บัญชีพื้นฐาน 5:  งบกระแสเงินสด

Basics in Accounting 5: Cash Flow Statement

 

มาถึงงบบัญชีหลักอันสุดท้ายครับ งบกระแสเงินสด แล้วก็เป็นอันที่มีความสำคัญซะด้วย เพราะการบันทึกกำไรขาดทุนของบริษัทจดทะเบียนจะเป็นแบบเกณฑ์คงค้าง งบกำไรขาดทุนก็อาจจะไม่สะท้อนจำนวนเงินหมุนเวียนจริงที่บริษัทมีอยู่ ดังนั้นบริษัทอาจจะเหมือนมีกำไรในทางบัญชี แต่อาจมีปัญหาเรื่องสภาพคล่องเพราะไม่มีเงินสดในมือก็ได้ เพราะแบบนี้งบกระแสเงินสดจึงสำคัญครับ มันทำให้นักลงทุนมองเห็นชัดขึ้นว่าบริษัทมีปัญหาเรื่องเงินสดหรือไม่

ในกรณีที่ไม่เห็นภาพว่าลงบัญชีแบบ “เกณฑ์คงค้าง” คืออะไร แนะนำให้ไปทำความเข้าใจเพิ่มที่บทความเกี่ยวกับเกณฑ์เงินสดและเกณฑ์คงค้าง

งบกระแสเงินสดบันทึกเงินเข้าออกในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งจะระบุอยู่บนหัวกระดาษงบ เช่น “สำหรับปีสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2556” ก็แปลว่างบตัวนั้นเค้าบันทึกสรุปเงินเข้าออกทั้งปี 2556

อ่านต่อ »

บัญชีพื้นฐาน 4:  งบแสดงสถานะ

Basics in Accounting 4: Balance Sheet

หลังจากที่บทก่อนหน้า เราพูดถึงงบกำไรขาดทุนไปแล้ว งบกำไรขาดทุนคือบอกว่าช่วงเวลาที่ผ่านมา ผลประกอบการบริษัทเป็นอย่างไรบ้าง มีรายได้รายจ่ายเท่าไหร่และเหลือเป็นกำไรขาดทุนเท่าไหร่ใช่มั้ยครับ ทีนี้เราจะมาพูดถึงอีกงบบัญชีที่มีความสำคัญบ้าง งบแสดงสถานะทางการเงินมันมีไว้ทำอะไร แล้วหน้าตาเป็นแบบไหน

งบแสดงสถานะทางการเงิน เป็นงบบัญชีที่เอาไว้บอกว่าบริษัทมีทรัพย์สินอะไรบ้างเท่าไหร่ (Assets) และทรัพย์สินเหล่านั้นเป็นของเจ้าหนี้เท่าไหร่เป็นของเจ้าของเท่าไหร่ (Liabilities and equities)  ดังนั้นงบบัญชีนี้  Assets ต้องมีค่าเท่ากับ Liabilities + Equities เสมอ  เพราะว่าบริษัทเป็นนิติบุคคลไม่ได้มีตัวตนจริงๆ ทรัพย์สินที่มีทั้งหมดถ้าบริษัทเลิกกิจการขายทิ้ง ก็ต้องขายทรัพย์สินแล้วจ่ายคืนเจ้าหนี้กับผู้ถือหุ้นจนหมดไม่มีอะไรเหลือ ทีนี้มันสำคัญเพราะบอกสภาพของบริษัทว่ามีหนนี้สินอะไรเท่าไหร่นี่แหละ เวลาที่คุณได้ยินทีวีเค้าบอกกว่ามาดูว่าบริษัทหนี้เยอะมั้ย มีความเสี่ยงจะล้มละลายหรือไม่ เค้าก็กำลังบอกให้คุณมาดูรายละเอียดในงบแสดงสภานะทางการเงินเนี่ยแหละ

อ่านต่อ »

บัญชีพื้นฐาน 3:  งบกำไรขาดทุน

Basics in Accounting 3: Income Statement

คุณว่าอะไรสำคัญที่สุดในการทำธุรกิจครับ แน่นอนก็ต้องเป็นการทำกำไรใช่มั้ยครับ เพราะถ้าไม่กำไรก็ไม่รู้จะทำไปทำไมใช่มั้ย ดังนั้นถ้าคุณกำลังจะเป็นนักลงทุนแล้วเริ่มต้นลงทุนในหุ้นซักตัว สิ่งสำคัญอันดับแรกก่อนอย่างอื่นที่เราจะอยากรู้เกี่ยวกับหุ้นนั้นก็คือสรุปบริษัทนี้มันกำไรหรือไม่ สำหรับคนที่จะลงทุนด้วยตัวเองไม่ดูไม่รู้เรื่องพวกนี้ไม่ได้เลย ดังนั้นผมเลยเขียนบทความนี้อธิบายคร่าวๆว่างบกำไรขาดทุนคืออะไร มีไว้ทำอะไร ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เผื่อคุณจะไปลองเปิดหัดอ่านเล่นได้ง่ายขึ้นครับ

งบกำไรขาดทุน เป็นงบที่รายงานผลประกอบการครับ ดังนั้นในภาพรวมแล้วสิ่งที่อยู่ในงบกำไรขาดทุนก็คือรายได้ต่างๆว่ามีอะไรบ้างเป็นจำนวนเท่าไหร่ และรายจ่ายว่ามีอะไรบ้างเป็นจำนวนเท่าไหร่ แล้วสุดท้ายเหลือเป็นกำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ โดยปกติแล้วจะมาในรูปรายไตรมาส (รอบ 3 เดือน) คือบันทึกกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นในช่วงสามเดือน กับรายปี ก็คือบันทึกกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นในช่วง 1 ปี

อ่านต่อ »

บัญชีพื้นฐาน 2: วิธีลงบัญชีแบบเกณฑ์เงินสด กับเกณฑ์คงค้าง 2

Basics in Accounting 2: Cash and Accrual Accounting 2

 

โอเคทีนี้เราคุยกันต่อจากบทที่แล้ว บทที่แล้วเราพูดถึงว่ามีวิธีลงบัญชีรายได้รายจ่ายโดยใช้เกณฑ์สองแบบคือใช้เงินสดเป็นเกณฑ์ หรือใช้เกณฑ์คงค้างคือดูกิจกรรมทางธุรกิจเป็นเกณฑ์ใช่มั้ยครับ ประเด็นต่อไปคือแล้วปกติเค้าใช้อันไหนยังไง เพราะเหตุผลอะไร

โดยปกติแล้วนะครับเค้าจะใช้เกณฑ์เงินสดกับกิจการขนาดเล็กที่ไม่มีความยุ่งยากซับซ้อน เพราะอันดับแรกเลยมันไม่ยุ่งยาก เงินสดออกไปก็นับเป็นค่าใช้จ่าย รับเงินสดเข้ามาเมื่อไหร่ก็นับเป็นรายรับ และจริงๆแล้วมันก็เป็นวิธีที่ดูกระแสเงินสดได้ดี แต่มันเป็นปัญหาตอนที่จะจับคู่ว่าค่าใช้จ่ายอันไหนเกิดคู่กับรายได้รายการไหนมันดูยากครับ และเริ่มทำให้เราสับสนกรณีที่ลักษณะธุรกิจมีการจ่ายต้นทุนสินค้าและเก็บเงินจากลูกค้าช่วงเวลาห่างกันมาก ถ้าคุณดูที่ตารางตัวอย่างในบทที่แล้ว จะทำให้เราไม่รู้ว่าสรุปเรากำไรหรือไม่กำไรกันแน่ บางช่วงดูกำไร บางช่วงดูขาดทุน นี่ขนาดแค่ตัวอย่างแบบง่ายแล้วด้วย

อ่านต่อ »

บัญชีพื้นฐาน 1: วิธีลงบัญชีแบบเกณฑ์เงินสดกับเกณฑ์คงค้าง

Basics in Accounting 1: Cash and Accrual Accounting

เคยมีคนถามผมอยู่เหมือนกันว่าถ้าจะลงทุนในหุ้นต้องรู้อะไรบ้าง ผมอยากจะบอกว่าสิ่งที่ควรต้องรู้อย่างหนึ่งก็คือพื้นฐานบัญชีเนี่ยแหละ ผมก็ไม่ได้เป็นนักบัญชีนะ แต่มันสำคัญเพราะพวกรายงานผลประกอบการกิจการที่เราจะซื้อเนี่ย มันเขียนด้วยวิธีการและภาษาทางบัญชีไงเลยไม่รู้ไม่ได้ ที่ผมเจอมานะครับ น้อยมากจริงๆที่เคยเปิดตัวงบการเงินของบริษัท ซึ่งก็หาได้ทั่วไปเป็นข้อมูลสาธารณะ คนไม่รู้เลยเสียเปรียบไงครับ เพราะฉะนั้นผมว่าคุณเริ่มต้นจากเข้าใจหลักการลงบัญชีเบื้องต้นก่อนดีกว่า

หัวข้อนี้เกี่ยวกับพวกการบันทึกรายได้รายจ่ายครับ วิธีลงบัญชีมีอยู่สองแบบ คือแบบบันทึกเกณฑ์เงินสด กับเกณฑ์คงค้าง โดยสองแบบนี้ก็จะให้ตัวเลขผลประกอบการออกมาแตกต่างกัน เพื่อความเข้าใจเราจะอธิบายไปยกตัวอย่างไปครับ

เราจะสมมติเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามนี้

อ่านต่อ »

เรื่องทางบัญชีที่จะมาทำเราสับสนได้ 4: กรณีตั้งใจบิดเบือน

Financial Stuffs Can Mislead Us 4: Manipulation

บทนี้เราก็ยังอยู่ในหัวข้อพูดถึงเรื่องทางบัญชีที่อาจบิดเบือนทำให้ผลประกอบการหน้าตาเปลี่ยนไปกันครับ บทความที่ผ่านๆมาอันอื่นเราพูดถึงกรณีทั่วไป เป็นเรื่องปกติในการลงบัญชีที่อาจจะสร้างความสับสนหรืออาจจะทำให้งบการเงินดูดีหรือแย่เกินความเป็นจริง แต่ในบทนี้เราจะมาคุยคร่าวๆถึงกรณีที่เป็นความตั้งใจของบริษัทที่จะปกปิดหรือบิดเบือนหน้าตางบการเงินกัน

ทีนี้การตั้งใจบิดเบือนงบบัญชีมันมักจะมีอยู่สองทิศทาง อย่างแรกคือบิดเบือนให้ดูดีขึ้น โดยทั่วไปทำเพื่อให้เป็นไปตามความคาดหวังของตลาด หรือทำช่วงตอนกำลังจะระดมทุนออกหุ้นเพิ่มเพราะต้องการระดมทุนได้เยอะๆ หรือไม่ก็ผู้บริหารเองต้องการที่จะขายหุ้นที่ตัวเองถืออยู่ออกมา

อ่านต่อ »

เรื่องทางบัญชีที่จะมาทำเราสับสนได้ 3: รายการพิเศษ

Financial Stuffs Can Mislead Us 3: Special Items

บทนี้เรามาคุยเรื่องรายการพิเศษต่างๆที่โผล่มาบนงบกำไรขาดทุนแล้วมักจะทำให้หน้าตาของกำไรขาดทุนสุทธิดูดีเกินเหตุหรือดูแย่เกินเหตุ รายการพิเศษในที่นี้หมายถึงการบันทึกรายได้หรือรายจ่ายประเภทที่ไม่ปกติ มีลักษณะเกิดขึ้นครั้งเดียว และไม่ได้เป็นกิจกรรมหลักของกิจการ เช่น กำไรหรือขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ถาวร, กำไรหรือขาดทุนจากการขายเงินลงทุน, รายรับเงินประกันน้ำท่วม และพวกแนวนี้อันอื่นๆ

โดยทั่วไปพวกรายการพิเศษจะมีขนาดเล็กน้อยมาก และไม่ค่อยส่งผลต่อกำไรขาดทุนเท่าไหร่ แต่บางครั้งก็จะมีกรณีใหญ่ๆเกิดขึ้นที่ทำให้ผลประกอบการสุทธิเปลี่ยนไปเยอะ เนื่องจากมันเป็นลักษณะเกิดขึ้นครั้งเดียวเราจึงไม่ควรไปใส่ใจกับมัน รายการพวกนี้ผมแนะนำให้พวกเราตัดออกไปจากการคำนวนกำไรสุทธิโดยอัตโนมัติเพื่อให้เราเห็นภาพของกิจการได้ดีขึ้น

Balance Sheet Bumrungrat

อ่านต่อ »

เรื่องทางบัญชีที่จะมาทำเราสับสนได้ 2: การหักภาษีด้วยผลขาดทุนปีก่อนๆ

Financial Stuffs Can Mislead Us 2: Tax Relief From Losses

 

บทความซีรี่ส์นี้เรายังอยู่กับเรื่องต่างๆที่ทำให้ตัวเลขกำไรสุทธิของบริษัทเปลี่ยนแปลงไปอยู่ครับ วันนี้เราจะมาเล่าถึงเรื่องสิทธิ์ในการเอาผลประกอบการขาดทุนสะสมย้อนหลังมาใช้หักออกจากภาษีเงินได้ที่บริษัทต้องเสีย และตัวเลขพวกนี้บางทีทำให้บริษัทดูดีขึ้นเยอะกว่าความเป็นจริงเยอะเลยทีเดียว

ไอเดียของเรื่องนี้คือ บริษัทเวลาที่มีกำไรจะต้องเสียภาษีให้กับรัฐตามกฎหมาย ดังนั้นในกรณีที่บริษัทมีผลประกอบการขาดทุนก็ควรจะต้องได้รับการยกเว้นภาษีด้วย ตามกฏหมายของไทยบริษัทในปีที่มีผลประกอบการขาดทุนสามารถที่จะเอายอดขาดทุนสะสมย้อนหลังไม่เกิน 5 ปี ไปใช้ในการหักส่วนของกำไรที่ต้องเสียภาษีในปีที่กำไรได้ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพมากขึ้น เช่น

ตัวอย่างสมมติ บริษัท A มีผลกำไรหรือขาดทุนเกิดขึ้นในแต่ละปีดังนี้

อ่านต่อ »

เรื่องทางบัญชีที่จะมาทำเราสับสนได้ 1: Dilution

Financial Stuffs Can Mislead Us 1: Dilution

ผลประกอบการที่บริษัทรายงานออกมาเป็นสิ่งที่พวกเรานักลงทุนให้ความสำคัญและคอยติดตามอยู่เสมอโดยเฉพาะที่เป็นรายปี และตัวเลขที่ออกมามันมีผลต่อการตัดสินใจหรือมุมมองที่เรามีต่อบริษัทอย่างมาก ดังนั้นนักลงทุนที่เก่งควรจะมีความรู้ความเข้าใจในด้านบัญชีมากกว่าคนทั่วไป เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้พวกเราถูกหลอกได้ง่ายๆด้วยวิธีการทางบัญชีต่างๆที่อาจทำให้ตัวเลขดูดีเกินจริง

บทความนี้เราจะคุยกันเรื่อง Dilution effect ครับ แปลเป็นไทยคำว่า Dilution คือการเจือจาง ในที่นี้เวลาคุยเรื่องเกี่ยวกับหุ้นมันหมายถึงการที่มีหุ้นใหม่เพิ่มขึ้น ทำให้สัดส่วนความเป็นเจ้าของของหุ้นที่เราถืออยู่นั้นน้อยลงกว่าเดิม เช่น ถ้าตอนเริ่มบริษัทมีหุ้นอยู่ 100 หุ้น แล้วเราถืออยู่ 30 หุ้นก็แปลว่าเราเป็นเจ้าของ 30% ของบริษัท ทีนี้สมมติว่าอยู่ๆบริษัทนี้มีการออกหุ้นเพิ่มมาอีก 50 หุ้น ทำให้รวมมีหุ้น 150 หุ้น สิ่งที่เราถืออยู่คือ 30 หุ้นเหมือนเดิม ดังนั้นความเป็นเจ้าของของเราก็จะเหลือ 30 จาก 150 หรือคือ 20% ของบริษัทเท่านั้น

อ่านต่อ »

ภาษาหุ้นวันนี้  7:  การแตกพาร์หุ้น

Financial Terms 7:  Stock Split

วันนี้เรานำเสนอหัวข้อง่ายๆเบาสมองบ้างครับ สำหรับคนที่เป็นคนใหม่มากหรือไม่เคยได้ยินเรื่องการแตกพาร์หุ้นมาก่อนได้ยินว่าหุ้นที่เราถือจะมีการแตกพาร์ อาจจะมีงงๆหรือมีการตกใจบ้างว่ามันคืออะไร แล้วมันจะส่งผลอะไรกับหุ้นที่เรามีอยู่หรือไม่ แล้วเค้าจะทำไปเพื่ออะไร วันนี้ผมเลยมาเล่าให้ฟังครับ

หุ้นปกติตอนที่เค้าออกมามันจะมีว่าออกมากี่หุ้นและแต่ละหุ้นนี้ที่พาร์เท่าไหร่ เช่น

อ่านต่อ »