ภาษาหุ้นวันนี้ 6:  เบต้า

Financial Terms 6: Beta

เราเคยพูดถึงเรื่องความเสี่ยงในบทความก่อนหน้านี้ไปแล้วใช่มั้ยครับ ที่แนวคิดนึงบอกว่า ความเสี่ยงวัดจากความผันผวนของตัวราคาเป็นหลัก เพราะถ้าผันผวนมากแปลว่าคาดเดาได้ยากก็คือเสี่ยงมาก แต่ถ้าผันผวนน้อยแปลว่าคาดเดาได้ง่ายก็คือเสี่ยงน้อย ทีนีเบต้า (Beta) มันเป็นค่าทางสถิติที่ใช้วัดความผันผวนตัวนึงที่ได้รับความนิยมครับ ซึ่งในบทนี้เราจะมาอธิบายว่ามันคืออะไรกันแน่

เบต้า เป็นค่าที่บอกว่าหุ้นหรือหลักทรัพย์ที่เราดูอยู่นี้ โดยเฉลี่ยตอบสนองอย่างไรกับทิศทางของตลาดหุ้น ตัวอย่างเช่น

ถ้าหุ้นมีเบต้าเท่ากับ 1  

แปลว่าโดยเฉลี่ยหุ้นนี้เปลี่ยนแปลงเป็น 1 เท่าของตลาด (ซึ่งก็คือเหมือนกันเป๊ะ) ถ้าตลาดหุ้นขึ้น 10% หุ้นนี้ก็จะขึ้น 10%  ถ้าตลาดหุ้นลง 20% หุ้นนี้ก็จะลง 20%

อ่านต่อ »

ภาษาหุ้นวันนี้ 5:  อัตราส่วน P/E หรืออัตราส่วนราคาต่อกำไร

Financial Terms 5: P/E Ratio

คุณเคยไปถามคนอื่นหรือเคยได้ยินคนในโทรทัศน์ถามว่าหุ้นแพงไปหรือถูกไปมั้ยครับ ส่วนใหญ่ในคำตอบที่ตอบกันจะได้ยินคนจะพูดถึงอัตราส่วนตัวนี้แหละครับ อัตราส่วน P/E คืออัตราส่วนเปรียบเทียบราคาต่อกำไรของหุ้นหนึ่งหุ้นครับ

สูตรมันจะเป็นแบบนี้ครับอัตราส่วน P/E  =  price / earning  เช่นถ้าหุ้นตัวหนึ่งราคา 100 บาท แล้วที่ผ่านมากิจการนี้กำไรต่อหุ้น 6 บาท ก็จะได้อัตราส่วน P/E   =  100 / 6 = 16.67 เท่า   ตัวเลขที่คำนวณออกมาบอกแค่ว่า “ถ้าสมมติว่ากิจการนี้ทำกำไรเท่านี้ตลอด แล้วเราซื้อหุ้นด้วยราคาตอนนี้ จะต้องใช้เวลากี่ปีถึงจะได้ได้ทุนคืน” ในตัวอย่างนี้ก็คือต้องใช้เวลา 16.67 ปีจะได้ทุนคืน ทีนี้ในรายละเอียดมันก็จะมีเรื่องของว่าเอาตัวเลขอะไรเป็นตัวคิด อย่างกำไรนี่เอากำไรของปีที่ผ่านมาหรือเปล่า หรือเอาประมาณการกำไรของปีหน้าดี ราคานี่เอาวันนี้มาคิด หรือเอาเฉลี่ยในช่วงเดือนที่ผ่านมาดี ซึ่งเรื่องพวกนี้ยังไม่ต้องกังวลไปครับเอาให้เข้าใจไอเดียมันก็พอ

อ่านต่อ »

ภาษาหุ้นวันนี้  4:  อัตราส่วน PEG หรือ อัตราส่วน P/E ต่อ Growth

Financial Terms 4:  PEG Ratio or P/E to Growth Ratio

มาถึงอันนี้คนส่วนใหญ่ผมว่าอาจจะยังไม่เคยได้ยิน  ส่วนตัวผมตอนสมัยเรียนไฟแนนซ์ในมหาวิทยาลัยก็ไม่มีพูดถึงครับ  ที่มาของอัตราส่วนอันนี้มันมีมาจากการที่เค้าพยายามแก้จุดบอดของการพิจารณาอัตราส่วน P/E อย่างเดียวน่ะครับ  สำหรับคนที่หลุดมาอ่านบทความนี้โดยที่ยังไม่รู้ว่าอัตราส่วน P/E คืออะไร  แนะนำให้ลองไปอ่านบทความเกี่ยวกับ P/E    อย่างที่พวกเราพอจะทราบอยู่แล้วอัตราส่วน P/E นี่มันบางทีบอกไม่ได้ว่าหุ้นแพงหรือไม่แพงกันแน่  เพราะ P/E ที่สูง  ก็ไม่ได้แปลว่าแพงเกินไปเพราะอาจจะมาจากเหตุว่าเป็นหุ้นที่เติบโตดีมาก  หรือ P/E ที่ต่ำ  ก็ไม่ได้แปลว่าของถูกน่าซื้อ   เพราะอาจเป็นบริษัทไม่โตเลยราคาเลยไม่สูง  มันเป็นแบบนี้แหละครับ  เค้าเลยพยายามหาวิธีพิจารณาเพิ่มเติม  ซึ่งก็ได้ไอเดียมาเป็นว่าเออเราเอา P/E มาถ่วงด้วยอัตราการเติบโตดีกว่า  จะได้สูตรเป็นแบบนี้ครับ

อ่านต่อ »

ศัพท์แวดวงลงทุน 3:  พวกตัวเครื่องหมาย X ทั้งหลายที่ใช้ในตลาดหุ้นไทย

Financial Terms 3: All The X Signs Used in SET

สวัสดีอีกแล้วครับ  วันนี้ก็เป็นคิวของหัวข้อพวกกลุ่มคำศัพท์เกี่ยวกับการลงทุนทั้งหลายอีกครั้งหนึ่ง  วันนี้เรามาเล่าเรื่องเครื่องหมาย X ต่างๆที่อยู่บนปฏิทินหุ้นของตลาดหลักทรัพย์กันว่าแปลว่าอะไร  สำหรับคนที่ไม่เคยเห็นปฏิทินหุ้น  ลองเปิดลิ้งค์ภายในเวปตลาดหลักทรัพย์อันนี้ครับ  คุณจะได้รู้ว่าเราพูดถึงอะไรกันhttp://www.set.or.th/set/xcalendar.do?language=en&country=US

ทีนี้ผมจะต้องอธิบายเท้าความนิดนึง  คือการถือหุ้นเป็นเหมือนการเป็นเจ้าของส่วนหนึ่งของกิจการใช่มั้ยครับ  นอกเหนือจากสิทธิ์ที่จะได้เงินปันผลแล้ว  ก็จะมีสิทธิ์อื่นๆอีกเช่นสิทธิ์ในการเข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อรับรู้ความเป็นไปหรือร่วมลงคะแนนเสียงตัดสินใจบางอย่าง  แต่ทีนี้เนื่องจากหุ้นก็มีการขายไปมาเปลี่ยนเจ้าของอยู่ตลอดใช่มั้ยครับ  ดังนั้นปกติแล้วบริษัทเค้าประกาศว่าจะจ่ายปันผลหรือให้สิทธิ์อะไรซักอย่าง  มันก็จะมีวันที่ตัดว่า “เออ เค้าจะให้สิทธิ์กับคนที่ถือหุ้นอยู่ในวันนี้เท่านั้น  พวกที่มาซื้อหลังวันนี้  ถึงแม้ว่าจะก่อนวันที่จ่ายปันผลก็ถือว่าไม่มีสิทธิ์ได้รับ”

อ่านต่อ »

ภาษาไฟแนนซ์วันนี้ :  Par Value, Book Value & Market value

Financial Terms 2: Par Value, Book Value & Market value

บทนี้ผมนำเสนอคำหน้าตาคล้ายๆกันสามคำนี้ครับ  เพื่อให้ท่านที่อาจจะมู้ว่าเค้าพูดอะไรกันทางทีวีได้เข้าใจเอาง่ายๆ

 Par value

หรือ ราคาพาร์ คำนี้นี่จริงๆเป็นอะไรที่โบราณมาก ในอดีตราคาพาร์คือราคาที่บริษัทตั้งขึ้น เป็นราคาขายของหุ้นเวลาขายให้กับสาธารณะเป็นครั้งแรก และเป็นการบอกเพื่อให้นักลงทุนเท่าไปมั่นใจว่าบริษัทจะไม่มีการไปขายหุ้นในราคาที่ต่ำกว่านี้เด็ดขาด สมัยนี้ก็ไม่ได้มีสาระสำคัญอะไรแล้ว ไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรกับมูลค่าของบริษัทหรือมูลค่าของหุ้นอะไรใดๆทั้งนั้น อาจจะมีประโยชน์เหลือแค่เป็นมาตรฐานวิธีการลงบัญชีเท่านั้นครับ

อ่านต่อ »

ภาษาไฟแนนซ์วันละคำ : ROI หรือ Return on Investment

Understanding Financial Terms 1 : ROI

วันนี้ผมนำเสนอคำศัพท์พบได้ทั่วไปคำนี้ครับ  ROI มีใช้ทั่วไปไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะแวดวงการลงทุนในหุ้น  มันย่อมาจาก return on investment ครับ  ซึ่งแปลความหมายตรงตัวว่า  อัตราส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุน  เขียนสูตรคำนวนง่ายมากตามข้างล่างนี้

ROI       =  ผลตอบแทน / ต้นทุน

               =  (รายได้จากการลงทุน – ต้นทุน) / ต้นทุน

อ่านต่อ »

หุ้นทุนซื้อคืน 3

Share Buybacks (Part 3)

จากตอนที่แล้วเรารู้ละว่าการซื้อหุ้นคืนไม่ได้แปลว่าดีเสมอไป  มันขึ้นอยู่กับราคาที่ซื้อหุ้นคืน  แต่ทีนี้ทำไมบริษัทถึงนิยมทำการซื้อหุ้นคืนกันจัง  มันมีเหตุผลอยู่ครับ

  1. การซื้อหุ้นคืน เป็นการตอบแทนผู้ถือหุ้นแบบไม่เสียภาษี

ถ้าเปรียบเทียบกับจ่ายออกมาเป็นปันผล  จ่ายออกมาเป็นปันผลโดนหักภาษี  แต่การซื้อหุ้นคืนทำให้มูลค่าหุ้นเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องเสียภาษี  ซึ่งถ้าซื้อหุ้นคืนในราคาที่ถูกจะยิ่งเป็นผลดีต่อผู้ถือหุ้น

อ่านต่อ »

หุ้นทุนซื้อคืน 2

Share Buybacks (Part 2)

เมื่อเราเข้าใจแล้วว่า  การที่บริษัทซื้อหุ้นคืนมีผลตรงข้ามกับการออกหุ้น  ซึ่งคือทำให้จำนวนคนหารน้อยลง  และทำให้จำนวนหุ้นที่เรามีอยู่เดิมมีสัดส่วนความเป็นเจ้าของเพิ่มขึ้น  ฟังดูดีมากเลย  แต่มันเป็นเรื่องดีจริงหรือไม่  เราคุยกันต่อในบทความนี้

แล้วมันดีมั้ย

ตอบชัดๆเลยว่า  อาจจะดีหรืออาจจะไม่ดีก็ได้  มันแล้วแต่ราคาที่บริษัทซื้อหุ้นคืนมาว่าแพงมากมั้ย  หรือว่าซื้อคืนมาได้ถูก  พิจารณาจากตัวอย่างอันเดิม

อ่านต่อ »

หุ้นทุนซื้อคืน 1

Share Buybacks (Part 1)

เป็นอะไรที่ไม่ค่อยเห็นในหุ้นไทย  และดังนั้นถ้าเราลงทุนในหุ้นไทยอย่างเดียวเรื่องนี้ยังไม่ต้องรู้ก็ได้ครับ  แต่ผมพบว่าบริษัทจำนวนมากในอเมริกามีการซื้อหุ้น  ดังนั้นถ้าเราจะลงทุนในหุ้นอเมริกา  อย่างแรกเราต้องรู้ว่าการที่บริษัทซื้อหุ้นคืนคืออะไร  เกิดอะไรขึ้นบ้างกับเรา

มันคืออะไร

มันคือการที่บริษัทซื้อหุ้นตัวเองคืน  บริษัทใช้เงินสดที่มีอยู่ซื้อหุ้นของบริษัทคืนจากนักลงทุน  โดยปกติจะเอามาเก็บไว้อยู่ในรูปหุ้นทุนซื้อคืนบนงบบัญชีก่อน  แล้วซักพักก็อาจจะปลดทิ้งไป  มันกลับกันกับการออกหุ้นเพิ่มน่ะครับ

ผลที่เกิดขึ้นคือ

อ่านต่อ »

สุดท้าย  พิสูจน์ด้วยอะไรก็ไม่เท่าพิสูจน์ด้วยผลลัพธ์

Why I Say No To Technical Analysis (Part 4/4)

excess return over s&P of top investors

อย่างที่ทุกคนทราบ  การวิเคราะห์ทางเทคนิคมันเป็นอะไรที่มีมานานแล้วและเป็นที่แพร่หลายทั่วโลก  มันน่าจะมีผลลัพธ์ชัดเจนวัดได้จากการที่มีนักลงทุนประสบความสำเร็จด้วยการลงทุนสายนี้มากมาย  ดังนั้นการพิสูจน์ที่ดีที่สุดเลยคือเราเอานักลงทุนกลุ่มที่ทำได้ดีระดับโลกผลงานโดดเด่นเป็นสิบๆปีมาพิจารณา  ดูว่ามีที่เป็นสายวิเคราะห์เทคนิคเยอะแค่ไหน

ทีนี้เนื่องจากนักลงทุนทั่วโลกมันมีเยอะมากหลากหลาย  เราตกลงกติกากันก่อนว่าเราจะ

  • ใช้คีย์เวิร์ดการค้นหากว้างให้ครอบคลุมนักลงทุนทุกกลุ่ม ผมจะใช้คำเหล่านี้  greatest investor of all time
  • นับรวมพวกที่ลงทุนในอย่างอื่นด้วย ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นหุ้นเท่านั้น
  • ไม่นับนักลงทุนแนวพลุ คือทำได้ดีอยู่ช่วงหนึ่งแล้วภายหลังเจ๊ง  เอาพวกที่ทำได้ยอดเยี่ยมสม่ำเสมอเป็นเวลานาน
  • ไม่ได้มาเปรียบเทียบนักลงทุน หรือจัด ranking อะไร  เราแค่อยากรู้ว่าแต่ละคนเค้าลงทุนสายไหนเท่านั้น

และนี่คือผลลัพธ์เรียงมั่วตามลำดับที่หาเจอ

อ่านต่อ »