เป็นไปได้มั้ยที่ราคาหุ้นจะอยู่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงไปตลอด ??

Can Stock Price Stay Below Intrinsic Value Forever ??

เป็นไปได้มั้ยที่ราคาหุ้นจะอยู่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงไปตลอด ??

เป็นหนึ่งในคำถามแปลกที่มีคนถามเราขึ้นมา  ซึ่งจริงๆก็เป็นคำถามที่สำคัญเหมือนกัน  เพราะถ้าเกิดราคาหุ้นมันสามารถจะอยู่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงไปตลอดได้  วิธีการที่สายพื้นฐานใช้ก็อาจจะไม่ได้ผลก็ได้ใช่มั้ยครับ  ปัญหาคือเรื่องนี้มันพิสูจน์ด้วยสถิติลำบากมากเพราะมันไม่มีใครรู้ว่ามูลค่าที่แท้จริงคือเท่าไหร่อย่างชัดเจน  ผมเลยพยายามจะตอบด้วยเหตุและผลจากมุมมองผมละกัน

ต้องเข้าใจก่อนว่าคอนเซปต์คือมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทเป็นมูลค่าที่เหมาะสมที่สุดแล้วโดยคำนึงถึงความสามารถในการทำกำไรของบริษัทในอนาคต  ถ้าบริษัทในอนาคตสามารถทำกำไรได้ตามที่คาดจริง  ตัวเลขมูลค่านี้คือมูลค่าที่เหมาะสมที่สุุดดังนั้นจึงเป็นราคาที่ควรจะเป็นของบริษัทด้วย

ถ้าสมมติตอนแรกราคาหุ้นอยู่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงแสดงว่าคนในตลาดโดยรวมในตอนแรกมีความเชื่อว่าผลประกอบการจะออกมาแย่กว่าที่จริงๆบริษัทจะสามารถทำได้  ทีนี้เมื่อเวลาผ่านไปผลออกมาคือบริษัทผลประกอบการดีกว่าที่คนคาด  คนก็จะเริ่มเปลี่ยนความเชื่อและทำให้ราคาหุ้นมันสูงขึ้นมาได้  กระบวนการนี้อาจจะต้องใช้เวลาหลายปีก็ได้เพราะดีกว่าที่คาดแค่ปีเดียวคนก็อาจจะคิดว่าฟลุ๊ค  ดีกว่าที่คาดติดกันสองปีก็ยังอาจจะฟลุ๊คอยู่  แต่ถ้าดีกว่าที่คาดทุกปีหลายๆปีเข้าผมก็เชื่อว่าวันนึงคนก็จะคิดได้ครับ  แล้วเมื่อคนเปลี่ยนความเชื่อว่าจริงๆบริษัทมีศักยภาพสูงกว่าท่ี่คาดไว้ตอนแรก  กำไรดีกว่าที่คาดปันผลดีกว่าที่คาด  คนก็จะแห่กันอยากได้หุ้นของบริษัทและทำให้ราคาหุ้นของบริษัทสูงขึ้นมาที่มูลค่าที่แท้จริงของมัน

แต่ที่มีคนถามเรื่องนี้ขึ้นมาเข้าใจว่าน่าจะเป็นเพราะใช้วิธีลงทุนโดยซื้อหุ้นราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงละ  แต่ไม่เห็นราคาหุ้นมันจะขึ้นมาซะทีทั้งที่รออยู่นานละก็เลยสงสัย  ผมคิดว่าที่เป็นแบบนั้นอาจเป็นได้สองแบบหลักๆคือ

  1. ไม่นานพอ

ต้องเข้าใจว่าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นได้ครับ  ผลประกอบการออกมาดีก็ไม่ใช่ว่าคนจะเห็นทันที

  1. ตัวเลขมูลค่าที่แท้จริงที่เราได้มันอาจจะผิด

อันนี้ก็เป็นไปได้มาก  เนื่องจากคอนเซปต์ของการหามูลค่าที่แท้จริงมันมีตัวแปรที่ต้องประมาณเยอะ  แถมยังเป็นการคาดเดาไปในอนาคตมันเลยจะยึดถือว่าต้องถูกต้องเนี่ยยาก  เป็นแค่การประมาณการเท่านั้น

ดังนั้นสรุปคือสมมติว่าเราหามูลค่าที่แท้จริงได้ถูกต้องก่อน  ผมเชื่อว่าเป็นไปไม่ได้ที่ราคาหุ้นจะอยู่ต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงไปได้ตลอดไป  แค่มันอาจจะใช้เวลาหน่อยเท่านั้นเองครับ

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

เลือกหุ้นปันผลยังไงให้ปันผลโตทุกปี + ไม่ติดดอย ?

How to Pick Great Dividend Stocks?

เลือกหุ้นปันผลยังไงให้ปันผลโตทุกปี + ไม่ติดดอย ?

เหตุผลหลักที่คนลงทุนในหุ้นปันผลก็เพราะอยากได้กระแสเงินสดสม่ำเสมอที่ดีกว่าเงินฝากประจำเป็นหลัก ส่วนเป้าหมายรองถ้าเป็นไปได้ก็อยากมีโอกาสได้ผลตอบแทนในรูปของราคาหุ้นที่สูงขึ้น ถ้าทำได้แบบนั้นก็คือสุดยอดเลยครับ แต่หลายครั้งที่พอซื้อหุ้นไปแล้วพบว่าได้ปันผลอยู่ทีเดียวบ้าง หรือปันผลลดลงเรื่อยๆทุกปีบ้าง และหนักกว่านั้นคืออาการแบบนี้มักจะถูกซ้ำด้วยราคาหุ้นตกลงไปกว่าตอนซื้ออีก ผิดวัตถุประสงค์ถึงขั้นรู้งี้ฝากธนาคารดอกเบี้ย 1% ยังดีกว่า

วันนี้ผมมาแนะนำวิธีการเลือกหุ้นปันผลยังไงให้ได้ปันผลเติบโต และยากจะขาดทุนจากราคาหุ้นตกกันครับ (จะบอกราคาหุ้นไม่มีทางตกก็เป็นไปไม่ได้)

1. เลือกบริษัทที่เข้มแข็งและกำไรสม่ำเสมอ
เลือกหุ้นปันผลก็เหมือนเลือกหุ้นธรรมดาตรงที่ยังไงก็ต้องเลือกบริษัทที่มีความเข้มแข็ง เพราะอย่าลืมว่าปันผลสุดท้ายมันจ่ายมาจากกำไร ถ้าบริษัทกำไรไม่ดีหรือขาดทุนต่อให้วันนี้จ่ายปันผลสูง สุดท้ายก็จะไม่มีเงินจ่ายปันผลในที่สุดอยู่ดี อย่าไปคิดว่าแค่เพราะวันนี้บริษัทจ่ายปันผลสูงจะแปลว่ามันจะจ่ายแบบนั้นตลอดไป
วิธีดูว่าบริษัทไหนเข้มแข็งและกำไรสม่ำเสมอแบบง่ายๆเริ่มจากพิจารณาว่าบริษัทนั้นเป็นบริษัทที่มีอำนาจบังคับผู้บริโภคให้ซื้อสินค้าได้หรือเปล่า แล้วก็ไปเปิดดูผลประกอบการแบบสรุปบนเวป SET ดููว่าที่ผ่านมาถ้ากำไรไม่เพิ่มก็อย่างน้อยให้มันคงที่

2. เลือกที่ Dividend Yield สูงพอสมควร
Yield ต่ำเกินไปเช่น 0.5% ก็ไม่ใช่เรียกว่าหุ้นปันผล แต่ถ้าสูงเกินไปเช่นหุ้น Yield เกิน 5% ก็อาจจะมีผลประกอบการอะไรผิดปกติทำให้คนไม่อยากซื้อราคามันเลยต่ำเลยทำให้ Yield สูง ส่วนตัวผมมองว่า Dividend Yield ประมาณ 2.5-5% นี่กำลังดี

3. มองหาบริษัทที่มีช่องทางเติบโต
สองข้อก่อนหน้านี้คือเพื่อให้อย่างน้อยเราได้ปันผลสม่ำเสมอ แต่ถ้าเราจะให้อนาคตปันผลเยอะขึ้นและราคาหุ้นสูงขึ้นด้วยเราก็ต้องหาบริษัทที่มีการเติบโต
วิธีดูว่าบริษัทจะเติบโตหรือไม่ก็อาจจะต้องใช้การศึกษาเพิ่มเติมบ้าง หลักๆเลยคือดูว่าบริษัททำธุรกิจอะไร อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นหรือไม่ แล้วปัจจุบันบริษัทมีแผนทำอะไรใหม่ๆบ้าง

4. เลือกที่ Payout Ratio ต่ำ
Payout Ratio ว่าง่ายๆคือทุกกำไร 100 บาท บริษัทจ่ายออกมาเป็นปันผลเท่าไหร่
บริษัทที่ปัจจุบัน Payout Ratio ต่ำได้เปรียบเพราะว่า
● ในอนาคตถ้ากำไรไม่โต ก็อาจจะเพิ่มปันผลได้อยู่โดยการเพิ่ม Payout Ratio ในขณะที่บริษัทที่ Payout Ratio สูงมากแล้วก็จะทำได้แค่ปันผลคงที่
● Payout Ratio ที่น้อยแปลว่าบริษัทมีการกันเงินเก็บไว้ สามารถเอาไปลงทุนเพิ่มทำให้กำไรเติบโตได้ในอนาคต

และนี่คือหลักการเลือกหุ้นปันผล จะสังเกตว่ายังไงการเลือกหุ้นก็ต้องดูคุณภาพของกิจการเป็นหลัก ถ้าทำได้ตามวิธีการที่ให้ไว้นี้ผมมั่นใจว่าเราจะได้หุ้นปันผลที่เราจะถือกินปันผลไปได้ยาวๆแน่นอนครับ

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ให้ทาย หุ้นปันผลกับหุ้นที่ไม่จ่ายปันผล สุดท้ายอันไหนผลตอบแทนดีกว่ากัน??

Stock with Dividend VS Stock with no Dividend, Which One is Better??

**บทพิสูจน์ว่าซื้อหุ้นที่จ่ายปันผลดีกว่าซื้อหุ้นที่ไม่จ่ายปันผล**

ในวีดิโอหัวข้ออื่นเราเคยพูดถึงว่าทำไมเราถึงควรสนใจลงทุนในหุ้นปันผล เราได้มีการให้เหตุและผลเป็นไอเดียไปแต่เรายังไม่ได้มีการให้ข้อมูลที่พิสูจน์จริงๆจังๆ
ในหัวข้อนี้เรามามองหางานวิจัยที่มีคนเคยทำมาในอดีตเปรียบเทียบผลตอบแทนระหว่างการถือหุ้นที่มีการจ่ายปันผลกับหุ้นที่ไม่จ่ายปันผล จะได้เห็นชัดๆไปเลยว่าอันไหนดีกว่ากัน

**งานวิจัยของหุ้นไทย**
ผมเจองานเอกสารวิจัยอันนึงของสถาบันวิจัยเพื่อตลาดทุน จัดทำโดยคุณพัดชา จุนอนันตธรรม และคุณสุมิตรา ตังสมวรพงษ์ ที่ทำเอาไว้ตั้งแต่ปี 2555 เก่าอยู่เหมือนกัน
งานวิจัยฉบับนี้เปรียบเทียบผลตอบแทนของหุ้นที่เป็นกลุ่มจ่ายปันผลเทียบกับค่าเฉลี่ยโดยรวมของตลาดหุ้นทั้งตลาดตั้งแต่ช่วงปี 2549 – 2553 ซึ่งเป็นช่วงที่ทับปีวิกฤติเศรษฐกิจซับไพร์มพอดีด้วยรวมระยะเวลา 5 ปี แล้วผลปรากฎว่าได้ข้อสรุปสำคัญดังต่อไปนี้
1. เฉลี่ยผลตอบแทนต่อปีของหุ้นที่จ่ายปันผลสูงกว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมของตลาด 25.3% เทียบกับ 21.1%
2. ในปีที่ตลาดหุ้นตกรุนแรงจากวิกฤติซับไพร์ม หุ้นที่จ่ายปันผลตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมของตลาด -24.24% เทียบกับ -30.07%
3. ที่น่าแปลกใจคือผลตอบแทนจากส่วนที่เป็น Capital Gain เฉลี่ยของหุ้นที่จ่ายปันผลก็สูงกว่าตลาดโดยรวม 19.65% เทียบกับ 17.06%

น่าเสียดายที่งานวิจัยทำไว้แค่ 5 ปีซึ่งอาจจะทำให้ผลลัพธ์ยังไม่ชัดเจนเท่าไหร่ แต่มันน่าสนใจตรงที่มันทับช่วงวิกฤติเศรษฐกิจพอดีและพิสูจน์ทฤษฎีที่เราคุยกันไปก่อนหน้านี้ว่าหุ้นที่จ่ายปันผลน่าจะตกน้อยกว่าในช่วงที่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
ใครสนใจรายละเอียดเชิญอ่านใน Link เค้ามีจัดกลุ่มหุ้นที่จ่ายปันผลย่อยลงไปด้วย https://www.set.or.th/setresearch/files/cmresearch/201201_CMRI_Research_Paper_dividend.pdf

**งานวิจัยของหุ้นอเมริกา**
ผมเจองานวิจัยน่าสนใจของ Heartland Advisors ที่เอาข้อมูลผลตอบแทนของอจ. Kenneth French ที่อิง US Stock Database ©2019 Center for Research in Security Prices (CRSP) และ the University of Chicago Booth School of Business
เค้าทำการศึกษาผลตอบแทนย้อนหลังของหุ้นอเมริกาตั้งแต่ปี มกราคม 1928 ถึง ธันวาคม 2018 รวมเป็นระยะเวลา 91 ปี และมีการแบ่งหุ้นออกเป็นกลุ่มที่ไม่จ่ายปันผลและกลุ่มที่จ่ายปันผล กลุ่มที่จ่ายปันผลมีการแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มย่อยตาม Dividend Yield น้อยไปถึงมาก ได้ผลสรุปที่สำคัญออกมาดังนี้
1. ผลตอบแทนของหุ้นที่จ่ายปันผลดีกว่าหุ้นที่ไม่จ่ายปันผล
2. โดยภาพรวมแล้วในหมู่หุ้นที่จ่ายปันผลด้วยกัน หุ้นที่ Dividend Yield สูงกว่าดูจะทำได้ดีกว่า (ยกเว้น Quintile ที่ 4 กับ 5)
ซึ่งประเด็นนี้ส่วนตัวผมคิดว่าเป็นเพราะหุ้นที่ Dividend Yield สูงเว่อร์มันมาจากการที่บริษัทนั้นผลประกอบการในอนาคตมีแนวโน้มจะมีปัญหา ทำให้ราคาหุ้นต่ำมากและดังนั้นเลยดูเหมือน Dividend Yield สูงมาก หุ้นประเภทนี้ลงทุุนไปนานๆไม่ดีอยู่แล้วเพราะปันผลที่ได้สูงมันจะได้อยู่แปปเดียว เลยทำให้ Quintile ที่ Dividend Yield สูงสุดสู้ Quintile รองสูงสุดไม่ได้
3. ความผันผวนของหุ้นที่จ่ายปันผลน้อยกว่าหุ้นที่ไม่จ่ายปันผล
4. เค้าลองเปลี่ยนระยะเวลาการถือหุ้นจาก 91 ปีเป็น 20 ปี ก็ยังพบว่าโดยรวมแล้วหุ้นที่จ่ายปันผลก็จะยังผลตอบแทนดีกว่าหุ้นที่ไม่จ่ายปันผลและความผันผวนน้อยกว่าอยู่ดี
5. ในช่วงตลาดหุ้นตกทั้งตลาดไม่ว่าจะระดับความรุนแรงไหน หุ้นที่จ่ายปันผลราคาตกน้อยกว่าหุ้นที่ไม่จ่ายปันผล

สำหรับคนที่สนใจอยากอ่านเพิ่มเติมผมทิ้ง Link เอาไว้ครับ อันนี้เค้าทำน่าสนใจทีเดียว
https://www.heartlandadvisors.com/Insights/White-Papers/The-Case-for-Dividend-Payers

จากที่เห็นงานวิจัยมาดูเหมือนจะสรุปได้ชัดเจนว่าหุ้นที่จ่ายปันผลน่าลงทุนมากกว่าหุ้นที่ไม่จ่ายปันผล หวังว่าจะเห็นภาพครับ
แต่อย่าลืมว่าอันนี้เค้าพูดถึงโดยภาพรวมนะ ในความเป็นจริงบริษัทที่ทำได้เทพมากแต่ไม่จ่ายปันผลก็มี Berkshire Hathaway ของ Warren Buffett เป็นต้น ส่วนหุ้นที่จ่ายปันผลแล้วสุดท้ายเจ๊งหยุดจ่ายปันผลก็มีเยอะแยะ

**นี่คือเหตุผลที่คุณควรสนใจหุ้นปันผล**

เมื่อเราซื้อหุ้นสิ่งที่เราได้มาคือความเป็นเจ้าของร่วมในบริษัทนั้นๆ และเมื่อเราได้เป็นเจ้าของบริษัทก็แปลว่าเราจะได้ส่วนแบ่งจากกำไรที่บริษัททำได้ตามสัดส่วนความเป็นเจ้าของของเรา ซึ่งมาใน 2 รูปแบบก็คือ
1. เงินส่วนของเราที่บริษัทจ่ายออกมาให้ ซึ่งก็คือเรียกว่าปันผล
2. เงินส่วนของเราที่บริษัทยังเก็บไว้อยู่กับบริษัท (Retained Earnings) ก็จะเป็นทุนให้บริษัทไปขยายกิจการหรือลงทุนอื่นๆเพิ่มเติมทำให้บริษัทมีกำไรสูงขึ้น ซึ่งก็ส่งผลในอนาคตให้ปันผลและราคาหุ้นสูงขึ้น

ปกติมันไม่ได้มีกฎว่าบริษัทต้องปันผลมั้ย หรือถ้าปันผลต้องปันผลเท่าไหร่ยังไง ดังนั้นหุ้นบางบริษัทก็จะจ่ายปันผลและบางบริษัทก็ไม่จ่ายปันผล บริษัทที่มีการจ่ายปันผลระดับนึงและจ่ายอย่างสม่ำเสมอก็จะเรียกว่าเป็นหุ้นปันผล ไม่ได้มีเกณฑ์อะไรตายตัว
ในทางทฤษฎีจะปันผลหรือไม่ปันผลมันก็ควรจะไม่ต่างกัน เผลอๆหุ้นที่จ่ายปันผลจะแย่กว่าด้วยเพราะเงินปันผลเราต้องเสียภาษีในขณะที่กำไรจากการขายหุ้นไม่เสียภาษี แต่ในวีดิโอนี้ผมจะพูดถึงเหตุผลว่าทำไมคุณถึงควรจะยังให้ความสนใจหุ้นที่มีปันผล

1. หุ้นที่จ่ายปันผลสม่ำเสมอมักจะเป็นหุ้นที่ผลประกอบการดีกว่า
2. ช่วงตลาดหุ้นตก หุ้นที่จ่ายปันผลสม่ำเสมอราคาตกน้อยกว่า
3. การต้องจ่ายปันผลสม่ำเสมอ ทำให้ผู้บริหารต้องระมัดระวัง

และด้วยเหตุผลเหล่านี้ ต่อให้เราไม่ได้อยากได้หรือจำเป็นต้องได้ปันผล เราก็ยังสมควรพิจารณาลงทุนในหุ้นที่มีปันผลอยู่ดีครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

วิธีประเมินมูลค่าหุ้นด้วย Discounted Cash Flow (DCF) : ตอน 3 Discounted FCFF

Discounted Cash Flow (DCF) : Part 3 Discounted FCFF

วิธีประเมินมูลค่าหุ้นด้วย Discounted Cash Flow (DCF) : ตอน 3 Discounted FCFF

มีคนถามผมว่า “Free Cash Flow to the Firm คืออะไร? แตกต่างจาก Free Cash Flow to Equity และ Discounted Dividend อย่างไร?”

วันนี้ผมเลยมาทำวีดิโอ อธิบายถึง Free Cash Flow to the Firm (FCFF) ว่ามีจุดเด่น จุดด้อย และวิธีการคำนวณอย่างไร เพื่อให้ทุกท่านได้นำไปปรับใช้กันครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

หุ้นพื้นฐานดี หาได้ในธุรกิจกลุ่มไหน?? (5/5)

Which Industries can Good Companies be Found? (5/5)

หุ้นพื้นฐานดี หาได้ในธุรกิจกลุ่มไหน?? (5/5)

มีคนถามผมว่า “จะหาหุ้นพื้นฐานดี ได้ในกลุ่มธุรกิจประเภทไหน”

วันนี้ผมเลยมาทำวีดิโอตอบคำถาม วิเคราะห์แต่ละกลุ่มธุรกิจ ว่าเหมาะกับการลงทุนแค่ไหน? รวมถึงยกตัวอย่างบริษัทที่ทำได้ดีในกลุ่มธุรกิจนั้นๆ เพื่อทุกท่านจะได้นำไปปรับใช้กันครับ

เนื้อหากลุ่มธุรกิจของวิดีโอนี้ : ปล่อยเช่า, บริการ, ร้านอาหาร, ท่องเที่ยว
 

Link หุ้นพื้นฐานดี 1 : https://www.youtube.com/watch?v=ibAenPz8q_Q
Link หุ้นพื้นฐานดี 2 : https://www.youtube.com/watch?v=4PTcZPB91Us
Link หุ้นพื้นฐานดี 3 : https://www.youtube.com/watch?v=O1tFu9nS2Cc
Link หุ้นพื้นฐานดี 4 : https://www.youtube.com/watch?v=Sb7ltaNLotk

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

วิธีประเมินมูลค่าหุ้นด้วย Discounted Cash Flow (DCF) : ตอน 2 Discounted FCFE

Discounted Cash Flow (DCF) : Part 2 Discounted FCFE

วิธีประเมินมูลค่าหุ้นด้วย Discounted Cash Flow (DCF) : ตอน 2 Discounted FCFE

มีคนถามผมว่า “หากบริษัทไม่จ่ายเงินปันผล หรือจ่ายน้อยมาก ทำให้เราใช้ Discounted Dividend Model ไม่ได้ ควรทำอย่างไรดีครับ?”

วันนี้ผมเลยมาทำวีดิโอ อธิบายถึงวิธีประเมินมูลค่าหุ้นโดยไม่ต้องใช้ Dividend ที่ชื่อ Discounted Free Cash Flow to Equity (FCFE) ว่าคืออะไร?? และคำนวณได้อย่างไร?? เพื่อให้ทุกท่านได้นำไปปรับใช้กันครับ

Link ไปยัง Video Discounted Dividend : https://www.youtube.com/watch?v=vNQ7KMoAZDY
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

วัดกันไปเลย!! ลงทุนหุ้นสาย VI เทคนิค หรือ DCA ดีสุด??

Proof!! Which is the best way to invest between Value Investing, Technical or DCA??

วัดกันไปเลย!! ลงทุนหุ้นสาย VI เทคนิค หรือ DCA ดีสุด??

ทำไมผมเลือกลงทุนสาย Fundamental

จริงๆผมว่าเราใช้วิธีชื่ออะไรมันไม่สำคัญ ขอให้มันได้ตามเป้าหมายหลักในการลงทุนคือโดยรวมแล้วทำกำไรได้ดีพอสมควรเมื่อเทียบกับลงทุนในกองทุนรวมและไม่ทำให้ 10 ปีต่อมาเสี่ยงเงินเก็บวอดวายไปก็คือใช้ได้ แต่ปัญหาที่ผมเชื่อว่านักลงทุนส่วนใหญ่ตอนเริ่มศึกษาวิธีการลงทุนน่าจะเจอเหมือนผมคือมันมีวิธีลงทุนหลายวิธีหลายสายเหลือเกิน แล้วถ้าไปถามก็จะพบว่าทุกคนในสายนั้นๆก็จะบอกวิธีตัวเองเนี่ยดีสุดยอดละ ให้เหตุผลฟังน่าเชื่อถือทุกคนด้วยนะ มันเลยไม่รู้จะไปเชื่อใครดีเพราะเราก็ยังใหม่ใช่มั้ยครับ
วีดิโอนี้ผมเลยชวนคุณมาพิสูจน์ไปด้วยกันเลยว่าสายไหนดีกว่ากัน โดยเราจะพิสูจน์ด้วยวิธีที่ดีที่สุดนั่นคือดูที่ผลลัพธ์

Methodology
1. Google ค้นหาด้วยคำว่า world’s greatest stock investor of all time
2. Google ชื่อนักลงทุนที่ได้มาจากผลในข้อที่ 1 ทีละคน ดูว่าลงทุนสายไหน
3. นับดูว่าสรุปสายไหนเยอะกว่ากัน

ด้วยวิธีการนี้เราจะได้คำตอบที่เป็นชื่อนักลงทุนไม่จำกัดประเทศ ไม่จำกัดว่ามีชีวิตอยู่หรือเปล่า จำกัดแค่ว่าต้องเป็นการลงทุนในหุ้นเท่านั้น และเป็นการพิสูจน์ไปเลยว่าวิธีการลงทุนแบบสายไหนที่สร้างให้เกิดนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จระดับโลกมากที่สุด แบบนี้ก็จะยุติธรรมกับทุกสายไม่ต้องนั่งเถียงกัน

Show using OBS
Result from
– https://thecollegeinvestor.com/972/the-top-10-investors-of-all-time/
– https://www.investopedia.com/slide-show/worlds-greatest-investors/
– https://www.forbes.com/sites/maddieberg/2019/02/19/the-greatest-investor-youve-never-heard-of-an-optometrist-who-beat-the-odds-to-become-a-billionaire/
– https://www.google.com/search?ei=F4lOXa6ONIyMvQSk16O4DA&q=bill+miller+investor+method&oq=bill+miller+investor+method&gs_l=psy-ab.3..33i21j33i160.11750.16222..16336…0.0..0.150.1472.11j4……0….1..gws-wiz…….0j0i67j0i10i67j0i22i30j33i22i29i30j0i13.9TIXBHVOIg4&ved=0ahUKEwju9YDb-ffjAhUMRo8KHaTrCMcQ4dUDCAo&uact=5

1. John Bogle (Jack Bogle)
2. Warren Buffett
3. Philip Fisher
4. Benjamin Graham
5. John Templeton
6. Carl Icahn
7. Peter Lynch
8. Michael Steinhardt
9. Thomas Rowe Price, Jr.
10. John Neff
11. Jesse Livermore
12. David Swensen
13. Bill Miller
14. Herbert Wertheim

Result
1. John Bogle Diversify
2. Warren Buffett Fundamental
3. Philip Fisher Fundamental
4. Benjamin Graham Fundamental
5. John Templeton Fundamental
6. Carl Icahn Fundamental (but different because he’s activist)
7. Peter Lynch Fundamental
8. Michael Steinhardt Own method (Focus on LT, but invest ST)
9. Thomas Rowe Price, Jr. Fundamental
10. John Neff Fundamental
11. Jesse Livermore Technical
12. David Swensen Asset Allocation (unclear)
13. Bill Miller Fundamental
14. Herbert Wertheim Fundamental

Count (9+1)-(1+1)-(1+1)-3 Fundamental-Technical-Diversify-Others

ชัดเจนพอสมควรนะผมว่า และนั่นคือคำตอบว่าทำไมผมถึงเลือกการลงทุนสาย Fundamental ครับ

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

วิธีประเมินมูลค่าหุ้นด้วย Discounted Cash Flow (DCF) : ตอน 1 Discounted Dividend

Discounted Cash Flow (DCF) : Part 1 Discounted Dividend

วิธีประเมินมูลค่าหุ้นด้วย Discounted Cash Flow (DCF) : ตอน 1 Discounted Dividend

มีคนถามผมว่า “DCF คืออะไร?? และคำนวณหาได้อย่างไร??”

วันนี้ผมเลยมาทำวีดิโอ อธิบายถึง DCF ว่าคืออะไร และคำนวณได้อย่างไร เพื่อให้ทุกท่านได้นำไปปรับใช้กันครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

หุ้นพื้นฐานดี หาได้ในธุรกิจกลุ่มไหน?? (4/5)

Which Industries can Good Companies be Found? (4/5)

หุ้นพื้นฐานดี หาได้ในธุรกิจกลุ่มไหน?? (4/5)

มีคนถามผมว่า “จะหาหุ้นพื้นฐานดี ได้ในกลุ่มธุรกิจประเภทไหน”

วันนี้ผมเลยมาทำวีดิโอตอบคำถาม วิเคราะห์แต่ละกลุ่มธุรกิจ ว่าเหมาะกับการลงทุนแค่ไหน? รวมถึงยกตัวอย่างบริษัทที่ทำได้ดีในกลุ่มธุรกิจนั้นๆ เพื่อทุกท่านจะได้นำไปปรับใช้กันครับ

เนื้อหากลุ่มธุรกิจของวิดีโอนี้ : ธนาคาร, ประกัน, ตลาดหุ้น, สถาบันการเงิน
 

Link หุ้นพื้นฐานดี 1 : https://www.youtube.com/watch?v=ibAenPz8q_Q
Link หุ้นพื้นฐานดี 2 : https://www.youtube.com/watch?v=4PTcZPB91Us
Link หุ้นพื้นฐานดี 3 : https://www.youtube.com/watch?v=O1tFu9nS2Cc

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ข่าวประท้วงในฮ่องกง สร้างโอกาสดีๆอะไรให้เราได้บ้าง ??

What good opportunities can be found with Hong Kong's protests ??

ข่าวประท้วงในฮ่องกง สร้างโอกาสดีๆอะไรให้เราได้บ้าง ??

มีคนถามผมว่า “มีหุ้นสนามบินที่คล้ายคลึงกับ AOT ในฮ่องกงหรือไม่ ?? เผื่อว่าเขาจะเข้าซื้อในช่วงที่มีข่าวประท้วงชุมนุมนี้”

วันนี้ผมเลยมาทำวีดิโอ แนะนำหุ้นฮ่องกงที่น่าสนใจ ในช่วงที่มีข่าวการประท้วง เพื่อให้ทุกท่านได้นำไปปรับใช้กันครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg