นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบไหน เหมาะกับสถานการณ์แบบโควิด (นโยบายการเงิน vs นโยบายการคลัง) ?

Fiscal and monetary policy, what are they and which one is right for the current situation ?

นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบไหน เหมาะกับสถานการณ์แบบโควิด (นโยบายการเงิน vs นโยบายการคลัง) ?

ช่วงนี้กำลังเป็นช่วงที่มีเหตุการณ์โรคระบาดและเศรษฐกิจหดตัว  หลายประเทศก็จะมีนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาเพื่อช่วยลดผลกระทบจากโรคระบาด  เป็นโอกาสดีที่เราจะทำความรู้จักกับนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจให้ละเอียดขึ้นอีกนิดนึง  วันนี้ผมมาอธิบายความแตกต่างระหว่างนโยบายการเงิน (Monetary policy) กับนโยบายการคลัง (Fiscal policy) กันครับ  เผื่อคนที่ยังไม่รู้เรื่องนี้มาก่อนจะได้เข้าใจภาพรวมมากขึ้นและเห็นภาพว่านโยบายที่เค้าพยายามทำกันอยู่มันมีที่มาที่ไปยังไงและทำไมเค้าถึงทำ

Monetary policy เป็นนโยบายที่ทำงานผ่านปริมาณเงิน (money supply) ในระบบเศรษฐกิจ  โดยมีคนบริหารจัดการเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย  เวลาที่เราได้ยินข่าวบอกว่าลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรือมีการซื้อพันธบัตร (bond buying) พวกนี้คือ monetary policy  ทำไปเพื่อกระตุ้นให้ธนาคารปล่อยสินเชื่อมากขึ้น, ให้ภาคธุรกิจกู้ยืมเงินได้ถูกลงจะได้ลงทุนเยอะขึ้น, ให้คนเอาเงินออกมาใช้จ่าย

Fiscal policy เป็นนโยบายที่ทำงานผ่านภาษีและการใช้จ่ายของรัฐบาล  คนที่เป็นคนทำก็จะเป็นรัฐบาล  การกระตุ้นเศรษฐกิจก็ทำได้ทั้งโดยการลดภาษีเพื่อให้คนมีรายได้เยอะขึ้นจะได้ใช้จ่ายได้เยอะขึ้น  หรือไม่ก็ใช้จ่ายกับโครงการต่างๆเยอะขึ้นซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นการใช้จ่ายกับ public goods (สินค้าสาธารณะ) เช่นซ่อมถนน, ทำโรงเรียน, ปรับปรุงระบบประปา, ทำทางรถไฟความเร็วสูง, ฯลฯ  แต่สองแบบนี้มันมักจะระยะยาวและไม่ได้เกิดผลทันที  บางครั้งเพื่อให้เกิดผลอย่างรวดเร็วก็จะมี fiscal policy ที่ใช้จ่ายกับโครงการระยะสั้นเพื่อให้กระตุ้นเศรษฐกิจทันทีเช่น ช็อปช่วยชาติ, ให้เงินช่วยเหลือคนที่ตกงานช่วงโรคระบาด, ฯลฯ

สังเกตว่าวิธีการของ monetary policy พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจโดยให้เอกชนเป็นคนใช้จ่าย  ส่วน fiscal policy คือรัฐบาลเป็นคนใช้จ่ายก่อนเลย

ทีนี้อย่างกรณีของ COVID-19  นโยบายที่จะได้ผลมากกว่าจะเป็น fiscal policy  เพราะในเวลานี้ต่อให้ใช้ monetary policy ปรับอัตราดอกเบี้ยต่ำลงธนาคารก็ไม่ได้อยากจะปล่อยกู้อะไรนักหนาเพราะตัวเองก็ต้องระวัง NPL ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นแน่นอน  บริษัทก็ไม่มีใครอยากลงทุนอะไรเพิ่มเยอะเพราะสถานการณ์ไม่ปกตินักท่องเที่ยวไม่มี, ช่วงก่อนห้างร้านอะไรก็ถูกสั่งปิด  และคนเองก็ไม่พร้อมจะออกมาใช้จ่ายเพราะบางคนก็ขาดรายได้ไปช่วงนึงและบางส่วนก็ยังใช้จ่ายระมัดระวังไม่ซื้ออะไรใหญ่ๆ  

แต่ถ้าเป็น fiscal policy ก็ไม่เป็นปัญหาเพราะรัฐบาลเป็นคนใช้จ่ายโดยตรง  และโครงการอย่างการให้เงินช่วยเหลือคนที่ตกงานจากโรคระบาดก็เป็นการช่วยพยุงให้คนยังสามารถใช้จ่ายซื้อสินค้าจำเป็นได้อยู่  ช่วยบรรเทาปัญหาได้ชั่วคราวแล้วก็ภาวนาว่าเมื่อเปิดเศรษฐกิจกลับมาคนจะกลับมาใช้จ่ายปกติ

ล่าสุดอย่างนโยบายที่ออกมาสนับสนุนให้คนไปท่องเที่ยวแล้วรัฐบาลช่วยออก  ผมก็เห็นด้วยนะ  มันก็คือรัฐบาลพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจแบบที่รัฐไม่ได้ออกเงินอยู่คนเดียวแล้วให้คนทั่วไปช่วยออกเงินด้วย  ถือว่าฉลาดดีอยู่  ในเวลาปกติผมอาจจะด่าเพราะมองว่า fiscal policy แบบนี้มันได้ผลอยู่แวบเดียวไม่เหมือนพวกที่ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอย่างอื่น  แต่ตอนนี้มันสถานการณ์ผิดปกติจริงๆครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

ธนาคารจะถูกแทนที่หรือเปล่า ?

Is bank going to be obsolete ?

ธนาคารจะถูกแทนที่หรือเปล่า ?

มีนักเรียนถามว่าคิดว่าธนาคารจะแพ้พวก fintech แล้วหายไปหรือเปล่า

อันนี้ผมก็คงไม่รู้อนาคต  แต่ผมก็ไม่คิดว่าธนาคารจะหายไปนะ  บริการบางอย่างที่เคยผูกขาดอาจจะถูกคู่แข่งเข้ามาทำให้เสียรายได้ค่าธรรมเนียมไป  แต่เรื่องหลักซึ่งคือการปล่อยสินเชื่อก็ยังคิดว่าธนาคารได้เปรียบอยู่

อย่าง trend ที่เราเห็นชัดๆคือพวกรายได้พวกที่เป็นค่าบริการจะลดลงเพราะถูกคนเข้ามาแข่ง  อย่างพวกเรื่อง payment นี่เห็นชัด  ปัจจุบันเราก็เห็นแล้วว่าการโอนเงินต่างธนาคารก็กลายเป็นฟรีหมดละ  และเราก็เห็นตัวอย่างในจีนที่จ่ายด้วยมือถือผ่าน Alipay กับ Wechat ไม่ได้ผ่าน app ของธนาคาร  อย่างอื่นนอกจาก payment ก็อย่าง Travel card งี้ก็ออกมาแข่งกับพวกร้านแลกเงิน  ในอนาคตโดยรวมก็น่าจะมีการแข่งขันในธุรกิจที่เคยเป็น fee business ของธนาคารเยอะขึ้นเรื่อยๆ

แต่เรื่องที่คิดว่ายังไงก็มีคนเข้ามาแข่งยากคือเรื่องการปล่อยสินเชื่อ  หลักๆแล้วมันเป็นการแข่งกันว่าใครประเมินความเสี่ยงแม่นยำกว่ากัน  คนที่ปล่อยสินเชื่อหละหลวมปล่อยมั่วก็จะตายไป  ซึ่งแน่นอนรวมถึงธนาคารที่ประมาทด้วย  ดังนั้นผมก็ไม่เชื่อว่าพวกที่ไม่ใช่สถาบันการเงินอย่าง cloud lending หรือ P2P lending จะเข้ามาแทนที่ธนาคารได้  เพราะ platform พวกนี้ได้รายได้จากค่าธรรมเนียมที่เก็บจากคนยืมและคนที่ปล่อยกู้  เค้าไม่ได้เดือดร้อนอะไรเวลาเกิดหนี้เสียขึ้น  ตอนเศรษฐกิจดีไม่มีปัญหามันก็ดูดีแหละ  แต่เดี๋ยวพอดอกเบี้ยไม่ได้และเงินต้นหายด้วยเรามาดูกันอีกทีครับว่าคนที่ปล่อยกู้จะยังยินดีปล่อยกู้อยู่หรือเปล่า

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

หุ้นไทยฟื้นมาเยอะแล้ว เราจะหาหุ้นถูกได้อยู่มั้ย ?

Stock market has recovered a lot. Can cheap stocks still be found?

หุ้นไทยฟื้นมาเยอะแล้ว เราจะหาหุ้นถูกได้อยู่มั้ย ?

อันนี้ก็เป็นคำถามที่มีคนถามผมหลายทีละ  ล่าสุดที่ดูคือ SET index อยู่แถว 1,340 จุดซึ่งเทียบกับก่อนจะตกรุนแรงจากโรคระบาดที่แถว 1,500 กว่า  โดยรวมก็ยังถูกกว่าช่วงต้นปีอยู่นะ  แสดงว่าราคาหุ้นโดยรวมก็ยังไม่ได้ฟื้นแบบสมบูรณ์  ดังนั้นถ้าพูดถึงโอกาสโดยรวมแบบไม่เดาทิศทางระยะสั้น  ถ้าเราเชื่อว่าสุดท้ายโรคระบาดจะจบและสถานการณ์จะกลับสู่ปกติก็ต้องบอกว่ายังโอกาสให้ซื้อได้อยู่นะ  ที่แน่ๆซื้อตอนนี้ก็ยังดีกว่าซื้อตอนต้นปี  แต่ทีนี้วีดิโอนี้เรามาลองดูไล่หุ้นรายกลุ่มอุตสาหกรรมกันว่า sector ไหนดูฟื้นตัวน้อยสุดครับ

ก่อนอื่นเพื่อเป็น benchmark เราจะวัด index ช่วงก่อนวิกฤติเป็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ละกันเพราะมันประมาณกลางเดือนพอดี  SET index ก่อนวิกฤติจะเป็น 1,526.30  และปัจจุบันตอนที่ผมดูอยู่ (เช้าของวันที่ 1 กรกฎาคม) index อยู่ที่ 1,346.69  ก็คือ -11.77% จากก่อนวิกฤติ

ทีนี้มาดู index ไล่ไปทีละอุตสาหกรรม  เริ่มจากอันแรก SET Agro (agriculture, food)  ก่อนวิกฤติอยู่ที่ 435.02  ตอนนี้อยู่ 423.55  ก็คือ -2.64% เทียบกับก่อนวิกฤติ  นี่แสดงว่าหุ้นกลุ่มนี้ฟื้นกลับมาเยอะกว่าหุ้นกลุ่มอื่นโดยเฉลี่ย

SET Consump (fashion, home, personal) ก่อนวิกฤติอยู่ที่ 92.61  ตอนนี้อยู่ 82.85  คิดเป็น -10.54% เทียบกับก่อนวิกฤติ  แสดงว่าหุ้นกลุ่มนี้ฟื้นกลับมาเยอะกว่าหุ้นกลุ่มอื่นโดยเฉลี่ย

SET Fincial (bank, finance, insurance) ก่อนวิกฤติอยู่ที่ 167.89  ตอนนี้อยู่ 124.50  คิดเป็น -25.84% เทียบกับก่อนวิกฤติ  แสดงว่าหุ้นกลุ่มนี้ยังไม่ค่อยฟื้นเทียบกับหุ้นกลุ่มอื่นโดยเฉลี่ย

SET Indus (auto, material, machinery, paper, petrochemical, packaging, steel) ก่อนวิกฤติอยู่ที่ 92.56  ตอนนี้อยู่ 87.33  คิดเป็น -5.65% เทียบกับก่อนวิกฤติ  ดูเหมือนหุ้นกลุ่มนี้ก็ฟื้นมาเยอะแล้วเทียบกับหุ้นกลุ่มอื่นโดยเฉลี่ย

SET Propcon (material, developer, PF&REIT, construction) ก่อนวิกฤติอยู่ที่ 119.68  ตอนนี้อยู่ 103.35  คิดเป็น -13.64% เทียบกับก่อนวิกฤติ  หุ้นกลุ่มนี้ก็ฟื้นมาน้อยกว่าเทียบกับหุ้นกลุ่มอื่นโดยเฉลี่ย

SET Resourc (energy, utilities, mining) ก่อนวิกฤติอยู่ที่ 213.01  ตอนนี้อยู่ 191.68  คิดเป็น -10.01% เทียบกับก่อนวิกฤติ  หุ้นกลุ่มนี้ฟื้นมาเยอะกว่าเทียบกับหุ้นกลุ่มอื่นโดยเฉลี่ย

SET Service (commerce, health, media, tourism, transport) ก่อนวิกฤติอยู่ที่ 479.18  ตอนนี้อยู่ 439.48  คิดเป็น -8.28% เทียบกับก่อนวิกฤติ  หุ้นกลุ่มนี้ทั้งที่มีการท่องเที่ยวก็ฟื้นมาเยอะกว่าเทียบกับหุ้นกลุ่มอื่นโดยเฉลี่ย

SET Tech (electronics, ICT) ก่อนวิกฤติอยู่ที่ 158.37  ตอนนี้อยู่ 145.44  คิดเป็น -8.16% เทียบกับก่อนวิกฤติ  หุ้นกลุ่มนี้ก็ฟื้นมาเยอะกว่าเทียบกับหุ้นกลุ่มอื่นโดยเฉลี่ย

สรุปคือถ้าดูแบบนี้จะเห็นว่าหุ้นกลุ่มที่ดูน่าสนใจเป็นพิเศษก็คือกลุ่ม financial กับ property&construction  เพราะฟื้นตัวน้อยกว่าเทียบกับกลุ่มอื่น  ส่วนพวกที่น่าสนใจน้อยสุดคือ agriculture&food กับ industrial

Agro -2.64%
Indus -5.65%
Tech -8.16%
Service -8.28%
Resourc -10.01%
Consump -10.54%
All -11.77%
Propcon -13.64%
Fincial -25.84%

แต่แน่นอนว่าเราก็ควรจะต้องไปดูว่าหุ้นในกลุ่มพวกนี้มีอะไรบ้างแล้วค่อยเลือกที่น่าสนใจอีกที  เราสามารถเข้าไปดูได้ในเวป SET ครับ  https://marketdata.set.or.th/mkt/sectorialindices.do?language=th&country=TH

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

แบบไหนบนงบการเงิน เรียกว่า “ผิดปกติ”

Warning Signs to Look Out for in Financial Statements

แบบไหนบนงบการเงิน เรียกว่า “ผิดปกติ”

มีคนถามเข้ามาว่ากำไรเพิ่มขึ้นขนาดไหนเรียกว่าผิดปกติ  หรือหนี้สินลดลงเยอะแค่ไหนคือผิดปกติมั้ย  และอีกหลากหลายคำถามที่เป็นแนวๆนี้  ดังนั้นวีดิโอนี้ผมจะมาพูดถึงสิ่งที่เราควรต้องสังเกตบนงบการเงินเท่าที่ผมนึกออกตอนนี้ครับ

โดยไอเดียภาพรวมก่อน  สิ่งที่บันทึกอยู่บนงบการเงินมันควรจะสอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับบริษัท  เวลาเราเห็นอะไรที่เราสงสัยบนงบการเงิน  มันเป็นสัญญาณเตือนให้เราไปดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวธุรกิจ  แล้วมันก็จะทำให้เราเข้าใจสถานการณ์ของบริษํทมากขึ้น

ทีนี้สิ่งที่เราต้องเอะใจถ้าเห็นบนงบการเงินก็จะมี

  1. หนี้สินพวกเงินกู้ธนาคารหรือหุ้นกู้ที่เพิ่มขึ้นเยอะๆ
  2. รายได้กับกำไรดูไม่ค่อยสัมพันธ์กัน
  3. รายได้น้อยลงต่อเนื่องหลายปี
  4. ค่าใช้จ่ายอื่นที่ดูใหญ่
  5. กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานเป็นลบต่อเนื่อง
  6. ลูกหนี้การค้ากับสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นไม่เป็นสัดส่วนกับรายได้
  7. จำนวนหุ้นที่ออกและชำระแล้วเพิ่มขึ้น
  8. มี Capital expenditure ขนาดใหญ่หรือมีการซื้อกิจการด้วยเงินจำนวนเยอะ

เท่าที่นึกออกก็ประมาณนี้นะ  ถ้าเราเจอเรื่องพวกนี้สิ่งที่ควรทำก็คือไปดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับบริษัทแล้วค่อยตัดสิน  ถ้าดูแล้วเป็นเหตุทีเข้าใจได้มีที่มาที่ไปแล้วเราสบายใจก็ไม่มีปัญหาอะไร  แต่ถ้าหาเหตุผลไม่ได้หรือรู้สึกผิดปกติอยู่ดีก็คอยจับตาดูต่อหรือข้ามมันไปก็ได้ครับแล้วแต่

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

แบบไหนถึงจะเรียกว่า “โอกาส” ?

What counts as "opportunity" ?

แบบไหนถึงจะเรียกว่า “โอกาส” ?

วิธีลงทุนที่ผมใช้คือซื้อกิจการที่ยอดเยี่ยมและซื้อมันให้ได้ในราคาถูกโดยอาศัยการฉวยโอกาสจากเวลาที่คนตกใจใช่มั้ยครับ  ทีนี้ก็มีนักเรียนที่ถามว่าอย่าง KTC ที่ราคาตกอย่างรวดเร็วเมื่อสัปดาห์ที่แล้วนี่เรียกว่าเป็น “โอกาส” มั้ย  หรือมันต้องยังไงถึงจะเรียกว่า “โอกาส”

เอาง่ายๆละกันนะ  เวลาที่หุ้นบริษัทที่เราชอบมันราคาตกลงมาพอสมควรมันก็เรียกว่า “โอกาส” หมดแหละ  เราสมควรจะไปดูในรายละเอียดว่าเกิดอะไรขึ้น  แล้วเราจะซื้อหรือเปล่านี่ก็อีกเรื่องนะ  ไม่ใช่ว่าทุก “โอกาส” ที่เกิดขึ้นเราจะซื้อหมดนี่

บางคนก็ถามต่อว่าที่บอกราคาตกพอสมควรนี่มันคือต้องตกขนาดไหน ?  มันก็ไม่มีกฎตายตัวอะไรขนาดนั้นนะคือเอาที่คุณว่ามันตกเยอะมากระดับนึงที่จะทำให้คุณสนใจไปดูน่ะ  ส่วนตัวผมก็ตั้งคร่าวๆไว้ว่าตกซัก 15% จะเรียกว่าน่าสนใจ

แล้วที่ว่าดูในรายละเอียดนี่หลักๆแล้วก็คือดูสาระสำคัญและถามตัวเองในเรื่องต่อไปนี้

  1. ไปดูว่าเรื่องที่ทำให้ราคาหุ้นตกนี่มันเรื่องอะไร
    1. มีผลกระทบกับผลประกอบการจริงหรือเปล่า
    2. ถ้ามี  มีไปตลอดมั้ย
    3. ถ้าไม่ได้มีไปตลอด  บริษัทจะรอดจากเหตุการณ์นี้หรือเปล่า
  2. บริษัทน่าจะยังทำได้ดีต่อไปในอนาคตหรือเปล่า
  3. ด้วยราคานี้เราพร้อมจะเสี่ยงลงทุนในบริษัทนี้มั้ย
  4. คิดเผื่อไว้ด้วยว่า  
    1. สถานการณ์ที่เราคาดว่าจะเกิดขึ้นคืออะไร  ต้องคอยสังเกตอะไร
    2. ถ้าต้องถือหุ้นบริษัทนี้ยาวไป 3-5 ปี  สบายใจที่จะถือมั้ย

หลักการมันก็มีง่ายๆแค่นี้แหละ  โฟกัสไปที่ตัวธุรกิจของบริษัทแล้วก็เลิกถามคำถามระยะสั้นที่ยังไงมันก็ไม่มีทางรู้เช่นราคามันจะตกลงไปอีกมั้ยหรือซื้อแล้วราคามันจะขึ้นมั้ย  ความยากมันก็จะอยู่ในรายละเอียดที่เราต้องไปหาข้อมูลมากกว่าละ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

หุ้นบุริมสิทธิ คืออะไร ?

What is Preferred Stocks?

หุ้นบุริมสิทธิ คืออะไร ?

นานๆทีเราก็จะเห็นบนงบการเงินของบางบริษัทว่านอกจากหุ้นสามัญแล้วจะมีหุ้นบุริมสิทธิอยู่ด้วย

วีดิโอนี้เราอธิบายเรื่องหุ้นบุริมสิทธิอย่างรวดเร็วครับ  แต่ต่อจากนี้เราจะเรียกมันว่า Preferred stock นะ

Preferred stock ก็เป็นตราสารที่บริษัทออกเพื่อระดมทุนเหมือนกันกับหุ้นกู้หรือหุ้นสามัญนี่แหละ  แต่มันจะมีลักษณะแตกต่างออกไป  โดยปกติแล้วเค้าจะบอกว่าหุ้นบุริมสิทธิเป็นอะไรที่อยู่ระหว่างหุ้นกู้กับหุ้นสามัญ

  1. ผลตอบแทน Preferred stock โดยปกติจะคงที่
  2. นั่นคือส่วนใหญ่มันจะกำหนดชัดเจนว่าปันผลเท่าไหร่แล้วก็จะเท่านั้นไปตลอดทุกปี  ลักษณะเหมือนหุ้นกู้  

  3. ไม่มีกำหนดอายุ
  4. เหมือนหุ้นสามัญเลย  คือไม่มีกำหนดไถ่ถอนเหมือนหุ้นกู้

  5. ผลตอบแทนที่บริษัทจ่ายออกมา  priority หลังหุ้นกู้แต่ก่อนหุ้นสามัญ
  6. หมายความว่าบริษัทต้องจ่ายหุ้นกู้ก่อนถึงจ่าย Preferred stock ได้  แล้วต้องจ่าย Preferred stock ก่อนถึงจะจ่ายให้หุ้นสามัญได้

    อันนี้รวมถึงสิทธิในการได้รับเงินกรณีที่บริษัทเลิกกิจการและขายทรัพย์สินด้วย

  7. บริษัทมีสิทธิที่ไม่จ่ายปันผล
  8. ตรงนี้ก็เหมือนหุ้นสามัญ  ถ้าเค้าไม่จ่ายเราก็ทำอะไรไม่ได้  ไม่เหมือนหุ้นกู้ที่ต้องจ่าย

  9. ในกรณีที่ไม่จ่ายปันผล  Preferred stock บางทีมี cumulative feature
  10. นั่นคือมีสิทธิยกเอาปันผลที่ไม่ได้รับไปรวมกับปีต่อไป  ปกติมันจะมีกำหนดว่ายกไปได้กี่ปีนะไม่ใช่แบบ infinity

  11. ไม่มี voting rights
  12. Preferred stock ตรงนี้เหมือนหุ้นกู้ตรงที่ไม่มีสิทธิในการออกเสียงในประชุมผู้ถือหุ้น

  13. Special feature อื่นๆที่หายากกว่าแต่อาจจะมี
    • Convertible บางทีอาจจะมีสิทธิในการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญได้ด้วย  แต่ทั่วไปไม่มี
    • Callable คือสิทธิที่บริษัทจะไถ่ถอนได้ตามกติกาและราคาที่กำหนด  แต่ทั่วไปไม่มี
    • Participation rights คือบางทีผลตอบแทนก็ไม่คงที่เสมอไป  ตัวอย่างเช่น Preferred share ของ Jungheinrich จ่ายปันผลปรับตาม Common share โดย Preferred share จะได้ปันผลมากกว่าอยู่นิดหน่อยเสมอ

ทีนี้แล้วเราควรจะสนใจลงทุนใน Preferred stock หรือเปล่า  อันนี้ในความเห็นส่วนตัวผมว่าไม่ต้องสนก็ได้  เพราะผมก็แทบจะไม่เคยเห็น  เข้าใจว่าตลาดของ Preferred stock เล็กกว่าหุ้นกู้หรือหุ้นสามัญมากและสภาพคล่องต่ำดังนั้นจะถือโดยนักลงทุนสถาบันเป็นหลัก  และตอนนี้ถ้าถามผมว่าไปซื้อได้ที่ไหนยังไงนี่ผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

จับผิดงบการเงิน : NMC Health กลุ่มโรงพยาบาลใหญ่ใน UAE ที่ถูกจับว่าตกแต่งงบบัญชี

Case study: NMC Health

จับผิดงบการเงิน : NMC Health กลุ่มโรงพยาบาลใหญ่ใน UAE ที่ถูกจับว่าตกแต่งงบบัญชี

เร็วนี้ไปอ่านเจอบทความของ Binod Shankar, CFA น่าสนใจมากเลยมาเล่าให้ฟัง

มันเป็น case study ของบริษัทชื่อ NMC Health  บริษัทนี้ทำธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน  มีทำบริการสำหรับผู้มีบุตรยากด้วย  เป็นเจ้าใหญ่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  เคยเป็นส่วนหนึ่งของดัชนี FTSE 100 ด้วย

แต่ทีนี้ในปี 2019 บริษัทถูกสงสัยว่ารายงานหนี้สินน้อยกว่าที่เป็นจริงโดย Muddy Waters Research  และสุดท้ายในเดือนมีนาคม 2020 บริษัทก็ยอมรับว่ารายงานหนี้สินน้อยไปประมาณ $2.7 billion  ตอนนี้ก็ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้และกำลังอยู่ในกระบวนการที่มีคนเข้ามาจัดการ  ทีมผู้บริหารและกรรมการถูกเปลี่ยน

คำถามที่น่าสนใจของบทความนี้คือ  เราจะสามารถเห็นความผิดปกติของบริษัทนี้ได้ก่อนที่เรื่องมันจะแดงหรือไม่  มีรายการบนงบการเงินไหนที่ผิดสังเกตที่เป็นสัญญาณเตือนเราล่วงหน้าหรือเปล่า  คนเขียนเค้าก็พูดถึงจุดที่เค้าเจอดังนี้

  1. เรื่องการซื้อกิจการ
  2. บริษัท NMC มีการซื้อกิจการต่อเนื่องหลายปี  ตั้งแต่ปี 2015 – 2018 รวมเป็นเงินประมาณ $1.9 billion

    ตัวเลขการซื้อกิจการเยอะๆต่อเนื่องก็เป็นสัญญาณที่ไม่น่าไว้ใจ  หลายครั้งทำเพื่อให้รายได้และกำไรมีการเติบโตเพราะธุรกิจที่มีอยู่เดิมไม่สามารถเติบโตเองได้

  3. ซื้อกิจการเยอะไม่พอ  ซื้อแบบมี Goodwill มหาศาลด้วย
  4. Goodwill มันเป็นตัวเลขส่วนต่างที่เกิดขึ้นเวลาบริษัทซื้อกิจการมาด้วยราคาที่สูงกว่ามูลค่าของทรัพย์สินที่ประเมินได้ของกิจการนั้น  การที่มี Goodwill เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกตินะ  แต่ในกรณีของ NMC Health นี่คุณ Binod Shankar, CFA แสดงตัวเลขให้ดูว่ามันสูงกว่าปกติมาก

    โดยเฉลี่ยแล้ว Goodwill เป็น 350% เทียบกับทรัพย์สินสุทธิของกิจการที่ไปซื้อมา  และถ้าดูเทียบกับทรัพย์สินของบริษัทตัวเองในปี 2018  Goodwill คิดเป็น 37% ของทรัพย์สินทั้งหมดซึ่งนี่มันเยอะมาก

    ผมลองเทียบกับบริษัท Hanesbrands ซึ่งรู้ว่าเป็นอีกบริษัทที่มีการซื้อกิจการต่อเนื่องหลายปีเช่นกันแต่หลังจากนั้นผลประกอบการไม่ได้มีปัญหา Goodwill คิดเป็น 16.8% เท่านั้นเอง  แต่กับอีกตัวอย่างนึงคือ Stericycle ซึ่งมีการซื้อกิจการต่อเนื่องหลายปีแล้วภายหลังมีปัญหา Goodwill ในช่วงปี 2014 ก่อนที่จะเริ่มเห็นปัญหาก็สูงมาก  คิดเป็นสัดส่วน 54.95% ของทรัพย์สินทั้งหมด

    บางคนก็อาจจะบอกว่า Goodwill มันเป็นตัวเลขทางบัญชีดังนั้นมันอาจจะไม่เกี่ยวเพราะบริษัทที่ซื้อมาอาจจะเป็นพวก Asset light แต่มีกำไรดีก็ได้  แต่ถ้าดูบรรทัดสุดท้ายที่เทียบกำไรทั้งปีของกิจการที่ซื้อมากับราคาซื้อ  จะพบว่าเลขปีหลังๆต่ำลงเยอะมากเหลือแค่ 3-4% เท่านั้นเอง  ถ้าคิดว่าเป็น P/E ก็คือซื้อบริษัท P/E 25-33 เท่ามา  ซึ่งอาจจะเป็นเพราะซื้อกิจการที่ห่วยมาหรือไม่งั้นก็อาจจะกิจการดีแต่ซื้อมาราคาสูงมาก  มันก็ไม่ดีทั้งคู่

  5. หนี้สินที่เยอะขึ้นเรื่อยๆ
  6. ต่อให้ไม่นับตัวหนี้สินที่เค้าซ่อนแล้วมาเจอทีหลัง  ถ้านับตามงบการเงินอย่างเดียวอย่างน้อยสิ่งที่เราเห็นก็คือเงินกู้ที่ใหญ่ขึ้นหลายปีติด  เหตุผลที่หนี้สินเยอะขึ้นอย่างรวดเร็วก็เข้าใจได้ว่าเพื่อไปซื้อกิจการ

  7. มีแววว่าจะเผื่อหนี้สูญน้อยผิดปกติ
  8. ถ้าดูปริมาณรายได้ค้างรับที่เกินกำหนดชำระจะเห็นว่าสูงขึ้นเรื่อยๆ  และที่สำคัญคือสูงขึ้นเมื่อคิดเป็นสัดส่วนกับรายได้ค่างรับทั้งหมดด้วย  แต่ถึงอย่างนั้นบนงบกำไรขาดทุนไม่ได้มีการพูดถึงการสำรองเผื่อหนี้สงสัยจะสูญอะไรเลย  แล้วยิ่งดูสถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่แย่ลงในช่วงปีหลังๆด้วยก็ยิ่งไม่น่าจะถูกต้องเข้าไปใหญ่

ดังนั้นโดยสรุปคือ  ต่อให้เราไม่ได้สามารถที่จะทำการสืบค้นแบบ Muddy Waters ได้  เราก็พอจะเห็นสัญญาณผิดปกติหลายอย่างบนงบการเงินได้อยู่ดี  

ผู้เขียนมีลองเอาตัวเลขงบการเงินไปใส่ Beneish model ที่เป็นเครื่องมือทางสถิติเอาไว้ดูว่ามีความเป็นไปได้แค่ไหนที่ตัวเลขงบการเงินถูกตกแต่ง  เค้าก็พบว่าคะแนนที่ได้ก็บ่งชี้ว่าบริษัทน่าจะมีการตกแต่งงบบัญชีมาตั้งแต่ปี 2016 ทุกปีจนถึง 2018 เลยด้วยครับ

เผื่อคนสนใจอ่านบทความต้นฉบับด้วยตัวเองผมทิ้งลิ้งค์ไว้ครับ https://blogs.cfainstitute.org/investor/2020/05/19/the-nmc-health-debacle-four-red-flags/

ทีนี้สำหรับคนต้องการอ่านเพิ่มเติม  ผมแนะนำให้อ่านรายงานของ Muddy Waters ก่อนเลย  Link อยู่ที่นี่  http://d.muddywatersresearch.com/tou/?redirect=/content/uploads/2019/12/MW_NMC_12172019-1.pdf

ในรายงานของ Muddy Waters นอกจากเรื่องสงสัยว่าโกง  มีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงอาคารโรงพยาบาลสูงผิดปกติอะไรพวกนั้นแล้ว  เค้าจะมีพูดถึงการใช้ Reverse Factoring ที่ควรจะมีลักษณะเหมือนกู้ยืมเงินแต่กติกาในการบันทึกบัญชีตรงนี้ไม่ชัดเจนทำให้สามารถบันทึกเป็นเจ้าหนี้การค้าได้  ทำให้ตัวเลขเงินกู้ดูน้อยกว่าที่ควรจะเป็น  รายละเอียดของ Reverse Factoring อธิบายไว้ดีมากบนเวปนี้ครับ  https://valuesque.com/2019/12/28/nmc-health-demystifying-reverse-factoring-the-three-is-a-crowd-financial-analysis-problem/

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

Earnings ชื่อต่างๆที่อาจเจอในงบการเงินต่างประเทศ

What are these different earnings: reported, operating, core, pro forma?

Earnings ชื่อต่างๆที่อาจเจอในงบการเงินต่างประเทศ

มีคนอ่านงบการเงินภาษาอังกฤษแล้วไปเจอคำพวกนี้  เค้าถามว่ามันต่างกันอย่างไร

Reported earnings กับ Basic earnings เป็นอันเดียวกัน  เค้าหมายถึงกำไรสุทธิที่รายงานตามมาตรฐานบัญชี  มาจากรายได้ที่หักค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้ว  ซึ่งมันก็เป็นตัวเลขที่ถือว่าแฟร์เพราะทุกบริษัทต้องบันทึกภายใต้กฎเดียวกันหมด

Total Revenue – Cost of Goods Sold – Selling, General and Admin expenses – Depreciation – Interest – Tax

แต่ Reported earnings มันก็จะมีผลของค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเข้ามาเกี่ยว  ซึ่งตรงนี้มันมาจากโครงสร้างเงินทุนของบริษัทว่าใช้หนี้เยอะมั้ย  มันไม่ค่อยเกี่ยวกับการบริหารตัวธุรกิจเท่าไหร่  ดังนั้นมันก็เลยมีบางคนที่นิยมดูตัว Operating earnings แทน  ถ้าเป็นภาษาไทยอันนี้คือกำไรจากการดำเนินงานหรือคือกำไรก่อนหักค่าใช้จ่ายทางการเงินและภาษีเงินได้  ตัว EBIT น่ะครับ

Total Revenue – Cost of Goods Sold – Selling, General and Admin expenses – Depreciation

ส่วน Core earnings นี่เป็นตัวที่โดยหลักการคือต้องการจะดูกำไรที่เกิดจากธุรกิจหลักของบริษัท  ดังนั้นเค้าก็พิจารณารายได้และรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของบริษัท  แล้วก็ตัดพวกรายการพิเศษออกเช่น ค่าใช้จ่ายที่มาจากการฟ้องร้อง, กำไรจากการเพิ่มขึ้นของมูลค่าเงินลงทุนในสินทรัพย์เผื่อขาย, ฯลฯ

Pro Forma earnings หรือก็คือ Adjusted earnings  พวกนี้คือปรับยังไงก็ได้เลยแล้วแต่ผู้บริหาร  เค้าก็จะอ้างว่าเป็นการปรับตัวเลขตัดนู่นนี่ออกหรือไม่นับรายการบางอย่างเพื่อให้สะท้อนผลประกอบการของบริษัทได้ชัดเจนขึ้น  อารมณ์มันจะคล้ายๆกับ Core earnings นะแต่ยิ่งยืดหยุ่นมากขึ้นไปอีก

Reported earnings กับ Operating earnings ถือเป็นตัวเลขที่ยึดหลักตามมาตรฐานบัญชี

แต่ Core earnings กับ Pro Forma นี่ถือว่าไม่ใช่ตัวเลขที่ยึดหลักตามมาตรฐานบัญชีละ  เวลาดูต้องใช้ความระมัดระวังมาก  ไม่สามารถใช้ตัวเลขนี้ในการเปรียบเทียบข้ามบริษัทได้  และต่อให้เป็นการเปรียบเทียบแต่ละปีของบริษัทเดียวกันก็ยังต้องใช้ความระมัดระวัง  ปกติมันจะมีหน้า reconciliation ที่แจกแจงว่าเลขพวกนี้ปรับมาจากกำไรสุทธิปกติยังไงบ้าง  ถ้าจะดู earnings สองอันนี้ต้องดูรายละเอียดที่มาทุกครั้ง

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

อัพเดทสถานการณ์เศรษฐกิจ สรุปว่าจะฟื้นแล้วหรือยัง ?

How are the economy recoveries doing ?

อัพเดทสถานการณ์เศรษฐกิจ สรุปว่าจะฟื้นแล้วหรือยัง ?

วันนี้เรามาติดตามข่าวเรื่องเศรษฐกิจกันบ้างครับ

เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวอัตราการว่างงานในอเมริกาลดลง  คนก็เลยเริ่มตื่นเต้นว่าเศรษฐกิจอาจจะฟื้นกลับมาเร็วกว่าที่คาด  เริ่มมีคนกลับมาพูดถึงการฟื้นตัวแบบ V-shape  และนักวิเคราะห์หลายคนก็เริ่มเปลี่ยนมุมมองละ  https://www.cnbc.com/2020/06/05/jobs-report-may-2020.html

ส่วนตัวผมมองว่าเศรษฐกิจมันจะฟื้นแบบ V-shape แหละ  แต่มันจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อโรคระบาดมันถูกจัดการได้มียารักษาหรือมีวัคซีนแล้วเท่านั้นถึงจะจบจริง  ตัวเลขการว่างงานที่ดีขึ้นมากของ US มันก็ไม่ได้น่าแปลกใจอะไรก็ในเมื่อเค้าอนุญาตให้กลับมาเปิดร้านเปิดอะไรมันก็ควรเป็นแบบนั้นอยู่แล้ว  แต่ต่อจากนี้ไปจนกว่าจะแก้ปัญหาได้จริงๆ  ผมเชื่อว่ามันก็อาจจะดีขึ้นหรือแย่ลงก็ได้ยังไม่ชัดเจน  เรื่องนี้ประเด็นมันอยู่ที่ 2 อย่าง

  1. พอเปิดธุรกิจกลับมา  จะกลับมาระบาดรุนแรงอีกหรือเปล่า
  2. กลับมาระบาดบ้างก็คงไม่ใช่ปัญหา  ตราบใดที่มันไม่ขึ้นแบบ exponential และระบบสาธารณสุขรองรับได้ก็โอเค

  3. สมมติรักษาระดับการระบาดให้ทรงๆได้  คนจะกลับมาใช้ชีวิตใช้จ่ายปกติขนาดไหน
  4. ส่วนตัวผมมองว่าปัจจัยที่ 1 ตราบใดที่ทำตรงนี้ได้ดี  ปัจจัยที่ 2 น่าจะไม่เป็นปัญหา  ถ้าคนเห็นว่าไม่กลับมาระบาดและควบคุมได้ก็น่าจะสบายใจมากขึ้นเรื่อยๆและกลับมาใช้จ่ายใกล้เคียงเดิม (ที่มันไม่เหมือนเดิม 100% เป็นเพราะผมยังเชื่อว่าการท่องเที่ยวจะยังไม่ฟื้นเป็นปกติ)

ดังนั้นตอนนี้ผมว่า key ของมันคือเรื่องการกลับมาระบาดแล้วล่ะ  ซึ่งถ้าเราดู timeline หลายๆประเทศรวมถึงไทยเริ่มทยอยอนุญาตให้ธุรกิจกลับมาเปิดเป็นปกติมากขึ้นตั้งแต่ช่วงต้น-กลางเดือนพฤษภาคม  ระยะฟักตัวโรคมันคือ 14 วันถูกมะ  ตอนนี้ผ่านสัปดาห์แรกของมิถุนายนมาแล้วก็น่าจะแปลว่านานเกิน 14 วันละ  เราน่าจะมาดูซักหน่อยว่าการระบาดในประเทศที่ก่อนหน้านี้อาการหนักแล้วได้มีการเริ่มเปิดธุรกิจกลับมาเป็นยังไงกันบ้างแล้ว

เท่าที่ดูเราจะเห็นว่าประเทศที่เปิดกลับมาแล้วดูสถานการณ์ควบคุมได้ก็มี  ไทย, เยอรมณี, อิตาลี, เกาหลี  แต่พวกที่ดูจะกลับมาเยอะหรือดูยังเยอะอยู่ก็มีอย่างอิหร่านและสหรัฐอเมริกา

คำถามคือแล้วถ้าเกิดกลับมาระบาดรุนแรงซึ่งก็ดูเป็นไปได้  เค้าจะต้องสั่งปิดธุรกิจอีกหรือเปล่า  ถ้าสั่งปิดอีกรอบผลกระทบกับเศรษฐกิจก็รุนแรงอย่างน้อยพอๆกับรอบที่แล้วแน่นอน  ตลาดหุ้นก็มีโอกาสตกรุนแรงอีกก็ได้  ดังนั้นอย่าเพิ่งสบายใจกันเกินไป  ผมว่ามันต้องคอยดูถึงซักสิ้นเดือนมิถุนายนนี้ครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses