ลงทุนระยะยาว ยิ่งถือยาว ยิ่งดีหรือเปล่า ?

Holding period is forever ?

ลงทุนระยะยาว ยิ่งถือยาว ยิ่งดีหรือเปล่า ?

เร็วๆนี้มีคนถามว่าเราควรจะถือหุ้นยาวไปตลอดแบบไม่ขายเลยมั้ย  เพราะเค้าเคยได้ยินว่า Warren Buffett บอกว่า “our favorite holding period is forever”

คำตอบของผมคือจะทำแบบนั้นก็ได้  แต่จริงๆแล้วไม่ได้จำเป็น

เอาเรื่อง Warren Buffett ก่อน  เพราะแต่ก่อนผมก็เคยงงจากคำพูดอันนี้ของเค้าเหมือนกัน

  1. จริงๆแล้ว Warren Buffett มีการขายหุ้น
  2. Warren Buffett เคยออกมาอธิบายแล้วว่าบริษัท Berkshire Hathaway ไม่ได้บอกว่าจะต้องถือหุ้นตลอดไป  เค้าแค่บอกว่าไม่มีความคิดที่จะขายบริษัทที่ทำได้ดีและลังเลมากที่จะขายบริษัทที่ทำได้ไม่ดีเท่าไหร่ตราบใดที่เค้าคาดว่ามันจะอย่างน้อยสามารถที่จะสร้างกระแสเงินสดได้อยู่

  3. คน US มี Capital Gain tax  แต่คนไทยไม่มี
  4. สาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ Warren Buffett ไม่นิยมขายหุ้นผมคิดว่าเป็นเพราะมันโดนภาษี  ซึ่งสูงถึง 15-20%  ดังนั้นถ้าไม่ใช่ว่าดูแล้วขายออกมาเอาไปลงทุนในอย่างอื่นคุ้มกว่ากันมากจริงๆ  มันก็ไม่คุ้มที่จะขายออกมาตราบใดที่บริษัทยังทำได้พอใช้ได้

    แต่ประเทศไทยไม่มี Capital Gain tax  ดังนั้นมันก็จะคุ้มถ้าขายออกมาแล้วสามารถเอาเงินไปลงทุนในอย่างอื่นที่ผลตอบแทนดีกว่า  ดีกว่าแค่นิดเดียวก็ดีกว่าละเพราะตอนขายเราไม่เสียอะไร

 

ดังนั้นในมุมมองผมการจะถือยาวๆไปเลยมันก็เป็นเรื่องดี  ถ้า

  1. บริษัทยังทำได้ดีอยู่  เราก็ไม่รู้จะขายออกมาทำไมให้พลาดโอกาส
  2. เราขี้เกียจหาโอกาสอื่น

 

แต่ก็อย่างที่บอกว่าไม่ได้จำเป็นต้องถือยาวไปตลอดถ้า

  1. บริษัทดูมีแววจะทำได้เลวร้ายลง
  2. เห็นโอกาสอื่นที่คิดว่าน่าจะให้ผลตอบแทนดีกว่าถือต่อพอสมควร

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

Adjusted Net Profit คืออะไร? ต่างยังไงกับ Net Profit ปกติ?

What is "Adjusted Net Profit"? And how does it differ from normal "Net Profit"?

Adjusted Net Profit คืออะไร? ต่างยังไงกับ Net Profit ปกติ?

ล่าสุดมีนักเรียนถามเข้ามาว่า Adjusted Net Profit นี่มันคืออะไร

บางบริษัทจะมีรายงานตัวเลข Adjusted แบบนี้เพราะผู้บริหารมองว่าตัวเลขที่รายงานตามมาตรฐานบัญชีอาจจะไม่สะท้อนผลประกอบการจริงของบริษัท  ดังนั้นตัวเลข Adjusted นี่มันก็ไม่ได้มีกฎตายตัวว่าจะต้องปรับยังไงบ้างและแต่ละบริษัทก็ไม่เหมือนกัน  กฎในการรายงานก็คือแค่ว่าต้องมีคำอธิบายว่าตัวเลข Adjusted นี้มาได้ยังไงเท่านั้นเอง

ข้อดีมันก็มีอยู่  คือบางทีบริษัทก็มีรายการในงบการเงินบางอันที่น่าจะเกิดครั้งเดียวจริงๆ  และดังนั้นตัวเลข Adjusted ที่ตัดพวกนั้นออกมันก็ช่วยให้นักลงทุนเปรียบเทียบผลประกอบการได้ง่ายขึ้น

แต่ข้อเสียคือถ้าเราประมาทก็อาจจะโดนหลอกให้รู้สึกว่าบริษัทดีเกินจริงได้  บางบริษัทก็อาจจะพยายามเสนอตัว Adjusted เพราะมันดูดีกว่า

หลักๆคือต้องตามดูว่ามัน Adjusted มายังไงบ้าง  แล้วเราก็ตัดสินใจเอาว่าสมควรดูเลขไหน

บางบริษัทก็ไม่ได้ใช้คำว่า Adjusted แต่มันก็เหมือนกัน  อย่างบริษัทในอังกฤษนิยมใช้คำว่า Underlying

เวลาบริษัทรายงาน EPS หรือจ่ายปันผลก็จะคำนวณมาจากตัวปกติตามมาตรฐานบัญชี  ไม่ใช่ตัวเลข Adjusted

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น เพิ่มมาจากไหน จะรู้ได้ยังไง?

Where to find information when your stock has increased number of outstanding shares?

จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น เพิ่มมาจากไหน จะรู้ได้ยังไง?

มีคนถามเกี่ยวกับจำนวนหุ้นว่าเราจะไปดูได้ที่ไหนว่าจำนวนหุ้นมันเพิ่มขึ้นมาจากอะไร

ก่อนอื่นอธิบายนิดนึงก่อนว่าทำไมเรื่องนี้เราถึงควรต้องรู้  คือจำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นบางกรณีมันทำให้เกิดการเจือจางความเป็นเจ้าของของหุ้นที่เราถืออยู่ (dilution effect) ซึ่งไม่เป็นผลดีกับเราครับ

นึกภาพง่ายๆคือสมมติตอนแรกบริษัท A มีเจ้าของ 2 คนคือผมกับคุณถือหุ้นอยู่คนละ 1 หุ้น  บริษัทกำไรปีละ 200 บาท  ผมกับคุณก็หารกันได้กำไรคนละ 100 บาทใช่มั้ย  ทีนี้สมมติว่าเรามีการเพิ่มทุนเอาหุ้นส่วนเข้ามาเพิ่มอีกคน  บริษัทเติบโตเป็นกำไรปีละ 270 บาทเลย  แต่ตอนนี้เราหารกันสามคนก็เหลือกำไรแค่คนละ 90 บาท  จะเห็นว่าเราสองคนแย่ลงกว่าเดิม  การที่มันมีคนเข้ามาหารเพิ่มเนี่ยคือ dilution effect  คุณกับผมก็ถือคนละหุ้นเท่าเดิมนะ  แต่ 1 หุ้นจากเดิมที่มันเป็นความเป็นเจ้าของ 50% ตอนนี้เหลือเท่ากับความเป็นเจ้าของแค่ 33.33% ละ  ดังนั้นก็เลยเป็นที่มาว่าทำไมเวลาเราเห็นจำนวนหุ้นมันเพิ่มขึ้นเยอะๆเราก็เลยควรจะอยากรู้ว่ามันเพิ่มมาจากไหนครับ

วิธีดูคือไปเปิดรายงานประจำปีหรือ 56-1 ก็ได้แล้วดูที่ “งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น”  มันจะอยู่รวมๆกันแถวงบการเงิน

โดยไอเดียคือมันจะมีการเจือจางเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีคนเข้ามาร่วมถือหุ้นเพิ่ม  ถ้าจำนวนหุ้นเพิ่มแบบไม่ได้มีคนมาแจมเพิ่มก็ไม่มีผล  เช่นถ้าเป็นเพราะแตกพาร์หรือปันผลเป็นหุ้นอันนี้ไม่มีผลอะไร  เพราะถึงจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นแต่สัดส่วนความเป็นเจ้าของที่เราถือรวมทั้งหมดก็เท่าเดิม  แต่ถ้าเขียนแบบเพิ่มหุ้นสามัญแบบนี้มีผลละ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

สัดส่วนหุ้น / ตราสารหนี้ ควรเป็นเท่าไหร่ ?

How to Split Your Investment Between Stocks and Bonds?

สัดส่วนหุ้น / ตราสารหนี้ ควรเป็นเท่าไหร่ ?

หัวข้อนี้จริงๆแล้วตอบยากเพราะสถานการณ์และเป้าหมายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

แต่สมมติเราพูดถึงคนปกติที่ไม่มี preference อะไรเป็นพิเศษแล้วก็กำลังพูดถึง asset allocation สำหรับพอร์ตที่จะลงทุนไปยาวๆเพื่อการเกษียณ  ผมเคยอ่านไอเดีย “120-อายุ” และคิดว่าอันนี้ดูเข้าท่าสุดครับ

วิธีการคือจัดพอร์ตโดยมีทรัพย์สินลงทุนแค่ 2 ประเภทคือกลุ่มหุ้นกับกลุ่มตราสารหนี้  120-อายุนี่คือได้เลขเท่าไหร่ก็เลขนั้นคือ % ของกลุ่มทรัพย์สินที่เป็นหุ้นครับ

สมมติอายุ 30 ก็คือจัดพอร์ตเป็นกลุ่มหุ้น 90% กับตราสารหนี้ 10%

พออายุเยอะขึ้นเป็น 60 ก็จัดพอร์ตเป็นกลุ่มหุ้น 60% กับกลุ่มตราสารหนี้ 40%

ข้อดีของวิธีการนี้คือผมว่ามันง่ายดีดังนั้นคนก็จะทำตามได้ง่ายกว่า  กับมันก็ค่อยๆหุ้นน้อยลงกับตราสารหนี้เยอะขึ้นเมื่อเราใกล้เกษียณมากขึ้นสอดคล้องกับที่มันควรจะเป็นพอดี

มันจะมีอีกแบบนึงสำหรับคนที่ชอบเสี่ยงน้อยมากหน่อยคือ “100-อายุ”  แต่ส่วนตัวผมว่ามัน conservative ไปในยุคที่ผลตอบแทนตราสารหนี้กับอัตราดอกเบี้ยต่ำ  ถ้าใช้ “100-อายุ” คนอายุ 20 ปีก็คือลงทุนหุ้น 80% ตราสารหนี้ 20% ซึ่งส่วนตัวผมว่ามันไม่น่าจะเหมาะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

หุ้นแบบนี้ก็มีด้วย ? | รวมหุ้นแปลก

หุ้นแบบนี้ก็มีด้วย ? | รวมหุ้นแปลก

มีคนอยากให้เราทำวีดิโอเรื่องหุ้นแปลกๆที่คิดไม่ถึง ก็เป็น request ที่แปลกดีนะ วันนี้ผมเลยมาทำวีดิโอพูดถึงหุ้นที่ตอนผมอ่านเจอครั้งแรกผมรู้สึกแปลกใจว่า “ธุรกิจแบบนี้ก็มีเป็นหุ้นด้วยเหรอวะ” ละกันนะครับ

Geo Group กับ CoreCivic

สองอันนี้เป็นบริษัทที่ทำคุกครับ เป็นบริษัทในอเมริกา คือรับงานรัฐบาลเลยทั้งระดับรัฐและระดับรัฐบาลกลาง สร้างคุกขึ้นมาแล้วก็ทำการจัดการนักโทษ รายได้คิดแบบต่อหัวต่อคืนเลยครับ

ผมแปลกใจเพราะไม่นึกว่ามีคุกที่ไหนที่ทำโดยเอกชนด้วย นึกว่าของแบบนี้มีแต่รัฐบาล

Huangshan Tourism Development และอื่นๆที่คล้ายกัน

บริษัทนี้ดูแลอุทยานแห่งชาติภูเขาหวงซานครับ คือทำการดูแลพื้นที่อุทยานทั้งหมด, ขายตั๋ว, รถเคเบิ้ล, ขายแพ็กเกจทัวร์ และมีทำโรงแรมบางโรงในพื้นที่แถวนั้นด้วย

ที่ผมแปลกใจคือมันไม่ใช่แค่แบบทำตัวรถเคเบิ้ลหรือเรื่องการขนส่งอย่างเดียวเพราะแบบนั้นเคยเห็นที่อื่นในญี่ปุ่นหรือเยอรมณีก็มี แต่บริษัทนี้คือดู facility ทุกอย่างเลย เหมือนบอกหุ้นภูกระดึงอย่างเงี้ยเพิ่งเคยเจอ

ในจีนมีอุทยานที่อื่นอีกนะที่มีหุ้น เขาง้อไบ๊ก็รู้สึกจะมีหุ้น

Collectors Universe

บริษัทนี้ทำธุรกิจตรวจสอบและให้การรับรองพวกของสะสมว่าเป็นของจริงหรือเปล่าครับ หลักๆจะเป็นพวกเหรียญ, การ์ดเบสบอล, ฯลฯ มีทำแบบเป็นตัวกลางซื้อขายด้วย

ที่ผมแปลกใจคือไม่เคยคิดว่ามันมีตลาดของสะสมที่จริงจังขนาดนี้ด้วย

Universal Health Services

บริษัทนี้เค้าจะใช้คำว่าเป็นโรงพยาบาลสำหรับ Behavioral health หรือจริงๆก็คือโรงพยาบาลบ้าดูแลให้การรักษาผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต

รายได้นี่สุดๆจริง เค้าสามารถที่จะกักตัวคนที่แพทย์สงสัยว่าเป็นอันตรายต่อสังคมได้โดยเจ้าตัวไม่ยินยอมนะ

ที่ผมแปลกใจคือไม่เคยเจอที่อื่นแล้วก็ตรงที่มันสั่งกักตัวคนได้นี่แหละ แล้วตามมาเก็บเงินด้วยนะ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

ทำ DCF แล้ว Free Cash Flow ติดลบ ทำยังไงต่อ ?

What if FCFE is negative ?

ทำ DCF แล้ว Free Cash Flow ติดลบ ทำยังไงต่อ ?

มีคนถามว่าถ้าปีที่ 0 FCFE ติดลบจะต้องทำยังไง

FCFE ติดลบปกติก็หมายถึงว่าบริษัทนี้ไม่มีความสามารถในการจ่ายปันผลให้กับผู้ถือหุ้น  อาจจะเพราะบริษัททำแล้วไม่กำไรหรือมีกำไรแต่ต้องมีการลงทุนเยอะอยู่ตลอดเวลา

แต่เนื่องจากวัตถุประสงค์ของเราคือจะประมาณตัวเลขไปในอนาคต  ดังนั้นก่อนที่จะสรุปอะไรต่ออย่างแรกคือไปดูรายละเอียดนิดนึงว่าที่ FCFE ติดลบนี่มันมาจากรายการไหนเป็นพิเศษมั้ย  และเป็นเรื่องที่ถือว่าปกติแล้วของบริษัทหรือเปล่า  หรือมันติดลบเพราะเหตุการณ์เฉพาะที่เกิดในปีนั้นพอดี

เริ่มจากตัว Net income ก่อน  ดูว่าในปีนั้นมีรายได้หรือรายจ่ายที่เป็นรายการพิเศษประเภทเกิดครั้งเดียวแล้วไม่น่าจะเกิดอีกหรือเปล่า  ตัดพวกนั้นออกให้หมด  ถ้าสมมติแค่ตรงนี้ตัวเลขที่ได้ก็เป็นลบละ  และยิ่งถ้าเราก็มองว่านี่คือสถานการณ์ปกติแล้วก็ไม่ต้องดูต่อแล้ว

ต่อมาก็ Net non-cash charge  ปกติอันนี้ก็ไม่น่าจะมีอะไรตัวหลักก็จะเป็นค่าเสื่อม (depreciation) กับค่าตัดจำหน่ายสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Amortization)

Net working capital อันนี้ก็ตรงไปตรงมาไม่น่ามีอะไร  ดูว่าไม่มีตัวเลขลูกหนี้การค้าเพิ่มขึ้นกับสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นเยอะเว่อร์ก็ถือว่าปกติ

Capital expenditure นี่เป็นไปได้ที่มันจะเป็นเลขที่ใหญ่มากในบางปี  ดูหลายๆปีหน่อยว่ามันเยอะมากตลอดหรือเปล่า

Net Borrowing ก็ดูว่าปีนี้เป็นปีที่จ่ายคืนเงินต้นก้อนใหญ่หรือเปล่า

ถ้าทุกอย่างดูปกติดีแล้ว  คาดได้ว่าปีต่อๆไปจะเป็นเหมือนปีนี้  งั้นก็สรุปได้เลยว่าห่วยแน่นอนครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

ทำไมต้องระวังหุ้น Dividend Yield สูงมากๆ ?

Why you should be careful of stocks with high dividend yield ?

ทำไมต้องระวังหุ้น Dividend Yield สูงมากๆ ?

มีคนถามต่อจากวีดิโอที่เราพูดถึงวิธีเลือกหุ้นปันผล  เค้าถามว่าที่เราบอกหุ้น Dividend yield สูงมาก 10% อะไรแบบนั้นควรใช้ความระมัดระวัง  มีข้อควรระวังยังไง

อธิบายอีกทีนึงนะครับเพราะตรงนี้สำคัญ  Dividend yield นี่มันคิดมาจากปันผลที่เกิดขึ้นไปแล้วเทียบกับราคาตอนนี้นะ  ดังนั้นตัว Dividend yield ที่สูง 10% นี่คือหมายความว่าถ้าสมมติบริษัทปีนี้จ่ายปันผลเท่าเดิมกับที่เคยจ่ายปีที่แล้วด้วยราคาหุ้นตอนนี้เท่ากับจะได้ผลตอบแทนจากเงินปันผล 10%  สังเกตว่าข้อแม้คือมันจะ 10% ถ้าบริษัทจ่ายปันผลเหมือนเดิมเท่านั้นนะ ไม่ได้บอกว่าจะต้องได้ 10% แน่นอน

ประเด็นที่มันน่าสงสัยก็คือคนในตลาดมันก็ไม่ได้บ้านี่หว่าทำไมถึงไม่มีใครอยากได้หุ้นนี้ล่ะ  ทั้งๆที่ก็เห็นอยู่ว่าถ้าบริษัทจ่ายปันผลแค่เท่าปีที่แล้วก็ได้ 10% ละนะ ทำไมไม่มีคนแห่เข้าไปซื้อปล่อยให้โอกาสแบบนี้เกิดขึ้นได้ยังไงทำไมไม่มีคนอยากได้  ถ้าคนแห่เข้าไปซื้อมันก็ต้องทำให้ราคาสูงขึ้นและเมื่อราคาสูงขึ้น Dividend yield ก็จะต้องต่ำกว่านี้แล้วสิ

เหตุผลหลักเลยก็คือเพราะว่าคนในตลาดไม่คิดว่ามันจะสามารถจ่ายปันผลได้แบบปีที่แล้วน่ะสิ  อาจจะเป็นเพราะว่าปีที่แล้วที่จ่ายปันผลมันจ่ายปันผลพิเศษมาจากกำไรพิเศษที่เกิดครั้งเดียวหรือเปล่า  หรือที่แย่กว่านั้นคืออาจเป็นเพราะแนวโน้มผลประกอบการบริษัทจะแย่ลงแล้วก็เลยจะจ่ายปันผลได้น้อยลงหรือเปล่า  นี่คือสิ่งที่ทำให้เราต้องระวัง

แล้วระวังที่ว่านี่คือระวังยังไง  แปลว่าห้ามซื้อเลยหรือเปล่า มันก็ไม่ใช่เพราะมันก็อาจจะทำให้เราพลาดโอกาสที่ดีน่าสนใจไป  การที่คนส่วนใหญ่คิดว่าอะไรบางอย่างมันไม่ดีไม่ได้แปลว่ามันจะไม่ดี ระวังก็คือเราต้องไปดูว่าบริษัทเค้าทำอะไร, ทำได้สม่ำเสมอมั้ยที่ผ่านมาและมีแนวโน้มจะทำได้ดีขึ้นต่อไปในอนาคตหรือเปล่า  แล้วก็ที่จ่ายปันผลปีที่แล้วนั่นมันเป็นปันผลพิเศษที่โดดขึ้นมาจากกำไรพิเศษหรือเปล่า เพราะเวลาเราซื้อหุ้นปันผลเราต้องการที่มันจะปันผลไปเรื่อยและถ้าให้ดีสูงขึ้นด้วยถูกมะ ดังนั้นเรื่องพวกนี้ก็เลยต้องดูเพราะหุ้นที่มีกำไรสม่ำเสมอเท่านั้นถึงจะปันผลสม่ำเสมอได้

สมมติเราไปดูละบริษัทมีปัญหาจริงดูแล้วจะถาวรเราก็ข้ามไปอย่าไปซื้อมัน  ส่วนใหญ่จะเป็นแบบเคสนี้ แต่นานๆทีเราก็จะเจอเคสที่เป็นปัญหาชั่วคราวคือดูละมีปัญหาจริงแหละแต่ดูไม่ใช่เรื่องถาวรแบบนี้ก็เยี่ยมเลยน่าซื้อมาก  หรืออีกแบบคือถ้าเราดูแล้วปรากฎว่าไม่มีอะไรเลยนี่ทุกอย่างดีเป็นปกติสุดยอดแบบนี้ก็เยี่ยมเลยน่าซื้อมากอีกเช่นกันแต่อย่าพลาดเชียวนะดูอีกทีซิว่ามันไม่มีปัญหาแน่ใช่มั้ย  ส่วนตัวผมว่ากรณีที่เห็นปัญหาชัดเจนและรู้ว่าเป็นเรื่องชั่วคราวเสี่ยงน้อยกว่ากรณีไม่พบปัญหานะ

สรุปก็คือเหมือนที่ย้ำตั้งแต่วีดิโอที่แล้วนั่นแหละ  ถ้าจะเอาปันผลสม่ำเสมอปัญหาน้อยนะ ยังไงก็ต้องให้ความสำคัญกับตัวธุรกิจไว้ก่อน

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

เศรษฐกิจก็แย่ ทำไมหุ้นเริ่มขึ้น ? | แล้วมันจะตกรุนแรงอีกมั้ย ?

Economy is Still Bad, Why Do Stock Go Up ? | Will Stock Come Down Again ?

เศรษฐกิจก็แย่ ทำไมหุ้นเริ่มขึ้น ? | แล้วมันจะตกรุนแรงอีกมั้ย ?

อ ทำคลิปวิเคราห์สถานการณ์ตอนนี้ให้หน่อย ว่าโควิดก็พอมีแนวโน้มที่จะควบคุมได้ก็จริง แต่มันก็ยังไม่หมดไปในเร็วๆนี้ ต่อให้เปิดเมือง วิถีชีวิตก็จะไม่เหมือนเดิม เผลอๆอาจมาระบาดรอบสองอีกรอบ ถ้าจะปิดจ็อบเรื่องนี้จริงๆ ก็ต้องมีวัคซีน ซึ่งต้องรอถึงปีหน้า ซึ่งระหว่างทางดัชนีผู้บริโภคก็ไม่น่าจะรีบาวกลับมาได้เหมือนเดิม  รวมไปถึงสถานการณ์มันจะผันผวนไปมากกว่านี้ ขึ้นหรือลงยังไง ก็ชี้แนะให้ด้วยครับ

 

ทำไมตลาดหุ้นไม่ตกลงไปอีก ?

หลักๆก็คือคนตกใจน้อยลงแล้วไง  เห็นว่าการระบาดมันควบคุมได้อย่างเลวร้ายสุดคือปิดเมือง  รัฐบาลและธนาคารกลางออกมากระตุ้นเศรษฐกิจไม่ปล่อยให้ธุรกิจเจ๊งเละเทะ  ไม่เหมือนก่อนหน้านี้ตอนตกรุนแรงแรกๆที่คนยังไม่รู้ว่าการระบาดมันจะหยุดได้มั้ยด้วยซ้ำ  ยิ่งในไทยยิ่งดูปัญหาน้อยไปใหญ่ ณ ตอนนี้มันก็ไม่ใช่คนในตลาดมั่นใจแล้วนะ แค่ว่ามันตกใจน้อยลงกว่าตอนแรกแล้วเท่านั้นเอง

 

ผลกระทบของ COVID-19 จะรุนแรงกว่าตอนปี 2008 subprime มั้ย ?

อันนี้ก็เป็นคำถามที่น่าสนใจครับ  เชื่อว่าคงไม่มีใครรู้อนาคตอย่างชัดเจน  ผมก็มีความคิดเห็นของผมแหละแต่ผมอยากฟังความคิดเห็นคนอื่นๆว่าเป็นยังไงบ้าง

ส่วนตัวผมก็คิดว่าผลกระทบมันนับความรุนแรงจะแรงกว่านะ  แต่คิดว่าไม่น่าจะนานเท่าและฟื้นได้เร็วกว่าตอน Subprime ปี 2008 ที่กินเวลาประมาณ 2 ปี

สองเหตุการณ์นี้มันทำให้ GDP ตกทั้งคู่แหละอันนี้คงไม่ต้องสงสัย  แต่ผมคิดว่าสถานการณ์มันต่างกันตรงที่อันนึงปัญหามาจากทรัพยากรทางเศรษฐกิจถูกเอาไปใช้กับเรื่องไร้ประโยชน์  ในขณะที่อีกอันนึงเป็นปัจจัยภายนอกบังคับให้คนชะลอการใช้จ่าย

ตอน Subprime เศรษฐกิจมันมีปัญหามาจากการเก็งกำไรบ้านที่อยู่อาศัยกับธนาคารปล่อยกู้ซื้อบ้านให้กับคนที่ไม่มีความสามารถในการจ่ายและทรัพยากรทางเศรษฐกิจก็ไปอยู่ในบ้านที่อยู่อาศัยที่ไม่ได้มีใครต้องการและไม่ได้มีประโยชน์อะไร  สุดท้ายพอฟองสบู่ราคาบ้านแตกปุ๊บมูลค่าทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันของเงินกู้ก็หายไปและคนที่ไม่มีความสามารถในการจ่ายก็กลายเป็นหนี้เสีย ธนาคารก็เลยสยองและไม่ปล่อยกู้ให้กับธุรกิจอื่นเลยกลายเป็นปัญหาในวงกว้างกับเศรษฐกิจ

ส่วนโรคระบาดเหมือนเป็นปัจจัยภายนอก  ทำให้การท่องเที่ยวหยุดหมดและรัฐบาลมีการขอให้คนอยู่บ้านแล้วสั่งปิดธุรกิจบางประเภทอย่างร้านอาหาร, ห้าง, ฯลฯ  โดยรวมก็ทำให้การใช้จ่ายของคนต่ำลงและแน่นอนในเมื่อผู้บริโภคใช้จ่ายน้อยลงภาคอุตสาหกรรมที่ผลิตก็ต้องได้รับผลกระทบไปด้วย  โดยรวมมีผลต่อเศรษฐกิจ

ในเรื่องความรุนแรงครั้งนี้น่าจะรุนแรงกว่า

แต่เรื่องการฟื้นตัวผมคิดว่าครั้งนี้จะฟื้นเร็วกว่า  เพราะ

  1. ทันทีที่เริ่มมียารักษาหรือมีวัคซีนผมก็เชื่อว่าปัญหาจะหายไปอย่างเร็ว  ไม่เหมือนตอน Subprime ที่ปัญหามาจากหนี้เสียที่ต้องใช้ระยะเวลาในการจัดการ
  2. รัฐบาลไม่ได้ลังเลในการให้ความช่วยเหลือ

 

แล้วตลาดจะมีโอกาสผันผวนหรือจะตกลงไปอีกมั้ย ?

ก็เป็นไปได้นะ  ขึ้นอยู่กับว่าสภาพความเลวร้ายของเศรษฐกิจมันจะลากยาวนานกว่าที่ตลาดคาดหรือเปล่า

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

หุ้นวัฏจักร สังเกตจากอะไร ? ต้องหลีกเลี่ยงเหรอ ?

How to Spot a Cyclical Stock? And Must You Avoid Them ?

หุ้นวัฏจักร สังเกตุจากอะไร ? ต้องหลีกเลี่ยงเหรอ ?

หุ้นวัฎจักรคืออะไร ?

เอาจริงๆในความเห็นผมคือหุ้นเกือบทุกบริษัทมันก็มีความเป็นวัฏจักรแหละมากหรือน้อยเท่านั้นเองครับ  แต่เวลาที่เค้าพูดถึงหุ้นวัฎจักรนี่คือหมายถึงหุ้นที่ผลประกอบการและราคาหุ้นมีทิศทางดีขึ้นหรือแย่ลงมีความเกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจมากๆ

ดังนั้นหุ้นวัฎจักรชนะหุ้นที่ไม่ค่อยวัฎจักรในช่วงเศรษฐกิจดี  เพราะช่วงเศรษฐกิจดีหุ้นวัฎจักรก็จะผลประกอบการดีและราคาหุ้นขึ้นดีด้วย  แต่พอช่วงเศรษฐกิจไม่ดีหุ้นวัฎจักรก็จะแพ้หุ้นที่ไม่ค่อยวัฎจักรเพราะหุ้นวัฎจักรก็จะผลประกอบการแย่ตามและราคาหุ้นก็จะแย่ไปด้วย

 

ดูยังไงว่าเป็นหุ้นวัฎจักร ?

จริงๆมันก็หลากหลายนะ

สินค้าที่ไม่ได้จำเป็นต้องซื้อก็ได้เช่น การท่องเที่ยว, เครื่องประดับ, อาหารแพงๆ, ฯลฯ

สินค้าพวกที่ไม่ได้ต้องซื้อบ่อยๆเช่น บ้าน, เฟอร์นิเจอร์, รถยนต์, ฯลฯ

สินค้าที่เอาไปผลิตเป็นอย่างอื่นต่อเช่น เหล็ก, คอนกรีต, ฯลฯ

เทียบกับที่ไม่ใช่หุ้นวัฎจักรก็อย่างเช่น Coca-Cola, ยาสีฟัน, สบู่

 

ควรหลีกเลี่ยงหรือเปล่า ?

ไม่ได้ว่าต้องหลีกเลี่ยงหรืออะไรนะ  แค่ต้องเข้าใจว่าบริษัทพวกนี้มันจะรับผลกระทบเยอะช่วงเศรษฐกิจไม่ดีเท่านั้นเอง  ดังนั้นเวลาที่ดีที่ควรจะซื้อบริษัทกลุ่มนี้ก็คือช่วงเศรษฐกิจไม่ดีเพราะช่วงนั้นหุ้นมันจะตกเยอะและจะฟื้นกลับมาหลังเศรษฐกิจฟื้น  และอาจจะควรระมัดระวังไม่ไปซื้อตอนช่วงเศรษฐกิจดีที่บริษัททำได้ดีเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่องหลายปีเพราะราคามันมักจะสูงพรวดขึ้นไปเยอะจากความนิยมของคนเท่านั้นเอง

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/courses

อัตราคิดลด, Equity Risk Premium, เบต้า, Risk-Free, CAPM, Required rate of return คืออะไร หาจากไหน?

Discount Rate, Equity Risk Premium, Beta, Risk-Free, CAPM, Required rate of return, What are they and Where to Find Them?

อัตราคิดลด, Equity Risk Premium, เบต้า, RiskFree, CAPM, Required rate of return คืออะไร หาจากไหน?

อันนี้เป็นคำถามที่ต่อเนื่องมาจากวีดิโอหัวข้อ Discounted Cash Flow  มีคนถามว่าตัวเลข required rate of return on equity ที่ใช้คิดลด 13% นั่นมาจากไหน  ในวีดิโอนั่นผมสมมติตัวเลขขึ้นมาเฉยๆครับ ในวีดิโอนี้เรามาคุยกันในรายละเอียดเพิ่มเติมว่าตัวเลขนี้เอามาจากไหน

สาระสำคัญของตัว required rate of return on equity คือมันเป็นอัตราผลตอบแทนที่ต่ำที่สุดที่นักลงทุนควรจะคาดหวังได้เพื่อให้ยินดีที่จะถือหุ้นนั้นๆ  ซึ่งมันก็ควรจะสอดคล้องกับระดับของความเสี่ยงของการถือหุ้นนั้นๆว่างั้นเถอะ ปกติก็จะมีวิธีหลักๆคือ CAPM กับ Multifactor model

  1. CAPM
  2. หลักการของ CAPM ก็คือบอกว่า 

    required rate of return on equity = Risk free rate + (Equity risk premium x Beta)

    Risk free rate หรือผลตอบแทนที่ไม่เสี่ยงเลยนี่ก็เอาจากพันธบัตรรัฐบาล  http://www.thaibma.or.th/EN/Market/YieldCurve/Government.aspx  ปัจจุบันก็ยังมีเถียงกันอยู่ว่าใช้ผลตอบแทนระยะสั้นหรือระยะยาว  แต่โดยปกติถ้าเอาไว้คิดลดเงินในอนาคตหลายปีก็จะนิยมใช้ระยะยาวให้สอดคล้องกัน  

    Equity risk premium หรือก็คือส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนของตลาดหุ้นโดยรวมกับผลตอบแทนที่ไม่เสี่ยงเลย  มันมีวิธีได้มาหลักๆอยู่ 2 แบบคือใช้ Historical (ข้อมูลจริงดูย้อนหลัง) หรือไม่ก็ใช้ Forward-Looking (คาดการณ์อนาคต)  ซึ่งเอาจริงๆเราทำเองยากเพราะก็ไม่มีข้อมูลหรือไม่ก็ต้องนั่งเดาตัวแปรซึ่งลำบากชีวิต เราใช้ที่คนอื่นทำไว้แล้วละกัน อันนี้เป็นของคุณ Aswath Damodaran http://pages.stern.nyu.edu/~adamodar/New_Home_Page/datafile/ctryprem.html

    Beta หรือก็คือหุ้นที่เราดูอยู่โดยเฉลี่ยแล้วมีการขยับอย่างไรเมื่อเทียบกับตลาด  CAPM มองตัวนี้เป็นตัวบ่งชี้ว่าหุ้นเสี่ยงมากกว่าหรือน้อยกว่าตลาดโดยเฉลี่ย หาได้โดยการทำ Regression ซึ่งเราคงไม่ทำเอง  ไปดูได้บนเวป www.investing.com หรือ www.morningstar.com ก็ได้  สองอันนี้น่าจะเป็นข้อมูลรายเดือนระยะเวลา 5 ปีทั้งคู่

    ในตัวอย่างเราได้ว่า required rate of return ของ CPALL = 1.56%+(6.77%x0.78) = 6.84%

  3. Multifactor model
  4. อันนี้มันก็มีขึ้นมาหลังจากเค้าพบว่าการใช้ Beta ของ CAPM มันยังสะท้อนความเสี่ยงของหุ้นได้ไม่สมบูรณ์ก็เลยมีคนพยายามหาตัวแปรอื่นๆเข้ามา  ที่ดังก็จะมี Fama-French คือใช้ตัวแปร 3 ตัวคือ Equity risk premium, small-cap risk premium กับ value premium ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่าถ้าจะต้องทำจริงๆจะเอาข้อมูลมาจากไหนนะ

 

จะเห็นได้ว่าการหา required rate of return on equity เอาจริงๆก็ไม่ได้มีวิธีการเดียวที่ชัดเจนขนาดนั้น  ดังนั้นก็อย่างที่บอกแหละว่าการประมาณมูลค่าของบริษัทยังไงมันก็ไม่มีวิธีไหนแม่น เราต้องเข้าใจข้อจำกัดมันและใช้มันให้ถูกต้องในฐานะเครื่องมือในการกะอย่างคร่าวๆครับ


 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg