ให้ทาย ผู้ชายหรือผู้หญิง ลงทุนได้ดีกว่ากัน ?

Guess - Women or Men are better at investing ?

ให้ทาย ผู้ชายหรือผู้หญิง ลงทุนได้ดีกว่ากัน ?

อันนี้เป็นหัวข้อที่บังเอิญไปอ่านเจอเลยมาเล่าให้ฟังครับ  ไม่เคยรู้เลยว่ามีคนไปทำงานวิจัยอะไรพวกนี้ด้วย และผลลัพธ์ก็ผิดจากที่ผมคาดนะ  ผมนึกว่ามันจะเพศอะไรก็ไม่ต่างกันหรือไม่งั้นก็น่าจะผู้ชายทำได้ดีกว่า แต่ผลปรากฎว่าเป็นผู้หญิงทำได้ดีกว่าผู้ชายครับ  แบบว่ามีหลักฐานชัดเจนด้วยนะ

เริ่มจากงานวิจัยของ Brad M. Barber กับ Terrance Odean  เค้าใช้ข้อมูลจากลูกค้า 35,000 รายของโบรกเกอร์ ดูช่วงปี 1991-1997 พบว่าผู้ชายลงทุนได้ผลตอบแทนน้อยกว่าผู้หญิงอยู่ 0.94% ต่อปี  และสาเหตุที่ผลตอบแทนต่ำกว่าไม่ได้เป็นเพราะผู้ชายโง่กว่าหรืออะไร แต่เป็นเพราะผู้ชายโดยเฉลี่ยซื้อขายบ่อยกว่าผู้หญิงถึง 45% ทำให้สูญเสียผลตอบแทนไปกับค่าธรรมเนียมเยอะกว่า  ผู้ทำวิจัยเชื่อว่าอันนี้เป็นเพราะผู้ชายมีแนวโน้มจะมั่นใจในตัวเองสูงกว่า

เร็วๆนี้ก็มีผลสำรวจของ Fidelity บริษัทด้านการลงทุนที่ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่าง 8 ล้านบัญชีที่เป็นลูกค้าของเค้าวัดผลตอบแทนรายเดือนในระหว่างช่วง Jan 2016 – Dec 2016  พบว่าผู้หญิงผลตอบแทนการลงทุนดีกว่าผู้ชาย ผู้ชายทำได้อยู่ 6% ต่อปี ในขณะที่ผู้หญิงทำได้ 6.4% ต่อปี Fidelity เชื่อว่าสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงได้เปรียบคือทำการซื้อขายน้อยกว่าผู้ชาย  เค้าพบว่าผู้ชายมีแนวโน้มจะเป็นเทรดระยะสั้นมากกว่าผู้หญิง 35% และถ้าเปรียบเทียบผู้ชายกับผู้หญิงที่เทรดระยะสั้นก็พบว่าผู้ชายทำการซื้อขายเยอะกว่าถึง 55% ซึ่งน่าจะเป็นเพราะผู้หญิงมองการลงทุนเป็นการวางแผนชีวิตระยะยาวและดังนั้นจึงมักจะลงทุนแล้วถือยาวกว่า

แล้วก็ยังมีผลสำรวจของ Neil Stewart อาจารย์มหาวิทยาลัย Warwick ในอังกฤษที่ใช้ข้อมูลของนักลงทุน 2,800 คน  วัดผลตอบแทนการลงทุน 3 ปี พบว่าผู้หญิงก็ชนะผู้ชายชัดเจนอีกเช่นกัน ทิ้งห่างกัน 1.8% ต่อปีเลยทีเดียว แต่สาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงผลตอบแทนดีกว่าผู้ชายเค้าเชื่อว่าเป็นเรื่องของว่าผู้ชายนิยมหุ้นที่มีความเสี่่ยงสูงแนวล็อตเตอรี่มากกว่าผู้หญิง

สรุปคือ  ถ้าเราเป็นผู้ชายเราอาจจะควรให้คุณภรรยาเราหรือคุณแม่เราลงทุนให้จะดีกว่า

เผื่อใครอยากอ่านเพิ่มเติม  ผมทิ้ง Link ไว้ให้ครับ

https://faculty.haas.berkeley.edu/odean/papers/gender/BoysWillBeBoys.pdf

https://www.fidelity.com/about-fidelity/individual-investing/better-investor-men-or-women

https://www.wbs.ac.uk/news/are-women-better-investors-than-men/

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

งบการเงินน่ารู้ : Income from Discontinued Operations

Income from Discontinued Operations

งบการเงินน่ารู้ : Income from Discontinued Operations

รายการนี้ภาษาไทยชื่อมันจะประมาณว่า “กำไร (ขาดทุน) จากการดำเนินงานที่ยกเลิก”  ซึ่งมันก็ความหมายตรงกับชื่อนะ มันเป็นกำไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นแหละ แต่เป็นตัวธุรกิจที่กำลังจะไม่ทำต่อซึ่งอาจจะอยู่ในสถานะที่กำลังจะขายให้คนอื่นหรือได้เลิกทำไปแล้วก็ได้  หมายความว่าปีต่อไปเราไม่ควรคาดหวังว่าจะมีกำไรหรือขาดทุนส่วนนี้อยู่

โดยกติกา  เค้าจะบันทึกเป็น Discontinued Operations ก็ต่อเมื่อมีลักษณะสองอย่างนี้

  1. กิจกรรมทางธุรกิจและกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่ยกเลิกนั้นจะต้องหายไป
  2. ภายหลังจากที่ Discontinued แล้ว  บริษัทจะไม่มีความเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญกับการดำเนินงานที่ยกเลิกนั้นอีก  หมายความว่าต้องไม่สามารถจะไปมีอิทธิพลต่อการทำงานหรือเรื่องการเงินของการดำเนินงานที่ยกเลิกนั้นได้

 

เพื่อให้เห็นภาพ  ผมยกตัวอย่างสถานการณ์ให้ดูจากความเข้าใจผมนะครับ

  • สมมติธุรกิจผมผลิตเสื้อผ้าแล้วขาย  วันนึงผมรู้สึกว่าเสื้อเชิ้ตสีทองขายไม่ดีก็เลยจะเลิกขาย  เสื้อเชิ้ตสีทองนี้เป็นหนึ่งในสินค้าภายใต้หมวดใหญ่ที่มีการบันทึกข้อมูลเงินเข้าออกซึ่งคือเสื้อ  แต่ผมไม่ได้มีการบันทึกข้อมูลเงินเข้าออกโดยเฉพาะเจาะจงกับเสื้อเชิ้ตสีทอง กรณีแบบนี้ก็ไม่ต้องบันทึกเป็น Discontinued Operations
  • ถ้าเกิดวันนึงผมจะขายธุรกิจหมวดเสื้อทิ้งทั้งหมดแล้วไม่เกี่ยวข้องอะไรกันอีก  กรณีนี้ก็ต้องบันทึกเป็น Discontinued Operations
  • แต่ถ้าสมมติที่ผมขายธุรกิจหมวดเสื้อ  ผมขายไปโดยมีสัญญากันอยู่ว่าคนที่ซื้อจากผมไปต้องซื้อวัตถุดิบจากผมเท่านั้น  และดังนั้นรายได้ผมก็จะยังมีจากธุรกิจหมวดเสื้อนั้นเป็นรายได้หลักของธุรกิจถึงแม้ว่าเจ้าของจะเปลี่ยนคนไปแล้ว  แบบนี้ก็ไม่บันทึกเป็น Discontinued Operations

 

ผมเข้าใจว่ากติกาของ GAAP กับ IFRS ก็จะมีความแตกต่างกันอีกนะ  และต้องเข้าใจว่าผมไม่ได้เป็นนักบัญชีดังนั้นที่ผมอธิบายอาจจะเข้าใจผิดก็ได้นะ  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมว่าสาระสำคัญที่เราควรเข้าใจเวลาเห็นรายการนี้บนงบการเงินก็คือว่าตัวรายการนี้มันจะหายไปในอนาคต  ที่เค้าเขียนแยกออกมาก็เพื่อจะให้ข้อมูลกับเราว่าผลกระทบของการเลิกหรือขาย Operations นั้นจะเป็นเท่าไหร่ยังไง และดังนั้นเราควรตัดมันออกไปจากการพิจารณาผลประกอบการของบริษัทครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

หุ้น Free Float เยอะ ดีหรือไม่ดี?

Is Lots of Free Float Good or Bad For You ?

หุ้น Free Float เยอะ ดีหรือไม่ดี?

เร็วๆนี้มีนักเรียนคนนึงถามผมว่าเรื่อง Free Float มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของผมหรือเปล่า  คำตอบของผมก็คือไม่มี ที่ผ่านมาไม่เคยดูเรื่อง Free Float เลยแบบไม่เคยรู้เลยว่าหุ้นที่ซื้อมาหรือที่ถืออยู่ตอนนี้มี Free Float อะไรเท่าไหร่

แต่คำถามนี้มันก็ทำให้ผมสงสัยขึ้นมาเหมือนกันว่าสรุปแล้วปัจจัยเรื่อง Free Float นี่มันมีผลต่อผลตอบแทนการลงทุนของเราหรือเปล่า  ที่เคยได้ยินมาบางคนก็บอก Free Float น้อยไม่ดี เพราะมันแปลว่าหุ้นอยู่ในมือของนักลงทุนรายใหญ่เยอะเค้าจะกำหนดทิศทางราคาได้ และบางคนก็บอก Free Float เยอะไม่ดีเพราะแปลว่าเจ้าของเดิมขายออกมาเยอะต้องมีอะไรผิดปกติแน่ๆ  เพื่อให้ได้ข้อสรุปผมเลยลองไปหาดูว่ามีคนทำวิจัยหัวข้อนี้หรือเปล่า

ผลปรากฎว่าเจองานวิจัยหัวข้อประมาณนี้พอสมควรทีเดียว  แต่ผลลัพธ์ออกมาดูจะไม่ชัดเจนเท่าไหร่

 

งานวิจัยของไทย

ผมเจอวิทยานิพนธ์ปริญญาโทจุฬาของคุณยุทธวีร์ ชืนบรรลือสุขที่ทำเรื่องนี้  เค้าพบว่าถึงแม้จะไม่ได้ชัดเจนมากเพราะทดลองด้วยบางวิธีการก็ได้ผลออกมาไม่มีนัยสำคัญ  แต่หุ้นที่ Free Float สูงโดยรวมดูแนวโน้มจะผลตอบแทนต่ำกว่า

พอดีเค้ามีทำข้อมูลของตลาดหุ้นอเมริกาด้วย  และเค้าได้ข้อสรุปเหมือนกับหุ้นไทยคือหุ้นที่มี Free Float ที่สูงจะมีผลตอบแทนต่ำกว่า

 

งานวิจัยของประเทศอื่น

มีงานวิจัยของตลาดหุ้นตุรกีโดย Faruk Bostancı กับ Saim Kılıç ที่พบว่าหุ้น Free Float สูงผลตอบแทนดีกว่าหุ้น Free Float ต่ำ  อันนี้กลับทางกันกับงานวิจัยในไทยเลย

มีงานวิจัยตลาดหุ้นในอเมริกาใต้ทำโดย Tolosa Leticia Eva กับ Nicolas María Claudia  เค้าพบว่าบางตลาดอย่าง Argentina, Brazil, Chile พวกนี้ไม่พบความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญระหว่าง Free Float กับผลตอบแทน  ส่วนประเทศ Colombia กับ Peru พบว่าหุ้น Free Float สูงผลตอบแทนดีกว่า

เผื่อมีคนสนใจอ่านด้วยตัวเอง  ผมทิ้ง Link ไว้ให้

 

สรุปว่าหลักฐานดูจะขัดแย้งกันอยู่ถ้าเอาเฉพาะหุ้นไทยก็อาจจะบอกว่า Free Float ที่สูงให้ผลตอบแทนต่ำกว่า  แต่เนื่องจากรู้สึกว่าก็ไม่ได้ชัดเจนอะไรมากหลังอ่านพวกนี้จบผมก็ไม่สนใจ Free Float เหมือนเดิมครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ ต้องกังวลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมั้ย ?

Should You Worry About Exchange Rate When Investing in Foreign Stocks?

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ ต้องกังวลเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมั้ย ?

อีกเรื่องที่คนถามประจำเวลาผมพูดถึงการลงทุนในหุ้นต่างประเทศคือหัวข้อที่เกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน  ว่าปกติเค้าใช้อัตราแลกเปลี่ยนอะไรเวลาเราแลกเงินไปกลับสกุลเงินอื่น แล้วก็เวลาไปลงทุนในต่างประเทศนี่คือเราต้องป้องกันความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนมั้ยยังไง  วันนี้เรามาคุยหัวข้อนี้กันครับ

 

ใช้อัตราแลกเปลี่ยนอะไร ?

แต่เดิม SCBS บอกว่าจะเป็นอัตราแลกเปลี่ยนแบบเวลาเราไปแลกเงินที่เคาน์เตอร์ธนาคาร  ใช้อัตราแลกเปลี่ยนดีสุดของรายย่อย ซึงเราก็รู้กันอยู่แล้วว่ามันจะแพงกว่าเวลาเราไปแลกเงินที่ร้านแลกเงินอย่าง Superrich

แต่หลังจาก KSecurities เข้ามาแข่งแล้วโฆษณาบอกว่าใช้อัตราแลกเปลี่ยน interbank rate  ทาง SCBS ปัจจุบันบอกว่าของเค้าเป็น spot rate + 0.5% ซึ่งบอกตามตรงผมก็ไม่ทราบว่ามันคือดีหรือไม่ดีเท่าไหร่ยังไง

Kim Eng ไม่รู้เลย

 

แล้วต้องกังวลมั้ย  มีวิธีป้องกันความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนอย่างไร ?

ส่วนตัวผมตอนนี้ไม่ได้กังวลอะไรมาก  ใช้วิธีว่าลงทุนในหลายประเทศแล้วหวังว่ามันจะถ่วงกันบางสกุลเงินอ่อนค่าบางสกุลเงินแข็งค่าในระยะยาวหักล้างกันไป  ส่วนเกินหรือขาดเหลือยังไงก็เอาว่าเราเลือกลงทุนได้ดีแล้วกำไรเยอะๆ เรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนก็จะเป็นแค่นิดๆหน่อยๆไม่น่าจะมีผลอะไรเยอะ

แต่ต้องยอมรับว่าในช่วงที่ผ่านมาปรากฎว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นกับทุกสกุลเงินหลักเลยครับ  แล้วดังนั้นก็เลยมีผลต่อภาพรวมกำไรของพอร์ตเยอะเหมือนกันนะถ้าสมมติคิดมูลค่าพอร์ตเป็นหน่วยเงินบาท  ตัวอย่างสกุลเงินที่ผมมีเยอะๆเช่น USD คอนประมาณ 2015 ที่เริ่มลงทุน USD แลก THB ได้แถว 36 บาท มาตอนนี้ได้ประมาณ 30.5%  แปลว่าขาดทุนไปทั้งหมด -15.28% ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา หรือคิดเป็น -3.62% ต่อปีเลยนะ ก็เอาเรื่องอยู่เหมือนกัน แต่โอเคแหละผมก็ยังไม่ได้คิดจะแปลงกลับมาเป็นเงินบาทตอนนี้ก็ยังไม่เป็นไร  แต่นี่ถ้าเงินบาทแข็งค่าขึ้นไปเรื่อยๆนี่ก็เป็นปัจจัยถ่วงผลกำไรของพอร์ตพอควรเหมือนกันครับ

ถ้าสมมติฟังแล้วรู้สึกกังวลมาก  อยากจะทำการปิดความเสี่ยงเรื่องค่าเงินให้ได้  ผมนึกออกอยู่วิธีนึงคือทำการซื้อสัญญา Forex เอาไว้ต่างหาก  ให้ขนาดมันประมาณพอดีแล้วก็กลับทิศกับเงินที่เราแปลงไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศเอาครับ  แต่ต้องบอกว่าผมไม่เคยทำนะ ดังนั้นในรายละเอียดคงต้องไปดูเอาเอง เวปนึงที่น่าจะใช้ได้คือของ OANDA เพราะตอนสมัยเรียนป.ตรีมีวิชานึงอจ.สั่งให้ไปลองทำ  ล่าสุดเปิดดูมันยังมีชีวิตอยู่ก็น่าจะแปลว่าไว้ใจได้มั้งครับ ผมทิ้งลิ้งค์ไว้เผื่อใครสนใจแต่ผมบอกเลยผมไม่เคยทำนะและสบายใจได้ว่าไม่ได้มีผลประโยชน์ร่วมอะไรกับเวปนี้

https://www.oanda.com/au-en/

วิธีนี้ที่ผมไม่คิดจะทำคือเพราะมันต้องมีใช้เงินวางไว้เป็นหลักประกันตัวสัญญา Forex  แปลว่าถ้าจะทำการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินก็ต้องมีเงินบางส่วนไปจมอยู่เอาไปทำอย่างอื่นไม่ได้ (initial margin) แล้วถ้าสมมติตัวสัญญา Forex เราขาดทุนเยอะๆก็จะต้องมีเอาเงินไปใส่ในบัญชีเพิ่ม (margin call) ซึ่งผมก็รู้สึกว่ามันวุ่นวายเลยไม่ได้ทำครับ

ส่วนวิธีอื่นๆตอนนี้ผมนึกไม่ออกจริง  ใครรู้ก็บอกทีนะ ปัจจุบันผมก็เลยใช้วิธีไม่สนใจและรับความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเอาครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

แบบทดสอบ : คุณเป็น VI แค่ไหน ?

Quiz : How Much VI are You ?

แบบทดสอบ : คุณเป็น VI แค่ไหน ?

เร็วๆนี้ผมไปทำ Quiz ของ Schroders บริษัทบริหารจัดการลงทุนในอังกฤษแล้วรู้สึกว่าสนุกดีก็เลยแปลบางส่วนมาให้ลองทำดูครับ

  1. สำหรับนักลงทุนสาย VI “ความเสี่ยง” สอดคล้องกับข้อใดต่อไปนี้ ?
    • ความผันผวนคือความเสี่ยง
    • หุ้นที่ราคาถูกมีความเสี่ยงสูงเสมอ
    • ความเสี่ยงคือโอกาสที่จะสูญเสียเงินต้นอย่างถาวร
  2. ถ้าอิงตามที่เรียนมาในห้องเรียน “ความเสี่ยง” มันจะวัดด้วยความผันผวน  แต่สำหรับนักลงทุนสาย VI แล้ว “ความเสี่ยง” คือโอกาสที่จะสูญเสียเงินต้นอย่างถาวรต่างหาก  โดยปกติแล้วมูลค่าที่แท้จริงของหุ้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ที่เราเห็นราคามีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วในระยะสั้นมันเป็นตัวบ่งชี้ถึงอารมณ์ของคนในตลาดมากกว่า  ที่จริงแล้วความผันผวนเป็นสิ่งที่สร้างโอกาสให้กับนักลงทุนระยะยาวด้วยซ้ำ
     

  3. เวลาตัดสินใจลงทุนในหุ้น  นักลงทุนสาย VI มองระยะยาวแค่ไหน
    • 1 เดือน
    • 1 ปี
    • 3-5 ปี
  4. การลงทุนในหุ้นแบบ VI คือมองหาหุ้นที่ราคาตอนนี้ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง  ซึ่งโดยปกติมันต้องใช้เวลานานหน่อยกว่าตลาดจะเริ่มมองเห็นมูลค่าของบริษัทและราคาหุ้นเริ่มสูงขึ้นมาหามูลค่าที่แท้จริง
     

  5. ปัจจัยอะไรสำคัญต่อผลตอบแทนการลงทุนที่สุด
    • ราคาที่ซื้อ
    • โอกาสการเติบโตของบริษัท
    • สภาพเศรษฐกิจ
  6. ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการลงทุนมากที่สุดคือราคาที่ซื้อ  โอกาสการเติบโตของบริษัทกับสภาพเศรษฐกิจมันเป็นเรื่องที่นักลงทุนควบคุมไม่ได้  และต่อให้โอกาสการเติบโตของบริษัทไม่สูงกับสภาพเศรษฐกิจไม่ดีแต่ถ้าได้ซื้อในราคาที่ต่ำเพียงพอมันก็ยังเป็นการลงทุนที่ดีในระยะยาวได้
     

  7. เงินเฟ้อกับอัตราดอกเบี้ยสำคัญแค่ไหน
    • สำคัญเพราะปัจจัยพวกนี้เกี่ยวข้องกับสภาพเศรษฐกิจ
    • อัตราดอกเบี้ยสำคัญ  เงินเฟ้อไม่สำคัญ
    • ไม่สำคัญทั้งคู่
  8. ทั้งสองปัจจัยเป็นอะไรที่เราไม่สามารถรู้อะไรล่วงหน้าได้  การไปคิดถึงมันไม่เกิดประโยชน์อะไรและการตัดสินใจลงทุนของเราไม่ควรให้ปัจจัยพวกนี้มามีผลกระทบ
     

  9. บริษัทปรับคาดการณ์ผลประกอบการลง -10%  ราคาหุ้นของบริษัทเลยตกไป -30% สิ่งที่เราควรทำคือ …
    • ซื้อหุ้นทันทีเพื่อให้ได้ราคาใหม่ที่ถูกลงเยอะแล้วนี้
    • ขายหุ้นทันทีเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ราคามันจะตกลงไปอีก
    • ศึกษาข้อมูลที่บริษัทประกาศและดูว่ามันทำให้พื้นฐานของบริษัทเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่
  10. นักลงทุน VI มองการลงทุนระยะ 3-5 ปี  การตอบสนองทันทีกับสิ่งที่อาจจะเป็นเรื่องระยะสั้นไม่สอดคล้องกับแนวการลงทุน  สิ่งที่ควรทำคือใจเย็นๆแล้วทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อประเมินว่าพื้นฐานของบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่คาดรุนแรงหรือเปล่า  แล้วจึงค่อยคิดว่าต้องซื้อหรือขายอะไรมั้ย
     

  11. หุ้นขึ้นมา 30% ในช่วงเดือนเดียว  ตลาดคาดว่าบริษัทจะเติบโต 100% และราคาหุ้นปัจจุบันสะท้อนความคาดหวังนี้แล้ว  สิ่งที่เราควรทำคือ …
    • ซื้อหุ้นเนื่องจากมันมีโมเมนตัมชัดเจน
    • อย่าซื้อเพราะกรณีนี้ไม่เข้าข่ายหุ้นราคาถูก
    • ซื้อเพราะถ้ากำไรของบริษัททำได้ดีกว่าที่ตลาดคาดราคานี้ก็ถือว่าถูก
  12. หุ้นนี้ราคาสูงขึ้นมามากจากความคาดหวังว่าบริษัทจะทำได้ดีขึ้น 100% เป็นอะไรที่เยอะมากแล้ว  ไม่เข้าข่ายธุรกิจที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง ไม่เหมาะกับการลงทุนสาย VI
     

  13. สมมติว่าธนาคารแห่งประเทศไทยบอกว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ย  สิ่งที่เราควรทำคือ …
    • ปรับพอร์ตการลงทุนให้จะได้ประโยชน์จากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
    • ขายหุ้น  เพราะการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้โดยรวมคนอยากลงทุนในหุ้นน้อยลง
    • ไม่สนใจ  ให้ความสำคัญกับการซื้อหุ้นในราคาถูกต่อไป
  14. ปัจจัยพวกนี้ไม่แน่นอนคาดเดาไม่ได้และไม่ควรให้มันมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของเรา

 

เป็นไงบ้างครับ  เราเป็นนักลงทุน VI ขนาดไหนกันบ้างครับ ?

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

แล้วจะขายหุ้นเมื่อไหร่ดี ?

When to Sell Your Stocks?

แล้วจะขายหุ้นเมื่อไหร่ดี ?

ผมก็ว่ามันไม่ได้มีอะไรตายตัวและคิดว่ามันแล้วแต่คนนะครับ  แต่ผมอธิบายจากมุมมองผมละกันว่าถ้าเป็นผมจะขายหุ้นเมื่อไหร่

  1. จำเป็นต้องใช้เงิน
  2. อันนี้ไม่มีอะไรต้องคิดมาก  ถ้ามันมีความจำเป็นฉุกเฉินที่ต้องใช้ยังไงก็ต้องขายแหละครับ  โดยจะเริ่มจากขายหุ้นบริษัทที่ชอบธุรกิจน้อยบวกกับราคาขึ้นไปสูงแล้วก่อน  ตามมาด้วยธุรกิจที่ชอบน้อยแต่ราคายังไม่ขึ้น แล้วค่อยเป็นธุรกิจที่ชอบมากและราคาขึ้นไปสูง  ท้ายสุดเป็นธุรกิจที่ชอบมากแต่ราคายังไม่ขึ้น

  3. คาดว่าธุรกิจจะทำได้แย่ลงต่อไปในอนาคต
  4. อันนี้ยุ่งยากตรงว่าเราเชื่อจริงๆมั้ยว่าธุรกิจผลประกอบการมันจะแย่กว่าที่คาดในระยะยาว  ถ้ามั่นใจก็คือดูต่อว่ามันแย่กว่าที่คาดเยอะมั้ย ถ้าไม่เยอะก็อาจจะรอให้มีโอกาสซื้ออันอื่นก่อนก็ได้ไม่ได้ต้องรีบขาย  แต่ถ้าดูแล้วแย่กว่าที่คาดเยอะผมก็จะขายเลยโดยไม่สนว่าตอนนั้นขาดทุนอยู่หรือกำไรอยู่

  5. มีโอกาสที่ดีกว่าโผล่มา
  6. อันนี้ก็ยุ่งยากตรงการวัดว่าดีกว่าแค่ไหนเนี่ยแหละ  โดยปกติถ้าผมเห็นว่ามีโอกาสที่ดีมากโผล่มา ผมจะขายหุ้นที่ชอบธุรกิจน้อยที่สุดและราคาขึ้นมาเยอะแล้วก่อนเลย  แต่กรณีนี้ผมจะไม่ค่อยขายบริษัทที่เพิ่งซื้อมาไม่นานและยังไม่รู้ผลลัพธ์เพราะผมว่ามันจะทำให้เรามีข้ออ้างในการรีบร้อนเปลี่ยนใจซึ่งเป็นอะไรที่ไม่เวิร์ค

 

ส่วนการขายที่ผมเคยทำในอดีตและไม่ควรทำสุดๆเลยคือ

  1. ขายเพราะกำไรแล้วก็เลยอยากขายเฉยๆ  ไม่ได้จะเอาไปทำอะไรหรอก
  2. แบบนี้ไม่แนะนำ  บริษัทที่ดีและเราซื้อมาได้ในราคาถูกถือไว้ต่อไปมันก็จะยังเติบโตและให้ผลตอบแทนกับเรา  ไม่รู้จะเอาไปทำอะไรก็ไม่ต้องขาย ปล่อยไว้งั้นแหละ

  3. ขายเพราะคิดว่าเศรษฐกิจจะแย่ลง
  4. อันนี้เป็นอะไรที่อนาถมากเพราะเอาจริงๆคือเราเดาเศรษฐกิจไม่ได้หรอก  ส่วนใหญ่ทำแบบนี้คือมักจะพลาดแล้วก็กระโดดออกจากหุ้นที่ดีเพราะแค่เรากลัวอะไรก็ไม่รู้

  5. ขายเพราะคิดว่าจะรอมันตกแล้วค่อยกลับเข้าไปซื้อ
  6. อันนี้ก็เป็นอะไรที่อนาถมาก  ผมเคยคิดแบบนั้นและกระโดดออกจากหุ้นตอนกำไรแค่ 15% เพราะคิดว่ามันจะตกและจะได้ซื้อกลับเข้าไปใหม่  ปรากฎว่าหุ้นนั้นสูงขึ้นไป 5 เท่ากำไร 400% ช็อตนั้นเป็นอะไรที่โง่มากและจำจนถึงวันนี้เลยครับ

  7. ขายเพราะแค่ราคาหุ้นตกและรู้สึกว่ารอนานแล้ว
  8. อันนี้อนาถสุดละ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าบริษัทผลประกอบการดีขึ้นเรื่อยๆแต่แค่ตลาดยังไม่เห็นแล้วเรารอไม่ไหวละขายนะ  กรณีแบบนี้คือพลาดสุดๆละ นึกภาพดูว่ากว่าจะรอซื้อหุ้นดีราคาถูกได้ กว่าจะบริษัทพิสูจน์ตัวเองด้วยผลลัพธ์ที่ดีขึ้นจนชัดเจน  แต่เราดันหมดความอดทนขายไปก่อนนี่แบบ …

 

ตอนนี้ที่นึกออกก็ประมาณนี้เลยครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

พื้นฐานเปลี่ยน สังเกตุจากอะไร ?

How to Spot Fundamentally Shifted Businesses

พื้นฐานเปลี่ยน สังเกตุจากอะไร ?

มีคนถามเราว่าบริษัทพื้นฐานเปลี่ยนไปจะสังเกตจากอะไร  ยอดขายหรือกำไรต้องตกเท่าไหร่ถึงจะเรียกว่าผิดปกติ เรามาตอบคำถามนี่กันครับ

หลักๆแล้วสิ่งที่เราต้องการจะรู้มีอย่างเดียวเลยคือคนมันยังจะซื้อสินค้าหรือบริการของบริษัทอยู่หรือเปล่า  พื้นฐานเปลี่ยนมันก็คือคนจะไม่ซื้อน่ะครับ และนั่นคืออะไรที่เราไม่อยากให้เกิดกับบริษัทที่เราเป็นเจ้าของ

ทีนี้แล้วเราจะสังเกตจากอะไร

ถ้าเราจะเอาแบบรู้ก่อนที่ผลประกอบการจะเริ่มส่งสัญญาณได้ก็มีได้อย่างเดียวเราต้องเข้าใจธุรกิจและคลุกคลีอยู่ในวงการนั้นๆไม่ว่าจะเป็นทำงานอยู่หรือเป็นผู้บริโภคที่สนใจ  เราถึงจะเห็นว่าสาระสำคัญของธุรกิจนั้นกำลังมีความเปลี่ยนแปลงอะไรเข้ามาหรือมีคู่แข่งใหม่ที่ร้ายกาจเข้ามาหรือเปล่า เช่นอย่างเรื่องกล้อง ผมเริ่มเห็นว่าตัวเองและคนอื่นรอบตัวเริ่มขี้เกียจถือกล้องถ่ายรูปเวลาไปเที่ยวและใช้มือถือถ่ายรูปแทน

ทีนี้สมมติเป็นธุรกิจที่เราไม่ได้คลุกคลีมาก  การจะไปรู้ล่วงหน้ามันเริ่มลำบากละ อาจจะต้องอาศัยตัวเลขบางตัวที่เป็นตัวบ่งชี้แทน  โดยปกติก็คือตัวเลขอะไรก็ได้ที่บอกเราเกี่ยวกับความนิยมของลูกค้าแหละเช่น ตัวเลขระดับความพึงพอใจ, จำนวนคน Google ชื่อยี่ห้อสินค้า, ยอดขายต่อพื้นที่, จำนวนผู้ใช้งานจริง, ตัวเลขการใช้งานต่อความจุ, เปอร์เซนต์ลูกค้าที่ต่อสัญญา, ฯลฯ

และสุดท้ายสมมติเราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้  เราก็จะมารู้ตอนมันเริ่มมีผลกับตัวเลขผลประกอบการละ  เช่นยอดขายตกหรือกำไรตก ทีนี้ผมก็แนะนำว่าพิจารณาตามนี้

  1. มันเกิดขึ้นนานยัง ?
  2. ถ้านี่เพิ่งไตรมาสเดียว  อย่าเพิ่งตัดสินครับ มันเร็วเกินไป  ปกติผมว่ามันก็ต้องเกิน 1 ปีนะ  

  3. มันเป็นเฉพาะบริษัทนี้หรือเปล่า ?
  4. ดูตัวเลขเทียบกับทั้งอุตสาหกรรม  ถ้ามันเติบโตแต่บริษัทที่เราดูอยู่นี่แย่ลงสวนทางคนอื่น  ต้องรีบหาเหตุผลละ เริ่มแข่งขันไม่ได้หรืออะไร หรือแค่มีปัญหาชั่วคราว

  5. ตกทั้งอุตสาหกรรม  เป็นปกติของอุตสาหกรรมนี้หรือเปล่า ?
  6. บางธุรกิจมันก็มีการขึ้นลงเป็นเรื่องปกติ  หรือบางทีอาจจะแค่เศรษฐกิจของประเทศ แต่ถ้าอุตสาหกรรมดูตกต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานก็อาจจะเป็นว่ามีสินค้าอื่นมาทดแทนและทำให้ขนาดอุตสาหกรรมลดลงหรือเปล่า

จะสังเกตว่ายอดขายกับกำไรตกเยอะหรือน้อยไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญ  สิ่งสำคัญสุดคือมันเป็นการตกที่มาจากเหตุอะไรมากกว่านะ

ระวังกับดัก Non-Recurring Items

Beware of non-recurring items

ระวังกับดัก Non-Recurring Items

ปกติเวลาเราจะดูว่าบริษัทผลประกอบการเป็นยังไงบ้างเราก็จะดูว่ามันกำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ใช่มั้ยครับ  และเพื่อความสะดวกปกติเราก็จะไม่ได้ไปเปิดงบการเงินตัวจริงหรอก ส่วนใหญ่เราก็จะดูตัวเลขนี้บนหน้าเวปที่ทำการดึงตัวเลขสรุปออกมาอีกทีอย่างเวป SET หรือ Morningstar ถูกมั้ยครับ  ซึ่งมันก็ไม่ผิดอะไรนะเพราะผมก็ทำเหมือนกัน แต่ผมจะมาบอกว่าเวลาดูต้องใช้ความระมัดระวังอย่าประมาทเกินไป เพราะบางทีตัวเลขกำไรขาดทุนนั้นมันมีพวกรายการพิเศษอยู่

รายการพิเศษหรือปกติผมจะเรียกว่า Non-recurring items คือรายได้หรือรายจ่ายที่มันไม่ใช่เรื่องปกติในธุรกิจของบริษัทและไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นอีก  อย่างเช่นรายได้จากประกันชดเชยความเสียหายน้ำท่วม, กำไรขาดทุนจากการขายบริษัทย่อย, ตัดจำหน่าย Goodwill, ฯลฯ

โดยปกติรายการพิเศษนี่มันก็จะไม่ใหญ่และดังนั้นจะมีผลกับกำไรขาดทุนไม่เยอะ  แต่บางครั้งมันก็ใหญ่ซะจนทำให้ผลประกอบการเพี้ยนไปเลยก็มี พลิกจากขาดทุนเป็นกำไรเลยก็มี  หรือจากกำไรกลายเป็นขาดทุนเลยก็มี ดังนั้นเวลาเราอ่านงบการเงินเราควรตัดรายการพวกนี้ทิ้งไปเพราะมันจะให้ภาพของบริษัทดีหรือแย่ผิดปกติกว่าความเป็นจริง  คือมันเป็นกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นจริงแหละ แต่แค่ว่ามันไม่น่าจะเกิดขึ้นอีกเท่านั้นเอง

ตัวอย่างเช่นกรณี TRUE ปี 2557, BH ปี 2558, CVS ปี 2561
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ทำไมเราอยากให้คุณเริ่มลงทุนในหุ้นต่างประเทศ

Why We Want You to Invest Abroad

ทำไมเราอยากให้คุณเริ่มลงทุนในหุ้นต่างประเทศ

ตอนแรกๆที่เริ่มลงทุนในหุ้นต่างประเทศผมก็ไม่ค่อยแน่ใจว่ามันจะเวิร์คหรือเปล่า  แต่มาตอนนี้อยากแนะนำให้ทุกคนที่อ่านภาษาอังกฤษออกและมีเงินลงทุนพอสมควรพิจารณาลงทุนในหุ้นต่างประเทศ  ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  1. เป็นการขยายโอกาสทำกำไร
  2. การขยายขอบเขตการลงทุนไปดูหุ้นต่างประเทศด้วย  ทำให้มีโอกาสซื้อหุ้นดีได้ในราคาถูกบ่อยขึ้น แทนที่จะรอแต่หุ้นไทยตกอย่างเดียว

  3. ลดความเสี่ยงที่บางครั้งเกิดกับเฉพาะประเทศไทย
  4. การลงทุนในหุ้นต่างประเทศก็เป็นการกระจายความเสี่ยงที่ดี  เพราะบางครั้งมันก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้หุ้นตกเฉพาะตลาดหุ้นไทย  นึกถึงพวกเหตุการณ์หุ้นไทยตกอย่างตอนปี 2540 ถ้าเรามีเงินบางส่วนที่ลงทุนในหุ้นต่างประเทศเราก็จะไม่โดนเต็มๆ

  5. สามารถซื้อธุรกิจบางประเภทที่หาไม่ได้ในไทย
  6. ธุรกิจบางประเภทไม่มีให้ซื้อในตลาดหุ้นไทย  อย่างสมมติถ้าเราอยากถือหุ้นบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Alphabet (Google), Tesla เราก็ต้องไปตลาดหุ้นอเมริกา

 

ส่วนเหตุผลที่ทำให้บางคนไม่ได้เริ่มลงทุนในหุ้นต่างประเทศก็ไม่เป็นจริงเสมอไปเช่น

  1. หุ้นต่างประเทศความเสี่ยงสูง
  2. หุ้นในต่างประเทศก็เป็นบริษัทที่มีอยู่จริงเหมือนหุ้นในไทยนี่แหละครับ  ตราบใดที่เรารู้จักบริษัทรู้จักสินค้ามันก็ไม่ได้เสี่ยงกว่าการซื้อหุ้นไทยตรงไหน  นึกถึงอย่าง Starbucks, McDonald’s หรือ Coca-Cola ที่เราคุ้นเคยกับสินค้า การลงทุนในบริษัทพวกนี้ซึ่งอยู่ในต่างประเทศเผลอๆจะปลอดภัยกว่าซื้อหุ้นไทยหลายๆบริษัทที่เราจริงๆก็ไม่ได้เข้าใจ

  3. ลงทุนหุ้นต่างประเทศมันยาก
  4. มันไม่มีอะไรยากเลยครับ  เปิดบัญชีเหมือนหุ้นไทยและเวลาซื้อก็เหมือนหุ้นไทย

  5. เสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
  6. อัตราแลกเปลี่ยนทำให้ผลตอบแทนไม่แน่นอนก็จริงและที่ผ่านมาเนื่องจากเงินบาทแข็งมันก็ทำให้ไปลงทุนต่างประเทศผลตอบแทนลดลง  แต่จริงๆแล้วมันก็ไม่ได้จำเป็นต้องแย่เสมอไป อัตราแลกเปลี่ยนมันก็มีทั้งทำให้ดีขึ้นหรือแย่ลง ไม่ใช่ว่ามันจะต้องไม่ดีเสมอไป

 

ข้อเสียอย่างเดียวของการลงทุนในหุ้นต่างประเทศคือเรื่องค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้นเท่านั้นเอง  แต่โดยรวมแล้วผมว่าข้อดีมีมากกว่าข้อเสียและอยากจะแนะนำให้พิจารณาลงทุนในหุ้นต่างประเทศเพิ่มเติมจากหุ้นไทยครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

หุ้นใหญ่หรือหุ้นเล็กดีกว่ากัน ? Large Cap vs. Small Cap

Large Cap vs. Small Cap

หุ้นใหญ่หรือหุ้นเล็กดีกว่ากัน ? Large Cap vs. Small Cap

มีคนถามว่าลงทุนในหุ้นใหญ่หรือหุ้นเล็กดีกว่ากัน

ผมเคยอ่านบทความที่พูดถึงเรื่องนี้มาก่อน  เพื่อให้เข้าใจตรงกันคำว่าหุ้นใหญ่หรือเล็กนี่คือวัดจากมูลค่าตลาดของทั้งบริษัทไม่ได้วัดจากรายได้หรือผลประกอบการ  ไอเดียที่ผมเข้าใจคือบริษัทใหญ่โดยภาพรวมก็จะได้เปรียบเรื่องความปลอดภัยราคาหุ้นผันผวนน้อยกว่าบริษัทเล็ก แต่ผลตอบแทนก็จะน้อยกว่าเพราะด้วยความใหญ่การที่มันจะเติบโตเป็นหลายเท่าตัวก็จะยากเมื่อเทียบกับบริษัทเล็ก  ส่วนบริษัทเล็กอาจจะมีความเสี่ยงมากกว่าในแง่ที่มีความเสี่ยงเจ๊งเยอะกว่าแต่ถ้าบริษัททำได้ดีผลตอบแทนจะสูงกว่า แต่ผมก็ไม่เคยไปดูว่าตลาดหุ้นไทยเป็นแบบเดียวกันมั้ยนะ ในเมื่อมีคนถามก็ได้โอกาสไปเปิดดูครับ

อย่างแรกที่ไปพยายามหาคือดัชนีของ SET ว่ามีแบ่งตามขนาดบริษัทมั้ย  ปรากฎว่าเจอของ FTSE ที่มีแบ่งครับ แบ่งเป็น Large, Mid, Small กับ Fledgling  แต่ผมจะตัด Fledgling ออกไปเพราะเมื่อไปเช็คดูแล้วมันเป็นพวก Property Fund กับ REIT ซะเยอะ

ผลปรากฎว่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี Mid Cap ดีสุดและดีต่างกันเยอะด้วยนะ  ผิดคาดมากเพราะผมนึกว่าจะเป็นพวก Small Cap ที่ผลตอบแทนดีสุดแต่เอาเข้าจริง Small Cap ห่วยกว่า Large Cap อีก  แค่นั้นไม่พอตัว Volatility ของ Mid Cap ก็ดูไม่สูงกว่ามากซะด้วย ถ้าเห็นแบบนี้คือ Mid Cap นี่คือดีสุดละ แต่เพื่อความชัวร์เราเอาดูผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปีด้วย

ผลตอบแทนเฉลี่ย (geometric mean) ย้อนหลัง 10 ปีของแต่ละอันจะเป็น

  • Large Cap  16.75%
  • Mid Cap  21.53%
  • Small Cap  18.82%

อันนี้ก็ดูปกติขึ้นมาหน่อย  จะเห็นว่าหุ้นเล็กโดยรวมทำได้ดีกว่า Large Cap ทุกอัน  แต่อันที่ดีสุดก็ยังเป็น Mid Cap อยู่ดี

กลับมาตอบคำถามว่าหุ้น Large Cap หรือ Small Cap ดีกว่ากัน  ถ้าเห็นตามหลักฐานแบบนี้แล้วเราก็คงต้องตอบว่า Mid Cap ครับ เพราะทั้งผลตอบแทนดีสุดและความผันผวนก็ต่างจาก Large Cap ไม่เยอะด้วย  แต่ถ้าเราให้ความสำคัญกับความมั่นคงไม่ชอบความผันผวนก็ควรจะลงทุนในหุ้น Large Cap ครับ หรือไม่งั้นก็ All-Share ไปเลย

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg