดยรวมตอนนี้คิดว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่

วัคซีนพาสปอร์ตควรทำมั้ย

ส่วนตัวผมว่าควร  ทั้งนี้เพราะมันจะช่วยให้เศรษฐกิจเริ่มทยอยฟื้นตัวได้  โดยรวมคนที่จะได้วัคซีนก่อนก็คือคนที่อยู่ในประเทศมีเงิน  ถ้าพวกนี้มีโอกาสได้ออกมาเดินทางท่องเที่ยวหรือบริโภต  มันก็จะเป็นการช่วยให้เศรษฐกิจประเทศอื่นฟื้นตัวด้วย  ผมไม่คิดว่ามันจะเป็นไปได้ที่เราจะรอให้ทุกคนได้วัคซีนครบพร้อมกันทั้งโลกก่อนแล้วค่อยอนุญาตให้เดินทางหรือทำกิจกรรมคนเยอะ  ถ้ารอนานขนาดนั้นความเสียหายต่อเศรษฐกิจจะยิ่งเยอะเข้าไปใหญ่  และที่สำคัญผมมองว่าการทำจะทำให้คนจำนวนมากมีความรู้สึกอยากจะฉีดวัคซีนขึ้นด้วย

สิ่งที่คนกังวลกันก็คือตอนนี้การกระจายวัคซีนมันไม่เท่าเทียมอยู่  ประเทศที่ร่ำรวยก็ดูได้เปรียบ  เค้ากลัวว่ามันจะยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับจนเยอะขึ้นไปอีก  กับคนอีกกลุ่มนึงที่กังวลคือพวกที่ไม่ไว้ใจและไม่คิดจะฉีดวัคซีน  เค้าก็มองว่าการทำแบบนี้คือรัฐบาลต้องการจะบังคับให้ฉีดให้ได้  ซึ่งก็เข้าใจได้นะ  มันไม่เท่าเทียมแน่นอนอยู่ละ  แต่จะรอเท่าเทียมให้ฉีดวัคซีนให้ได้หมดก่อนก็เดือดร้อนกันหมด  และจริงๆเดือดร้อนคนจนมากกว่าด้วย  ดังนั้นยังไงก็ควรต้องทำ  ส่วนพวกที่ไม่อยากฉีดก็ไม่ต้องฉีดสิ  แต่จะไปบอกว่าห้ามไม่ให้คนที่ฉีดวัคซีนแล้วและดังนั้นปลอดภัยห้ามเดินทางหรือห้ามทำกิจกรรม  ผมก็ว่าไม่แฟร์นะ  ก็เค้าไม่ได้เป็นความเสี่ยงต่อคนรอบข้างแล้วนี่

บางประเทศอย่างเยอรมณีหรือฝรั่งเศสมีโควิดรอบ 3 ละ  เรื่องนี้จะทำให้มีปัญหาหรือเปล่า

ก็ไม่มีอะไร  มันก็ปกติอยู่ละ  จนกว่าจะฉีดวัคซีนได้พอสมควรเราก็คาดหวังได้ว่ามันจะเป็นแบบนี้แหละ  ถ้าเราจะซื้อหุ้นในประเทศพวกนี้ก็ระวังนิดนึงว่ามันมีเงินทุนพอที่จะรอด  นอกเหนือจากนั้นแล้วผมว่าก็ไม่มีอะไรนะ

แล้วดังนั้นลงทุนยังไงดี

อันนี้ก็แนะนำเหมือนเดิมคือหุ้นพวกธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด  เน้นหาพวกที่ถ้าสถานการณ์ปกติมันจะเข้มแข็ง  กับดูว่ามันน่าจะรอดจะด้วยว่าไม่ถึงขาดทุนหรือมีเงินสดพอก็แล้วแต่  เช่นพวกโรงแรม, ห้าง, ฯลฯ

อื่นๆ

เรื่องเฟดขึ้นอัตราดอกเบี้ย  หรือเรื่องเงินเฟ้อ  หรือเรื่องหนี้ที่หลายประเทศมีเยอะขึ้น  ในระยะสั้นอย่างน้อยในปีนี้ก็คิดว่าเป็นปัจจัยที่ไม่ใช่เรื่องหลักนะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

เรื่องสำคัญสุดคือความเข้าใจเกี่ยวกับบริษัท อย่ามัวแต่เสียเวลามากไป กับการประเมินมูลค่าหรืองบการเงิน

Prioritization issue

เรื่องสำคัญสุดคือความเข้าใจเกี่ยวกับบริษัท อย่ามัวแต่เสียเวลามากไป กับการประเมินมูลค่าหรืองบการเงิน

หลังๆนี้ผมเริ่มสังเกตว่ามีนักเรียนผมหลายคนดูจะใช้เวลาวนเวียนอยู่เกี่ยวกับเรื่องที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่เกิดประโยชน์เยอะไป  เช่นบางคนก็อินกับ valuation มาก  พยายามหาวิธีการนู่นนี่ที่ซับซ้อนเพราะคิดว่ามันจะทำให้เดาได้แม่นยำมากขึ้น  หรือไม่ก็กำลังงมอยู่ว่าวิธีการไหนใช้เมื่อไหร่แล้วอันไหนแม่นกว่ากัน  ส่วนอีกกลุ่มนึงก็อินกับเรื่องบัญชีมาก  คือเก็บรายละเอียดปลีกย่อยสุดๆแบบประมาณพวกที่รู้เพื่อไปสอบ  ไม่ได้มีประโยชน์อะไรในสาระสำคัญ  เช่น การ capitalized cost อย่างค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเข้าไปเวลาบริษัทสร้างตึกคืออะไรบันทึกยังไง  หรือบริษัทที่มีทำธุรกิจในหลายประเทศรายการบนงบการเงินแปลงอัตราแลกเปลี่ยนยังไง  อะไรแบบนี้เป็นต้น  ซึ่งทั้งหมดนี้ผมมองว่ามันเป็นการใช้เวลาที่เปล่าประโยชน์มาก

จนผมรู้สึกว่าต้องพยายามช่วยจัด priority เรียงลำดับความสำคัญให้  โดยรวมมันจะมีหัวข้อหลักๆอยู่ 3 เรื่องที่เราต้องศึกษาเวลาลงทุนในหุ้น

  1. เรื่องเกี่ยวกับตัวบริษัท
  2. การบันทึกบัญชี  งบการเงิน  อัตราส่วนทางการเงินต่างๆ
  3. การประเมินมูลค่าหรือผลตอบแทน

ใน 3 หัวข้อนี้  ความสำคัญมันเรียงตามลำดับนั้นเลย

การประเมินมูลค่า  เป็นอะไรที่คนดูจะอินสุด  แต่จริงๆความสำคัญน้อยสุดเลย  คนส่วนใหญ่พยายามจะหาความมั่นใจมากขึ้นจากการที่ใช้วิธีการคำนวณที่ละเอียดซับซ้อน  ซึ่งผมก็เข้าใจความรู้สึกนะ  ถ้ามันมีวิธีการที่ทำให้เราทำนายอนาคตได้แม่นยำมากขึ้นมันก็ดี  แต่สุดท้ายต้องอย่าลืมว่ามันไม่มีวิธีการอะไรที่ทำนายอนาคตได้  แม้แต่เจ้าของบริษัทเลยคุณว่าเค้ารู้เลยมั้ยว่าปีหน้ายอดขายกับกำไรจะเป็นเท่าไหร่อย่างชัดเจน  แล้วลองนึกภาพดูนะ  คุณกับผมซึ่งมองจากมุมของคนนอกบริษัทอีกต่างหาก  เราจะสามารถเดาไปในอนาคตว่าบริษัทจะโตกี่ % ไปถึง infinity  แล้วคิดลดตัวเลขพวกนั้นกลับมา  เราจะทำแบบนั้นได้อย่างแม่นยำเป็นไปได้จริงเหรอครับ  คุณก็รู้อยู่แล้วว่าเป็นไปไม่ได้ป้ะ  ดังนั้นในเมื่อยังไงมันก็ไม่มีคำว่าแม่นยำ  วิธีการประเมินมูลค่าใดๆมันเอาไว้สำหรับกะคร่าวๆว่าตอนนี้หุ้นถูกหรือแพงเท่านั้น  คุณจะใช้วิธีการไหนก็ได้เอาที่มันดูสมเหตุสมผลสำหรับคุณก็โอเคละ

ส่วนเรื่องการบันทึกบัญชี  การเข้าใจรายละเอียดปลีกย่อยบนงบบัญชีมันก็ดี  แต่มากไปถึงจุดนึงมันจะเริ่มเกินความจำเป็นละ  มันไม่ได้ช่วยให้เราเข้าใจตัวบริษัทได้ดีขึ้นน่ะครับ  อย่าง capitalized cost งี้คือเรารู้ว่าบริษัทสามารถจะบันทึกค่าใช้จ่ายอย่างดอกเบี้ยที่จ่ายไปตอนช่วงสร้างตึกเป็นส่วนหนึ่งของ fixed asset แล้วค่อยๆทยอยรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายผ่านการตัดค่าเสื่อม  แล้วยังไงอ่ะ  รู้แบบนี้แล้วทำให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้นยังไง  หรือสมมติอย่างเรารู้วิธีการบันทึกบัญชีเวลาบริษัททำธุรกิจในหลายประเทศงี้  เรารู้ว่ามันใช้วิธีต่างกันแล้วแต่ว่าสกุลเงินไหน  สกุลเงินต่างประเทศหรือสกุลเงินบริษัทแม่เป็นสกุลเงินที่ใช้งาน  แล้วยังไงอ่ะ

เรื่องงบการเงินนี่เอาแค่เข้าใจรายการหลักๆบนนั้น  เข้าใจว่างบการเงินแต่ละอัน income statement, balance sheet, cash flow statement ต้องการจะบอกอะไรกับเรา  ดูเสร็จแล้วรู้เรื่องว่าบริษัทรายได้เท่าไหร่จ่ายเรื่องอะไรไปสุดท้ายกำไรมั้ย  เก็บเงินได้ป่าว  มีใช้เงินสดไปกับเรื่องอะไรบ้าง  หนี้สินเยอะมั้ย  มีอะไรเพิ่มขึ้นหรือลดลงเยอะจนผิดสังเกตหรือเปล่า  แล้วก็รู้จักอัตราส่วนทางการเงินสำคัญๆ  เท่านั้นเพียงพอแล้วครับ  อย่าไปเสียเวลากับเรื่องการบันทึกบัญชีเยอะเกินไป  การอ่านงบการเงินหลักๆเอาไว้คอนเฟิร์มภาพของบริษัทที่เราศึกษามาว่ามันสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันมั้ย  มีอะไรผิดปกติหรือเปล่า  อย่าลืมว่าพวกนี้มันแค่บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้วเท่านั้นเอง  มันไม่ได้ช่วยให้เรารู้เลยว่าบริษัทจะทำได้ดีต่อไปในอนาคตหรือเปล่า

เรื่องที่เราควรจะใช้เวลากับมันจริงๆ

เรื่องที่เราควรจะใช้เวลากับมันจริงๆเลยคือเรื่องของบริษัทครับ  เราควรจะอยากรู้ว่าบริษัททำอะไรเป็นไงมั่งอย่างละเอียด  และเราควรจะอยากรู้ว่าปัจจัยอะไรทำให้มันเป็นแบบนั้น  อะไรทำให้มันทำได้ดีสม่ำเสมอ  หรืออะไรทำให้มันทำได้แย่ลง  และเราก็ควรจะอยากรู้ว่าบริษัทมีแผนจะทำอะไรต่อหรือกำลังทำอะไรอยู่  เพราะสุดท้ายเราต้องการจะรวบรวมทั้งหมดสรุปสุดท้ายว่าในอนาคตเราเชื่อว่ามันจะทำได้ดีขึ้นหรือแย่ลงหรือเท่าๆเดิม  เพราะว่าอะไร  และเราใช้ข้อสรุปอันนี้ในการตัดสินใจประกอบกับราคาหุ้นว่าเราควรจะลงทุนในบริษัทนี้หรือเปล่า

ถ้าเราทำ part สำคัญที่สุดนี้ได้ถูกต้องนะ  เกือบจะกำไรแน่นอนละ  มากหรือน้อยเท่านั้นเองขึ้นกับว่าซื้อมาได้ถูกแค่ไหน  แต่ถ้า part นี้เราพลาดนะ  อนาคตบริษัททำได้แย่ลงเรื่อยๆนะ  ไม่ต้องห่วงครับ  ยังไงก็เละ  งบการเงินก่อนหน้านี้จะดีแค่ไหนไม่ใช่สาระละ  งบการเงินอันต่อๆมามันก็จะดูอนาถขึ้นเรื่อยๆ  เพราะงบการเงินมันบันทึกอดีตที่ผ่านไปแล้ว  และการประเมินมูลค่าก็ไม่ช่วยอะไรอยู่ละ  เพราะสมมติฐานเราผิดแต่แรกละไง  เราคิดว่าบริษัทมันจะดีแต่เราพลาด  ตัวเลขที่ได้จากการเดาอนาคตผิดๆก็เท่ากับขยะทั้งนั้นน่ะครับไม่ว่าจะใช้สูตรคำนวณยากขนาดไหนก็ตาม

ผมจะบอกว่ามีเพื่อนผมคนนึงนะ  เป็นตัวอย่างที่ดีมาก  งบการเงินเค้าดูคร่าวๆยังบ่นอยู่ว่าดูละเอียดมากไม่เป็น  ส่วน valuation นี่คือไม่สน DCF อะไรทั้งนั้นใช้ดู P/E อย่างเดียว  การตัดสินใจเน้นดูที่ตัวบริษัทดู fundamental อย่างเดียว  เพราะเพื่อนผมคนนี้เค้าเป็นคนทำธุรกิจ  เค้ามองการซื้อหุ้นเป็นการซื้อบริษัท  เวลาดูคือดูว่าอนาคตธุรกิจน่าจะไปได้มั้ยอย่างจริงจัง  model ธุรกิจแข่งขันได้หรือเปล่า  ได้เปรียบคู่แข่งยังไง  แล้วก็ซื้อที่ P/E มันไม่เว่อร์ไปก็เท่านั้นเอง  ตั้งแต่เค้าเริ่มลงทุนมาผมก็เห็นว่ากำไรตลอดครับ  ทำได้ดีเลยแหละ

ดังนั้นสรุปอีกที  เอาเวลาศึกษาเกี่ยวกับตัวธุรกิจของบริษัทครับ  ทำไงให้เราเห็นภาพว่าบริษัทมีความได้เปรียบยังไงดีกว่า  อย่ามัวไปงมงายกับ valuation ที่ยังไงมันก็ไม่แม่น  หรืออย่าไปเสียเวลากับรายละเอียดการบันทึกบัญชีปลีกย่อยที่รู้ไปก็เท่านั้น  เอาไปสอบได้อย่างเดียว  มันไม่ทำให้คุณลงทุนได้ดีขึ้นนักหนาหรอกผมพูดจริงๆ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี