ทำไมคนถึงไปลงทุนในบริษัทใหม่ที่ทั้งเสี่ยง, ไม่มีกำไร และโดยสถิติแล้วขาดทุน ?

Recent lessons on delusion: Why people jump in on money-losing companies ?

ทำไมคนถึงไปลงทุนในบริษัทใหม่ที่ทั้งเสี่ยง, ไม่มีกำไร และโดยสถิติแล้วขาดทุน ?

ก่อนหน้านี้มี Uber, Lyft  แล้วซักพักก็มี Peloton, WeWork  แล้วซักพักก็มีหุ้นกัญชา  แล้วก็ล่าสุดเลยก็มีเรื่อง Luckin Coffee แต่งงบการเงิน

หัวข้อวันนี้ผมชวนคุยเรื่องทำไมคนถึงชอบกระโดดเข้าไปลงทุนในบริษัทที่ยังไม่ถูกพิสูจน์  หลายครั้งเป็นบริษัทขาดทุนมหาศาลต่อเนื่องด้วยซ้ำ  และส่วนใหญ่ก็เจ๊งขาดทุน  แต่ก็มีแบบนี้อยู่ทุกยุคทุกสมัย  ทำไมมันเป็นแบบนั้นและเราจะเรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้ได้บ้าง

แต่ก่อนอื่นเลยต้องพูดให้ชัดเจนก่อนว่าผมไม่ได้กำลังบอกว่านักลงทุนพวกนี้ไม่ดีหรือโง่หรืออะไรนะครับ  ถ้ามองจากมุมมองของโลก  เราต้องยอมรับว่านักลงทุนที่กล้าหาญไปลงทุนในบริษัทใหม่ๆมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสำคัญต่ออนาคตของเรามาก  ถ้าไม่มีพวกเขาก็จะไม่มีใครให้เงินลงทุนกับบริษัทเกิดใหม่ที่ลงทุนลองทำอะไรใหม่ๆและสุดท้ายก็จะไม่มีการพัฒนา  ในประวัติศาสตร์ก็ไม่ใช่ว่าทำแบบนี้แล้วจะเจ๊งเสมอไป  มันก็มีบริษัทที่สุดท้ายเติบโตมหาศาลทำให้คนที่ลงทุนตอนแรกๆร่ำรวย  และบริษัทพวกนั้นก็สร้างความแตกต่างให้กับโลก  ดังนั้นเราต้องขอบคุณพวกเขาที่ยินดีกระโดดเข้าไปเสี่ยงและส่วนใหญ่ขาดทุน

แต่วันนี้ผมพูดเรื่องนี้ในฐานะที่มองจากมุมมองระดับบุคคลที่เข้าไปลงทุนเพื่อผลตอบแทนโดยที่เงินต้นไม่เสีย  การแห่เข้าไปลงทุนในอะไรแบบนี้เป็นสิ่งที่เสี่ยงมาก  ผมคิดว่ามันมีปัจจัยหลัก 3 อย่างที่ทำให้คนตัดสินใจแบบนั้น

  1. ภาพของตลาดใหม่ขนาดใหญ่โต
  2. ภาพนี้มักทำให้เรารู้สึกว่าบริษัทจะยังโตได้อีกมหาศาล  คนที่เข้าไปลงทุนก็เลยรู้สึกว่ามันเป็นไปได้มากที่จะโต  ทั้งที่จริงๆแล้วปัจจัยที่บริษัทมันจะโตแบบก้าวกระโดดได้มันมีอะไรอย่างอื่นอีกเยอะ  บริษัทจะต้องสามารถจับส่วนแบ่งการตลาดได้ใหญ่พอสมควร, บริษัทจะต้องสามารถทำกำไรได้ไม่ใช่แค่ยอดขายโตเฉยๆ  และเมื่อบริษัทมีกำไรแล้วก็ยังต้องสามารถกันคู่แข่งหรือรักษาความได้เปรียบไม่ให้สุดท้ายมีคนอื่นเข้ามาแย่งไป

  3. มั่นใจในบริษัทเกินไป
  4. เมื่อมีตลาดใหม่ขนาดใหญ่  ก็จะมีคนเห็นโอกาสเข้ามาบุกเบิกทำสินค้าหรือบริการมาขายหลายคน  และมี Venture Capitalist (VC) เห็นความเป็นไปได้เข้ามาสนับสนุนเงินทุนหลายเจ้า

    โดยธรรมชาติของคนที่เข้าไปบุกเบิกทำธุรกิจในตลาดใหม่กับ VC ก็เป็นคนมั่นใจในตัวเองอยู่แล้ว (ไม่งั้นมันก็ไม่ทำตั้งแต่แรก)  เคยมีการทำการสำรวจความเห็นผู้ประกอบการ 2,994 คนโดย Cooper, Woo, and Dunkelberg (1988) ว่ามั่นใจแค่ไหนว่าจะทำธุรกิจประสบความสำเร็จ  ผลคือ 81% เชื่อว่าตัวเองมีโอกาสสำเร็จอย่างน้อย 70%  และมี 1 ใน 3 ที่เชื่อว่าสำเร็จแน่นอน  ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว 75% ของธุรกิจใหม่เจ๊งใน 5 ปีแรก  ส่วน VC ก็เช่นกัน Graves and Ringuest (2018) เคยทำการสำรวจวัดความแตกต่างระหว่างผลตอบแทนที่ VC คาดหวังเทียบกับผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจริง  ผลคือกลุ่ม VC นี่นอกจากจะมั่นใจมากกว่านักลงทุนทั่วไปยังกะผลตอบแทนคลาดเคลื่อนมากกว่าด้วย

    พอเป็นแบบนี้ปุ๊บ  ทุกบริษัทที่เข้าไปบุกเบิกตลาดใหม่ก็จะแพงเกือบหมดเพราะทุกบริษัทเชื่อว่าตัวเองจะเป็นผู้ชนะ  และก็จะมีคู่แข่งใหม่ๆทยอยเข้ามาแข่งเพิ่มเติมมากขึ้นเรื่อยๆเพราะคนอื่นก็เริ่มเห็นว่าเป็นตลาดใหม่ขนาดใหญ่  ดังนั้นโดยภาพรวมคือตลาดก็จะใหญ่ขึ้นจริงมียอดขายเกิดขึ้น  แต่ในระดับรายบริษัทยอดขายก็จะไม่โตอย่างที่คาดไว้ตอนแรกและอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก็จะต่ำลงกว่าที่คาด  แล้วสุดท้ายคนก็จะเริ่มเห็นความจริงว่าสิ่งที่คาดไว้ตอนแรกกับความจริงมันห่างกันเยอะ  พอคนเริ่มเห็นแบบนั้นราคาตลาดของบริษัททั้งหมดโดยรวมก็จะตก  ยกเว้นส่วนน้อยมากที่จะสำเร็จแล้วโตพรวดพราดขึ้นมาจนดังแล้วก็เป็นตัวอย่างความสำเร็จให้คนรู้สึกตื่นเต้นยินดีจะเสี่ยงในโอกาสใหม่ๆต่อไป

  5. ตอนบริษัทเพิ่งเริ่มจะประเมินมูลค่ายาก
  6. ในช่วงแรกๆที่บริษัทยังเพิ่งเริ่มไม่มีกำไร  มันก็ต้องอาศัยการสมมติว่าบริษัทจะโตแค่ไหนจะมีกำไรเมื่อไหร่ขนาดไหนไปในอนาคต  ซึ่งตรงนี้มันก็ไม่มีใครรู้ดังนั้นในตอนแรกการประเมินมูลค่าแบบ VI ก็จะแทบเป็นไปไม่ได้  ในช่วงแรกคนก็จะให้ความสำคัญกับยอดขายหรือไม่ก็ตัวเลขอื่นที่เกี่ยวกับธุรกิจนั้นเช่นตัวเลขผู้ใช้หรืออะไรซักอย่างแทน

 

ดูตัวอย่างในอดีตอย่างช่วง Dotcom bubble ที่คนบ้าคลั่งพวกหุ้นอินเตอร์เน็ต  หลักๆก็มาจากความเชื่อว่าเป็นตลาดใหม่ที่ใหญ่มาก  ทำให้คนมองข้ามทุกอย่างขอให้เป็นบริษัทที่ขายอะไรซักอย่างเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ตก็ราคาขึ้นหมด

หุ้นอย่าง WeWork ก็เป็นแบบเดียวกัน  คนมองว่า Sharing economy เป็นอนาคตของที่ทำงานซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่มาก

พวกหุ้นกัญชาก็แบบเดียวกัน  จากเดิมที่เป็นสิ่งผิดกฎหมาย  พอเปิดอนุญาตให้ถูกกฎหมายคนก็มองว่าเป็นตลาดที่ใหญ่มากอีกเช่นกัน

Luckin Coffee ก็เหมือนกัน  คนมองว่าตลาดกาแฟออนไลน์อนาคตจะโต  พูดกันถึงขั้นว่าจะมาแข่งกับ Starbucks

Uber กับ Lyft ก็แบบเดียวกัน  คนมองว่า ride-sharing เป็น trend ของอนาคต  และพวกนี้อาจจะสามารถขยายไปในธุรกิจ logistics อื่นได้  ตลาดโตมหาศาล

ทั้งหมดพวกนี้คือถ้าไม่นับเรื่องความเชื่อว่ามันจะโตนะ  จริงๆไม่มีบริษัทมีกำไรซักบริษัทนึง

สำหรับพวกเราแล้ว  สิ่งที่เราควรจะได้จากเรื่องนี้คือ

  1. อย่าเผลอมองโลกในแง่ดีเกิน  ทำตัวระแวงนิดนึงก็ดี
  2. ระมัดระวังการใช้ metric ในการประเมินมูลค่าแปลกๆ  เช่นพวกที่ดูยอดขายอย่างเดียวอะไรพวกนี้
  3. สุดท้ายคือถ้าตลาดมันใหญ่โตมหาศาลจริงๆ  รอให้บริษัทมันพิสูจน์ business model ก่อนก็ยังไม่สาย

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

งบการเงินรวม กับ งบการเงินเฉพาะกิจการ ต่างกันยังไง ?

งบการเงินรวม กับ งบการเงินเฉพาะกิจการ ต่างกันยังไง ?

เวลาเราเปิดงบการเงินขึ้นมา  เราจะเห็นว่ามันมี column ที่เป็นงบการเงินรวมกับงบการเงินเฉพาะกิจการ  และบางบริษัทก็จะต่างกันไม่เยอะส่วนบางบริษัทก็ดูต่างกันเยอะ  เลยมีคนถามว่างบการเงินรวมกับงบการเงินเฉพาะกิจการต่างกันยังไง

โดยสาระสำคัญความแตกต่างมันจะตามชื่อเลยครับ  

งบการเงินรวมคือแสดงงบการเงินที่รวมบริษัทใหญ่และบริษัทย่อยเข้าด้วยกัน  รวมตัวรายได้, รายจ่าย, กระแสเงินสด, ทรัพย์สิน, หนี้สิน  ทุกอย่างรวมกันเหมือนเป็นบริษัทเดียวกัน  แล้วก็รายงานตัว minority interest หรือส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทแยกต่างหากอีกที

ส่วนงบการเงินเฉพาะกิจการคือตัวบริษัทใหญ่เป็นหลัก  แล้วบันทึกพวกบริษัทย่อยหรือร่วมแยกต่างหาก  ปัจจุบันรู้สึกว่าจะบันทึกแบบราคาทุน (cost method) หรือแบบส่วนได้เสีย (equity method) ก็ได้

ดังนั้นจุดหลักๆที่มันจะต่างก็มี

  1. เวลามีกำไรเกิดขึ้นกับบริษัทย่อยจะบันทึกไม่เหมือนกัน
  2. สมมติบริษัทย่อยมีกำไรโผล่มา 1 บาท  ถ้าเป็นงบการเงินรวมมันก็จะแสดงกำไรที่โผล่มา 1 บาทนี้  แต่ถ้าเป็นงบเฉพาะกิจการก็จะไม่เพราะ 1 บาทนี่เกิดขึ้นกับบริษัทย่อย

  3. รายการระหว่างกันจะบันทึกไม่เหมือนกัน
  4. พวกธุรกรรมระหว่างบริษัทใหญ่กับบริษัทย่อยเช่น  บริษัทใหญ่ซื้อของจากบริษัทย่อยหรือบริษัทใหญ่ให้บริษัทย่อยยืมเงิน  พวกนี้ถ้าเป็นงบการเงินรวมก็จะถูกตัดออกไปไม่แสดงเพราะมันมองเหมือนเป็นบริษัทเดียวกัน  แต่จะแสดงบนงบการเงินเฉพาะกิจการ

แล้วเราควรดูอันไหนดี ?

ถ้าเป็นผมก็จะดูงบการเงินรวมเป็นหลักนะ  เพราะเวลาเราซื้อหุ้นเราก็เป็นเจ้าของบริษัทย่อยของมันไปด้วย  ดังนั้นมันก็ควรจะดูงบการเงินรวมเป็นหลัก  แล้วอาจจะดูงบการเงินเฉพาะกิจการเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นว่ากำไรที่เกิดขึ้นมาจากบริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อยมากกว่ากัน

ถ้าใครสนใจจะอ่านอย่างละเอียดสามารถไปอ่านเอกสารของสภาวิชาชีพบัญชีเลยครับ

http://www.tfac.or.th/Article/Detail/119612

และสมมติใครถนัดภาษาอังกฤษมากกว่าหรือต้องการอ่านของ IFRS เลยก็ไปที่นี่ครับ

https://www.ifrs.org/issued-standards/list-of-standards/

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

เทรนด์ธุรกิจจะเปลี่ยนไปมั้ย หลังโควิด ?

How the world could change after COVID-19 ?

เทรนด์ธุรกิจจะเปลี่ยนไปมั้ย หลังโควิด ?

อย่างที่หลายคนทราบอยู่แล้วว่าผมเชื่อว่า COVID-19 เป็นปัญหาชั่วคราว  หลังจากโรคระบาดจบเศรษฐกิจก็จะกลับสู่สภาวะปกติและตลาดหุ้นก็จะฟื้นกลับขึ้นมาตาม  แต่ทีนี้บางธุรกิจอาจจะไม่เหมือนเดิม  วันนี้ผมพูดถึงธุรกิจบางประเภทที่ผมกำลังสงสัยว่ามันจะเปลี่ยนไปแบบถาวะหรือเปล่าครับ

  1. เทรนด์ Work from home อาจจะอยู่ยาว
    1. Business travel อาจจะหายไป
    2. บริษัทที่ขายอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
    3. อสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ชานเมืองก็อาจจะได้รับความนิยมขึ้นมา
    4. Office REIT
  2. Online service ต่างๆอาจจะได้รับความนิยมมากขึ้น
    1. Online education
    2. Online shopping – retail apocalypse
    3. Mobile payment

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

ตลาดหุ้นจีนดูจะน่าสนใจนะ !

Chinese stocks look interesting now

ตลาดหุ้นจีนดูจะน่าสนใจนะ !

ผมโดยส่วนตัวที่ผ่านมาจะไม่ค่อยชอบหุ้นจีนเพราะรู้สึกว่าหาข้อมูลยากอ่านไมออก  แต่หลังๆเริ่มรู้สึกว่าอาจจะสมควรมาสนใจหุ้นจีนละครับ

  1. ประเทศจีนเศรษฐกิจเติบโตดีกว่า
  2. โดยรวมแล้วเศรษฐกิจเติบโตดีเป็น background ก็ทำให้บริษัทผลประกอบการดีไปด้วย  ถึงแม้ว่าช่วงหลังๆเราได้ยินว่าเศรษฐกิจจีนโตช้าลง  แต่ถ้าไปดูจริงๆก็ยังโตเยอะอยู่นะ  ปี 2019 ก็ยังเห็นว่าโต 6.1%

  3. ผลประกอบการบริษัทจีนทำได้ดีขึ้น
  4. ผมไปอ่านเจอในบทความของ Blackrock  เค้าทำการรวบรวมบริษัททั่วโลกแล้วจัดอันดับตามความสามารถในการทำกำไร (วัดด้วย ROIC – WACC) ผลปรากฎว่าในกลุ่ม 25% ที่คะแนนสูงที่สุดจากทั้งหมดมีที่เป็นบริษัทในจีนเยอะขึ้นกว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้วเยอะมาก

    ซึ่งก็สอดคล้องกับภาพที่เราเห็นว่าประเทศจีนมีการพัฒนาเรื่องเทคโนโลยีขึ้นมาเยอะมาก  ไม่ได้เป็นประเทศที่เป็นแค่ฐานการผลิตค่าแรงถูกอีกต่อไป  ปัจจุบันบริษัทที่ทำโดรนอันดับหนึ่งของโลกก็อยู่ในจีน

  5. ตลาดหุ้นโดยรวมราคาถูก
  6. ถ้าดู P/E ของตลาดโดยรวม  

    • SET อยู่ 18.35 เท่า
    • S&P 500 อยู่ 20.53 เท่า
    • Shanghai Stock Exchange อยู่ 12.91 เท่า
    • Hang Seng Index อยู่ 9.54 เท่า
  7. เหตุการณ์โดยรวม
    • โดนโรคระบาดก่อนเพื่อน  น่าจะจบและฟื้นตัวเร็วกว่า
    • เพิ่งมีเรื่องกฎหมายในฮ่องกงอาจจะมีความวุ่นวายเพิ่มขึ้น

ดังนั้นด้วยเหตุผลทั้งหลายเหล่านี้ผมว่าถ้าเราอ่านภาษาจีนได้ก็สมควรอย่างยิ่งที่เราจะต้องเริ่มศึกษาหุ้นจีน  และต่อให้อ่านจีนไม่ได้ผมว่าก็ยังสมควรที่จะพยายามครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

วิธีดูว่าบริษัท … จะรอดจากโควิด (หรือวิกฤติอื่นๆ) มั้ย ?

Will your investment ... survives COVID (or other catastrophic event) ?

วิธีดูว่าบริษัท … จะรอดจากโควิด (หรือวิกฤติอื่นๆ) มั้ย ?

เร็วๆนี้มีนักเรียนคนหนึ่งถามว่าบริษัทที่เค้าถืออยู่จะรอดจาก COVID-19 มั้ยเพราะเห็นผลประกอบการไตรมาส 1 ออกมาขาดทุนเยอะเหลือเกิน

ในความเป็นจริงก็คงไม่มีใครตอบได้อย่างชัดเจน  เพราะตอนนี้เราก็ไม่รู้ว่าที่เริ่มผ่อนคลายมาตรการ lockdown แล้วจะกลับมาระบาดรุนแรงมั้ย  หรือต่อให้คุมการระบาดได้ผู้บริโภคจะมีการจับจ่ายใช้สอยเป็นปกติแค่ไหน  จะมีผลกระทบต่อบริษัทที่เราสนใจอยู่ขนาดไหน

สิ่งที่ผมเสนอคือไปดูว่าบริษัทที่เราสนใจมันน่าจะรอดได้นานแค่ไหนโดย

  1. กะคร่าวๆว่าน่าจะค้าขายมีกำไรอยู่มั้ย  ถ้าไม่กำไรจะขาดทุนขนาดไหน  ต้องเสียเงินสดเพิ่มเยอะขนาดไหน
  2. ดูว่ามีหนี้สินอะไรต้องจ่ายใน 1 ปีนี้บ้าง  มี commitment อะไรมั้ย
  3. น่าจะสามารถมีเงินสดเท่าไหร่
  4. เทียบดูว่าทนได้กี่ปี

ขั้นตอนที่ 1

เปิดงบการเงินทั้งปีของปี 2019 ซึ่งเป็นปีปกติดูก่อนว่ามันเป็นยังไง  ถ้าเป็นไปได้เปิดดูหมายเหตุประกอบงบการเงินส่วนที่มีการแจกแจงค่าใช้จ่ายตามลักษณะ

พิจารณาว่าบริษัทน่าจะยอดขายลดลงไปขนาดไหน  ถ้าเป็นไปได้ดูหรือหาข้อมูลจากรายงานไตรมาส 1 ที่ของบางบริษัทจะออกมาแล้วว่ารายได้หดไปขนาดไหน  คำนึงด้วยว่าส่วนใหญ่ผลกระทบของไตรมาส 1 มันจะเริ่มตอนเดือนมีนาคมที่เริ่มมีการห้ามขายของกับห้ามเดินทาง  ถ้าไม่มีรายละเอียดก็คงต้องกะสุ่มเอา

เอารายได้ที่ลดลงเป็น % นั้นไปทาบกับผลประกอบการปีที่แล้ว  และพยายามเดาว่าค่าใช้จ่ายตรงส่วนไหนที่น่าจะเท่าเดิมและส่วนไหนที่น่าจะลดลงได้ตามรายได้  สุดท้ายดูว่าน่าจะอาการเป็นไง

บวกกลับพวกค่าเสื่อมหรือค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เงินสดกลับเข้าไป

เลขนี้ก็จะให้ไอเดียเราว่าบริษัทอาจจะมีความจำเป็นต้องใช้เงินสดเพิ่มอีกเท่าไหร่

ขั้นตอนที่ 2

เปิดงบการเงินล่าสุดที่มี  อย่างตอนนี้บางบริษัทจะเป็นไตรมาส 1 ออกแล้ว  เอาหนี้สินหมุนเวียนก่อนเราจะได้รู้ว่ามีหนี้สินที่ต้องจ่ายใน 1 ปีเท่าไหร่  แล้วถ้าเป็นไปได้ไปดูตัวหนี้สินระยะยาวพวกเงินกู้ดูว่ามีที่จะต้องชำระในปีถัดไปอีกมั้ย

นอกเหนือจากนั้นถ้าให้ดีก็ไปดูเรื่องแผนการลงทุนหรือ CAPEX อะไรมั้ย

ขั้นตอนที่ 3

เงินสด + ลูกหนี้การค้า + การระดมทุนอื่นๆ

ขั้นตอนที่ 4

เทียบดูว่าน่าจะรอดอยู่ได้นานขนาดไหน

 

ประมาณนี้แหละครับที่เราทำได้  แน่นอนว่ามันก็เป็นการกะคร่าวๆแหละครับ  แต่ดีกว่านั่งเดาเฉยๆแน่นอนครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

ตัวบ่งชี้เศรษฐกิจ (Economic Indicator) ที่เราควรรู้ หลักๆคืออะไร หาได้จากไหน ?

Which Economic Indicators should you know and where to find them.

ตัวบ่งชี้เศรษฐกิจ (Economic Indicator) ที่เราควรรู้ หลักๆคืออะไร หาได้จากไหน ?

มีนักเรียนอยากให้เราพูดถึง “การมองจังหวะเข้าซื้อ กรณี Top Down Approach ว่าควรมองยังไง สังเกตอะไรเป็นสัญญาณ/ตัวชี้วัด หรือดูค่ากราฟของเศรษฐกิจยังไง”

คุยกันให้ชัดเจนก่อนเลยคือเวลาที่ผมลงทุนเงินของตัวเอง  ผมไม่ได้ใช้ Top Down approach และก็ไม่ได้ใช้สัญญาณหรือตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจอะไรในการตัดสินใจก็เลยไม่ได้มีสอนเรื่องนี้บน Online Course  แต่เนื่องจากเคยเรียนเศรษฐศาสตร์มาและในเมื่อนักเรียนอยากให้พูดถึงผมก็จะอธิบายเท่าที่รู้ให้ฟังในวีดิโอนี้  แต่ผมอธิบายได้แค่ว่า Economic indicator แต่ละอย่างคืออะไรและบอกอะไรกับเราได้เท่านั้น  จะเอามันไปใช้มองจังหวะเข้าซื้อยังไงคุณคงต้องไปคิดเองละผมช่วยไม่ได้เพราะตัวผมไม่ได้ใช้

  1. GDP Growth
  2. อันแรกที่คนพูดถึงบ่อยสุดก็คือเลขการเติบโตของ GDP (Gross domestic product) หรือผลผลิตมวลรวมของประเทศ

    อันนี้ก็ตรงไปตรงมา  ถ้าตัวเลขนี้เป็นตัวเลขติดลบก็คือเศรษฐกิจโดยรวมหดตัว  หรือถ้าเลขนี้เป็นบวกนะแต่น้อยลงเรื่อยๆในช่วงปีที่ผ่านๆมาก็มักเป็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจโตใกล้ถึงจุดสูงสุดแล้ว

    จุดบอดอย่างหนึ่งของตัวเลขนี้คือมันต้องเก็บข้อมูลเยอะมันก็จะอัพเดท real-time ไม่ได้  ดังนั้นเลขส่วนใหญ่ที่รู้ชัดเจนก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว  ถ้าจะเอาไว้ดูอนาคตมันก็จะไม่มี  มีแต่เลขคาดการณ์  ซึ่งไปดูได้ของ Bank of Thailand กับของ IMF

    https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/MonetPolicyComittee/MPR/Pages/default.aspx

    https://www.imf.org/external/datamapper/NGDP_RPCH@WEO/OEMDC/ADVEC/WEOWORLD

     

  3. อัตราการว่างงาน
  4. โดยปกติเลขนี้สูงขึ้นก็คือคนว่างงานเยอะขึ้น  มันก็เป็นสัญญาณว่าไม่ดีแหละ

    แต่สำหรับประเทศไทยเลขนี้ผมรู้สึกว่าไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่เพราะประเทศไทยเราอัตราการว่างงานต่ำมาก  เข้าใจว่าเป็นเพราะประเทศไทยเรามี informal sector ใหญ่  แต่สมมติใครอยากดูตัวเลขนี้ก็ไปดูได้ที่เวปธนาคารแห่งประเทศไทยอีกเช่นกัน

    https://www.bot.or.th/Thai/Segmentation/Business/Pages/UnemploymentRate.aspx

     

  5. เงินเฟ้อ
  6. สูงไปไม่ดี  ต่ำไปก็ไม่ดี  ต้องมีแบบอ่อนๆกำลังดี

    https://www.bot.or.th/App/BTWS_STAT/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=409&language=TH

     

  7. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค
  8. อันนี้มันเป็นตัวเลขจากการสุ่มสอบถามความคิดเห็นคนว่าคิดว่าจะจับจ่ายซื้อของเพิ่มขึ้นหรือเท่าเดิมหรือว่าลดลง  เค้ารวมเอาคำตอบมาทำเป็น index  ถ้าตัวเลขเกิน 50 ก็คือคนตอบว่าเพิ่มขึ้นมีเยอะกว่า  ก็แปลว่าคนเชื่อมั่นและน่าจะมีการบริโภคมากขึ้น  เลข 50 พอดีคือเท่าเดิม  ส่วนเลขต่ำกว่า 50 คือคนตอบว่าน้อยลงมีเยอะกว่า

    ผมเห็นมีตัวเลขนี้อยู่ที่เวปของกระทรวงพาณิชย์

    http://www.indexpr.moc.go.th/PRICE_PRESENT/cbi/cbi_index.asp?list_year=2563&type_index=cci&lu=t

     

  9. ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ
  10. คล้ายๆกับของผู้บริโภคแต่เปลี่ยนเป็นถามผู้ประกอบการแทน

    หาได้บนเวปของธนาคารแห่งประเทศไทย  “ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ”

    https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/EconomicIndices/Pages/default.aspx

     

  11. ตัวเลขการซื้อสินค้าทุน, ยอดขายเครื่องจักรและตัวเลขที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน
  12. พวกนี้ก็เป็นตัววัดความต้องการของคนในตลาดแบบหนึ่ง  ถ้าผู้บริโภคซื้อของ  ผู้ผลิตก็จะซื้อของและมีผลิตซึ่งสะท้อนในตัวเลขเหล่านี้

    หาได้บนเวปของธนาคารแห่งประเทศไทยเช่นกัน  “ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนและองค์ประกอบที่ปรับฤดูกาล”

    https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/EconomicIndices/Pages/default.aspx

 

และจะเห็นว่ามีข้อมูลอื่นๆอีกมาก  ก็ขอให้ไปดูเองละกันครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

เวลาเฉลี่ย เราต้องตัดปีผิดปกติออกหรือเปล่า ?

When doing averages, what kind of incident should we exclude ?

เวลาเฉลี่ย เราต้องตัดปีผิดปกติออกหรือเปล่า ?

อันนี้เป็นคำถามต่อเนื่องจากหัวข้อ valuation  คือมีคนถามว่าเวลาทำการเฉลี่ยตัวเลขเช่นแบบ ROE เฉลี่ยของหลายปีหรือ Net Profit Margin เฉลี่ยหลายปีเนี่ย  สมมติว่ามันมีบางปีที่ตัวเลขต่างจากปีอื่นเยอะเราควรที่จะตัดมันออกไปจากการคำนวณมั้ย

ถ้าเป็นความเห็นผมโดยคอนเซปต์ก่อน  เนื่องจากวัตถุประสงค์ของเราคือคำนวณตัวเลขเฉลี่ยเพื่อคาดการณ์อนาคต  โจทย์ของเราคือต้องการจะรู้ว่าถ้าบริษัททำธุรกิจปกติไม่ได้มีเหตุการณ์แปลกๆเกิดขึ้นผลประกอบการน่าจะเป็นเท่าไหร่  ดังนั้นเราก็ควรที่จะต้องตัดปีที่ผิดปกติออก

ทีนี้ปัญหาคือแล้วยังไงมันถึงเรียกว่าผิดปกติ  โดยส่วนตัวก็คือผมจะเข้าไปดูในรายละเอียดของปีนั้นๆว่ามีรายการอะไรผิดปกติบนงบการเงินหรือเปล่า  หรือพยายามหารายละเอียดว่าในปีนั้นๆมีเหตุการณ์อะไรพิเศษที่สมควรถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นอีกมั้ย  อย่างถ้าสมมติอ่านเจอว่าผลประกอบการเลวร้ายเพราะโรคระบาดแล้วรัฐบาลสั่งให้หยุดขายงี้  ปีนั้นก็ควรจะตัดไปเพราะเราไม่คิดว่ามันสะท้อนผลประกอบการปกติของบริษัทและไม่มีประโยชน์ในการประมาณอนาคต  แต่สมมติอ่านเจอว่าปีนั้นผลประกอบการไม่ดีเพราะราคาขายของสินค้าของบริษัทตกต่ำเพราะมีคู่แข่งขายตัดราคา  อย่างนี้ไม่เกี่ยวละเพราะมันก็อาจจะเกิดขึ้นได้อีกเป็นปกติของธุรกิจ  ดังนั้นผลประกอบการปีนี้ก็ควรจะรวมอยู่ในการทำการเฉลี่ย

คือสุดท้ายมันก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนทำแหละ  และผมก็เข้าใจที่บางคนไม่ happy เพราะอยากได้กติกาที่มันตายตัว  แต่มันช่วยไม่ได้จริงๆครับมันก็ต้องทำแบบนี้แหละ  การที่จะไปอยู่ๆตัดปีเยอะสุดน้อยสุดแล้วเฉลี่ยที่เหลือหรือวิธีอะไรแบบนั้นผมก็ว่าไม่เวิร์คนะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

หุ้นในตลาดมีอุตสาหกรรมไหนบ้าง? มีหุ้นอะไรบ้าง? ดูยังไง?

How to Find Stocks by Industries?

หุ้นในตลาดมีอุตสาหกรรมไหนบ้าง? มีหุ้นอะไรบ้าง? ดูยังไง?

อยากกระจายตามรายกลุ่มสัก 8 กลุ่มๆละหุ้น มีกลุ่มใหนบ้างครับ ?

อันนี้มีคนถามเข้ามาครับ  เห็นบอกว่าเพิ่มเริ่มต้นลงทุน

มีหุ้นกลุ่มไหนบ้าง ?  เวปตลาดหลักทรัพย์มีแบ่งกลุ่มให้อยู่แล้วเลยครับ

ทีนี้จะลงทุน 8 กลุ่มเลือกจากในทั้งหมดนั้นเพื่อการกระจายความเสี่ยง  ถ้าเอาแบบตามหลักการเลยมันก็ต้องเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่เกี่ยวกันเลยมันถึงจะกระจายความเสี่ยงได้ดีสุด

แต่ผมก็ยังสงสัยว่ามันจะ practical ขนาดไหน  ถ้าจะเอาอุตสาหกรรมที่ต่างกันมากๆ 8 กลุ่มมันก็จะไปมีปัญหาตรงที่จริงๆแล้วเราอาจจะไม่ได้มีความคุ้นเคยหรือเข้าใจมันทุกกลุ่ม  ดังนั้นในความเห็นส่วนตัวผมก็คิดว่าเอาแบบหุ้น 8 ธุรกิจที่ต่างกันในระดับหนึ่งก็น่าจะโอเคละมั้งครับ  เน้นลงทุนในธุรกิจที่เราเข้าใจมันดีกว่า

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

เราจะมีวิธีเดา Free Cash Flow ในอนาคตยังไงได้บ้าง?

Forecasting Free Cash Flow

เราจะมีวิธีเดา Free Cash Flow ในอนาคตยังไงได้บ้าง?

มีคนถามว่าเราจะทำการประมาณตัวเลข Free cash flow ไปในอนาคตได้ยังไง

เอาจริงๆเลยคือมันก็ต้องเดาแหละ  และคนที่จะเดาได้ดีสุดก็คือคนที่เข้าใจตัวบริษัทและมีความใกล้ชิดกับธุรกิจที่บริษัททำ

หลักๆมันก็มี 2 วิธี

  1. เดา growth rate ตรงๆ
  2. วิธีนี้ก็คือเดา growth rate แล้วก็ใช้กับ Free cash flow ปีล่าสุดที่ทำการปรับแล้วตรงๆเลย  ตัว growth rate ก็อาจจะเดามาจากการเติบโตในอดีตหรือไม่ก็คาดการณ์คร่าวๆของอนาคต

    วิธีการนี้มันก็จะเหมาะในกรณีที่เราคาดว่าความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานต่างๆของบริษัทกับ Free cash flow จะไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลงรุนแรง

    Growth rate ที่เดานี่ก็จะเป็นแบบโตอัตราเท่าเดิมไปเรื่อยๆหรือเป็น 2-stage, 3-stage ก็แล้วแต่เราพิจารณาความเหมาะสมเลย

  3. เดาองค์ประกอบย่อยแต่ละอย่างแยกกัน
  4. จะใช้วิธีการนี้ก็ต่อเมื่อเราเชื่อว่าอัตราส่วนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานของบริษัทกับ Free cash flow มันจะมีการเปลี่ยนแปลง  วิธีการนี้เราก็กำหนดสมมติฐานเอาเองเลย

    ปกติเค้าก็จะประมาณตัวเลขโดยอ้างอิงกับตัวยอดขายเป็นหลัก  สิ่งที่ต้องกะก็จะมี

    • การเติบโตของยอดขาย
    • operating profit margin ไว้ประมาณตัว EBIT  
    • ความสัมพันธ์ระหว่างยอดขายที่เพิ่มขึ้นกับ Capital expenditure ที่ต้องลงทุนเพิ่ม (capital expenditure – depreciation)
    • ความสัมพันธ์ระหว่างยอดขายที่เพิ่มขึ้นกับ Net working capital ที่เพิ่มขึ้น
    • กรณีที่จะหา FCFE ก็ต้องมีสัดส่วนการใช้เงินกู้

    ส่วนใหญ่แล้วการเดาพวกนี้ก็เอามาจากสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตนั่นแหละ  แล้วก็เพิ่มเติมมุมมองของเราเกี่ยวกับอนาคตเข้าไป

เพื่อให้เห็นภาพ  ผมลองทำตารางยกตัวอย่างการประมาณ FCFF ให้ดูกับบริษัทสมมติโดยมีสมมติฐานดังต่อไปนี้

  1. ยอดขายโตปีละ 10%
  2. Operating profit margin ค่อยๆลดลงจากปัจจุบันปีละ 15% ลงไปเรื่อยจนถึง 13%
  3. ภาษี 20%
  4. ไม่มี non-cash charge อื่นนอกจากค่าเสื่อม
  5. Capital expenditure ที่เพิ่มขึ้นเป็น 40% ของยอดขายที่เพิ่มขึ้น
  6. Net working capital ที่เพิ่มขึ้นเป็น 10% ของยอดขายที่เพิ่มขึ้น

 

Year 0 1 2 3 4
Sales 100 110 121 133.1 146.41
EBIT margin 15% 14.50% 14% 13.50% 13%
EBIT 15.95 16.94 17.9685 19.0333
EBIT(1-tax) 12.76 13.552 14.3748 15.22664
Increase in sales 10 11 12.1 13.31
Incremental CAPEX 4 4.4 4.84 5.324
Incremental NWC 1 1.1 1.21 1.331
FCFF 7.76 8.052 8.3248 8.57164

 

ถ้าเป็น FCFE ก็จะคล้ายๆกันแต่เปลี่ยนตรงที่เริ่มจาก Net income ดังนั้นก็เอา net profit margin มาใช้แทน  และตอนสุดท้ายมีสมมติฐานเรื่องการกู้ยืมเงินซึ่งปกติก็คืออ้างอิงเป็นสัดส่วนของเงินลงทุนที่ต้องใช้ (Incremental CAPEX + Incremental NWC)

จะสังเกตว่าไม่ว่าวิธีไหนก็ต้องอาศ้ยการเดาเยอะมาก  แบบแรกก็คือเดาแบบเหมาภาพรวมส่วนแบบที่สองคือเดาตัวแปรต่างๆของบริษัท  ส่วนตัวผมมีคำแนะนำเพิ่มเติมคือ

  1. เลือกที่จะเดากับเฉพาะบริษัทที่มีอำนาจในการบังคับผู้บริโภค
  2. ทำความเข้าใจภาพรวมอุตสาหกรรม  และจุดเด่นของบริษัท
  3. เดาไว้ทั้งแบบกรณีกลางๆกับแย่

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

REIT Dividend Yield สูง ผลตอบแทนจริงอาจไม่ใช่ ดูด้วยว่าเป็น Leasehold หรือ Freehold

Dividend for leasehold and freehold REIT are not created equal

REIT Dividend Yield สูง ผลตอบแทนจริงอาจไม่ใช่ ดูด้วยว่าเป็น Leasehold หรือ Freehold

เร็วๆนี้มีลูกศิษย์ผมคนนึงเค้าเล่าให้ฟังว่ามีไปซื้อ REIT อันนึงที่คาดหวัง dividend yield 10%  พอดีผมจำได้ว่า REIT อันนั้นมันเป็น leasehold และน่าจะมีสิทธิ์ได้รับรายได้อีกประมาณ 13 ปีเลยต้องรีบบอกเค้าว่า REIT นี้อาจจะไม่ได้คาดหวังผลตอบแทน 10% อย่างที่เค้าคิดครับ

Leasehold กับ freehold มันมีความแตกต่างกันตรงที่ leasehold เป็นเจ้าของสิทธิการเช่า  ซึ่งมันมีวันสิ้นสุดตามสัญญาดังนั้นแปลว่าถ้าเราถือ REIT leasehold ไปจนสิ้นสุดสัญญาตัวมูลค่าสุดท้ายมันจะเป็น 0  แต่ freehold คือเป็นเจ้าของตัวทรัพย์สินเลย  แปลว่าก็จะมีสิทธิ์รับรายได้ไปตลอดจนกว่าทรัพย์สินนั้นเสื่อมซึ่งโดยปกติอายุนานกว่า leasehold มาก  ดังนั้นถึงแม้ว่าจะถือ REIT freehold ไปหลายปีแต่ถ้าทรัพย์สินยังสภาพดีอยู่มูลค่าของมันก็จะไม่เป็น 0

ดังนั้นเวลาคำนวณผลตอบแทนของ REIT leasehold ก็ต้องคิดเผื่อว่าเราได้ผลตอบแทนจากปันผลจริงแต่ตัวราคาของ REIT ก็จะลดลงเรื่อยๆด้วยเมื่อใกล้หมดสัญญา

เราจะแสดงวิธีคิด real yield ให้ดูครับ

Case 1: เราทำให้ดูกรณีที่ไม่มี growth ก่อน

Case 2: เราสมมติว่ามี growth

สิ่งที่อยากให้สังเกตคือ dividend yield ของ leasehold ไม่ใช่ real yield  และ leasehold เสียเปรียบ freehold เสมอถ้าปันผลเท่ากันเติบโตเท่ากัน

สรุปสุดท้ายคือผมไม่ได้จะบอกว่าต้องลงทุน freehold เท่านั้นหรืออะไรนะ  เพราะปกติแล้ว dividend yield ของ freehold ก็จะต่ำกว่า leasehold สะท้อนความได้เปรียบตรงนี้อยู่แล้ว  วีดิโอนี้คือต้องการให้เห็นภาพว่าผลตอบแทนของ REIT สองแบบนี้ไม่เหมือนกันและมีวิธีการคำนวณยังไงเท่านั้นเอง

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses