ลงทุนหุ้นต่างประเทศ ต้องเสียภาษีประเทศเขามั้ย ??

How does your global stock tax work ??

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ ต้องเสียภาษีประเทศเขามั้ย ??

เวลาไปลงทุนหุ้นต่างประเทศ  เราจะต้องเสียภาษีอย่างไร ?

ตอนเริ่มลงทุนหุ้นต่างประเทศผมก็สงสัยเรื่องนี้เหมือนกัน  อย่างหุ้นไทยเรารู้ว่า Capital Gain เราไม่ต้องเสียภาษี แต่ในอเมริกา Capital Gain เสียภาษีนะครับ  แล้วถ้าเราไปลงทุนในหุ้นอเมริกาล่ะเราต้องเสียภาษีตามเค้าหรือเปล่า

ผมเคยถามทาง SCBS คำตอบคือ

 

ถ้าเป็นปันผล

ประเทศส่วนใหญ่ก็จะเหมือนเราคือมีภาษีปันผลที่หัก ณ ที่จ่ายเลย  และดังนั้นถ้าเราไปลงทุนในหุ้นต่างประเทศก็จะโดนหักภาษีแบบนี้เช่นกัน  แต่ละประเทศภาษีแพงถูกไม่เท่ากัน ที่แพงกว่าเราก็มีแบบเกือบ 30% เลย หรือที่ถูกกว่าเรา 0% เลยก็มี

ใครอยากดูรายละเอียดดูได้บนเวป SCB Securities เค้ามีอยู่ครับ  ตามลิ้งค์นีี้เลย http://www.scbs.com/medias/pdf/Corporation_Actions_Charges.pdf

ของหุ้นอเมริกา  ปกติถ้าเป็นพวกเราปันผลจะโดนภาษี 30%  แต่ SCB เค้าจะมีบริการทำอะไรซักอย่างซึ่งผมก็ไม่เข้าใจทั้งหมด  แต่เหมือนเค้าทำเรื่องขอเปลี่ยนสถานะทำให้โดนภาษีแค่ 15% แทนโดยมีค่าดำเนินการนิดหน่อยแค่ 2,000 บาททุกๆ 3 ปี  ซึ่งถ้าเราลงทุนในหุ้นอเมริกาเยอะยังไงก็คุ้มอยู่แล้วแนะนำให้ทำซะครับ ของ KSecurities ก็มีเช่นกัน ส่วน Kim Eng ก็น่าจะมีนะ  ลองถามเค้าดูครับ

 

ส่วนเรื่อง Capital Gain

ไม่ว่าจะลงทุนประเทศไหนก็แล้วแต่  เราเสียภาษี Capital Gain ตามกฎหมายประเทศไทย  ซึ่งคือ 0% หรือไม่ต้องเสีย โคตรได้เปรียบคนอื่นเค้าเลยครับ

จะมีข้อกำหนดพิเศษที่อาจโดนภาษีนิดนึงคือกรณีที่ลงทุนระยะสั้นๆไ่ม่ถึงหนึ่งปี  กติกาคือนับตามปีปฏิทิน ถ้าเรามีการโอนเงินออกไปนอกประเทศปีที่ 1 แล้วลงทุนทำกำไรแล้วดึงเงินกลับมาประเทศไทยภายในปีที่ 1  แบบนี้ส่วนกำไร Capital Gain จะโดนนับรวมกับรายได้แล้วเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

แต่สมมติขายหุ้นได้กำไร Capital Gain ตั้งแต่ปีที่ 1 แหละ  แต่ไม่ได้ดึงเงินกลับมาประเทศไทย ปล่อยทิ้งไว้จนปีต่อมา แล้วค่อยดึงเงินกลับมาตอนปีที่ 2 เป็นต้นไปแบบนี้ก็ไม่นับละ  ไม่โดนนับเป็นภาษีเงินได้

 

ดังนั้นลงทุนได้อย่างสบายใจละครับ  จะเห็นได้ว่าการลงทุนในหุ้นต่างประเทศนี่เราได้เปรียบคนประเทศเค้าลงทุนในประเทศตัวเองมากเลยนะ

 
ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

REIT Leasehold สุดท้ายแล้ว ได้เงินต้นคืนมั้ย ??

When a Leasehold REIT ends, do you get your initial capital back ??

REIT Leasehold สุดท้ายแล้ว ได้เงินต้นคืนมั้ย ??

วีดิโอที่แล้วเรื่อง REIT ดูเหมือนได้รับความสนใจมากกว่าที่คิด  และคำถามนึงที่คนดูจะสนใจคือเรื่องการคืนเงินต้นของ Leasehold เรามาพูดถึงหัวข้อนี้กันครับ

 

เงินต้นเราจะได้คืนมาครบใช่มั้ย ?

ถ้าเรากำลังพูดถึงได้คืนเงินต้นแบบตราสารหนี้  คำตอบคือไม่ได้

ธรรมชาติของ Leasehold คือเราจ่ายเงินซื้อสิทธิ์ในการรับค่าเช่าจากทรัพย์สินในช่วงระยะเวลาหนึ่ง  เราไม่ได้ให้เงินเค้ายืม ดังนั้นเมื่อสิ้นสุดอายุสัญญา Leasehold ก็คือต่อจากนี้ไม่ได้รับค่าเช่าละแค่นั้น  ตัวเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ไม่ได้ต้องคืนเงินเราหรืออะไร

ที่เค้าเรียกว่าได้ทุนคืนนี่  มันก็คือมาจากค่าเช่าที่ได้นี่แหละ  จากค่าเช่าทั้งหมดที่ได้มีการจ่ายออกมา  บางส่วนก็นับว่าเป็นการลดทุนหรือคืนทุน และบางส่วนก็นับเป็นผลประโยชน์ที่ได้รับ

สมมติเอาแบบง่ายๆ  ตอนแรกซื้อสิทธิ์ในการรับค่าเช่ามา 100 บาท  หลังจากนั้นได้ปีละ 7 บาททุกปีจนครบสัญญา 30 ปี  สิ่งที่เราได้ทั้งหมดจนจบคือ 210 บาท (7×30) ซึ่งไอตัว 210 บาทนี่คือบางส่วนก็นับเป็นการคืนทุน 100 บาทตอนแรก  และที่เหลือเป็นผลประโยชน์ที่ได้รับน่ะครับ ดังนั้นถ้าสมมติดำเนินงานมา 10 ปีเราได้เงินมา 70 บาทละปรากฎว่าหลังจากนั้นไม่มีคนมาเช่าเลยอสังหาริมทรัพย์นี้ไม่มีคนเช่า  ก็แปลว่าเราก็ได้มา 70 บาทน่ะแหละ ไม่ครบ 100 บาทที่เราลงทุนไปตอนแรก

ลดทุนนี่มันอะไรยังไง ?  

มันก็จ่ายออกมาเหมือนเงินที่กอง REIT จ่ายออกมาให้เรานี่แหละ  เพียงแต่เค้าจะบอกชัดเจนเลยว่าเป็นการลดทุน ประเด็นคือส่วนที่เป็นการลดทุนไม่ต้องเสียภาษี  และ REIT ที่เป็น Leasehold เค้าจะเริ่มลดทุนเมื่อราคายุติธรรมของเงินลงทุนในสิทธิการเช่าต่ำกว่าราคาทุน

 

คำนวณผลตอบแทน

ใช้ function IRR บน Excel เอาเลยครับ

 

สนใจศึกษาเพิ่มเติมผมแนะนำ e-learning ของตลาดหลักทรัพย์  ผมทิ้ง Link ไว้ข้างล่างนี้ครับ https://elearning.set.or.th/SETGroup/courses/44/info

แล้วก็เรื่องการลดทุนของ Leasehold หลักทรัพย์กสิกรมีอธิบายอยู่ผมทิ้ง Link ไว้เช่นกัน  https://www.kasikornasset.com/th/market-update/Pages/Property-Fund_Leasehold.aspx

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

เลือก REIT ยังไง ให้ปลอดภัย + ปันผลสม่ำเสมอ

How to Choose REIT, Safe + Reliable Dividend

เลือก REIT ยังไง ให้ปลอดภัย + ปันผลสม่ำเสมอ

เลือก REIT ยังไงดี ?

จากวีดิโอหัวข้อก่อนหน้านี้ที่ผมเพิ่งทราบว่า REIT ในอเมริกาผลตอบแทนดีกว่าหุ้น  วีดิโอนี้ผมมาเล่าให้ฟังว่าจากที่เริ่มศึกษามา สิ่งที่ผมมองว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการเลือก REIT มันมีอะไรบ้าง

ก่อนอื่นเลยโดยภาพรวมผมมีความรู้สึกว่าพวก REIT, Property Fund กับ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (IFF) มันจะคล้ายๆกันเลยนะ  ในรายละเอียดมีความแตกต่างกันแหละ แต่จากมุมมองผมมันก็เป็นหน่วยลงทุนที่ไปซื้อทรัพย์สินหรือสิทธิ์การเช่าระยะยาวของทรัพย์สินแล้วเอามาปล่อยเช่าหารายได้  กำไรส่วนใหญ่ต้องจ่ายเป็นปันผลออกมาให้นักลงทุนเหมือนกัน และเท่าที่อ่านดูวิธีเลือกพวกนี้ผมก็รู้สึกว่ามันคล้ายๆกันนะครับ ดังนั้นผมพูดถึงพวกนี้รวมๆกัน และพูดถึงเรียงตามความสำคัญละกันนะครับ

 

ดูว่าอัตราเงินปันผลตอบแทนว่าน่าสนใจสำหรับเรามั้ย

อันนี้ก็ตรงไปตรงมา  ถ้า Yield ต่ำมากไม่น่าสนใจเราก็ข้ามไปดูอันอื่น

ดูตัวทรัพย์สินที่เค้าไปลงทุน

เรื่องนี้สำคัญสุด  เพราะเราจะได้ปันผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าทรัพย์สินนั้นมันมีคนมาเช่าหรือเปล่า  เราต้องเข้าใจลักษณะของทรัพย์สิน มันเป็นห้างหรือออฟฟิศสำนักงานหรือโรงแรมหรือโกดังหรืออะไร  และต้องคิดว่ามันจะมีคนเช่าหรือเปล่า

ไปดูว่าคร่าวๆว่าเป็นทรัพย์สินอะไรได้บนเวป SET

ดูผลการดำเนินงานอย่างคร่าว

ถ้าให้ดีมันก็ควรจะทำได้ดีขึ้นหรืออย่างน้อยเท่าเดิมน่ะนะครับ  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของทรัพย์สินด้วยแต่โดยปกติผมก็จะดูว่าทำได้ใกล้เคียงเดิมมั้ย

 

ดูว่าเป็น Leasehold หรือ Freehold

ประเด็นตรงนี้ก็สำคัญ  ถ้าเป็น Freehold แปลว่าตัว REIT ซื้อตัวทรัพย์สินและเป็นเจ้าของทรัพย์สินนั้นเลย  ดังนั้นสามารถหาประโยชน์กับทรัพย์สินนั้นไปได้ตลอดไป แต่ถ้าเป็น Leasehold แปลว่าตัว REIT ซื้อสิทธิ์การเช่าทรัพย์สินและเป็นมีสิทธิหาประโยชน์จากค่าเช่าภายในระยะเวลาที่จำกัดในสัญญา  ดังนั้นแปลว่าถึงวันหนึ่งที่สิ้นสุดสัญญา REIT ก็จะปิดไปหรืออย่างน้อยก็ไม่ได้รายได้จากทรัพย์สินนั้นแล้ว

ก็ส่วนตัวผมอาจจะชอบ Freehold มากกว่าแหละ  แต่ไม่ได้แปลว่า Leasehold มันด้อยกว่านะครับ  สุดท้ายมันขึ้นอยู่กับว่าอัตราผลตอบแทนที่ Leasehold จ่ายอยู่เทียบกับราคาและดูว่าเหลืออยู่กี่ปี  Leasehold มันอาจจะดีกว่า Freehold ก็ได้ถ้าอัตราผลตอบแทนที่จ่ายอยู่สูงกว่ามากและเหลืออยู่อีกหลายปี  ต้องดูรายตัวอยู่ดี

 

ดูตัววัดสำคัญอย่าง Occupancy rate, ค่าเช่าต่อตารางเมตร, ฯลฯ

เรื่องนี้ก็สมควรดู  ปกติก็จะอยู่ในรายงานประจำปีเช่นกัน  สุดท้ายมันก็ส่งผลต่อการเก็บค่าเช่าน่ะแหละ

 

ดูลักษณ ะของสัญญาที่ทำกับผู้เช่า

ดูว่าทำสัญญาเอาไว้แบบไหน  ระยะเวลาของสัญญาเท่าไหร่ โดยเฉพาะพวกกองทุนที่มีผู้เช่าหลักแค่คนเดียวเรื่องนี้จะมีผลเยอะ  ถ้าเป็นพวกศูนย์การค้าหรืออาคารสำนักงานที่มีผู้เช่าหลากหลายเรื่องนี้ไม่ค่อยซีเรียส

ผมเอะใจว่าเรื่องนี้สำคัญตอนเจอสองกองทุนที่ให้เช่าตัวอาคารสำหรับทำธุรกิจโรงแรมคล้ายๆกัน  แต่สองกองทุนนี้รายได้ต่างกันเพราะตัวสัญญาที่กองทุนทำกับผู้เช่า อันนึงคือ TLHPF ที่ให้เช่าตัวโรงแรมพีพี ฮอลิเดย์ อินน์ รีสอร์ท  กับ LUXF ที่ให้เช่าตัวโรงแรม Six Sense ยาวน้อย

รายได้ของ TLHPF คงที่มาก  เพราะตัวสัญญากำหนดค่าเช่าตายตัวไว้เลย  ดังนั้นเราก็สบายใจได้ว่าไม่ว่าโรงแรมจะทำได้ดีหรือไม่ดี  อย่างน้อยผู้เช่าซึ่งคือฮอลิเดย์ อินน์ก็ต้องจ่ายค่าเช่าเท่าที่ตกลงกันไว้  แต่ก็แปลว่าโอกาสจะได้ดีขึ้นก็ไม่มีเช่นกัน

ส่วนรายได้ของ LUXF โตขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา  เพราะลักษณะสัญญาเป็นแบบมีส่วนที่คงที่ไม่เยอะ แล้วก็มีส่วนที่เป็นผันแปรตามผลประกอบการของโรงแรม  ก็เลยทำให้ผลตอบแทนดีขึ้นได้ แต่ก็เสี่ยงว่าถ้าโรงแรมทำได้ไม่ดีเงินปันผลที่ได้ก็จะหดลงไปได้เหมือนกัน

 

ปัจจุบันผมก็จะดูประมาณนี้เลยครับ

 
ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

มีหุ้นอะไรให้ปันผล (Dividend Yield) เกิน 5% บ้าง ??

Where can I find stocks with above 5% dividend yield ??

มีหุ้นอะไรให้ปันผล (Dividend Yield) เกิน 5% บ้าง ??

หัวข้อวันนี้ต่อเนื่องจากที่เราเคยทำวีดิโออธิบายวิธีการเลือกหุ้นปันผลไป  (ถ้าใครไม่เคยดูหัวข้อวิธีเลือกหุ้นปันผล ดูได้ที่ https://youtu.be/KsC0Q-8HIC4)

มีคนถามเข้ามาว่า “ตอนนี้มีหุ้นตัวไหน Dividend yield เกิน 5% บ้างครับ ?”  ซึ่งถ้าจะตอบตรงคำถามว่ามีหุ้น A, B, C, … มันก็จะไม่จบเพราะเดี๋ยวผ่านไปสามเดือนก็จะต้องมีถามคำถามเดิมใหม่  ดังนั้นผมเปลี่ยนวิธีตอบคำถามนิดนึงและยกระดับคำตอบขึ้นไปอีกระดับคือในวีดิโอนี้เดี๋ยวผมจะบอกวิธีว่าเราจะหารายชื่อหุ้นอะไรให้ปันผลเกิน 5% ดีกว่าครับ

ผมแนะนำให้ใช้ลิ้งค์นี้ของ morningstarthailand.com ครับ  http://tools.morningstarthailand.com/th/stockquickrank/default.aspx?Site=th

เข้าไปปุ๊บง่ายมาก  กดตรง Dividend Yield ให้มันเรียงหุ้นทั้งหมดจาก Dividend Yield มากไปหาน้อย  จบละครับ

ที่เหลือก็คือเลือกจากบนนี้ว่ามีบริษัทไหนที่กิจการเข้มแข็งและเรามั่นใจว่าจะยังทำได้ดีสม่ำเสมอต่อไปในอนาคตบ้าง  เพราะอย่าลืมว่าบริษัทจะจ่ายปันผลได้มันต้องมีกำไรก่อน ตัวเลข Dividend Yield ที่เห็นคือเค้าเทียบปันผลที่เคยจ่ายไปแล้วล่าสุดกับราคาตอนนี้  ไม่ได้แปลว่ามันจะปันผลเท่านี้ต่อไปในอนาคต อย่าเลือกโดยดู Dividend Yield อย่างเดียว

เรียบร้อยครับ  สรุปคำตอบของคำถามนี้คือ  คุณไปดูเอาเอง และวิธีดูผมก็อธิบายไปเรียบร้อยแล้ว

 

 
ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ไปลงทุนต่างประเทศ โบรกเกอร์ไหนดี ?

Best Brokerage for Your Foreign Investment

ไปลงทุนต่างประเทศ โบรกเกอร์ไหนดี ?

มีคนถามผมว่าเปิดพอร์ตหุ้นต่างประเทศกับโบรกเกอร์ไหนดี ? มันมีความแตกต่างกันมั้ย ?  ปกติผมก็จะตอบว่าแต่ละโบรกเกอร์ก็มีความต่างกันบ้างเหมือนกัน แต่เปิดกับโบรกเกอร์ที่เราสะดวกน่ะแหละ  เรามีบัญชีอยู่แล้วกับ SCB หรือ KBANK ก็เปิดกับเจ้านั้น แต่วันนี้เราจะมาเปรียบเทียบกันอย่างละเอียดที่สุดเท่าที่ผมรู้ละกันนะครับ

 

ค่าธรรมเนียมซื้อขาย

โดยภาพรวม KBANK จะชนะครับ  ประเทศส่วนใหญ่ค่าธรรมเนียม SCB กับ KBANK จะเท่ากัน  แต่ KBANK จะดีกว่าตรงค่าธรรมเนียมขั้นต่ำต่ำกว่า ดังนั้นถ้าสมมติเรากะจะซื้อประมาณหลักหลายแสนซื้อผ่าน KBANK ก็จะได้เปรียบ  แต่ถ้าเราเป็นพวกซื้อครั้งนึงเป็นล้านอยู่แล้ว SCB กับ KBANK ก็จะไม่ต่างกัน ส่วน Kim Eng โดยรวมจะแพงกว่าคนอื่นเกือบทุกตลาด

แต่ไม่ใช่ว่า KBANK จะดีสุดตลอดนะครับ  SCB จะค่าธรรมเนียมต่ำสุดตลาดหุ้นเวียดนาม  KBANK ผมเห็นเด่นแคนาดา ส่วน Kim Eng จะเด่นเกาหลี

 

ค่าใช้จ่ายตอนโอนเงินออกจากหรือกลับเข้ามาไทย

เรื่องนี้ SCB จะดีกว่า KBANK

ของ SCB มีเฉพาะตอนเอาเงินกลับไทย  ครั้งละ 500 บาท

KBANK มีทั้งตอนโอนเงินออกและกลับเข้ามา  ครั้งละ 1,300

ส่วน Kim Eng เห็นว่าจะมีทั้งตอนโอนเงินออกและเอากลับมา  ครั้งละ 500 หรือ 1,000 บาทแล้วแต่สกุลเงินที่เราแปลงไปหรือกลับมา

ดูแล้วเรื่องนี้ SCB ดีสุดชัดเจน

 

ตลาดที่ไปได้

หัวข้อนี้ต่างอยู่  เป็นเหตุผลที่ทำไมผมมีบัญชี SCB อยู่แล้วแต่ยังจะไปเปิดบัญชีกับ KBANK เพราะมันมีบางประเทศที่ไปได้ต่างกันนี่แหละ  ตลาดหุ้นหลักๆทั่วประเทศนี่ไปได้อยู่แล้ว แต่มันจะมีบางประเทศที่ต่างกัน ผมไปเช็คบนเวปเค้าผลปรากฎว่า SCB ไปได้น้อยสุดละ

SCB ครอบคลุมตลาดหลักๆทั้งหมด

KBANK จะมีเพิ่มจาก SCB คือ Norway, Poland, Ireland, Austria, Turkey

Kim Eng จะมีเพิ่มจาก SCB คือ Norway, Ireland, Greece, Luxembourg

แต่แปลกมากที่ตลาดใหญ่ๆบางประเทศไม่มีโบรกเกอร์ไหนไปได้เลยเช่น South Africa, India

 

ข้อมูลพวก research

ของ SCB และ KBANK ก็ค่อนข้างน้อยทั้งคู่ครับ  แต่เข้าใจว่าในอนาคตถ้ามีการลงทุนหุ้นต่างประเทศได้รับความนิยมเยอะขึ้นลูกค้าเยอะขึ้นเค้าจะมีเพิ่มขึ้นมาเอง  ส่วน Kim Eng ยังไม่เคยใช้บริการผมไม่ทราบจริงๆ

โดยรวมก็ไม่ต้องคิดมาก  คิดซะว่าต้องทำการหาข้อมูลเองแน่ๆไว้ก่อน

 

สรุปว่า  ถ้าเป็นผมก็จะใช้ของ SCB เป็นหลักเพราะผมจะให้ความสำคัญกับเรื่องของค่าธรรมเนียมมากกว่าเรื่องอื่น  ถ้าสังเกตเรื่องค่าธรรมเนียมซื้อขายกับค่าธรรมเนียมโอนเงินเข้าออก SCB จะดีสุด แล้วก็น่าจะเป็น KBANK ตามมาในบางกรณีที่ไปซื้อหุ้นในตลาดที่ SCB ไปไม่ได้  อย่าง Norway, Poland, Turkey ก็น่าสนใจอยู่ครับ ส่วนถ้าเป็นคุณก็เอาตามที่สะดวกเลยครับผมมาให้ข้อมูลเฉยๆไม่ได้มีใครจ้างมาอยู่แล้วครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

อ่านงบบัญชีอย่างเดียว โดยไม่ศึกษาธุรกิจได้มั้ย ??

Can we rely solely on financial statements, without any understanding of business characteristics ??

อ่านงบบัญชีอย่างเดียว โดยไม่ศึกษาธุรกิจได้มั้ย ??

โดยปกติผมจะบอกว่าเวลาเรามองธุรกิจที่ยอดเยี่ยมให้ดูที่ลักษณะธุรกิจที่เค้าทำแล้วพยายามทำความเข้าใจว่าบริษัทนั้นมีอำนาจในการบังคับผู้บริโภคหรือเปล่าก่อน  หลังจากคิดว่าบริษัทนั้นมีอำนาจแล้วค่อยไปดูผลการดำเนินงานอีกทีว่ามันสอดคล้องกับสิ่งที่เราคิดมั้ย ซึ่งถ้ามันเป็นธุรกิจที่ยอดเยี่ยมจริงมันจะต้องผ่านทั้งสองเรื่องแหละ  เพราะธุรกิจที่มีอำนาจบังคับผู้บริโภคได้ก็จะทำกำไรได้ดีด้วย

แต่ทีนี้มีคนถามว่าเค้าไม่ถนัดการดูลักษณะธุรกิจ  สมมติใช้วิธีดูงบการเงินอย่างเดียว เช่นดูเทรนด์ของรายได้กับกำไรย้อนหลัง 10 ปีแทนการดูลักษณะธุรกิจเลยได้มั้ย  เพราะยังไงธุรกิจที่ดีมันก็ต้องมีผลการดำเนินงานที่ดีอยู่แล้วนี่ เราก็ดูตัวเลขไปเลยไม่ดีกว่าเหรอ ซึ่งเป็นคำถามที่ดีมากเลยนะครับ  ต้องชมคนถามจริงๆ

ตอบตามตรงเลยคือถ้าเปิดดูงบการเงินเพื่อใช้กรองดูว่าน่าสนใจจะไปศึกษาจริงจังต่อมั้ยอันนี้ผมว่าโอเคไม่มีปัญหา  แต่ถ้าสมมติจะซื้อหุ้นเลยโดยที่ไม่ทำความเข้าใจลักษณะธุรกิจให้ดีก่อนผมแนะนำว่าอย่าดีกว่าครับ เพราะผมก็เคยทำแบบนั้นมาก่อนเหมือนกันครับ   แต่ผมพบว่าทำแบบนั้นมันยังมีช่องโหว่ทำให้เกิดความพลาดได้อยู่ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ครับ

  1. บริษัทอาจจะไม่มีอำนาจ  แต่ช่วงที่ผ่านมาบังเอิญเป็นช่วงอุตสาหกรรมนั้นบูมพอดี

เราอาจจะโดนหลอกได้  อันนี้เป็นอะไรที่ไม่ได้เจอบ่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าดูย้อนหลัง 10 ปี  แต่ก็เป็นไปได้อยู่นะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (2009-2018) มันเป็นช่วงฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจดังนั้นหลายบริษัทก็จะดูเป็นทิศทางขาขึ้น

ตัวอย่างเช่น Trucking ในอเมริกาตอนนี้ดูดีมากทุกบริษัทเพราะ E-Commerce บูม

หรืออย่างกลุ่มธนาคารในจีนก็จะดูดีมาก  เพราะช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจจีนเติบโต ธนาคารไหนก็ดูดี

  1. ธุรกิจบางประเภทจะถูกตัดออกไปเพราะตัวเลขอัตราส่วนทางบัญชีดูไม่ดี  หรือบางบริษัทก็จะดูดีมากทั้งที่มันก็ธรรมดาในธุรกิจประเภทนั้น

ต้องเข้าใจว่าธรรมชาติของธุรกิจที่ต่างกันจะทำให้ตัวเลขอัตราส่วนทางบัญชีบางตัวต่างกันมาก  เอาง่ายๆอย่าง Net Profit Margin ที่ต่ำไม่ได้แปลว่ามันจะต้องไม่ดีเสมอไป อย่าง Makro อยู่ 3%  หรือ Costco อยู่ 1% พวกนี้ธุรกิจเข้มแข็งมากแทบไม่มีคู่แข่งที่ทำแบบเดียวกัน

ธุรกิจธนาคารก็เป็นอีกตัวที่ต่างมาก  ROE ธนาคารมันสูงกว่าธุรกิจอื่นดังนั้นจะดูดีมาก  แต่ถ้าดูพวกอัตราส่วนเกี่ยวกับหนี้ก็จะบอกว่าบริษัทบ้าอะไรเสี่ยงมาก  ROA ก็จะต่ำมากโดยปกติเกิน 1% ก็เยี่ยมละ

  1. บางบริษัทที่มีอำนาจผลประกอบการขึ้นลงเพราะใหญ่จัด

บางบริษัทที่เข้มแข็งมากก็มีผลประกอบการแกว่งขึ้นลงตามสภาพเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมนั้นๆ  อย่าง Thor

  1. และที่เลวร้ายสุดเลยคือเจอบริษัทที่ทำงบบัญชีหลอก

สุดท้ายบริษัทมันก็โดนจับได้แหละ  แต่เราอาจจะโดนหลอกไปก่อนแล้ว

ผมเคยเจอบริษัทในอินเดียที่ผลประกอบการดูดีมาก  เป็นทิศทางเติบโตสม่ำเสมอ แต่ที่เอะใจคือมันเป็นบริษัทขายข้าว  ซึ่งในหัวผมคือมันเป็นไปไม่ได้เลยที่มันจะสม่ำเสมอขนาดนี้ในเมื่อเราก็รู้อยู่ว่าสินค้าเกษตรราคาเปลี่ยนแปลงทุกปีผลผลิตเปลี่ยนแปลงทุกปี  บริษัทมันจะสม่ำเสมออะไรขนาดนั้น ก็เลยไม่ได้ซื้อหรือดูต่อ แล้วผ่านไปซักพักก็ได้ข่าวบริษัทนี้ผู้บริหารโดนจับครับ

 

ดังนั้นกล่าวโดยสรุปคือผมแนะนำว่ายังไงก็ต้องดูพิจารณาตัวธุรกิจครับ  คือถ้าจะกรองหยาบๆด้วยการเปิดงบการเงินย้อนหลังดูนี่ผมโอเคนะ ไม่มีปัญหาเลยทำตามสบาย  แต่เหนื่อยหน่อยเพราะถ้าเริ่มด้วยการดูงบการเงินมันก็จะกลายเป็นว่าต้องเปิดดูทุกตัวใช่มั้ยครับ  แทนที่จะเป็นเริ่มจากธุรกิจที่เราคิดว่าน่าสนใจมีอำนาจแล้วค่อยไปดูงบการเงินคอนเฟิร์มเฉพาะตัวที่เราสนใจ  แต่ถ้าจะตัดสินใจซื้อหุ้นเลยแบบเอาเงินจริงไปลงทุนในบริษัทเลยแต่ไม่ได้พยายามทำความเข้าใจลักษณะธุรกิจนี่ผมไม่เห็นด้วยครับ  เคยทำละครับไม่เวิร์คครับ เตือนด้วยความหวังดี

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

เค้าจะแตกพาร์หุ้นไปเพื่ออะไร ??

What are the uses of stock splits??

เค้าจะแตกพาร์หุ้นไปเพื่ออะไร ??

หลายคนทราบอยู่แล้วว่าการแตกพาร์หุ้นมันก็เหมือนการแบ่งก้อนเค้กก้อนเดิมถี่ขึ้น  ซึ่งมันไม่มีผลอะไรกับผู้ถือหุ้นไม่ได้มีอะไรดีขึ้นหรือแย่ละ โดยรวมมูลค่าของหุ้นที่ถืออยู่ก็เหมือนเดิม  สัดส่วนความเป็นเจ้าของก็เท่าเดิม แค่ว่าดูเหมือนมีหลายหุ้นมากขึ้นเท่านั้นเอง ก็เลยมีคนถามขึ้นมาว่ามันจะทำไปเพื่ออะไร

เหตุผลหลักคือต้องการให้มันซื้อขายคล่องมากขึ้นเท่านั้นเองครับ  นึกภาพแบบหุ้นโรงพยาบาลรามคำแหงเป็นต้น (RAM) ช่วงก่อนที่เค้าจะแตกพาร์ราคาหุ้นเคยอยู่ 3,000 กว่าบาท  มันเลยทำให้นักลงทุนที่เงินไม่เยอะมากซื้อหุ้นนี้ลำบาก เพราะซื้อทีต้องเป็นล็อต 50 หุ้น (หุ้นเกิน 500 บาท) คิดเป็นเงินก็เกิน 150,000 บาทละ  ภายหลังจากแตกพาร์จากพาร์ 10 บาทเป็นพาร์ 0.5 บาทหรือก็คือแตกจาก 1 หุ้นเดิมเป็น 20 หุ้น ก็เหลือหุ้นละ 150 บาทงี้ ทำให้มีนักลงทุนรายย่อยเข้าถึงได้มากขึ้นครับ

จากการที่คนเข้าถึงได้มากขึ้น  ทำให้ความต้องการหุ้นเพิ่มมากขึ้น  และอาจจะส่งผลทำให้ราคาหุ้นที่ปรับพาร์แล้วสูงขึ้นได้เหมือนกัน  อย่างหุ้นโรงพยาบาลรามคำแหงก็เป็นหนึ่งตัวอย่างของหุ้นที่เมื่อแตกพาร์แล้วปรากฎว่าราคาหุ้นสูงขึ้นกว่าที่ควรจะเป็นหลังปรับพาร์

แต่อย่าไปเข้าใจว่าแตกพาร์หุ้นแล้วมูลค่าโดยรวมมันจะสูงขึ้นนะ  ปกติแล้วมันก็จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงหรอกครับเพราะสุดท้ายมันก็เป็นบริษัทเดิมที่ผลประกอบการเหมือนเดิมและสัดส่วนความเป็นเจ้าของที่เราถือก็เหมือนเดิ

 
ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ ต้องมีเงินอย่างน้อยเท่าไหร่?

Minimum Fund Needed for Global Stock Investment

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ ต้องมีเงินอย่างน้อยเท่าไหร่?

จริงๆก็ไม่ได้ว่ามีกฎว่าจะต้องมีเงินเท่าไหร่ถึงจะลงทุนในหุ้นต่างประเทศได้นะครับ  ผมคิดว่าเอาแค่ให้จำนวนเงินที่ลงทุนซื้อไปแล้วค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายเท่ากับหรือมากกว่าค่าธรรมเนียมขั้นต่ำก็ใช้ได้

ผมสอนวิธีคำนวณแบบเป๊ะๆก่อนเลยละกันเผื่อใครสนใจจะได้ไปทำเอง  เดี๋ยวทำให้ดูซัก 1-2 ตัวอย่างโดยอิงจากของ SCBS ละกันครับ สมมติว่าถ้าเป็นของ KSecurities โดยรวมมันจะน้อยกว่าในตัวอย่างนี้เพราะค่าธรรมเนียมขั้นต่ำของเค้าต่ำกว่าของ SCBS

 

หุ้นเยอรมนี

35 EUR / 0.25%  = 14,000 EUR

ก็คือต้องซื้อ 14,000 EUR ถึงจะเท่ากับค่าธรรมเนียมขั้นต่ำพอดี  ซึ่งคือคร่าวๆประมาณ 470,000 บาท

 

หุ้นฮ่องกง

200 HKD / 0.2%  = 100,000 HKD

ซึ่งคือคร่าวๆ 388,000 บาท

 

ถ้าเอาแบบภาพรวมเลขกลมๆก็ตีว่าซื้อครั้งละ 450,000 – 500,000 บาทนี่คือน่าจะเกินค่าธรรมเนียมขั้นต่ำค่อนข้างแน่นอนละครับ  ส่วนของ KSecurities ก็น้อยกว่านี้

 
ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ ค่าธรรมเนียมแพงมั้ย ??

How Much is Global Trading Fee?

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ ค่าธรรมเนียมแพงมั้ย ??

โดยรวมก็แพงกว่านะครับ  เท่าที่ดูตลาดส่วนใหญ่มันก็จะแพงกว่าตลาดหุ้นไทยแหละ  ไม่รู้ว่าเพราะอะไรเท่าที่ดูเหมือนว่าแต่ละโบรกเกอร์จะมีความแตกต่างกันบ้างเหมือนกันนะครับ  คร่าวๆมันเป็นประมาณนี้

 

อเมริกา

SCB 8 Cent/share ขั้นต่ำ 30 USD

KS 8 Cent/share ขั้นต่ำ 20 USD

Kim Eng 0.32% ขั้นต่ำ 600 บาท

** มีเพิ่มค่าธรรมเนียมตอนขายอีกนิดหน่อย  ประมาณ 0.002% แต่ก็งงว่าทำไมแต่ละเจ้าต่างกันนิดหน่อย

ลองคิดคร่าวๆว่าสมมติซื้อ 500,000 บาทซึ่งคือประมาณ 16,436 USD  

ถ้าหุ้นละ 50 USD ก็จะเป็น 328 หุ้น  เราก็จะโดนขั้นต่ำ 30 USD หรือคิดเป็นค่าธรรมเนียมประมาณ 0.1825%  แต่ถ้าเป็นของ KSecurities จะเป็น 26.24 USD หรือคิดเป็นค่าธรรมเนียมประมาณ 0.1596%

จะเห็นว่าไม่ได้แพงต่างกับหุ้นไทยเท่าไหร่

 

โซนยุโรป (ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, เดนมาร์ก, ฯลฯ)

SCB 0.25% ขั้นต่ำ 35 EUR

KS 0.25% ขั้นต่ำ 20 EUR

Kim Eng 0.55% ขั้นต่ำ 1,000 บาท

** บางประเทศมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเช่น  อังกฤษมีตอนซื้อ 0.5% ฝรั่งเศสมีตอนซื้อ 0.3%

 

จีน

SCB 0.3% ขั้นต่ำ 200 RMB

KS 0.3% ขั้นต่ำ 150 RMB

Kim Eng 0.43% ขั้นต่ำ 1,000 บาท

** มีเพิ่มค่าธรรมเนียมตอนขายอีกนิดหน่อย  ประมาณ 0.1%

 

ฮ่องกง

SCB 0.2% ขั้นต่ำ 200 HKD

KS 0.2% ขั้นต่ำ 150 HKD

Kim Eng 0.32% ขั้นต่ำ 600 บาท

** มีเพิ่มค่าธรรมเนียมอีก  ประมาณ 0.11%

 

ญี่ปุ่น

SCB 0.3% ขั้นต่ำ 2,000 Yen

KS 0.3% ขั้นต่ำ 3,000 Yen

Kim Eng 0.43% ขั้นต่ำ 1,000 บาท

 

ตลาดหุ้นที่แพงมากเป็นพิเศษก็จะมีเช่น

เกาหลีใต้ 

SCB 0.6% ขั้นต่ำ 60,000 KRW

KS 0.65% ขั้นต่ำ 60,000 KRW

Kim Eng 0.43% ขั้นต่ำ 1,000 บาท

** มีเพิ่มค่าธรรมเนียมตอนขายอีก  ประมาณ 0.3%

 

จากที่ผมสังเกต SCB จะเด่นเวียดนาม  KS จะเด่นแคนาดา Kim Eng เด่นเกาหลีครับ

สรุปคือถ้าจะไปซื้อขายเก็งกำไรระยะสั้นอาจจะไม่ค่อยเวิร์คยกเว้นตลาดหุ้นอเมริกาที่ดูค่าธรรมเนียมเท่าๆกับไทย  แต่ถ้ามองว่าจะลงทุนระยะยาวไม่ได้ซื้อขายบ่อยๆก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไร ถ้าใครต้องการรายละเอียดสามารถไปอ่านเพิ่มเติมได้บนเวป

SCB  http://www.scbs.com/en/product/product-offshore/

KS  https://www.kasikornsecurities.com/ksec/upload/ContentEditor/09_30_2019_163056028.pdf

Kim Eng  https://www.maybank-ke.co.th/en/products-services/products-services/offshore-trading/

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ เปิดบัญชียังไง ??

How to Register for an International Stock Account ??

ลงทุนหุ้นต่างประเทศ เปิดบัญชียังไง ??

ขั้นตอนการเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศทำยังไง ?

ตอนแรกก็ว่าจะไม่ทำวีดิโอหัวข้ออะไรประมาณนี้แล้วนะ  แต่เห็นมีคนถามหลายคนก็เลยจะทำวีดิโออธิบายไว้ให้สมบูรณ์ไปเลยทีเดียวครับ

เท่าที่ผมทราบตอนนี้บริษัทหลักทรัพย์ที่มีบริการซื้อขายหุ้นต่างประเทศจะมี SCB Securities, KSecurities  แล้วก็ Kim Eng แต่ละโบรกเกอร์จะมีความแตกต่างกันบ้างในรายละเอียดปลีกย่อยเช่นเรื่องค่าธรรมเนียมกับไปได้บางประเทศไม่เหมือนกัน  แต่ตลาดต่างประเทศหลักๆอย่างอเมริกา, ยุโรป, จีน, ญี่ปุ่น, ฯลฯ ไปได้เหมือนกันหมด

เปิดบัญชีของ SCB Securities

ปัจจุบันผมใช้ของที่นี่เป็นหลักเพราะตอนนั้นเจอเป็นเจ้าแรกที่ทำได้

วิธีการเปิดบัญชีปัจจุบันของ SCB Securities เค้ามี 2 ทางคือ

1. เปิดผ่านแอพ SCB Easy

ซึ่งเป็นอะไรที่ดีมากครับ  แต่ก่อนไม่มี สะดวกมากและเราแนะนำให้ทำผ่านทาง SCB Easy นี่แหละครับ

ขั้นตอนคือ

  • เปิด SCB Easy
  • เลือก “การลงทุน”
  • เลือก “ลงทุนกับ  SCBS”
  • ใส่ PIN
  • เลือก “เปิดบัญชี”
  • เลือก “อนุญาต”
  • ตรงนี้เค้าจะบอกว่าทำการเปิดบัญชีครั้งนี้ครั้งเดียว  ได้หมดเลยทั้งหุ้นไทย, ต่างประเทศ, กองทุน
  • ดูว่าคุณสมบัติเราผ่าน
  • ใส่หมายเลขที่อยู่ด้านหลังบัตรประชาชน
  • เช็คข้อมูลส่วนตัวว่าถูกต้องมั้ย
  • ที่อยู่ดูให้เรียบร้อย
  • สถานภาพสมรส
  • ใส่ข้อมูลอาชีพ
  • ใส่ข้อมูลเรื่องวัตถุประสงค์การลงทุน
  • กำหนดวงเงิน  เลือกหักภาษี ณ ที่จ่าย
  • เลือกลักษณะที่เราลงทุน  โดยปกติหุ้นต่างประเทศก็อาจจะต้องรับความเสี่ยงได้ระดับหนึ่ง
  • ทำประเมินการรับความเสี่ยงซะ
  • ตรงที่ถาม  รับความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนได้มั้ย  ต้องตอบว่า “ได้” ไม่งั้นน่าจะเปิดบัญชีหุ้นต่างประเทศไม่ได้
  • เลือกบัญชี SCB ที่ผูกกับบัญชีหุ้น
  • ตรวจสอบข้อมูลอีกที
  • เลือก “ยอมรับ”
  • ยืนยันเบอร์โทร
  • จบละ

ง่ายมากและเร็วมากจริงๆครับ  หลังจากทำเสร็จปุ๊บผมยังนึกว่าต้องใช้เวลาซัก 1 วัน  แต่ปรากฎว่าอนุมัติทันทีและเค้าส่ง Username และ Password มาทันที  ที่เหลือคือไปตั้งรหัสของตัวเองแล้วก็ก่อนซื้อขายต้องโอนเงินเข้าไปในบัญชีก่อนครับ

Login ของบัญชีหุ้นต่างประเทศมันจะอยู่ล่างๅ

2. เปิดโดยการกรอกเอกสาร

โทรไปหาเค้าแล้วแจ้งว่าจะเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศ  แจ้งที่อยู่ให้เค้าส่งมาให้

SCB Securities เค้าจะมีเอกสารอธิบายว่าต้องทำอะไรเตรียมอะไรอยู่แล้ว

ส่วนตรงข้อมูลส่วนตัวพวกเรื่องรายได้, รายได้อื่นกับข้อมูลการติดต่อกับสถาบันการเงินต่างๆ  ตรงนี้ปกติไว้ใช้พิจารณาวงเงิน ซึ่งบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศเป็น Cash Balance อยู่แล้ว ดังนั้นจึงไม่มีความสำคัญอะไรไม่ได้ต้องซีเรียส

พวกประวัติฟอกเงินหรือเคยถูกปฏิเสธการรับทำธุรกรรมทางการเงิน  พวกนี้เราก็ตอบไปตามจริงซึ่งโดยปกติผมว่าไม่น่าจะมีใครมีปัญหาอยู่แล้ว

เรื่องการรับความเสี่ยง  ตรงคำถามว่าท่านสามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ระดับใด  ถ้าตอบว่าน้อยที่สุดก็อาจจะเปิดไม่ได้ ส่วนสำหรับการลงทุนในต่างประเทศ  ถ้าตอบว่าไม่ได้นี่คือเปิดบัญชีไม่ได้แน่ๆ ตอบว่าได้นี่คือชัวร์สุด ผลรวมถ้าคะแนน 30 คะแนนขึ้นไปก็คือเปิดได้ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร

เรื่องข้อมูลธนาคารในการรับเงิน  E-Dividend หรือการหักเงินบัญชีธนาคารโดยตรง  จะไม่มีถ้าเป็นหุ้นต่างประเทศเพราะเป็นระบบ Cash Balance อย่างเดียว

เลือกเปิดบัญชี  เลือกทั้งสั่งคำสั่งผ่านระบบ Internet และผ่านผู้แนะนำการลงทุน  

ที่เหลือคือกรอกเอกสารตามความเป็นจริงและเซ็นให้เรียบร้อย

FATCA ตอบตามความเป็นจริง  ถ้าไม่ใช่ชาวอเมริกันก็คือตอบ No ทุกข้ออยู่แล้ว

W-8BEN อันนี้เรื่องภาษีของ US เพื่อกลับมาเสียภาษีที่ไทย

Globe Tax ประหยัดภาษีปันผลจาก 30% เหลือ 15% มีค่าบริการ

ของ SCB เค้าจะไม่มีกำหนดว่าต้องมีเงินเท่าไหร่ในบัญชี

ส่วนเรื่องค่าธรรมเนียมเวลาเอาเงินออกหรือกลับประเทศไทย  ล่าสุดเค้าบอกว่าโอนออกไม่เสียเงินแล้ว แต่ตอนโอนเข้ากลับมาจะมีเสีย 500 บาทต่อครั้ง

เปิดบัญชีของ KSecurities

ของเจ้านี้ผมสนใจขึ้นมาเพราะเกิดสนใจอยากจะลงทุนในหุ้นตุรกี  การเปิดบัญชีของ KSecurities ต้องเปิดด้วยการกรอกเอกสารเท่านั้น  ดังนั้นก็โทรไปขอเค้าเลยครับ

เอกสารไม่ได้มาเป็นเล่มเหมือนของ SCB Securities แต่การกรอกก็คล้ายๆกันครับ

ของที่นี่ผมตอนผมโทรไปเค้าให้ข้อมูลพยายามช่วยเหลือดีมากเลยครับ  เค้าแจ้งว่าของ KSecurities จะมีบทวิเคราะห์ของ S&P Capital IQ แล้วก็สามารถช่วยหาข้อมููลทาง Bloomberg ได้

แต่ที่ผมแปลกใจคือเค้าบอกว่าเรื่องการโอนเงินออกหรือเข้าประเทศไทยมีค่าใช้จ่ายทั้งตอนออกและเข้าครั้งละ 1,300 บาท  ซึ่งก็แปลกว่าทำไมไม่เหมือนของ SCB

และอีกอย่างที่ต่างคือต้องมีการโอนเงินเข้าไปในบัญชี 500,000 บาทก่อน  ถึงจะส่งรหัสมาให้เราเริ่มใช้งานได้ 

เปิดบัญชีของ Kim Eng

ต้องเปิดด้วยการกรอกเอกสาร

ข้อมูลที่กรอกก็เหมือนๆเจ้าอื่น  แต่ต้องมีเปิดบัญชีหุ้นไทยด้วยถึงจะเปิดบัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศได้  ซึ่งก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรเปิดไปทั้งคู่แหละครับ

ไม่มีขั้นต่ำ

ที่เค้าบอกว่าต้องมี Statement ย้อนหลัง 3 เดือนเข้าใจว่าไว้กำหนดวงเงิน  แต่ถ้าเราเปิดบัญชี Cash Balance อย่างเดียวเลยก็ไม่น่าจะต้องใช้

ของที่นี่มีค่าเปิด 90 บาท  อันนี้น่าจะแล้วแต่มาร์เก็ตติ้ง  จริงๆของหลักทรัพย์อื่นก็มีแหละ แต่แค่ว่าตัวมาร์เก็ตติ้งบางคนหรือตัวโบรกเกอร์เค้าออกให้เท่านั้นเอง

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี