จะศึกษาหุ้นซักบริษัทนึงจริงจัง ต้องดูอะไรบ้าง ?

What makes a thorough analysis of a stock ?

จะศึกษาหุ้นซักบริษัทนึงจริงจัง ต้องดูอะไรบ้าง ?

จริงๆหัวข้อนี้คือมีคนถามต่อเนื่องจากวีดิโอก่อนหน้า (https://youtu.be/uuc50G_1HZc) ที่เราพูดถึงวิธีกรองอย่างเร็ว  คนถามเค้าอยากรู้ว่าหลังจากผ่านกรองอย่างเร็วแล้วสมมติมีหุ้นที่เราสนใจคือเราต้องดูอะไรต่อ  เอาจริงๆมันก็คือหาข้อมูลพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับบริษัทให้เยอะที่สุดที่เป็นไปได้แล้วก็ตัดสินใจว่าจะซื้อมั้ยหรือจะทำอะไรน่ะครับ  แต่โอเคเข้าใจว่าบางคนมือใหม่มากอาจจะไม่เห็นภาพว่ามันคืออะไรประมาณไหน  วีดิโอนี้เราจะพยายามอธิบายให้เห็นภาพครับ

  1. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับบริษัท
    • ขายอะไร
    • ขายให้ใคร
    • ขายแบบไหน
    • รูปแบบรายได้เป็นแบบไหน
    • สิ่งที่ขายมีความเด่นอะไรยังไง
    • ทำไมคนอยากซื้อของจากเจ้านี้ล่ะ
    • ความนิยมมากขึ้นหรือน้อยลง
    • ความได้เปรียบบริษัทมันอยู่ตรงไหน
    • ที่ผ่านมาผลประกอบการเป็นไง
    • ยอดขายเป็นไง
    • กำไรเป็นไง
    • เก็บเงินได้มั้ย
    • มีหนี้สินเยอะมั้ย
    • เติบโตมั้ย
    • โตจากอะไร
    • อัตราส่วนทางการเงินต่างๆ
    • ทีมผู้บริหารเป็นใคร  อยู่มานานยัง
    • บริษัทมีแผนจะทำอะไรต่อ
    • ฯลฯ
  2. ทำความเข้าใจสภาพแวดล้อมอุตสาหกรรมที่บริษัทแข่งอยู่
    • ธุรกิจนี้แข่งกันยังไง
    • การแข่งขันรุนแรงมั้ย
    • มีคู่แข่งเยอะมั้ย
    • บริษัทเป็นเจ้าใหญ่มั้ย
    • ส่วนแบ่งการตลาดเป็นไง
    • การเติบโตและอัตราส่วนทางการเงินอื่นๆเทียบกับคู่แข่งเป็นไง
    • ธุรกิจนี้ที่ผ่านมาเป็นไง
    • ธุรกิจนี้มีธุรกิจอื่นมาแข่งอยู่ด้วยหรือเปล่า
    • ธุรกิจนี้ขึ้นลงตามเศรษฐกิจมั้ย
    • หรือขึ้นลงตามอุตสาหกรรมอื่นหรือเปล่า
    • ถูกกำกับดูแลโดยรัฐบาลหรือเปล่า
    • อนาคตน่าจะเป็นยังไงต่อ
    • ฯลฯ
  3. เมื่อทำดีที่สุดแล้ว  ก็เอาทุกอย่างมาประกอบกัน
    • สรุปเราไว้ใจบริษัทนี้มั้ย
    • เราคิดว่าอนาคตมันจะเป็นไงต่อ
    • ปัจจัยเสี่ยงหลักๆน่าจะมาจากอะไรได้บ้าง
    • แล้วด้วยราคาตอนนี้ผลตอบแทนคาดหวังดูคุ้มเสี่ยงหรือเปล่า

ไอเดียคร่าวๆก็ประมาณนี้  ไม่ได้จำกัดว่าต้องรู้เท่านี้นะ  เอาทุกอย่างที่เราคิดว่ามันสำคัญต่อการตัดสินใจของเรานั่นแหละ  ผมแนะนำว่าอย่างน้อยที่สุดเลยเริ่มจากอ่านรายงานประจำปีล่าสุด, งบไตรมาสล่าสุดก็จะช่วยเรื่องข้อมูลเบื้องต้นของบริษัทได้

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ห๊า งบการเงิน ? ทำไมต้องดูงบการเงิน / ผลประกอบการด้วย

Why bother looking at the company's financials ?

ห๊า งบการเงิน ? ทำไมต้องดูงบการเงิน / ผลประกอบการด้วย

มีคนสงสัยว่าจำเป็นต้องดูผลประกอบการของบริษัทด้วยเหรอ  เพราะเท่าที่เห็นคือบริษัทกำไรหรือขาดทุนก็ไม่ได้เกี่ยวกับเราเท่าไหร่  ราคาหุ้นมันก็ขึ้นหรือลงไปคนละทางกับผลประกอบการได้  และสุดท้ายประเด็นสำคัญคือเงินลงทุนเรากำไรหรือเปล่ามากกว่ามั้ย  วีดิโอนี้ผมจะพยายามโน้มน้าวว่าเราสมควรต้องดูผลประกอบการของบริษัทครับ

ก็จริงอยู่ครับ  สุดท้ายจริงๆที่เราสนใจคือผลตอบแทนในการลงทุนของเราแหละ  ถ้าสมมติผมจะซื้อหุ้นบริษัทอะไรซักบริษัทนึงแล้วขายได้กำไร 100% แน่นอนนะ  มันก็ยอดเยี่ยมเลยป้ะ  ผมก็ไม่สนใจหรอกว่าบริษัทผลประกอบการจะแย่มากขาดทุนหนักขึ้นเรื่อยๆหรือเปล่าถูกมะ  แต่ปัญหาคือในชีวิตจริงมันไม่รู้แบบนั้นไง  

ในชีวิตจริงลองคิดดูนะ  การซื้อหุ้นของเรานี่กำไรที่เราจะได้มาจากอะไรได้บ้าง  มันก็มาได้อยู่ 2 แบบซึ่งคือเงินปันผลที่ได้ระหว่างที่ถือกับตอนขายหุ้นขายได้ราคาสูงกว่าที่ซื้อมาถูกมะ  ถ้าเราจะลงทุนแล้วได้กำไรเยอะเราก็ต้องคาดหวังอันใดอันหนึ่งหรือทั้งสองอย่างใช่มะ

ประเด็นก็คือผลประกอบการบริษัทมันมีผลกระทบต่อทั้งปันผลและราคาขายไง  เงินปันผลมันก็จ่ายออกมาจากกำไร  ดังนั้นถ้าเราคาดหวังเงินปันผลที่ดีเติบโตมันก็ต้องมาจากบริษัทผลประกอบการมีกำไรเติบโตน่ะครับไม่งั้นมันจะเอาเงินมาจากไหน  ส่วนราคาขาย  คุณว่าระหว่างบริษัทที่ผลประกอบการห่วยและแย่ลงๆกับบริษัทผลประกอบการดีและดีขึ้นเรื่อยๆ  อันไหนคนจะอยากได้มากกว่ากัน  มันก็แน่นอนอยู่แล้วป้ะ  คนก็จะอยากได้บริษัทที่ผลประกอบการดีขึ้นอยู่แล้ว  และในเมื่ออยากได้คนก็ถึงจะยินดีซื้อในราคาที่แพงขึ้นน่ะครับ  คือการที่เราจะคาดหวังว่าให้คนมาซื้อหุ้นต่อจากเราในราคาที่สูงขึ้นทั้งที่บริษัทผลประกอบการห่วยแตกมันก็เกิดขึ้นได้นะ  แต่นั่นมันคือฟลุค  นักลงทุนในตลาดคนอื่นเค้าก็ไม่ได้โง่หรือบ้านะ

ดังนั้นสรุปแล้วนะ  จริงๆเราสนใจแค่ผลตอบแทนในการลงทุนของเราแหละ  แต่พอดีว่าผลประกอบการของบริษัทมันดันมีผลกระทบโดยตรงต่อผลตอบแทนในการลงทุนของเรา  เราก็เลยพลอยต้องดูผลประกอบการของบริษัทไปด้วยก็เท่านั้นเองครับ
เพื่อให้ชัดเจนมากขึ้น  เราสุ่มตัวอย่างจากรายชื่อ SET100 ย้อนดูเปรียบเทียบผลประกอบการบริษัทกับราคาหุ้นดูว่ามันไปในทางเดียวกันมั้ยนะ

1. ADVANC

2. BDMS

3. CPF

4. HMPRO

5.LH

6.IRPC

7. STA

อย่างที่เห็น  ผมก็ว่าโดยรวมมันไปในทิศทางเดียวกันชัดเจนนะ

ต่อให้เราบอกกะจะลงทุนระยะสั้นเลย  ผมว่ายังไงถ้าซื้อหุ้นที่เทรนด์ระยะยาวมันขึ้นยังไงก็มีโอกาสกำไรมากกว่าเทรนด์ระยะยาวมันลงอยู่ดีมั้ยครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

อัตราดอกเบี้ย ทำไมมีผลต่อราคาหุ้น ?

Why Do Asset Prices Fall When Interest Rates Increase?

อัตราดอกเบี้ย ทำไมมีผลต่อราคาหุ้น ?

มีคนมีคำถามว่าทำไมอัตราดอกเบี้ยต่ำลงแล้วหุ้นมันต้องขึ้นด้วย  เกี่ยวกันยังไง

จริงๆเหตุผลมันก็ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนครับ  หลักๆแล้วการที่อัตราดอกเบี้ยมีผลกับราคาหุ้นเป็นเพราะ 2 อย่างคือ

  1. คนเปรียบเทียบผลตอบแทนของการลงทุนแบบต่างๆ
  2. ลองนึกภาพง่ายๆ  สมมติวันนี้อยู่ๆอัตราดอกเบี้ยเงินฝากซึ่งรับประกันโดยรัฐบาลบางส่วนด้วยนะให้ดอกเบี้ย 15%  เป็นคุณจะทำยังไง  คุณก็จะงงว่าคุณจะซื้อหุ้นได้ปันผล 2-3% แล้วเสี่ยงไปเพื่ออะไร  คุณก็จะรีบขายหุ้นแล้วไปฝากธนาคารเลยป้ะ  แล้วทุกคนมันก็จะคิดแบบนี้เหมือนกันหมดใช่มั้ยครับ  พอเป็นแบบนั้นมันก็ทำให้ราคาหุ้นต่ำลงไงเพราะคนอยากได้น้อยลง  ราคาหุ้นมันต้องต่ำไปจนถึงจุดที่ผลตอบแทนคาดหวังจากการถือหุ้นนี่สูงกว่า 15% พอสมควรคนถึงจะยอมซื้อหุ้นถูกมะ  ไม่งั้นใครซื้อก็โง่ละ

    กลับกันสมมติวันนี้จากดอกเบี้ยที่ต่ำอยู่แล้วเกิดต่ำไปอีก  เช่นสมมติเป็น -5% แทน  คนที่แต่เดิมฝากเงินอยู่หรือคนที่กำลังจะฝากก็หนีเลยป้ะ  ไปลงทุนอย่างอื่นเช่นหุ้นดีกว่ามั้ย  มันก็ดันให้ราคาหุ้นสูงขึ้นเพราะคนอยากได้เยอะขึ้นน่ะครับ

    ดังนั้นขอให้นึกภาพว่าอัตราดอกเบี้ยมันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลงทุนแทนหุ้น  ถ้าผลตอบแทนมันดีหุ้นคนก็อยากได้น้อยลง  ถ้าผลตอบแทนมันต่ำคนอยากได้หุ้นเพิ่มขึ้น  เท่านั้นเองครับ

  3. อัตราดอกเบี้ยมีผลต่อต้นทุนการกู้เงินของธุรกิจ
  4. คนในตลาดหุ้นจะมองว่า  ถ้าอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นบริษัทต่างๆก็จะกู้ยืมเงินได้น้อยลงและขยายน้อยลงเศรษฐกิจก็จะโตช้าลง  ดังนั้นผลตอบแทนจากหุ้นก็น่าจะต่ำลงคนก็เลยไม่ค่อยอยากซื้อหุ้น  ถ้าอัตราดอกเบี้ยต่ำลงบริษัทต่างๆก็จะกู้ยืมเงินได้มากขึ้นและขยายมากขึ้นเศรษฐกิจก็จะเติบโตเร็วขึ้น  ผลตอบแทนจากหุ้นก็น่าจะสูงขึ้นคนก็เลยอยากซื้อหุ้นมากขึ้น

ด้วย 2 ปัจจัยนี้อัตราดอกเบี้ยจึงมีผลกับราคาหุ้นครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

กรองหุ้นอย่างเร็วใน 10 นาที

Quickly screen opportunities in 10 minutes

กรองหุ้นอย่างเร็วใน 10 นาที

มีคนถามว่าหุ้นมีเยอะไปหมด  จะไปอ่านหรือศึกษาอย่างละเอียดทั้งหมดก็ไม่น่าเป็นไปได้  ปกติผมมีเกณฑ์ในการกรองยังไงว่าหุ้นไหนน่าสนใจ  วีดิโอนี้เราตอบคำถามเรื่องนี้ครับ

เดี๋ยวสิ่งที่ผมจะทำคือไล่ให้ฟังว่าสมมติผมเห็นบริษัทหรือหุ้นอะไรซักอันเป็นครั้งแรก  ผมมองยังไงว่าน่าสนใจดูต่อหรือเปล่า  แต่คุยให้เข้าใจตรงกันไว้ก่อนว่านี่มันคือเอาไว้สำหรับกรองขั้นแรกอย่างรวดเร็วเท่านั้น  มีประโยชน์ในการตัดบริษัทที่ดูไม่เข้าท่าชัดเจนออกไป  ไม่ได้แปลว่าบริษัทที่ผ่านการกรองมานี่คือซื้อเลย  ไม่ใช่ทำแค่นี้แล้วตัดสินใจนะยังไงก็ต้องไปศึกษาจริงจังอยู่ดี

  1. ดูว่าบริษัททำอะไรก่อนเลย  แล้วก็พิจารณาว่า
    • ชอบธุรกิจเค้ามั้ย  ถ้าต้องถือยาวอย่างน้อย 3 ปีสบายใจที่จะถือหรือเปล่า
    • ดูแล้วน่าจะมีความได้เปรียบหรือเปล่า
  2. มีกำไรหรือยัง
  3. ผลประกอบการดูสม่ำเสมอหรือแกว่ง
  4. กระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกหรือเปล่า
  5. ROE ไม่ต่ำเกินไป
  6. ช่วงที่ผ่านมาราคาตกอยู่หรือเปล่า

ประมาณนี้เลย  ปกติแล้วถ้าสมมติมันผ่านเกณฑ์ทั้งหมดนี้นะ  ผมก็จะรีบดูต่อละ  ถ้าครบหมดขาดข้อสุดท้ายก็ยังดูใช้ได้นะ  แต่แค่ไม่ได้ต้องรีบดูตอนนี้  ผมก็จะเก็บชื่อมันไว้เผื่อราคาตกหรือว่างจริงๆค่อยกลับมาดูครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

Cash Flow (กระแสเงินสด) กับ Free Cash Flow (กระแสเงินสดอิสระ) คืออะไร ? ต่างกันยังไง ?

What's cash flow and free cash flow ?

Cash Flow (กระแสเงินสด) กับ Free Cash Flow (กระแสเงินสดอิสระ) คืออะไร ? ต่างกันยังไง ?

มีคนถามเกี่ยวกับ cash flow (กระแสเงินสด) และ free cash flow (กระแสเงินสดอิสระ) ว่ามันคืออะไร  ต่างกันยังไงชื่อฟังคล้ายๆกัน

เริ่มจาก cash flow ก่อน  ความหมายมันก็ตามชื่อเลยคือเงินสดเข้าหรือออกจากบริษัท  ซึ่งมันเป็นอะไรที่สมควรให้ความสำคัญมากเพราะว่าสุดท้ายแล้วบริษัทจะรอดแล้วทำธุรกิจต่อไปได้ก็ต้องมีเงินสดเข้ามามากกว่าออกไปถูกมะ

ขอให้เข้าใจว่าในการบันทึกกำไรขาดทุนเค้าบันทึกแบบเกณฑ์คงค้าง (accrual basis)  ซึ่งก็คืออิงตามกิจกรรมทางธุรกรรมทางธุรกิจเป็นหลักไม่ได้อิงตามเงินสด  เวลาบริษัทขายของได้บริษัทจะบันทึกว่ามีรายได้เกิดขึ้นมีกำไรเกิดขึ้นทันทีไม่ว่าจะได้รับเงินจากลูกค้าหรือยังไม่ได้รับ  และดังนั้นสมมติเราดูงบกำไรขาดทุนอย่างเดียวแล้วไม่ได้ดูตัว cash flow เลยมันก็จะมีจุดบอดเพราะว่าต่อให้บริษัทบันทึกว่ามีกำไรเยอะแค่ไหนแต่ถ้าบริษัทไม่เคยเก็บได้เลยซักบาทมันก็เจ๊งอยู่ดีป้ะ

ทีนี้ตัว cash flow นี่มันแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามเหตุคือ

  1. กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (cash flow from operating activities)
  2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน (cash flow from investing activities) 
  3. กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน (cash flow from financing activities)

อันที่เค้าให้ความสำคัญมากสุดก็จะเป็นกระแสเงินสดจากการดำเนินงานแหละ  หลักๆที่ควรจะต้องสังเกตก็คือที่บอกขายของได้มีกำไรนี่เก็บเงินได้หรือเปล่า  เงินสดไม่ได้ไปจมอยู่กับสินค้าคงเหลือที่เพิ่มขึ้นพรวดใช่มั้ย  ส่วนกระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุนก็ไว้สังเกตว่าบริษัทมีการใช้เงินไปซื้อที่ดิน, อาคารอุปกรณ์, เครื่องจักร, ฯลฯ อะไรพวกนี้เยอะมั้ย  ถ้าเยอะโดดขึ้นมาก็ต้องถามว่านั่นคือทำอะไร  ส่วนกิจกรรมจัดหาเงินก็ดูว่ามีการกู้เงินหรืออะไรพรวดขึ้นมาหรือเปล่า  เช่นกันถ้าเยอะขึ้นมาก็ต้องถามว่านั่นมันเอาไปทำอะไรเหรอ

ทีนี้มาตัว free cash flow ละ  free cash flow นี่เค้าหมายถึงเงินสดที่สามารถเอาออกมาจากบริษัทได้โดยที่บริษัทไม่กระทบและยังเติบโตต่อได้ตามปกติ  หรือพูดอีกแบบนึงก็คือเป็นเงินสดที่เหลือจากการที่บริษัทดำเนินธุรกิจได้มาแล้วหักส่วนที่ต้องใช้ในการลงทุนเพิ่มเติมในธุรกิจไปแล้ว  มันเป็นเงินสดส่วนที่บริษัทมีอิสระที่จะเอาไปทำอะไรก็ได้  จะเก็บไว้สำรองก็ได้, จ่ายชำระคืนเงินกู้ที่ยืมมาก็ได้, จ่ายเป็นปันผลให้กับผู้ถือหุ้นก็ได้หรือจะเอาไปซื้อหุ้นคืนก็ได้  

Free cash flow มันก็เลยสำคัญมากเพราะการที่ตั้งบริษัทมาก็เพื่อสร้างให้เกิด free cash flow เยอะๆไง  และดังนั้นเวลาที่เราได้ยินคนพูดถึงวิธีประเมินมูลค่าบริษัท  เราก็จะเคยได้ยินคนพูดถึงการคิดลดตัว free cash flow ก็เพราะเหตุผลนี้ครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

จำนวนการยื่นล้มละลายใน US ปี 2020 น้อยกว่า 2019 ทั้งที่มี COVID

US Bankruptcy in 2020 is less than in 2019, even with COVID.

จำนวนการยื่นล้มละลายใน US ปี 2020 น้อยกว่า 2019 ทั้งที่มี COVID

วีดิโอนี้ผมอยากจะมาเล่าสิ่งที่ผมไปอ่านเจอแล้วรู้สึกประหลาดใจมากให้ฟังครับ

เมื่อปีที่แล้วที่มี COVID ระบาด  เราได้ข่าวธุรกิจได้ผลกระทบเยอะมาก  มีโรงงานปิดตัว, บริษัทปิด, ปลดคนงาน, ฯลฯ  ดังนั้นมันก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องแปลกถ้าเราจะเห็นตัวเลขบริษัทที่ยื่นล้มละลาย  แต่ปรากฎว่าผิดคาด  ผมไปอ่านเจอว่าจำนวนบุคคลและบริษัทขนาดเล็กที่ยื่นล้มละลายในอเมริกาดันลดลง

อันนี้เป็น working paper ของ Harvard Business School ทำโดย Jialan Wang, Jeyul Yang, Benjamin Iverson, Raymond Kluender  ผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้เผื่อใครสนใจอ่าน https://www.hbs.edu/faculty/Publication%20Files/21-041_a9e75f26-6e50-4eb7-84d8-89da3614a6f9.pdf  แล้วก็เผื่อใครสนใจอ่านรายงานที่เกี่ยวกับการว่างงานในอเมริกาอันนี้ผมก็ทิ้งลิ้งค์ไว้ให้เช่นกัน https://fas.org/sgp/crs/misc/R46554.pdf

คร่าวๆคือ  ปกติแล้วเหตุการณ์ในอดีตที่ผ่านมาเวลามีช่วงเศรษฐกิจไม่ดี  ตัวเลขการล้มละลายของบุคคลและบริษัทก็จะเยอะ  ดังนั้นช่วง COVID ปีที่แล้วก็คาดหมายได้ว่าจะต้องเยอะเช่นกัน  แต่สิ่งที่เค้าเจอคือมันต่างออกไปจากปี 2019  โดยรวมเค้าพบว่าตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม 2020 ถึงสิงหาคม 2020 จำนวนคนและบริษัทที่ยื่นล้มละลายน้อยลง 27% เมื่อเทียบกับปี 2019  ถ้าดูในรายละเอียดเค้าพบว่าที่ทำให้น้อยลงคือจำนวนล้มละลายของบุคคล  ส่วนในภาคธุรกิจมียื่น chapter 11 (แบบปรับโครงสร้างหนี้) เพิ่มขึ้นแต่ยื่นแบบ chapter 7 (แบบขายทรัพย์สิน) น้อยลงโดยรวมแล้วเลยน้อยลง

อีกเรื่องที่แปลกคือเค้าพบว่ารัฐที่การว่างงานสูงเพิ่มขึ้นเยอะสุด  ดันมีการยื่นล้มละลายลดลงมากสุดด้วย  ซึ่งมันควรจะกลับกันหรือเปล่า

คนเขียนเค้าก็พยายามเดาว่าอะไรเป็นสาเหตุ  สิ่งสำคัญสุดน่าจะเป็นความช่วยเหลือด้วยนโยบายการคลังจากรัฐบาลเช่น CARES act ที่มีให้เงินช่วยเหลือกับเพิ่มผลประโยชน์คนว่างงาน, PPP ที่เป็นสินเชื่อธุรกิจให้บริษัทยังสามารถจ่ายเงินเดือนพนักงานได้, ห้ามไม่ให้ไล่คนไม่จ่ายค่าเช่าออกจากที่พัก, ฯลฯ  เรื่องพวกนี้น่าจะได้ผลดีระดับนึงทีเดียว

สาเหตุอื่นก็อาจจะเป็นเพราะว่าศาลปรับขั้นตอนการทำงานเป็นให้ยื่นออนไลน์เพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดแล้วคนที่ล้มละลายเค้าไม่สามารถทำได้หรือเปล่า  หรืออาจจะเป็นเพราะความไม่แน่นอนของโควิดที่ทำให้คนกับธุรกิจไม่แน่ใจว่ามันจะจบเมื่อไหร่หรือจะเกิดอะไรขึ้น  ก็เลยทำให้เค้าลังเลที่จะยื่นหรือเปล่า  เพราะในอเมริกามันมีกฎหมายว่ายื่นล้มละลายได้จำกัดครั้งในช่วงกี่ปีๆ

โดยรวมก็เป็นอะไรที่ผิดคาดดีเลยมาเล่าให้ฟัง  เป็นเครื่องเตือนสติผมเลยว่าอย่าด่วนสรุปอะไรเร็วไปและบางทีเราเห็นข่าวอะไรก็อย่าเชื่อว่าต้องจริงเสมอไปนะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ราคาพาร์ คืออะไร ? มีประโยชน์อะไรรึเปล่า ?

What is a Par value and what use is it ?

ราคา Par คืออะไร ? มีประโยชน์อะไรรึเปล่า ?

มีคนถามว่าราคา par คืออะไร  เค้าเห็นว่ามันต่างจาก IPO มากและบางบริษัทก็ 1 บาทบ้าง 0.5 บาทบ้าง

เอาจริงๆในอดีตมันอาจจะมีประโยชน์อะไรซักอย่าง  แต่ในเวลานี้คือมันไม่มีสาระอะไรครับ  มันเป็นตัวเลขหน่วยที่กำหนดขึ้นมาเฉยๆเหมือนแค่ให้ทุนจดทะเบียนกับจำนวนหุ้นมันสอดคล้องกัน  อย่างสมมติผมบอกผมมีเงิน 100 บาทอยู่ในรูปเหรียญสิบก็จะรู้ทันทีว่าผมมีเหรียญอยู่ 10 เหรียญถูกมะ  แต่ถ้าบอกอยู่ในรูปเหรียญบาทก็แปลว่าผมมีเหรียญบาทอยู่ 100 เหรียญ  อารมณ์มันประมาณนั้นแหละ  ถ้าบริษัทบอกว่ามีทุนออกและชำระแล้ว 1 ล้านบาท  หุ้นราคาพาร์ 1 บาทก็คือมีจำนวน 1 ล้านหุ้น  แต่ถ้าหุ้นราคาพาร์ 10 บาทก็คือมีจำนวน 1 แสนหุ้น  มีประโยชน์แค่นี้แหละ

แล้วมันก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอะไรกับราคา IPO เลยนะ  คือราคา IPO นี่คือตอนที่บริษัทระดมทุนเป็นครั้งแรกขายหุ้นให้กับสาธารณะ  ซึ่งเค้าก็ตั้งให้สูงที่สุดที่คิดว่าจะขายได้แหละ  ไม่ได้ตั้งราคา IPO อิงตามราคาพาร์หรืออะไร

และแน่นอนก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับราคาหุ้นในปัจจุบันหรือมูลค่าของหุ้นเลย  เพราะราคาพาร์นั่นมันตั้งมาตั้งแต่แรกตอนเริ่มบริษัท  เมื่อเวลาผ่านไปบริษัททำได้ดีไม่ดีมูลค่าเปลี่ยนไป  ก็ยิ่งไม่เกี่ยวอะไรกับราคาพาร์นั่นเข้าไปใหญ่

สรุปคือ  ไม่มีสาระอะไรและไม่ต้องไปสนใจมันครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

หุ้น Growth กับ หุ้น Value คืออะไร ? ต่างกันยังไง ?

Growth stock and value stock, what are they ? And what are the differences ?

หุ้น Growth กับ หุ้น Value คืออะไร ? ต่างกันยังไง ?

มีคนที่เค้าไปอ่านเจอบทความหรือข่าวที่พูดถึงหุ้น Growth กับหุ้น Value แล้วเค้าไม่เข้าใจว่าหมายถึงอะไรก็เลยถามเรา  วันนี้ผมเลยจะพูดถึงว่ามันคืออะไรก่อน  แล้วก็ที่บางทีเห็นในข่าวหรือบทความพูดถึงนี่คือเค้าพูดถึงอะไรกันอยู่

โดยไอเดียแล้วมันเริ่มมาจากความพยายามที่จะหาว่าปัจจัยอะไรบ้างมีผลต่อผลตอบแทนของหุ้น  หุ้นลักษณะแบบไหนให้ผลตอบแทนดีสุด

Growth กับ Value ก็เป็นหนึ่งในลักษณะของหุ้นที่เค้าพบว่าที่ผ่านมาในอดีตผลตอบแทนดีกว่าค่าเฉลี่ย

ลักษณะของหุ้น Growth มีคนให้รายละเอียดต่างกันไปแต่ในสาระสำคัญก็คือหุ้นที่มีแนวโน้มที่จะเติบโตได้เร็วกว่าเฉลี่ยในอนาคต  ความเชื่อก็คือหุ้นที่อนาคตมีการเติบโตสูงกว่าก็จะให้ผลตอบแทนดีกว่าค่าเฉลี่ยของตลาด  ซึ่งก็อาจจะวัดจากอัตราการเติบโตของรายได้หรือกำไรหรือกระแสเงินสดในอดีต  หรือไม่ก็อาจจะใช้อัตราการเติบโตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น  โดยรวมหุ้น Growth จะเป็นหุ้นที่ P/E สูง, P/BV สูง, Dividend yield ต่ำ

ลักษณะของหุ้น Value ก็คือเน้นหุ้นที่ราคาถูก  ความเชื่อก็คือการซื้อหุ้นที่ราคาถูกจะให้ผลตอบแทนดีกว่าการซื้อหุ้นราคาแพงในระยะยาว  ซึ่งการจะวัดว่าราคาถูกหรือเปล่าก็มักจะใช้ว่า P/E ต่ำ, P/BV ต่ำ, PEG ต่ำกว่า 1, Dividend yield สูงหรืออื่นๆ

ทีนี้ที่บางทีเราได้ยินคนพูดถึงหุ้น Growth กับหุ้น Value ในข่าวหรืออ่านเจอในบทความ  เป็นเพราะว่า 2 อันนี้มันเป็นอันที่ได้รับความนิยมมากสุด  และในช่วงที่ผ่านมาเค้าคุยกันเรื่องว่าหุ้น Value จะกลับมาชนะหุ้น Growth มั้ย  หรือว่าจะหมดยุคของหุ้น Value แล้ว

อดีตที่ผ่านมาคือถ้านับช่วงยาวมากๆหลายปี  โดยรวมแล้วหุ้น Value ชนะหุ้น Growth อยู่  แต่ถ้านับช่วง 5 ปีที่ผ่านมาหุ้น Growth ชนะมาตลอด  ก็เลยเป็นอะไรที่คนพูดถึงกันมาตั้งแต่ก่อนโควิดแล้วว่าหุ้น Value จะกลับมาชนะมั้ยหรือว่าโลกมันเปลี่ยนไปแล้ว  กับช่วงที่ผ่านมาตอนตลาดตกจากโควิด  หุ้นที่ฟื้นก่อนก็เป็นหุ้น Growth โดยเฉพาะพวกหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่คนมองว่าได้ประโยชน์หรืออย่างน้อยไม่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดเท่าไหร่  แต่หลังจากนั้นช่วง Q4 หุ้นกลุ่ม Value ก็เริ่มฟื้นบ้างตอนที่มีข่าววัคซีน  ตอนนี้ที่คนเค้าคุยกันก็เลยจะเป็นประมาณว่าหุ้น Value น่าจะผลตอบแทนดีกว่า (outperform) ตามเศรษฐกิจที่จะฟื้นตัวกลับขึ้นมา

ประมาณนี้แหละครับที่เค้าคุยกันน่ะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ซื้อหุ้นตามนักลงทุนที่มีชื่อเสียงหรือกองทุน ไปเลยดีมั้ย ?

Should we copy the portfolios of famous investors or funds ?

ซื้อหุ้นตามนักลงทุนที่มีชื่อเสียงหรือกองทุน ไปเลยดีมั้ย ?

คนถามว่าเราลอกการบ้านพวกนักลงทุนเก่งๆซื้อตามเค้าไปเลยได้มั้ย  จะได้ไม่ต้องเหนื่อยและที่สำคัญผลตอบแทนก็น่าจะดีด้วย

ส่วนตัวผมก็ไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าไหร่  หลักๆเลยคือผมสงสัยว่าในทางปฏิบัติมันจะทำได้จริงเหรอ  คือเราจะรู้ได้ไงว่านักลงทุนที่มีชื่อเสียงที่เราจะซื้อตามนี่เค้าซื้ออะไร  ปกติเค้าก็ไม่ได้ต้องแจ้งหรือบอกต่อสาธารณะนี่  ดังนั้นแล้วเราจะซื้อตามยังไงน่ะ

แล้วสมมติว่าเราซื้อตามได้นะ  เช่นอย่าง Berkshire Hathaway เค้าก็ต้องรายงานทุกไตรมาสว่าถือหุ้นอะไรบ้างใช่มะ  หรือกองทุนที่เราชอบเค้าก็มีต้องแจ้งว่าถือหุ้นหลักๆมีอะไรบ้าง  เราก็อาจจะซื้อตามได้จากข้อมูลที่เปิดเผยเหล่านี้  มันก็มีปัญหาอื่นอีกคือ

  1. นักลงทุนที่มีชื่อเสียงก็พลาดได้  ขนาด Warren Buffett ที่ว่าเป็นระดับโลกก็มีที่ซื้อ IBM แล้วสุดท้ายก็บอกว่าผิดพลาดแล้วขายไปในภายหลัง  หรือเร็วๆนี้ก็มีที่ซื้อสายการบินแล้วก็ขายขาดทุนไปช่วง 2020 ที่มีโควิด
  2. เราจะทำใจถือตามได้ตลอด 100% จริงเหรอ  ตอนซื้อตามคงไม่ยาก  แต่สมมติซื้อตามไปแล้วขาดทุน -20~30% ล่ะ  ด้วยความที่ตอนซื้อมาไม่ได้ทำการบ้านเข้าใจด้วยตัวเอง  ในใจจะไม่มีความลังเลสงสัยถือตามได้ตลอดจริงหรือเปล่า

สุดท้ายสมมติว่าบอกว่าทำได้หมด  ยอมรับว่ามีพลาดได้และทำใจถือตาม 100% ได้  ผมก็สงสัยว่าถ้างั้นไม่ซื้อหุ้น Berkshire Hathaway ไปเลย  หรือลงทุนในกองทุนที่เราชอบนั้นไปเลยไม่ง่ายกว่าหรือ  ถ้าจะตามเป๊ะๆโดยที่ไม่ตัดสินใจเองเลยแบบนั้นก็น่าจะง่ายกว่าหรือเปล่า

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

โควิดระบาดรอบ 2 นี่ นับเป็นโอกาสหรือเปล่า ?

Is the second COVID wave in Thailand considered opportunity ?

โควิดระบาดรอบ 2 นี่ นับเป็นโอกาสหรือเปล่า ?

มีคนถามความเห็นว่าสมมติ COVID เวฟสองนี้ระบาดรุนแรงขึ้นมาจนต้องมี lockdown อีกรอบ  แบบนี้ผมยังมองว่าเป็นโอกาสอยู่หรือเปล่า

อันนี้คือตอบแบบมองจากมุมของการลงทุนในหุ้นล้วนๆไม่นับความเสียหายต่อเศรษฐกิจหรือชีวิตคน  มันก็ขึ้นอยู่กับว่าตลาดหุ้นตกด้วยมั้ย  ถ้าไม่ตกก็ต้องไม่ใช่โอกาสแน่  แต่สมมติตลาดหุ้นตกรุนแรงผมก็เชื่อว่าเป็นโอกาสนะ

โดยภาพรวมสิ่งที่ผมมองคือแบบนี้

  • การจะให้ปัญหาจบสมบูรณ์การท่องเที่ยวกลับสู่ปกติ  ยังไงก็ต้องใช้วัคซีนหรือยา  ซึ่งประเด็นตรงนี้ก็ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงไป  ที่จริงแล้วดูจะดีขึ้นกว่าที่คาดด้วยซ้ำไปด้วยความที่มีวัคซีนที่ใช้ได้หลายอัน  ทดลองเสร็จเร็วกว่าที่คาด  และหลายประเทศก็เริ่มดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนแล้ว
  • การระบาดรอบสอง  ไม่ว่าจะทำการ lockdown หรือไม่  มันเป็นการทำให้ระหว่างทางที่จะไปถึงสภาพปกติเปลี่ยนไปเท่านั้นเอง  คือเปลี่ยนจากที่ธุรกิจพึ่งพาการกินใช้ของคนในประเทศได้ค่อนข้างปกติเพราะไม่มีการระบาดกลายเป็นการกินใชัของคนในประเทศก็อาจจะจำกัดไปด้วย  ดังนั้นก็เป็นการเพิ่มความเสี่ยงจริงๆเพราะมันก็จะมีผลกระทบกับผลประกอบการบริษัทในตลาด  จากบางบริษัทที่ตอนแรกเราคิดว่ารอดแน่นอนแล้วเพราะไม่ได้พึ่งพานักท่องเที่ยวอาศัยแค่คนในประเทศก็ยังกำไรพวกนี้ก็จะเสี่ยงเพิ่มขึ้นแน่ๆ
  • แต่ก็เป็นโอกาสด้วยเช่นกัน  เพราะอย่างที่บอกคือสุดท้ายจะจบได้ก็ต้องมีวัคซีนหรือยาอยู่ดี  และการที่ระบาดรอบสองก็แค่ทำให้ระหว่างทางลำบากมากขึ้นเท่านั้น  ภาพรวมยังเหมือนเดิม

ดังนั้นสิ่งที่่ควรทำผมก็แนะนำเหมือนเดิม  ก็มองภาพไกลหน่อยแล้วเห็นมันเป็นโอกาส  มองหาบริษัทที่มันได้รับผลกระทบแล้วราคาตกแต่เราเชื่อว่ามันจะทนได้นานพอแล้วรอดนั่นแหละ  แล้วก็อย่าตกใจเกินไป  สิ่งที่เราควรจะตกใจคืออะไรก็ตามที่ทำให้ปัญหาลากยาวออกไปกว่าที่คาดเยอะๆน่ะครับ  เช่นวัคซีนใช้ไม่ได้แล้ว

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี