VI กับ ลงทุนในหุ้นกลุ่ม Value มันไม่เหมือนกันนะ

Value investing and value stocks aren’t the same thing

VI กับ ลงทุนในหุ้นกลุ่ม Value มันไม่เหมือนกันนะ

วีดิโอนี้ผมพูดถึง Value Investing กับ หุ้นกลุ่ม Value นิดนึงว่ามันไม่เหมือนกันครับ

ผมเจอหลายคนมีความสับสนสองอันนี้ คือคนมักเข้าใจว่า Value Investing นี่คือการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Value หรือก็คือหุ้นที่ P/E ต่ำ ซึ่งก็เข้าใจได้นะเพราะชื่อมันคล้ายๆกัน แต่มันไม่ใช่นะ

หุ้นกลุ่ม Value นี่ปกติเค้าเรียกรวมๆถึงหุ้นที่มีอัตราส่วนอย่าง P/E, Forward P/E, P/B, EV/CFO, ฯลฯ อะไรพวกนี้ต่ำครับ เวลาได้ยินคนบอกว่าเค้าซื้อหุ้นกลุ่ม Value ไอเดียความเชื่อคือบอกว่าการซื้อหุ้นกลุ่มพวกนี้โดยรวมคือซื้อหุ้นถูก และควรจะผลตอบแทนดี ซึ่งโดยปกติคนจะลงทุนในหุ้นกลุ่ม Value ด้วยการซื้อหุ้นที่มีลักษณะแบบนี้จำนวนมากและทำผ่านกองทุนเพราะมันสะดวกกว่า มันเป็นการมองการลงทุนแบบ Top view

ส่วนถ้าคนพูดถึง Value Investing นี่คือเค้ากำลังสื่อว่าวิธีการตัดสินใจลงทุนเลือกหุ้นเนี่ย ตัดสินใจจากการวิเคราะห์บริษัท, ประเมินมูลค่าพื้นฐาน แล้วก็ซื้อหุ้นเมื่อราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานที่คำนวณได้เป็นหลัก ซึ่งโดยปกติมันจะเป็นการวิเคราะห์หุ้นรายตัวและซื้อแบบเฉพาะเจาะจง มันเป็นการมองการลงทุนแบบ Bottom view

จุดที่มันต่างคือคนที่ลงทุนแบบ Value Investing อาจจะซื้อหุ้นที่ P/E, Forward P/E, P/B สูงก็ได้ครับ แบบ P/E 35-40 เลยก็ได้ ตราบใดที่เค้าเชื่อว่าการเติบโตในอนาคตของบริษัทนั้นมันสูงมากพอจนทำให้ราคาระดับนั้นเหมาะสม การตัดสินใจจะไม่อยู่บนคำว่า P/E สูงหรือต่ำ การตัดสินใจจะอยู่บนการคาดการณ์หน้าตาในอนาคตของบริษัทและคิดลดกระแสเงินสดจะปันผลหรือ Free cash flow ก็ดีกลับมาเป็นปัจจุบัน หุ้นบางบริษัทที่คนที่ลงทุนแบบ Value Investing ซื้ออาจจะจัดว่าเป็นหุ้น Growth ก็ได้ครับ

สรุปคือมันเป็นคนละเรื่องกัน อยากให้เห็นภาพเอาไว้ครับ
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

งบการเงินบริษัทที่ดี หน้าตาเป็นยังไง ?

What does a good company's financial statement like ?

งบการเงินบริษัทที่ดี หน้าตาเป็นยังไง ?

มีคนเสนอให้ทำวีดิโอดูงบการเงินบริษัทที่ดีบ้าง ตอนแรกก็ว่าจะไม่ทำละ แต่คิดดูก็ทำซะหน่อยก็ดีเพราะที่ผ่านมาก็ดูเหมือนจะไม่เคยทำหัวข้อนี้จริงๆ

บริษัทที่ดีมันก็มีเยอะไปหมด ในเมื่อไม่มีโจทย์อะไรเป็นพิเศษเราสุ่มมาเปิดให้ดูเป็นตัวอย่างซักอัน วันนี้เราเอา HMPRO และ T. Rowe Price มาเป็นตัวอย่างครับ โดยสรุปเรื่องหลักๆที่ผมจะพิจารณาก็เหมือนเดิมกับทุกครั้งคือผมดูดังนี้

โดยปกติส่วนตัวผมนิยมมองไปที่งบกำไรขาดทุนก่อน และเหมือนกับวีดิโอก่อนๆที่เคยอธิบายไว้สิ่งที่ผมพิจารณาคือดูว่าบริษัท
• ขายของได้เพิ่มมั้ย
• ขายเพิ่มแล้วกำไรเติบโตมั้ย
• Margin สม่ำเสมอมั้ย
• มีค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มพรวดพราดหรือเปล่า
บริษัทที่ดีมันก็จะแน่นอน ขายได้เพิ่ม กำไรโต Margin สม่ำเสมอ ไม่มีค่าใช้จ่ายอะไรโตพรวดผิดปกติ

แล้วสมมติเราเห็นว่าบริษัทมีกำไรดีนะ เราก็ถัดมาดูงบกระแสเงินสดต่อเลยว่า
• กำไรที่ว่านี่กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานเป็นบวกด้วยป่าว
• บริษัทเอาเงินสดไปทำอะไรบ้าง ต้องลงทุนในสินทรัพย์ถาวรเยอะมั้ย
• มีกู้ยืมเงินจำนวนมากหรือเปล่า
บริษัทที่ดีก็แน่นอน กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานเป็นบวก อาจจะมีการลงทุนบ้าง แต่ไม่ถึงกับต้องกู้ยืมเงินอะไรตลอด

แล้วสุดท้ายก็มาดูงบดุล
• ดูว่าลูกหนี้การค้ากับสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนกับรายได้มั้ย
• หนี้สินที่เป็นพวกเงินกู้ระยะยาวเยอะป่าว
• มีการเพิ่มทุนในช่วงนี้มั้ย
บริษัทที่ดีเราก็จะเห็นลูกหนี้การค้ากับสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้นตามรายได้ หนี้สินพวกเงินกู้ระยะยาวไม่เยอะ และไม่ต้องเพิ่มทุนอะไรกันบ่อยๆ

จบละครับ หน้าตางบการเงินบริษัทที่ทำได้ดีก็จะประมาณนี้แหละ

นอกเหนือจากนั้นก็คือพวกหมายเหตุประกอบงบการเงินในเรื่องต่างๆที่อยากทราบ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

การลงทุนใน Alternative Investments มีประโยชน์อะไรมั้ย ?

Are alternative investments any good ?

การลงทุนใน Alternative Investments มีประโยชน์อะไรมั้ย ?

อันนี้เป็นบทความของ Morningstar อีกอันที่ผมว่าน่าสนใจ ในบทความนี้เค้ามีเขียนสรุปว่าการลงทุนใน Alternative investments นี่ผลตอบแทนมันดีมั้ย มันมีประโยชน์อะไรในทางการกระจายความเสี่ยงหรือไม่ สรุปมันได้ผลในฐานะของส่วนหนึ่งของพอร์ตหรือเปล่า

ซึ่งจริงๆเรื่องนี้ผมเคยอ่านเจอในหนังสือสอบ CFA 3 ละ แล้วก็จำได้ว่ามันเหมือนจะมีประโยชน์นะ แต่ในหนังสือตอนนั้นมันจะเป็นช่วงปี 2000-2016 บทความนี้ก็เหมือนมาอัพเดทครับ

เพื่อให้เข้าใจตรงกัน Alternative investments ในที่นี้ Morningstar เค้ากำลังพูดถึงพวกกองที่ลงทุนใช้กลยุทธ์ของ Hedge funds หรือใช้กลยุทธ์ที่ไม่ได้ทำโดยกองทุนปกติเช่น
• Event Driven อันนี้คือใช้เหตุการณ์ของบริษัทหาโอกาสการลงทุนเช่น เรื่องควบรวมกิจการ, บริษัทเจ๊ง หรือเรื่องใหญ่อื่นๆ
• Options Trading ก็ตามชื่อคือมีการใช้ options เยอะ
• Relative Value Arbitrage อันนี้คือมองหาสินทรัพย์ที่มูลค่ามันควรจะเกี่ยวข้องกัน แล้วก็อาศัยเวลาที่มูลค่ามันเพี้ยนไปจากปกติ เช่นอาจจะเป็นหุ้นกู้กับหุ้นกู้แปลงสภาพของบริษัทเดียวกัน
• Macro Trading อันนี้ก็เป็นกลุ่มกว้างๆที่ลงทุนโดยอาศัยการมองเทรนด์ตลาดภาพกว้าง
• Multi Strategy อันนี้ก็คือกองนึงทำหลายกลยุทธ์
• Equity Market Neutral อันนี้คือมีการ long และ short หุ้นให้มี Beta ของพอร์ตเท่ากับ 0 แล้วพยายามให้เกิดผลตอบแทนจากการซื้อหรือขายสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกันแล้วคิดว่าอันนึง Overvalued กับอีกอัน Undervalued

สิ่งที่เค้าทำคือเค้าเอากองทุนที่เป็นกลุ่ม Alternatives ทั้งหมดที่มีอายุอย่างน้อย 15 ปีขึ้นไปคือช่วงกุมภาพันธ์ 2007 ถึงมกราคม 2022 มาพิจารณา รวมถึงกองทุนที่รวมอาจจะไม่ได้เป็น Alternative Investments ซะทีเดียวแต่เป็นสินทรัพย์ประเภทที่นิยมใช้เพื่อการกระจายความเสี่ยงซึ่งคือ
1. Commodities กองทุนพวกนี้ลงทุนในฟิวเจอร์ของสินค้าพวกวัตถุดิบหรือสินค้าเกษตร
2. Real Estate กองทุนนี้จริงๆก็นับเป็น equity ประเภทนึงได้นะ แต่ส่วนใหญ่คนนิยมมองแยกออกมา
3. Precious metal stocks อันนี้คือพวกบริษัทที่ทำเหมือง ก็เป็น equity เหมือนกัน แต่คนนิยมมองแยกเช่นกัน

เรื่องที่พิจารณาเรื่องแรกคือ Total Return

เท่าที่ดูคือมีแค่ Real Estate เท่านั้นที่ผลตอบแทนดีกว่าตราสารหนี้ แต่ก็เข้าใจได้เพราะส่วนใหญ่กองที่เป็น Real Estate ก็คือลงทุนใน REIT ซึ่งเป็น equity แบบนึง และโดยปกติก็จะความผันผวนสูงกว่าตราสารหนี้มาก

ต่อมาดูเรื่อง Correlation เพราะแค่เรื่องผลตอบแทนอย่างเดียวอาจจะไม่ใช่ประเด็น บางทีสาเหตุที่เราเอาสินทรัพย์ทางเลือกเข้ามารวมในพอร์ตเป็นเพราะมันขยับไปคนละทางกับสินทรัพย์อื่นในพอร์ต ก็จะเป็นการลดความผันผวนของพอร์ตโดยรวมได้ อันนี้เค้าเทียบ Correlation ของกองทุน Alternatives กับกองทุนผสมที่มีหุ้นกับตราสารหนี้ 60/40 ตัวเลขที่ได้ยิ่งต่ำแบบติดลบไปเลยก็คือยิ่งดี ถ้าตัวเลขสูงเข้าใกล้ 1 เท่าไหร่ก็คือมันขยับไปในทิศทางเดียวกันและไม่มีประโยชน์ในเชิงของการทำให้พอร์ตเสถียรขึ้น

ผลออกมาคือก็ไม่ได้ดูดีเท่าไหร่ ทั้งหมดเป็นบวกและบวกเยอะด้วยนะ แย่กว่า Intermediate Core Bond ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ในพอร์ตอยู่แล้ว 40% ซะอีก ที่ดูจะน้อยจริงก็มีแค่ Equity Market Neutral กับ Equity Precious Metals เท่านั้น ซึ่งเป็นอันที่ผลตอบแทนค่อนข้างต่ำนะ

สุดท้ายมาดูภาพรวมว่าถ้าเอากอง Alternatives ปนเข้าไปจะทำให้ Sharpe ratio ของพอร์ตโฟลิโอดีขึ้นมั้ย เค้าลองโดยการจัดพอร์ตแบบ 60% เป็นกองหุ้นใหญ่ 20% เป็นกองตราสารหนี้ 20% เป็นกองแบบต่างๆ แล้วเอามาเทียบกัน


ผลลัพธ์ที่ได้คือ พอร์ตที่เป็นกองหุ้นใหญ่ 60% กับกองตราสารหนี้ 40% ให้ Sharpe ratio ที่ดีสุดอยู่ดี

สรุปแล้วคือ หลักฐานของ Morningstar บ่งชี้ว่ากอง Alternative Investments ดูไม่ค่อยมีประโยชน์เท่าไหร่ อย่างน้อยก็ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาครับ

อันนี้เป็นลิ้งค์ของบทความเผื่อคนสนใจอ่านครับ https://www.morningstar.com/articles/1081282/do-investors-need-alternative-investments

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

สงครามรัสเซีย-ยูเครน มีผลกระทบยังไงกับเศรษฐกิจบ้าง ?

Economic impact from Ukraine war

สงครามรัสเซีย-ยูเครน มีผลกระทบยังไงกับเศรษฐกิจบ้าง ?

มีคนถามเรื่องสงครามเพิ่มเติมว่ามันจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจขนาดไหน ซึ่งก็เป็นคำถามที่ดีนะ เอาจริงๆผมก็ไม่ทราบเหมือนกันก็เลยลองไปหาข้อมูลมาครับ

อย่างแรกที่ผมไปดูคือ GDP ของรัสเซียกับยูเครนดูว่าเศรษฐกิจสองประเทศนี้ใหญ่ขนาดไหนเมื่อเทียบกับทั้งโลก เท่าที่เห็นก็เหมือนไม่ได้ใหญ่นะ รัสเซียขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 12 ของโลก ซึ่งก็ดูเหมือนใหญ่อยู่ ส่วนยูเครนนี่อันดับที่ 57 เล็กกว่าไทยอีกครับ ไทยยังอันดับที่ 25


เมื่อดูในรายละเอียดก็เห็นว่าจริงๆสองประเทศนี้รวมกันก็ไม่ได้เป็นสาระสำคัญมากนัก สัดส่วนของ GDP สองประเทศนี้รวมกัน 1817.17 Bn เทียบกับทั้งโลก 91,980 Bn คิดเป็นแค่ 1.98% เท่านั้นเอง ดังนั้นหมายความว่าในเชิงความเสียหายเศรษฐกิจโดยรวมอาจจะไม่วงกว้างเท่าไหร่ คงไม่ใช่แบบ domino effect เหมือนตอน US Subprime หรืออะไรแบบนั้น

แล้วรัสเซียกับยูเครนมีอะไรโดดเด่นหรือเปล่า เท่าที่เข้าใจคือมีความโดดเด่นในสินค้าบางด้าน ซึ่งก็จะมีผลกระทบกับประเทศที่มันเกี่ยวข้องเป็นคู่ค้าหรือพึ่งพาสินค้าพวกนี้
รัสเซีย
• เป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าเรื่องพลังงานเยอะมาก พวกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจริงๆก็สอดคล้องกับข่าวที่ได้ยินและก็สิ่งที่เราเห็นหุ้นในรัสเซียส่วนใหญ่อยู่ในธุรกิจพวกนี้ซะเยอะ
• จากข้อมูลของเวป IEA เข้าใจว่ารัสเซียเป็นผู้ผลิตน้ำมันใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากอเมริกาและซาอุดิอาราเบีย แต่เป็นประเทศที่ส่งออกน้ำมันเยอะที่สุดในโลก ถ้านับเฉพาะน้ำมันดิบจะเป็นอันดับสองรองจากซาอุดิอาราเบีย
• การส่งออกน้ำมันที่ว่า 60% ไปที่ยุโรป จีนอีก 20% แล้วก็ประเทศอื่นๆคือที่เหลือ
• ส่วนก๊าซธรรมชาติที่บอกยุโรปและอังกฤษพึ่งพารัสเซียก็ดูเหมือนจะจริง เพราะอุปทานของก๊าซธรรมชาติที่ใช้อยู่มาจากรัสเซีย 32% (ในปี 2021)

• แล้วในเวลานี้ดูเหมือนสต็อกของก๊าซธรรมชาติในยุโรปจะต่ำกว่าปกติด้วยนะ ปัจจุบันสต็อกมีต่ำกว่าเฉลี่ย 5 ปีที่ผ่านมาอยู่ 30% และโดยรวมต่ำกว่า 1 ใน 3 ของความจุทั้งหมด

• ในเวลานี้ผมไม่แน่ใจว่าราคาน้ำมันกับก๊าซธรรมชาติที่สูงขึ้นมาในข่าวนี่คือเป็นเพราะปริมาณที่ส่งออกมาจากรัสเซียลดลงแล้วจริงๆ หรือเป็นความคาดการณ์ของตลาดเฉยๆ แต่สิ่งที่เห็นในเวลานี้คือราคาก๊าซในยุโรปแพงขึ้นแล้วจริง

• สรุปแล้วคือเท่าที่ดูจะสำคัญอยู่ แต่ในรายละเอียดผมเข้าใจว่าผลกระทบจากก๊าซธรรมชาติน่าจะหนักกว่านะ เพราะน้ำมันนี่ผมเข้าใจว่ารัสเซียก็ขนไปขายที่อื่นได้ แต่ก๊าซธรรมชาติที่ส่งทางท่อนี่น่าจะเป็นประเด็นสุด

ยูเครน
• ดูเหมือนจะเป็นสินค้าเกษตรพวกอาหาร
• ยูเครนกับรัสเซียรวมกันเป็นผู้ผลิตน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน 60% ของโลก ( Source: S&P Global Platts)
• ยูเครนกับรัสเซียรวมกันเป็นผู้ผลิตข้าวสาลี 28.9% ของโลก (Source: JP Morgan)
• ก็คงทำให้ราคาข้าวสาลีแพงขึ้นแน่

นอกเหนือจากเรื่องสินค้าส่งออก สิ่งที่เจออีกอย่างคือดูเหมือนบริษัท software จำนวนพอสมควรจะมีพนักงานหรือมีการจ้างคนยุโรปตะวันออกซึ่งรวมถึงยูเครนด้วย บริษัทพวกนี้ก็คงกระทบแหละ แต่ไม่ได้เป็นสาระสำคัญของเศรษฐกิจโลกโดยรวม

สรุปแล้วผลกระทบโดยรวมของสงคราม เท่าที่เราเห็นในเวลานี้ก็น่าจะเป็นเรื่องของเงินเฟ้อจากเรื่องราคา commodities พลังงานกับอาหารที่สูงขึ้นนะ สำหรับประเทศส่วนใหญ่ที่ตอนนี้ก็เงินเฟ้อสูงอยู่แล้วก็คงทำให้ยิ่งไปกันใหญ่ ส่วนที่เดือดร้อนสุดก็คงจะเป็นยุโรปที่พึ่งพาเรื่องพลังงานจากรัสเซียเป็นพิเศษ กับประเทศที่ยากจนอื่นโดยเฉพาะพวกที่ผลิตอาหารเองไม่ได้แล้วก็ยากจนด้วยเช่น Yemen, Lebanon อะไรแถวนั้น

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ในสถานการณ์ผิดปกติอย่างสงครามยูเครน เราจะมีวิธีบริหารความเสี่ยงยังไง ?

How do we manage risk during uncertain time?

ในสถานการณ์ผิดปกติอย่างสงครามยูเครน เราจะมีวิธีบริหารความเสี่ยงยังไง ?

มีคนตั้งคำถามว่าในเคสเหตุการณ์ไม่ปกติอย่างเช่นสงครามในยูเครน เราจะบริหารความเสี่ยงยังไงดี

เวลามันมีเหตุการณ์ไม่ปกติแบบสงครามในยูเครนนี่สถานการณ์มันจะเปลี่ยนเร็วมาก บางทีข่าววันนึงบอกถอนทหาร อีกวันนึงบอกสั่งบุก มันก็ทำให้มีความผันผวนสูงจริง แล้วเราจะมีวิธีการจัดการกับความเสี่ยงอารมณ์แบบนี้ยังไงได้บ้าง

ผมก็มานั่งนึกนะ แล้วก็คิดว่ามันทำได้อยู่ 4 แบบ

1. คาดเดาแล้วก็เสี่ยงเลย
วิธีการนี้คือพยายามเดาเหตุการณ์ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เดาว่ามันจะมีผลกระทบกับตลาดหุ้นหรือกับสินทรัพย์การลงทุนแต่ละประเภทยังไงบ้าง แล้วก็ลงทุนแบบดักทางไว้ก่อน ซึ่งถ้าทำได้ถูกต้องนี่มันจะเป็นอะไรที่เท่มาก

แต่กลับกันก็อาจจะผิดได้เช่นกัน และก็อาจจะกลายเป็นเละแทนที่จะดี การเดาแล้วเสี่ยงเลยจึงเป็นอะไรที่เสี่ยงมากอยู่และผมว่าไม่ได้เหมาะกับเราเท่าไหร่

2. ปลอดภัยไว้ก่อน
อันนี้ก็เป็นอีกวิธีที่ทำได้ คือบางคนก็นิยมที่จะขายออกมาแล้วถือเงินสดรอดูสถานการณ์ก่อนแล้วค่อยตัดสินใจอีกที
อาการแบบนี้จริงๆลึกๆก็คือกำลังตัดสินใจบนความกลัวนั่นแหละ

ถ้าสุดท้ายเหตุการณ์มันกลายเป็น worst-case เลย พวกนี้ก็จะหล่อขึ้นมาทันที เพราะจะดูฉลาดมากที่ทำการขายออกมาก่อน แต่ปัญหาคือโดยปกติแล้วเหตุการณ์ในโลกมันมักจะไม่ไปสุดโต่ง worst-case ขนาดนั้นไง บางทีตลาดมันก็เหมือนแกล้งเรานึกออกมะ มันจะมีเรื่องบ้าบออะไรไม่รู้เกิดขึ้นเป็นระยะ เดี๋ยวๆโควิด ซักพัก Fed ซักพักอสังหาจีนเจ๊ง ซักพักสงคราม อะไรแบบเนี้ย สรุปคือคนกลุ่มนี้กลายเป็นแทบจะนั่งอยู่ขอบสนามอยู่นอกตลาดอย่างเดียวเลย หลายครั้งกลายเป็นพลาดโอกาสไป

3. นิ่งไว้มองระยะยาว
หลักๆแล้วคือยอมรับซะว่าเราไม่สามารถเดาอนาคตโดยเฉพาะระยะสั้นได้ ดังนั้นมองไปไกลๆดีกว่าแล้วถามว่าเหตุการณ์นี้มันจะส่งผลระยะยาวหรือเปล่า ส่วนใหญ่ก็จะไม่ใช่ และคนที่ทำแบบนี้ก็จะถือเงินลงทุนที่มีอยู่แล้วต่อไป

วิธีการนี้ส่วนใหญ่คนจะทำไม่ค่อยได้ หลักฐานส่วนใหญ่บ่งชี้ว่าคนจะตกใจในช่วงวิกฤติรวมถึงพวกที่ตอนนี้ปากบอกว่าลงทุนระยะยาวนะรับความเสี่ยงได้นะก็ตาม ก็เข้าใจได้เพราะไม่มีใครชอบเห็นเงินเก็บทั้งชีวิตของตัวเองลดไป -50% และส่วนใหญ่พอตกใจก็จะทำแบบปลอดภัยไว้ก่อน แล้วก็เลยจะพลาดช่วงที่มันฟื้นครับ

4. กลับมามองมูลค่าหุ้น
ไอเดียคือกลับมามองที่ตัวบริษัทว่าได้รับผลกระทบยังไงบ้างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น พยายามมองมูลค่าพื้นฐานหุ้นเทียบกับราคาหุ้นที่ตกลงมานั่น แล้วก็ตัดสินใจตามนั้น

วิธีแนวนี้ก็เป็นเหตุเป็นผลดีแหละ แต่ทำยากเช่นกัน คือมันต้องหัดเลยนะ อดทนไม่ขายก็เรื่องนึงแต่กระโดดเข้าไปลงทุนด้วยเลยนี่ทำได้ยากอยู่ ต้องใช้ความมีสติเป็นเหตุเป็นผลและมีวินัยมากทีเดียว

น่าจะเดาได้อยู่แล้วว่าผมจะชอบวิธีการที่สามกับสี่ มันคือการควบคุมสติตัวเองให้มองเหตุการณ์แบบใช้เหตุผลจริงๆไม่ตัดสินใจบนความกลัว ถ้าทำได้ดีนอกจากเราจะไม่ขายด้วยความกลัวแล้ว หลายครั้งเราจะเห็นโอกาสที่คนอื่นไม่เห็นด้วยครับ

สุดท้ายคือผมอยากจะเตือนว่าไม่มีสินทรัพย์อะไรที่ไม่มีความเสี่ยงเลย การขายแล้วออกมารอก่อนก็ไม่ใช่ว่าไม่เสี่ยงนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงที่เงินเฟ้อสูงขนาดนี้ การออกมาถือเงินสดนี่ก็มีต้นทุนอยู่นะครับ

Trend อนาคตเรื่องไหนเราเชื่อสุด ?

Which future trend do we think is most likely to happen ?

Trend อนาคตเรื่องไหนเราเชื่อสุด ?

มีคนถามความเห็นว่า Trend อนาคตที่น่าสนใจเวลานี้มีหลายเรื่อง เช่น AI, Blockchain, EV, Metaverse, Gene editing, Environment, etc. Trend ไหนที่เราคิดว่าอนาคตมาแน่นอนบ้าง

ส่วนตัวผมว่าเรื่องที่มาแน่สุดก็ EV มั้ง

อันนี้คิดว่าชัดนะ ตั้งแต่ Tesla เริ่มออกรถยนต์ไฟฟ้าที่ราคาต่ำลงมา เห็นข่าวค่ายรถยนต์ในจีนทำ EV ออกมาแข่งกันแล้วก็มีคนซื้อด้วย เห็นตัวเลขยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าเติบโตขึ้นทั่วโลกแล้วก็กินเข้าไปใน market share ของรถยนต์ที่ใช้แก๊สเรื่อยๆด้วยนะ และในทางไอเดียเองมันก็เข้าท่านะ นึกภาพถ้ามันมีรถยนต์ไฟฟ้าที่ราคาไม่ต่างกับรถยนต์ปกติที่เราใช้อยู่ ปลอดภัยไม่ต่างกัน แล้วมันวิ่งได้ไม่ก่อให้เกิดมลพิษอากาศสะอาด มีชิ้นส่วนน้อยกว่าพังน้อยกว่าโดยรวมต้นทุนในการดูแลรักษาต่ำกว่า ส่วนเรื่องค่าใช้จ่ายเรื่องการชาร์จไฟเทียบกับเติมน้ำมันอันไหนราคาถูกกว่ากันอันนี้เหมือนคำตอบจะยังไม่ชัด ส่วนใหญ่ที่เห็นคือถ้าชาร์จที่บ้านตอนกลางคืนจะถูกกว่าน้ำมัน เสียอย่างเดียวตรงที่เวลาเติมไฟฟ้าจะนานกว่าเติมน้ำมัน ถ้าเป็นแบบนี้มันก็จะมีคนจำนวนมากหันมาใช้รถ EV แหละผมเชื่อ

อนาคตพอคนใช้เยอะขึ้น EV ก็จะมี scale มากขึ้นและมีคนพัฒนาเทคโนโลยีเรื่องแบตเตอรี่, การชาร์จและเรื่องอื่นๆก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งทำให้คนเปลี่ยนมา EV ง่ายขึ้นไปอีก

คำถามสำคัญคือ ถ้าเรารู้ว่า EV จะมาแล้วเราควรไปลงทุนในอะไรดี ที่นึกออกก็จะมี
บริษัทที่ทำ EV นึกถึง Tesla, BYD
บริษัทที่ผลิตแบตเตอรี่ เช่น Contemporary Amperex Technology, LG Chem
บริษ้ทที่ทำสถานีชาร์จ เช่น Energy Absolute, ChargePoint Holdings
บริษัทที่ผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้า พวกนี้ก็บริษัทที่ทำโรงไฟฟ้าและบางประเทศบริษัทที่ทำการจ่ายกระแสไฟฟ้าก็มีหุ้นอยู่ เช่น Red Electrica

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

Top Down หรือ Bottom Up ดีกว่ากัน ?

Is investing Top Down or Bottom Up better ?

Top Down หรือ Bottom Up ดีกว่ากัน ?

มีคนถามแนวการลงทุนว่าระหว่างวิเคราะห์แบบ Top Down กับ Bottom Up ผมทำแบบไหน แบบไหนดีกว่ากัน

เรื่องดีกว่านี่คงบอกยากนะ ผมว่ามันแล้วแต่คนชอบกับว่าลงทุนในอะไรด้วยครับ

ส่วนตัวนี่ผมลงทุนในหุ้นรายตัว สิ่งที่ทำคือ Bottom Up แน่และที่ผ่านมาก็ได้ผลดีนะ เวลาผมพูดถึง Bottom Up หมายความว่าปกติในการได้มาซึ่งไอเดียในการลงทุนผมเริ่มสนใจจากตัวบริษัทก่อน บริษัททำอะไรขายอะไรมีจุดเด่นยังไง แล้วค่อยไล่ขึ้นมาดูอัตราส่วนทางการเงิน และปกติผมก็จะไม่สนพวกอัตราดอกเบี้ยหรือเศรษฐกิจมหภาคอะไรเท่าไหร่

แต่ส่วนใหญ่เท่าที่สังเกต คนอื่นเค้านิยมแบบ Top Down มากกว่านะ คือเหมือนจะต้องมาคุยกันเรื่องอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นลง ตัวเลขการจ้างงาน การบริโภค หนี้สาธารณะ ตลาดหุ้นปีนี้จะขึ้นหรือลง อุตสาหกรรมไหนธุรกิจไหนจะเติบโต ซึ่งโดยส่วนตัวผมไม่ค่อยรู้สึกว่ามันเกี่ยวกับการเลือกหุ้นรายตัวเท่าไหร่นะ

คือผมพบว่าธุรกิจที่ดีมันหาได้ในทุกธุรกิจแหละ เราไม่ได้จำเป็นต้องพยายามเดาว่าอุตสาหกรรมไหนจะมาก็ได้ หาโอกาสในธุรกิจธรรมดาก็ได้ครับ เราแค่ต้องมองหาบริษัทที่มันมีจุดเด่นมีอำนาจบังคับผู้บริโภคได้และมีผลประกอบการสอดคล้อง บางบริษัทที่ผมเห็นทำได้ดีมากเช่น CSX Corp นี่ทำรถไฟ ธุรกิจยุคเก่าสุดๆ แต่ผลประกอบการสม่ำเสมอดีขึ้นต่อเนื่อง ราคาหุ้นก็เช่นกัน 10 ปีขึ้นมา 4 เท่ากว่าได้ ก็ตกเกินปีละ 15% นะ และนี่ไม่รวมผลตอบแทนจากปันผลนะ หรือร้านขายอะไหล่รถยนต์ปลีกอย่าง AutoZone ก็ธรรมดานะ model ธุรกิจไม่ได้เน้น tech หรืออะไร ผลประกอบการก็ดีขึ้นต่อเนื่อง ราคาหุ้น 10 ปีที่ผ่านมาก็ขึ้นมา 5 เท่าได้ ตกประมาณ 17.5% ต่อปี

หรือบางทีคนก็ดูเลขดัชนี บอกว่าตอนนี้ SET Index 1,699 แล้ว ทุกอย่างแพงไปหมดแล้ว หุ้นไทยไม่น่าลงทุนนู่นนี่นั่น แล้วก็เลยมองข้ามทุกสิ่งอย่างไป แทนที่จะลงไปดูในรายละเอียดมองหาโอกาสอย่างจริงจัง ทั้งที่ในเวลานี้เอาจริงๆพวกกลุ่ม REIT ที่เป็นห้าง, โรงแรมก็ยังถูกกว่าปกติก่อนช่วงโควิดมาก

ทั้งนี้ Top Down นี่ก็ไม่ใช่ว่าไม่มีประโยชน์นะ หัวหน้าที่ทำงานคุณผมคุณ CEO เค้าก็ใช้มุมมอง Top Down แล้วเค้าก็ทำได้ดี แต่แค่ส่วนตัวผมรู้สึกว่ามันไม่ได้เหมาะกับคนที่จะเลือกลงทุนในหุ้นรายตัว Top Down มันจะไปเหมาะกับคนที่ลงทุนแบบภาพรวมทั้ง sector มากกว่า เช่นสมมติเราบอกเราเชื่อว่ากลุ่มธุรกิจ Metaverse จะมา แต่เราไม่มั่นใจว่าบริษัทไหนจะชนะก็ซื้อกองทุนที่ลงทุนใน sector นั้นทั้งอันไปเลย ถ้าเราเดาทิศทางภาพใหญ่ถูกผลลัพธ์มันก็จะออกมาดี

สรุปคือผมทำ Bottom Up แหละ และถ้าคุณคิดจะลงทุนในหุ้นรายตัวผมก็แนะนำว่าทำ Bottom Up นะ

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ช่วงนี้ตลาดหุ้นผันผวนมาก เรามีมุมมองยังไง ?

What do we think of the recent sell-off ?

ช่วงนี้ตลาดหุ้นผันผวนมาก เรามีมุมมองยังไง ?

ช่วงที่ผ่านมามีคนถามหลายคนเรื่องตลาดหุ้นตกว่าเราคิดยังไง โดยเฉพาะพวกหุ้นเทคโนโลยีที่ดูผันผวนตกทีนึกตกแรงมาก เช่นอย่าง Meta Platforms กับ Paypal ที่ตกแบบ 20-25% ในวันเดียว

เหมือนเดิมกับทุกครั้งคือผมแนะนำว่าเวลาตลาดตกเนี่ย เราต้องไม่ไป emotional ครับ เราใจเย็นๆนิดนึงส่วนใหญ่เราก็จะพบว่าไม่ได้มีอะไรนะ

ก่อนอื่นตั้งคำถามในหัวก่อน สถานการณ์ในเวลานี้ที่บอกว่าตลาดตกนี่ มันมีอะไรมากระทบกับบริษัทที่เราถือหุ้นอยู่หรือเปล่า ช่วงนี้มีอะไร ภาพรวมเศรษฐกิจก็ยังฟื้นตัวต่อเนื่องนะ การจ้างงานของ US ก็ดีขึ้นกว่าที่คาดด้วยซ้ำ โควิดที่เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาตั้งแต่แรกก็ดูไม่รุนแรงในเวลานี้ ที่จะเห็นคนพูดกันเยอะก็มีแค่เงินเฟ้อ, ธนาคารกลางทั่วโลกโดยเฉพาะที่คนตามกันเยอะอย่าง Fed จะเริ่มปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น กับเรื่องทหารรัสเซียตรงพรมแดนยูเครน สองเรื่องนี้มันมีผลกระทบอะไรกับบริษัทที่เราถืออยู่หรือเปล่า

เรื่องเงินเฟ้อ อันนี้ต้องพิจารณาบริษัทที่เราถือละ เพราะมันมีผลกระทบไม่เท่าเทียมกัน ถ้าบริษัทที่เราถือเลือกมาดีแล้วเป็นบริษัทที่มีอำนาจบังคับผู้บริโภค เค้าจะสามารถผลักภาระต่อไปได้ครับและดังนั้นก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรเท่าไหร่

การที่ Fed ขึ้นดอกเบี้ย มันก็อาจจะมีผลบ้างคือเพิ่มต้นทุนในการกู้ยืมในอนาคตของบริษัทถูกมะ แต่มันเยอะอะไรขนาดนั้นเลยหรือเปล่า นึกภาพว่าก่อนหน้าวิกฤติโควิดอัตราดอกเบี้ยมันก็สูงกว่านี้อยู่แล้วนี่ แล้วบริษัทที่เราถืออยู่นี่เป็นบริษัทหนี้เยอะขนาดนั้นเลยมั้ย แบบค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยนี่เป็นสัดส่วนใหญ่มากของรายได้หรือเปล่า มันเป็นอะไรที่เราต้องกังวลเหรอ จริงๆส่วนใหญ่กู้ยืมเงินระยะยาวล็อคอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำไว้อีกหลายปีด้วยซ้ำ แล้วจริงๆการที่เค้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็เพื่อควบคุมเงินเฟ้อมั้ย ก่อนหน้านี้ก็มีคนด่าว่าทำไมขึ้นดอกเบี้ยช้าจังเงินเฟ้อเลยพุ่ง พอตอนนี้เค้ามาขึ้นดอกเบี้ยเพื่อให้เงินเฟ้ออยู่ระดับปกติเศรษฐกิจไม่ overheat เราก็ด่าเค้าอยู่ดีนี่มันยังไง

อีกอย่างที่คนพูดถึงก็จะเป็นเรื่อง discount rate ที่สูงขึ้นเวลาประเมินมูลค่าหุ้นออกมาก็จะได้มูลค่าที่ต่ำลง หรือพูดอีกแบบนึงคือพออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น การลงทุนในตราสารหนี้ก็ดูน่าสนมากขึ้นก็เลยอาจจะทำให้คนบางส่วนดึงเงินออกจากหุ้นไปลงทุนในตราสารหนี้มากขึ้น ซึ่งก็เข้าใจได้นะ ในทางทฤษฎีมันก็จะมีผลเยอะเป็นพิเศษกับบริษัทพวกทีกว่าจะกำไรยังอีกนาน cash flow อยู่ในอนาคตไกลๆ ตรงนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราถือหุ้นอะไรละ ถ้าหุ้นที่เราถืออยู่ไม่ได้มีลักษณะแบบนั้น เป็นธุรกิจที่ทำได้ดีอยู่แล้วและเราเชื่อว่าจะทำได้ดีต่อไปแล้วก็ดูดีละว่าซื้อมาราคาไม่แพงเว่อร์ ประเด็นเรื่อง discount rate นี้ก็จะมีผลกับหุ้นเราไม่เยอะและเราก็ไม่ควรต้องสนใจ noise เล็กน้อยพวกนี้

สุดท้ายเรื่องความเสี่ยงสงคราม นึกภาพว่าเกิดรบกันยิงจริงจังขึ้นมา ก็ไม่มีใครได้ประโยชน์อะไรเท่าไหร่ ออกแนวเสียหายทั้งสองฝ่ายและเสี่ยงบานปลายมากกว่า เอาจริงๆเชื่อว่าทั้งสองฝ่ายไม่มีความตั้งใจจะให้เกิดสงครามแหละ แต่ทั้งนี้ก็อาจจะควรติดตามอย่างใกล้ชิด แต่ในเวลานี้ก็ไม่ได้มีอะไรนี่

เมื่อเทียบเรื่องเหล่านี้กับภาพรวมที่ก็เห็นอยู่ว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้น เราควรจะแตกตื่นจริงๆเหรอ จริงๆผมว่าเราควรจะดีใจนะที่มีคนแตกตื่นตลาดผันผวน เผื่อเราจะได้ซื้ออะไรน่าสนใจครับ

ทำไมหุ้นไม่มี rating เหมือนตราสารหนี้ ?

Why are bond ratings more prominent than stock ratings?

ทำไมหุ้นไม่มี rating เหมือนตราสารหนี้ ?

มีคนสงสัยว่าทำไมหุ้นถึงไม่มีคนทำ rating แบบตราสารหนี้บ้าง  อย่างตราสารหนี้นี่มันจะมีว่าเป็น Investment grade นะ  มี credit rating AAA, BBB+ อะไรแบบนี้  แต่หุ้นนี่มีแค่คำแนะนำว่า Buy, Sell, Hold

ผมเข้าใจว่าสาเหตุเป็นเพราะการจะประเมินการลงทุนในหุ้นมันยากกว่าครับ  อย่าง bond rating นี่ประเด็นสำคัญคือเค้ามองความเสี่ยงในการเบี้ยวไม่สามารถชำระหนี้ได้เฉยๆ  เค้าไม่ได้ต้องสนใจมากว่าบริษัทจะรายได้เติบโตกำไรเติบโตมั้ยดีขึ้นมั้ย  ในขณะที่หุ้นมันต้องสนใจประเด็นเหล่านั้นไม่พอยังต้องถามว่าดีขึ้นขนาดไหนอีก  มันก็เลยทำให้การประเมินหรือให้ rating เป็นอะไรที่แล้วแต่มุมมองของนักวิเคราะห์มากๆ  และที่ผ่านมาระดับความแม่นยำเชื่อถือได้ก็น้อยกว่า rating ของตราสารหนี้มาก  เลยเป็นเหตุให้ไม่มีการให้ rating เหมือนตราสารหนี้ครัล
 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

เราจะหา Correlation ของสินทรัพย์ต่างๆได้จากที่ไหน ?

How to calculate correlation ?

เราจะหา Correlation ของสินทรัพย์ต่างๆได้จากที่ไหน ?

มีคนถามว่าสมมติอยากรู้ correlation ของราคาทองกับตลาดหุ้นจะหาได้ที่ไหน  เรื่องหาแบบเค้าคิดมาให้แล้วได้ที่ไหนนี่ผมก็ไม่ทราบเหมือนกัน  แต่คำนวณเองก็ง่ายนะ  แนะนำว่าทำเองดีกว่า

สิ่งที่เราต้องทำก็แค่ไปหาการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์สองอันที่เราต้องการจะหา correlation มา  แล้วก็ใส่สูตรใน Excel ให้มันคำนวณให้เท่านั้นเองครับ

เพื่อให้เห็นภาพว่าง่ายแค่ไหน  เดี๋ยวเราทำให้ดู  อย่างกรณีตัวอย่างที่ถามนี่คือทองคำกับตลาดหุ้นนะ  

ตัวการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์ก็หาได้จาก investing.com  หา asset หรือ index ที่่เราต้องการก่อน  แล้วก็กดตรง Historical Data  เลือกช่วงเวลาที่เราต้องการ  ดาวน์โหลดข้อมูลของทั้งสองอันมาวางใน Excel  แล้วก็ใส่ฟังก์ชั่น  =correl เลือกครอบ column ที่เป็น % change in price ของสินทรัพย์สองอัน  เท่านี้เองครับ  เสร็จละ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี