หุ้นทุนจดทะเบียน กับทุนที่ออกชำระแล้ว คืออะไร ต่างกันยังไง ?

หุ้นทุนจดทะเบียน กับทุนที่ออกชำระแล้ว คืออะไร ต่างกันยังไง ?

จริงๆมันก็ไม่ได้มีประเด็นอะไรมากนะ  แต่เห็นมีคนถามหลายทีละทำวีดิโอตอบซะหน่อย

ทุนจดทะเบียนคือจำนวนเงินทุนที่จดทะเบียนเอาไว้ในเอกสารตามกฎหมายน่ะครับ  คิดซะว่ามันเป็นขออนุญาตเอาไว้  จะออกจริงตามจำนวนนั้นหรือเปล่าก็อีกเรื่องนึง

ส่วนทุนที่ออกชำระแล้วคือที่ออกมาจริงแล้ว  บริษัทได้รับเงินจากผู้ถือหุ้นแล้ว  หุ้นอยู่ในมือของผู้ถือหุ้นแล้ว  ซึ่งก็คือจะเท่ากับหรือน้อยกว่าที่จดทะเบียนไว้ก็ได้

เวลาคิดกำไรต่อหุ้น  จำนวนหุ้นที่เราจะใช้ก็คืออิงทุนที่ออกและชำระแล้ว  ทุนจดทะเบียนไม่เกี่ยว

เอาจริงๆในทางปฏิบัติทุนจดทะเบียนผมก็ไม่เห็นมีประโยชน์อะไรนะ  สมมติจะออกหุ้นเกินที่จดทะเบียนไว้ก็สามารถทำได้ขอแค่ให้ผู้ถือหุ้นเห็นชอบเท่านั้นเอง

ในบางประเทศเค้าไม่ต้องมีเรื่องจดทะเบียนไว้เท่าไหร่แล้วด้วยซ้ำ  เช่นหุ้นในออสเตรเลียหรืออังกฤษ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

จะทำ valuation REIT หรือ IF ที่เป็น leasehold ทำไง ?

Valuation for Leaseholds

จะทำ valuation REIT หรือ IF ที่เป็น leasehold ทำไง ?

วิธีการง่ายมาก  ใช้ IRR บน excel ทำเลยครับ  คำนวณโดยสมมติว่าเราจะถือมันจนสิ้นสุดสัญญา  ดูว่าได้ผลตอบแทนกี่ %

ขั้นตอนมีดังนี้

  1. ดูว่าอายุสัญญาหมดในอีกกี่ปี  ตั้งจำนวนปีที่เหลือ
  2. เอาเลขปันผลเต็มปีที่ผ่านไปแล้วมา
  3. เดาคร่าวๆว่ารายได้ค่าเช่าน่าจะโตปีละกี่ %
  4. เดาไปจนจบว่าปันผลที่คาดว่าจะได้ในปีที่เหลือคือเท่าไหร่บ้าง  ระวังปีสุดท้ายหรือปีแรกซึ่งอาจไม่เต็มปี
  5. อย่าลืมหักภาษีปันผลด้วย
  6. ตอนนี้ราคาเท่าไหร่
  7. ตั้งแถวที่สรุปเงินที่จ่ายไปกับได้รับมา
  8. ใช้ function =irr  ลากครอบแถวที่สรปเงินที่จ่ายไปกับได้รับมาทั้งหมด

จริงๆในรายละเอียดมันจะมีว่าเงินที่ได้รับบางส่วนจะเป็นปันผลซึ่งโดนภาษี  กับบางส่วนเป็นส่วนลดทุนซึ่งไม่โดนภาษี  ที่เราทำนี่คือสมมติว่าโดนภาษีทั้งหมด  นั่นคือเราจะ underestimate ผลตอบแทนอยู่เล็กน้อย  อย่าคิดมาก  ทำตามนี้เลย

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

อยากจัดพอร์ตให้ไม่มีขาดทุนเลย ทำได้มั้ย ?

How can we be sure that our portfolio would not be effected in a economic downturn ?

อยากจัดพอร์ตให้ไม่มีขาดทุนเลย ทำได้มั้ย ?

มีคนถามอะไรประมาณนี้มา  เอาจริงๆเลยคือมันก็มีแหละ  ก็ถือเงินสด 100% เลยไง  หรือไม่ก็พันธบัตรรัฐบาล 100% เลยมันก็จะไม่มีผลกระทบแน่เผลอๆอาจจะดีขึ้นนิดนึงด้วยซ้ำ  แต่ทำแบบนั้นเป็นทางเลือกที่เลวร้ายมากผมว่า

ประเด็นแรกเลยคือการจัดพอร์ทแบบนั้นเพิ่มความเสี่ยงที่เงินจะไม่พอเพราะผลตอบแทนคาดหวังต่ำจัด  คือเราเห็นอยู่แล้วว่าเทรนด์ของอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกมันต่ำลง  การที่พอร์ทการลงทุนเรา defensive จัดมันอาจจะดูเสี่ยงน้อยนะ  แต่จริงๆเสี่ยงเงินไม่พอเยอะมาก  ไม่ว่าเป้าหมายจะเป็นการส่งลูกเรียนหนังสือ, เกษียณหรืออะไรก็แล้วแต่  ต่อให้จะบอกว่าระหว่างทางพอร์ทความผันผวนต่ำมากปลอดภัยมากไม่มีปีไหนเลยที่ขาดทุน  ถึงเวลาถ้ามันต้องใช้ขึ้นมาแล้วไม่พอมันก็คือเป้าหมายล้มเหลวอยู่ดี

ประเด็นที่สองที่จะบอกคือ  ถึงแม้หุ้นมันจะมีความผันผวนมากกว่าเยอะ  และอาจจะดูเหมือนขาดทุนในปีที่มีวิกฤตินะ  แต่จริงๆมันไม่ใช่ปัญหาเลยถ้าหุ้นที่เราเลือกมันเป็นบริษัทที่เข้มแข็งตั้งแต่แรก  เพราะถ้ามองระยะยาวเมื่อวิกฤตินั่นผ่านพ้นไป  บริษัทรอดกลับมาทำได้ดีเหมือนเดิม  ราคาหุ้นที่ตกไปมันก็ฟื้นขึ้นมาน่ะครับ  ดังนั้นถ้าเราเลือกธุรกิจที่เข้มแข็งพอร์ทขาดทุนในปีที่ตลาดตกรุนแรงก็เป้นแค่เรื่องชั่วคราวเท่านั้น

ในความเห็นผมคนที่จะเอาแบบไม่เสี่ยงเลย 100% ได้นี่คือต้องมีเงินเยอะมากจนไงก็พอแน่นอนไม่ต้องสนใจผลตอบแทนเลยประมาณนั้น  แม้แต่คนที่ใกล้เกษียณมากผมก็ยังมองว่าควรมีหุ้นบ้างในสัดส่วนที่น้อย  ไม่ใช่แบบไม่มีเลย

สรุปคือ  จะทำให้พอร์ทไม่สะเทือนเลยเวลามีวิกฤติมันก็ทำได้แหละ  แต่อย่าทำเลย

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ความได้เปรียบในการแข่งขันของแต่ละธุรกิจ เปลี่ยนแปลงไม่เท่ากัน

Changes of competitive advanvantage vary by industries

ความได้เปรียบในการแข่งขันของแต่ละธุรกิจ เปลี่ยนแปลงไม่เท่ากัน

อันนี้เป็นบทความที่ผมว่าน่าสนใจ  เขียนโดย Derek Horstmeyer, Ano Glonti และ Brian Peirce  สิ่งที่เค้าพยายามทำคือดูว่าความได้เปรียบในการแข่งขันของบริษัทในแต่ละธุรกิจนี่มันเปลี่ยนแปลงเหมือนกันมั้ย  อุตสาหกรรมไหนที่บริษัทสูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขันเร็วสุดหรือช้าสุด  ผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้เผื่อใครสนใจอ่าน  https://blogs.cfainstitute.org/investor/2021/03/01/how-long-does-competitive-advantage-last-a-sector-analysis/

เนื่องจากการไปวัดความได้เปรียบในการแข่งขันมันอาจจะวัดตรงๆยาก  เค้าก็เลยดูการเปลี่ยนแปลงของ margin แทน  ถ้าเมื่อเวลาผ่านไปบริษัทสูญเสียความได้เปรียบเราก็น่าจะเห็น margin มันเล็กลง  คนทำเค้าตัดสินใจเทียบ Gross margin, Operating margin, EBT margin และ Net profit margin นับจากปีที่ IPO ซึ่งเค้ามองว่าน่าจะเป็นช่วงที่บริษัททำได้ดีที่สุดเทียบกับ 9 ปีต่อมาว่าเปลี่ยนแปลงไปยังไงบ้าง  และนี่คือผลลัพธ์ที่เค้าเจอ  ตัวเลขที่เห็นนี่คือเป็น Median ไม่ใช่ค่าเฉลี่ยนะ

ผมว่าน่าสนใจเลยนะ  เพราะบางกลุ่มธุรกิจเราก็เห็นว่า margin มันแย่ลงจริงเพราะการแข่งขันหรืออะไรก็แล้วแต่  แต่บางกลุ่มธุรกิจนี่ margin ดีขึ้นก็มี  อย่าง Software นี่ไม่ใช่แค่ดีขึ้นเฉยๆแต่ดูเหมือนดีขึ้นเยอะด้วยนะ  ซึ่งอันนี้ก็พอเข้าใจได้  แต่อย่างกลุ่มเคมีนี่ผมแปลกใจ  เพราะเข้าใจมาตลอดว่ามันน่าจะแข่งกันรุนแรงและเจ้าไหนก็น่าจะเหมือนๆกัน  แต่กลายเป็นว่าเป็นกลุ่มธุรกิจที่ margin ดีขึ้นเหมือนกัน  ส่วนกลุ่มที่ดูแย่อย่าง Biotechnology นี่ผมก็แปลกใจเช่นกัน  เข้าใจมาตลอดว่ามันเป็นธุรกิจที่มีสิทธิบัตรคุ้มครองก็น่าจะ margin ดีหรืออย่างน้อยคงที่  นึกว่ามันก็น่าจะคล้ายๆกับกลุ่มผลิตยา Drug manufacturer ซึ่งก็ดูคงที่กว่าเยอะนะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ลงทุนตามกระแสนิยม ผลตอบแทนมักไม่ค่อยดี

Good Stories Often Translate Into Bad Investments

ลงทุนตามกระแสนิยม ผลตอบแทนมักไม่ค่อยดี

มีคนจำนวนพอสมควรและรวมถึงนักเรียนเราด้วยที่เค้าชอบลงทุนตามกระแส  เช่นธีมยอดนิยมอย่างหุ้น healthcare อะไรแนวนั้น  ซึ่งในมุมมองของผมคืออะไรที่มันได้รับความนิยมและคนเห่อพูดถึงกันเยอะๆในทิศทางที่ดี  พวกนั้นมักจะกลายเป็นการลงทุนที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่  ด้วยเหตุผลว่ามันต้องถูกต้องทั้งหมดใน 3 เรื่องดังต่อไปนี้

1. กระแสที่ว่านี่มันต้องมาจริง

เรื่องบางเรื่องนี่ผมได้ยินมาเป็น 20 ปีละ  ปัจจุบันยังไม่เห็นมันจะเปลี่ยนแปลงโลกอย่างมีนัยสำคัญเช่น Nanotech, ตัดต่อพันธุกรรม, ฯลฯ  หรือแม้กระทั่งอย่างรถที่ใช้พลังงานสะอาดเราก็เพิ่งมาเห็นบูมเมื่อไม่กี่ปีมานี้เองโดย Tesla  ทั้งที่ผมว่าผมได้ยินมาตั้งแต่เด็กละนะ

2. บริษัทที่เราเลือกต้องเป็นผู้ได้ประโยชน์ในกระแสนั้น

นี่ก็เป็นอีกปัญหานึง  คือเราเดาว่าเทรนด์มาได้ถูกต้องก็ต้องเดาหุ้นให้ถูกบริษัทด้วยนะ  อย่างช่วงยุค internet บูม  คนก็เดาถูกแหละว่านี่มันจะเปลี่ยนโลก  แต่มันเดายากมากเลยว่าใครจะเป็นผู้ชนะ  บริษัทอย่าง Microsoft หรือ Google นี่มันเป็นคนที่เหลือรอดจากบริษัทจำนวนมากที่ตายไป

3. ราคาหุ้นมันต้องไม่ได้ว่าแพงเกินไป

และสุดท้ายคือ  ด้วยความที่ทุกคนก็นิยมเหมือนกับเรา  ทุกคนมีมุมมองที่ดีหมดทัศนคติดีสุดๆ  อาการแบบนี้ก็มักจะทำให้ราคาหุ้นมันแพงมาก  คือถ้าเราจะคาดหวังกำไรที่ดีเราต้องหวังว่าบริษัทจะทำได้ดีกว่าที่คาดมากขึ้นไปอีก  หรือไม่ก็หวังให้คนที่เห่อมากอยู่แล้วเห่อกันมากขึ้นไปอีกยอมซื้อต่อจากเราในราคาที่แพงเว่อร์ไปอีก  ซึ่งแบบนี้มันเสี่ยงไง

ดังนั้นโดยภาพรวมคือผมว่าเรามองหาหุ้นในกลุ่มที่ไม่ได้รับความนิยมเท่าไหร่น่าจะดีกว่านะ

ADR, GDR พวกนี้คืออะไร ?

ADR, GDR what are they ?

ADR, GDR พวกนี้คืออะไร ?

มีคนที่ไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศ  แล้วก็เริ่มเห็นว่าหุ้นบางทีมันจะมีคำว่า ADR หรือ GDR อยู่ด้านหลัง  ก็เลยมีคำถามว่ามันคืออะไร

พวกที่มันมี DR อยู่ข้างหลังเช่น DR, ADR, GDR พวกนี้มันคือ depository receipt ครับ

Depository receipt มันคือการที่โบรกเกอร์หรือธนาคารซื้อหุ้นที่อยู่ในต่างประเทศ  แล้วเอาไปฝากไว้กับพวก custodian ผู้ดูแลทรัพย์สิน  แล้วให้ custodian ออกเอกสารรับรองว่ามีหุ้นอยู่ออกมา  แล้วโบรกเกอร์หรือธนาคารก็เอาเอกสารนั่นมาให้คนซื้อขายแทนหุ้น  ตัวเอกสารรับรองว่ามีหุ้นอยู่นั่นน่ะคือ depository receipt ครับ

การทำแบบนี้เป็นการอำนวยความสะดวกดึงเอาหุ้นที่อยู่ในต่างประเทศมาให้นักลงทุนในประเทศลงทุนได้  โบรกเกอร์หรือธนาคารที่เป็นคนออก DR ก็ได้ค่าธรรมเนียมและบางทีจะมีหักปันผลที่ได้บางส่วนด้วย

ความต่างระหว่าง DR กับหุ้นจริงหลักๆคือ

  1. 1 DR อาจจะเท่ากับกี่หุ้นก็ได้แล้วแต่คนออกกำหนด
  2. ราคาของ DR กับหุ้นมันจะสอดคล้องไปในทางเดียวกัน  ส่วนใหญ่จะเท่าๆกัน  แต่ไม่จำเป็นเสมอไป 
  3. ปันผลที่ได้จาก DR อาจจะไม่เท่าหุ้นจริง
  4. การออก DR ไม่ได้ทำให้เกิด dilution เพราะจำนวนหุ้นเท่าเดิม

แต่สรุปแล้วการลงทุนใน DR มันก็เกือบจะเหมือนลงทุนในหุ้นจริงแหละ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ที่เค้าพูดกันเรื่องเงินเฟ้อ กับ Bond Yield สูงขึ้นนั่นมันคืออะไร ?

What's the deal with the rising bond yield and inflation ?

ที่เค้าพูดกันเรื่องเงินเฟ้อ กับ Bond Yield สูงขึ้นนั่นมันคืออะไร ?

ช่วงที่ผ่านมามีคนพูดถึงข่าวเรื่องเงินเฟ้อกับอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรที่สูงขึ้นในอเมริกา  แล้วก็ด้วยเหตุผลอะไรซักอย่างจะมีผลทำให้หุ้นตก  เลยมีคนอยากให้อธิบายเรื่องนี้ว่ามันเกี่ยวกันยังไง

ก่อนจะตอบคำถามต้องบอกก่อนว่าผมก็ไม่ใช่ว่าเข้าใจทุกอย่าง  ผมอาจจะอธิบายจากมุมเศรษฐศาสตร์ได้บ้างเพราะเรียนมา  แต่บางเรื่องอย่างอารมณ์ตลาดหรือจิตวิทยานี่ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน

เราเริ่มจากตัวเงินเฟ้อก่อน  เงินเฟ้อนี่หลักๆก็คือของโดยภาพรวมราคาแพงขึ้นเท่านั้นเอง  ซึ่งโดยปกติแล้วของมันจะแพงขึ้นมันก็มาได้จากสองแบบหลักๆคือ

  1. คนมีความต้องการเยอะขึ้น
  2. ต้นทุนการผลิตแพงขึ้น

ส่วนเรื่อง bond yield อัตราผลตอบแทนพันธบัตร  มันก็คืออัตราส่วนระหว่างดอกเบี้ยที่คงที่ซึ่งกำหนดไว้แต่แรกเทียบกับราคาของพันธบัตรใช่มะ  และในเมื่อตัวดอกเบี้ยนั่นไม่เปลี่ยนเพราะกำหนดไว้แต่แรกแล้ว  อัตราผลตอบแทนพันธบัตรมันก็เลยขึ้นกับราคาของพันธบัตรเป็นหลัก  ถ้าราคาพันธบัตรแพงขึ้นก็แปลว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรก็จะต่ำลง  ถ้าราคาพันธบัตรต่ำลงก็แปลว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรก็จะสูงขึ้น

ทีนี้อย่างกรณีของอเมริกาที่บอกเงินเฟ้อสูงขึ้น  มันก็น่าจะตรงไปตรงมาคือมาจากการที่คนมีความต้องการเยอะขึ้น  เพราะผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งจากนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง

พอเงินเฟ้อสูง  มันก็ไปทำให้พันธบัตรไม่น่าลงทุนเท่าไหร่  เพราะพันธบัตรผลตอบแทนมันคงที่กำหนดไว้แล้วถูกมะ  ถ้าเงินเฟ้อสูงขึ้นราคาข้าวของสูงขึ้นกว่าที่คาด  มันก็ทำให้ผลตอบแทนที่แท้จริงของพันธบัตรน้อยลงด้วยไง  คนเห็นแบบนี้ก็เลยขายพันธบัตร  พอคนขายพันธบัตรก็ทำให้ราคาพันธบัตรต่ำลงอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรสูงขึ้น

มาถึงตรงนี้  เรื่องมันก็สมเหตุสมผลดีไม่มีอะไร  แต่ต่อจากตรงนี้ว่าแล้วมันกระทบกับหุ้นทำให้หุ้นตกได้ยังไง  ก็เป็นอะไรที่ผมก็งงละ

ในเมื่อ bond yield สูงขึ้นเพราะคนไม่อยากถือพันธบัตร  คนก็ต้องเอาเงินไปทำอย่างอื่นถูกมะ  ถ้าถือเงินสดไว้เฉยๆอย่างงั้นก็ถือพันธบัตรดีกว่าเพราะเงินสดมันก็เจอเงินเฟ้ออยู่ดีไม่มีประโยชน์อะไร  คนอาจจะเอาไปซื้อทองซึ่งอดีตที่ผ่านมาถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันเงินเฟ้อได้ดีเพราะราคามันก็ขึ้นตามเงินเฟ้อ  หรือไม่งั้นก็ซื้อหุ้นเพราะถ้าเศรษฐกิจดีขึ้นฟื้นตัวหรือเงินเฟ้อสูงขึ้น  บริษัทก็จะกำไรดีขึ้นราคาหุ้นก็สูงขึ้น  เป็นการป้องกันเงินเฟ้อได้ดีขึ้นเช่นกัน  ดังนั้นถ้าตามเหตุและผลแล้วสถานการณ์ในเวลานี้มันควรจะดีกับหุ้นนะ

แต่ปรากฎว่าไม่ใช่  กลายเป็นว่าหุ้นตกและคนก็ตกใจกลัวเงินเฟ้อกลัว bond yield สูงขึ้นอะไรซักอย่าง  ผมก็งงเหมือนกัน  เท่าที่อ่านดูในข่าว  ดูเหมือนเหตุผลจะเป็นเพราะคนกลัวว่าถ้าเศรษฐกิจฟื้นตัว + เงินเฟ้อสูงขึ้นอย่างเร็วในอนาคต  จะทำให้ธนาคารกลางออกมาเพิ่มอัตราดอกเบี้ย  และเมื่อเพิ่มอัตราดอกเบี้ยก็จะทำให้ต้นทุนการยืมเงินสูงขึ้นบริษัทยืมเงินน้อยลงและทำให้คนสนใจออมเงินเยอะขึ้นใช้จ่ายน้อยลง  บริษัทก็จะโตช้าลงและหุ้นอาจจะตก

ซึ่งผมก็ว่ามันแปลกๆนะ  เพราะธนาคารกลางก็ออกมาบอกอยู่แล้วว่าจะคงอัตราดอกเบี้ย  แนวโน้มที่จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วในเวลาที่เศรษฐกิจยังไม่ปกติก็ไม่น่าเป็นไปได้อยู่แล้ว  ความกังวลอันนี้ก็ดูห่างไกลยังไงไม่รู้  ในขณะที่วัคซีนดูได้ผลเศรษฐกิจก็น่าจะฟื้นและดีขึ้นหลังจากนั้น  ปัจจัยในระยะสั้นนี่ชี้ไปยังการฟื้นตัวและดูจะสนับสนุนการถือหุ้นมากกว่านะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

วิธีประเมินมูลค่าหุ้นของ วอเรน บัฟเฟตต์ กับ ชาร์ลี มังเกอร์

Warren Buffett's valuation method

วิธีประเมินมูลค่าหุ้นของ วอเรน บัฟเฟตต์ กับ ชาร์ลี มังเกอร์

เมื่อเร็วๆนี้ผมอ่านหนังสือชื่อ Charlie Munger the complete investor ของ Tren Griffin ครับ  ไอเดียของหนังสือคือคนเขียนเค้าพยายามเรียบเรียงสรุปแนวคิดของ Charlie Munger Vice Chairman ของ Berkshire Hathaway ซึ่งเป็นคนที่เค้าชื่นชมออกมาเป็นหมวดๆ  แล้วพอดีมันมีส่วนที่คนเขียนเค้าพูดถึงวิธีการลงทุนที่ Charlie Munger กับ Warren Buffett ใช้ด้วย  ซึ่งผมว่ามันน่าสนใจทีเดียว  เพิ่งรู้เหมือนกันเพราะนึกว่าปกติเค้าก็ใช้ Discounted cash flow ธรรมดา

ในภาพรวมเค้าก็ใช้ Discounted cash flow นั่นแหละ  แต่สิ่งที่ดูมีความต่างออกไปจากปกติมีสองอย่างคือตัว cash flow ที่เอามาคิดลด  กับ discount rate ที่ใช้คิดลด

1. ตัว cash flow เค้าใช้คำว่า owner’s earnings  

หลักการของตัวเลขตัวนี้ก็คือพยายามจะคำนวณว่ากำไรที่บริษัททำได้แล้วไปถึงมือผู้ถือหุ้นคือเท่าไหร่  วิธีการคำนวณคล้ายๆ Free cash flow to equity เลยคือ

กำไรสุทธิ + ค่าเสื่อม + ค่าตัดจำหน่าย – เงินสดที่ใช้ไปในการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร – เงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการทำธุรกิจเพิ่มขึ้น

จะเห็นว่าคล้ายกับ Free cash flow to equity มาก  ต่างแค่ตรงที่ Free cash flow to equity ปกติเค้าจะมีเพิ่มอีกตัวคือ + เงินกู้ยืมที่เพิ่มขึ้น  ที่บวกตัวนี้เพิ่มขึ้นมาเพราะเค้ามองว่าการที่กู้ยืมเงินเพิ่มขึ้นมาก็ทำให้ใช้เงินลงทุนของผู้ถือหุ้นในการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรหรือพวกเงินทุนหมุนเวียนน้อยลง

เข้าใจว่าสาเหตุที่ Charlie Munger กับ Warren Buffett ไม่นับเงินกู้ยืมที่เพิ่มขึ้นเพราะพวกนี้ชอบบริษัทที่มีหนี้เงินกู้น้อยมากๆหรือถ้าเป็นไปได้ไม่มีกู้ยืมเงินเลย

2. ตัว Discount rate เค้าใช้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลอายุ 30 ปี

จริงๆตัวเลขเป๊ะๆไม่มีใครรู้ชัดเจน  แต่เค้าเคยพูดไว้ว่าใช้ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลระยะยาว 30 ปีเป็นตัวคิดลด  ซึ่งก็คือตัว risk free rate  หรือไม่ก็อาจจะมีบวก premium นิดหน่อย 1-2% ถ้าเค้ามองว่าอัตราดอกเบี้ยระยะยาว ณ ตอนนั้นมันไม่น่าจะอยู่ที่ระดับนั้นในระยะยาว

อันนี้เป็นอะไรที่แปลกออกไปจากทฤษฎีที่สอนกันมาก  เพราะเวลาผมเรียนเค้าจะให้ใช้อัตราผลตอบแทนที่สอดคล้องกับความเสี่ยงของหุ้นหรือสินทรัพย์นั้นๆไม่ใช่ risk free rate  เพราะว่าหุ้นมันมีความเสี่ยงมากกว่าพันธบัตรที่รับรองโดยรัฐบาลแน่นอน  มันมีโอกาสเจ๊งหรือผลประกอบการแย่ลงหรืออะไรก็แล้วแต่และดังนั้นเพื่อให้การประเมินมูลค่าของหุ้นเค้าเลยสอนให้ใช้อัตราคิดลดที่สูงกว่า

เท่าที่ตีความจากสิ่งที่ Warren Buffett เขียนในจดหมายถึงผู้ถือหุ้น  เข้าใจว่าเป็นเพราะเค้ามองว่าการวัดความเสี่ยงออกมาเป็นตัวเลขว่าเท่ากับกี่ % นี่เป็นเรื่องไร้สาระ  สำหรับเค้าแล้วการที่จะไปพยายามประเมินมูลค่าของบริษัทให้ได้แม้ว่ามันจะเสี่ยงมากและเราไม่รู้เลยว่าอนาคตมันจะเป็นยังไงด้วยการซี้ซั้วใช้เลขอะไรก็ไม่รู้เป็นอัตราคิดลดมันดูมั่ว  มันควรจะเริ่มจากการมองว่าเรามั่นใจขนาดไหนว่าบริษัทนั้นจะทำได้ดี  ถ้าเรามั่นใจมากถึงขึ้นแทบชัวร์แล้วดังนั้นมันก็คือความเสี่ยงมันต่ำ  ก็เลยทำการคิดลด owner’s earnings ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้นด้วยอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลเลย  แล้วเวลาซื้อก็ซื้อให้มันต่ำกว่ามูลค่านั้นลงมาให้มี margin of safety แทน

สรุป

แปลกดีมั้ยครับ  ส่วนตัวผมอ่านเจอตรงนี้ผมก็มีความเห็นด้วยนะ  ส่วนนึงอาจจะเพราะมีความเชื่อถือสองคนนี้อยู่แล้ว  แต่อีกส่วนนึงคือจากประสบการณ์ที่ผ่านมาผมก็เห็นด้วยว่ามันควรจะเริ่มจากดูตัวบริษัทก่อน  ผมพบว่าขอให้เราดูตัวธุรกิจมันไม่พลาด  เรื่องการประเมินมูลค่าเอาแค่กะหยาบๆว่าซื้อได้ถูกระดับนึงผลลัพธ์มันก็จะออกมาดีตลอดนะ  ที่มันเละแล้วสุดท้ายขาดทุนคือครั้งที่พลาดเรื่องตัวธุรกิจซะมากกว่า

ทำไมวิกฤติโควิดรอบนี้ ตลาดหุ้นฟื้นเร็วจัง ?

How come after Covid, the stock market recover so fast this time ?

ทำไมวิกฤติโควิดรอบนี้ ตลาดหุ้นฟื้นเร็วจัง ?

มีคนสงสัยว่าทำไมเหตุการณ์โควิดครั้งนี้ตลาดหุ้นฟื้นกลับขึ้นมาเร็วจัง  ถ้าเทียบกับเหตุการณ์ที่ผ่านมาในอดีตเวลามีวิกฤติเศรษฐกิจแล้วตลาดหุ้นตกรุนแรงมันจะใช้เวลานานเป็นปีกว่าตลาดหุ้นจะฟื้นกลับมาที่เดิม  แต่ครั้งนี้ทั้งที่จริงๆโควิดก็ยังไม่จบและเศรษฐกิจโดยรวมก็ยังไม่ฟื้นแต่ตลาดหุ้นดันฟื้นกลับขึ้นมาแล้ว  ถ้าไม่นับหุ้นที่โดนโควิดจังๆบางบริษัทราคาสูงกว่าก่อนโควิดอีก  ทำไมมันเป็นแบบนั้นล่ะ

เอาจริงๆผมก็ไม่ชัวร์ 100% นะ  ส่วนตัวก็นึกว่ามันจะใช้เวลานานกว่านี้เหมือนกัน  แต่ถ้าให้เดาก็คิดว่าน่าจะเป็นเพราะเหตุผลดังต่อไปนี้

1. โควิดมันเป็นปัจจัยภายนอก  วิกฤติไม่ได้เกิดจากฟองสบู่หรือคนทำอะไรโง่ๆ

อันนี้น่าจะเป็นเรื่องหลัก  คือวิกฤติเศรษฐกิจครั้งอื่นๆที่ผ่านมามันเกิดจากการที่คนในระบบเศรษฐกิจเอาเงินไปจมอยู่ในทรัพย์สินที่สุดท้ายเป็นฟองสบู่แล้วไม่เกิดประโยชน์ซะส่วนใหญ่  เช่นอย่างตอนช่วงต้มยำกุ้งนั่นธุรกิจจำนวนมากในไทยกู้ยืมเงินในสกุลต่างประเทศแล้วไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์  พอเงินบาทลอยตัวอ่อนค่าลงเยอะๆก็เลยทำให้หนี้สินที่เยอะพุ่งพรวดขึ้นไป  บวกกับที่ลงทุนไปเงินจมอยู่กับอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นฟองสบู่อีกก็เลยไปกันใหญ่  หรืออย่างวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ในอเมริกานั่นก็มาจากการปล่อยกู้ซื้อบ้าน subprime mortgage ให้คนที่ไม่มีความสามารถในการจ่ายด้วยความเชื่อว่าอสังหาริมทรัพย์ราคาจะสูงขึ้นไปเรื่อยๆ  เงินไปจมอยู่กับบ้านที่สุดท้ายไม่มีความต้องการเช่นกัน

แต่โควิดนี่มันไม่เหมือนกัน  ธนาคารพาณิชย์ไม่ได้อยู่ในสภาพที่ปล่อยกู้มั่วซั่ว  ไม่ได้มีใครกู้ยืมเงินเกินตัวมาลงทุนทำอะไรไม่เกิดประโยชน์  ไม่ได้มาจากการฟองสบู่ในทรัพย์สินอะไร  เศรษฐกิจหยุดเพราะคนชะลอการใช้จ่ายจากมาตรการป้องกันการระบาดเท่านั้นเอง  ดังนั้นพอการระบาดลดลงคนก็กลับมาใช้จ่ายได้เร็วและดังนั้นเศรษฐกิจก็จะฟื้นเร็วกว่าครั้งก่อนๆ

2. รัฐบาลประเทศต่างๆให้ความช่วยเหลืออย่างเร็ว

รอบนี้พอมีปัญหา  เนื่องจากมันเป็นปัญหาจากปัจจัยภายนอก  รัฐบาลแทบทุกประเทศก็ไม่ลังเลที่จะให้ความช่วยเหลือทันที  ทั้งลดอัตราดอกเบี้ย, สั่งให้ยังไม่นับเป็นหนี้เสียบ้าง, ให้เงินช่วยเหลือธุรกิจให้ไม่ปลดพนักงาน, ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายบ้างแบบเราเที่ยวด้วยกันหรือคนละครึ่ง, ฯลฯ  โดยรวมเป็นการพยุงเศรษฐกิจไว้ไม่ให้ผลกระทบรุนแรงจนเกินไป  แล้วก็เลยทำให้บริษัทพวกที่ไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงยังรอดอยู่ได้

3. คนอยู่บ้านกันเยอะ  ว่างก็เลยเริ่มมองหาอะไรทำที่มีผลตอบแทน

สุดท้าย  อาจจะเพราะมีนักลงทุนหน้าใหม่เข้ามาสนใจตลาดหุ้นเยอะขึ้นก็เป็นไปได้  เลยทำให้โดยรวมมีเม็ดเงินมาซื้อหุ้นกันเยอะขึ้น  ก็เลยทำให้ตลาดหุ้นฟื้นกลับขึ้นมาเร็วกว่าปกติหรือเปล่า

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ถ้าเจอหุ้นที่อ่านไม่เข้าใจ หรือหาข้อมูลไม่ค่อยได้ ทำไงดี ?

Stocks that are too hard, what to do ?

ถ้าเจอหุ้นที่อ่านไม่เข้าใจ หรือหาข้อมูลไม่ค่อยได้ ทำไงดี ?

กรณีประมาณนี้มีคนถามผมหลายครั้งละ  ทั้งกรณีที่แบบมีความสนใจจะซื้อแต่หาข้อมูลไม่ค่อยได้  กับแบบที่ซื้อไปแล้วและกำลังสงสัยว่าควรจะขายหรือเปล่า

เอาจริงๆทางเลือกเราก็มีไม่เยอะครับ

  1. พยายามหาต่อ
  2. อาจจะต้องพยายามหาข้อมูลด้วยวิธีอื่น  ซึ่งอันนี้ก็แล้วแต่ความสร้างสรรค์ของเราละ  ปกติที่ผมพยายามทำก็เช่นไปหาคนรู้จักญาติพี่น้องเพื่อนที่อยู่ในธุรกิจนั้น  หรือไม่งั้นเราอาจจะต้องพยายามหาคนที่เป็นลูกค้าของสินค้ากลุ่มนั้นที่น่าจะมีประสบการณ์ตรง

  3. เลิก
  4. ยอมรับว่าหาได้เท่านั้นเท่าที่มี  แล้วก็ตัดสินใจซะ

    ถ้ากำลังจะซื้อก็ลองพิจารณาดูว่าเท่าที่เราหาข้อมูลมาได้นั่นมันเพียงพอสำหรับการตัดสินใจเราแล้วหรือยัง  เช่นสมมติเราหาข้อมูลไม่ได้ว่ามันดีกว่าคู่แข่งยังไง  แต่เราหาข้อมูลแวดล้อมอื่นที่เป็นหลักฐานเช่นส่วนแบ่งการตลาดได้  แบบนี้เราสบายใจจะถือหุ้นบริษัทนั้นจริงๆมั้ย  ซึ่งโดยส่วนใหญ่เราก็จะไม่สบายใจแหละเพราะไม่งั้นเราก็จะไม่รู้สึกว่าหาข้อมูลไม่ได้ตั้งแต่แรก

ถ้าถือหุ้นอยู่  แล้วไม่รู้หรือไม่เข้าใจบริษัทที่ถืออยู่  ผมว่าขายเหอะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี