จงกล้าที่จะแตกต่าง

Be Different

Dare to be different

จงกล้าคิดแตกต่าง  และลงมือทำแตกต่าง  เพราะคนสำเร็จระดับโลกไม่มีคนไหนทำอะไรตามๆชาวบ้าน

เรื่องนี้ฝากให้ลูกศิษย์ที่เรียนกับผมไปแล้วเป็นพิเศษเลย  อย่ากลัวเวลาการตัดสินใจของเราไม่มีคนอื่นเห็นด้วย  ตั้งสติแล้วเอาเหตุผลที่คนไม่เห็นด้วยกับเรามาคิดดูดีๆ  ถ้าเราพิจารณาถี่ถ้วนแล้วเห็นว่าสมควรลงทุน  ก็อย่าหวั่นไหวเด็ดขาด  อย่าลืมว่าต่อให้เป็นนักลงทุนระดับเทพของโลก  เวลาลงทุนอะไรไปก็จะมีคนไม่เห็นด้วยอยู่ตลอดเหมือนกัน  ถ้าเราจะเป็นคนนึงที่ตั้งเป้าจะมีผลลัพธ์เหนือค่าเฉลี่ยตลาด  แต่ไปคิดเหมือนๆชาวบ้าน  ตัดสินใจแห่ซื้อขายตามๆกัน  แล้วมันจะไปมีผลลัพธ์ยอดเยี่ยมได้ยังไง 

อ่านต่อ »

ประเภทบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์และค่าธรรมเนียม

Types of Trading Account and Fees

ในการขอเปิดบัญชีซื้อขายหุ้น  เค้าจะมีช่องให้เลือกว่าจะเปิดบัญชีประเภทไหน  ทีนี้ชื่อมันจะคล้ายๆกันและทำให้คนจำนวนมากสับสน  ในหัวข้อนี้ผมจะอธิบายแต่ละประเภทเพื่อให้เข้าใจว่ามันต่างกันอย่างไร

  1. บัญชีเงินสด (Cash Account)

เป็นบัญชีที่เวลาเราสั่งซื้อเราต้องมีเงินหรือหลักประกันเป็นหุ้นอยู่ในบัญชีแค่ 15% ของมูลค่าที่ซื้อ  แล้วหลังจากนั้น 3 วันถึงจะต้องมีเงินสดในบัญชีจริง  และเวลาขายก็คล้ายๆกันคือถ้าสั่งขายวันนี้  จะได้เงินอีกที 3 วันหลังจากวันที่สั่งขาย  หุ้นที่อยู่ในพอร์ตก็นับเป็นหลักประกันแบบเดียวกันตามมูลค่าในวันที่เราสั่งซื้อ

หลักๆมันจะมีประโยชน์อยู่สองอย่าง  อย่างแรกสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาว่างไม่สะดวกจะไปโอนเงินและไม่ต้องการจะทิ้งเงินสดไว้ในบัญชีหุ้นเยอะๆ  กรณีที่เกิดจะซื้อหุ้นขึ้นมากระทันหันก็จะสามารถสั่งซื้อได้ทันทีโดยไม่ต้องวิ่งไปโอนเงินหรือพลาดโอกาสไป

หรือแบบที่สองจะเป็นสำหรับคนที่ซื้อขายเก็งกำไรวันต่อวัน  เนื่องจากถ้าคุณซื้อและขายในวันเดียวกัน  เค้าจะไปทำรายการรวมกันทีเดียว 3 วันหลังจากนั้นและคำนวณเป็นส่วนต่างให้เลย  แปลว่าคุณเหมือนคุณซื้อขายหลักทรัพย์ได้จำนวนมากโดยที่คุณใช้เงินเป็นหลักประกันแค่ 15% ของมูลค่าจริง  เช่นสมมติคุณมีเงินหลักประกัน 15,000 บาท  และจริงๆคุณก็มีเงินทั้งหมดเท่านี้แหละ  แต่ด้วยบัญชีประเภทนี้คุณสามารถสั่งซื้อหุ้นมูลค่า 100,000 บาทได้  สมมติราคาหุ้นสุดท้ายตอนขายเพิ่มขึ้น 5% มูลค่าขายเป็น 105,000 บาท  คุณจะเหมือนได้กำไร 5,000 บาท  คิดเป็น 33% จาก 15,000 บาท  (ยังไม่หักค่าบริการ)  แต่ส่วนตัวผมไม่สนับสนุนการซื้อๆขายๆรายวันแนวเก็งกำไร

  1. บัญชีเงินฝาก (Cash Balance Account)

บัญขีนี้เข้าใจง่ายครับ  เวลาเราสั่งซื้อเราต้องมีเงินฝากไว้ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ 100% ของมูลค่าหลักทรัพย์ที่ซื้อ  ถ้าเราไม่มีเงินในบัญชีอยู่เราจะสั่งซื้อไม่ได้  เวลาโอนเงินเข้าบัญชีถ้าเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นส่วนหนึ่งของธนาคารปกติแล้วจะสามารถสั่งซื้อขายได้ในทันที  แต่ถ้าเป็นบริษัทหลักทรัพย์ที่ไม่ได้เป็นเครือธนาคารปกติใช้เวลาไม่เกิน 1 ชม.ก็จะซื้อขายได้  เข้าใจว่าในอนาคตก็น่าจะได้ทันทีเหมือนเครือธนาคาร

  1. บัญชีเครดิตบาลานซ์ (Credit Balance Account)

อันนี้เป็นบัญชีที่เหมือนคุณยืมเงินบริษัทหลักทรัพย์มาซื้อหุ้น  โดยที่คุณจ่ายส่วนที่เป็นดอกเบี้ยเพิ่มเติมด้วย  แต่บัญชีนี้ปกติแล้วเค้าไม่อนุมัติเปิดให้แล้ว  ดังนั้นจึงไม่ต้องสนใจอะไร

  1. บัญชีซื้อขายตราสารอนุพันธ์ (Derivatives Trading Account)

บัญชีนี้ใช้สำหรับซื้อขาย Futures หรือ Options ซึ่งเป็นลักษณะสัญญาที่ราคาอ้างอิงตามหลักทรัพย์

  1. บัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศ (Global Trade Account)

ตามชื่อครับ  เอาไว้ซื้อหุ้นในตลาดต่างประเทศ  แต่ละบริษัทหลักทรัพย์ไปลงทุนได้ตลาดไม่เหมือนกันแล้วแต่ว่ามีการติดต่อไว้หรือไม่

อัตราค่าคอมมิชชั่นของบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์แต่ละประเภท

ให้มาร์เก็ตติ้งทำ

จัดการเอง

บัญชีเงินสด

0.25%

0.2%

บัญชีเงินฝาก

0.2%

0.15%

บัญชีซื้อขายตราสารอนุพันธ์

แล้วแต่ประเภทสัญญา

แล้วแต่ประเภทสัญญา

บัญชีซื้อขายหุ้นต่างประเทศ

แล้วแต่ประเทศ

แล้วแต่ประเทศ

(บางประเทศสั่งซื้อเองไม่ได้)

สัญญานเตือนพฤติกรรมของกิจการที่เราไม่ควรไปลงทุน

Signs That Say The Company Might Be a Bad Investment

แน่นอนว่าโดยทั่วไปแล้วเราจะทำการพิจารณาว่าบริษัทดีหรือไม่ดีจากการความสามารถในการทำกำไรเป็นหลัก อย่างที่ทราบว่าปกติวิธีการที่ผมแนะนำคือให้ข้ามบริษัทที่มีผลประกอบการขาดทุนหรือพวกดีบ้างไม่ดีบ้างขึ้นๆลงๆไปซะ แล้วพิจารณาใส่ใจเฉพาะกิจการที่ยอดเยี่ยมมีกำไรสม่ำเสมอ ทีนี้มันจะมีรายละเอียดบางเรื่องที่ไม่อยู่ในรายงานผลประกอบการหรืองบบัญชีแต่มันสำคัญมากทีเดียว ดังนั้นวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องพวกนี้กัน

เรื่องแรกคือพฤติกรรมของทีมผู้บริหาร เนื่องจากเราคงไม่สามารถไปตามติดสิ่งที่ผู้บริหารทำได้ทุกวัน แต่อย่างน้อยเราก็เช็คได้ครับว่า ในอดีตที่ผ่านเค้าทำตามที่เคยพูดไว้หรือไม่ ลองไปอ่านรายงานประจำปีหรือบทสัมภาษณ์เมื่อปีก่อนๆ แล้วดูซิว่าได้มีการลงมือทำตามที่พูดหรือไม่ แล้วทำแล้วเป็นอย่างไรบ้าง นอกเหนือจากนั้นเราควรจะใส่ใจปีที่เกิดปัญหาหรือกำไรน้อยกว่าปกติดูว่าผู้บริหารยอมรับความผิดพลาดหรือไม่ พูดถึงกรณีแบบนั้นว่าอะไร เป็นลักษณะกล่าวโทษบอกเศรษฐกิจไม่ดี หรืออะไรพวกนี้หรือเปล่า

อ่านต่อ »

กฎ 72 : วิธีหาว่า “เมื่อไหร่เงินของเราจะโตเป็นสองเท่า”

เหมาะกับคนไม่ชอบเลขสุดๆครับวิธีนี้ และจริงๆก็เป็นวิธีการประมาณการที่ได้ผลใกล้เคียงมากซะด้วย ผมจะเริ่มจากอธิบายวิธียากก่อน จากนั้นเราจะแสดงให้เห็นว่ากฏ 72 นี้ใช้อย่างไร คุณจะได้เห็นว่ามันง่ายกว่าขนาดไหน โดยเราลองคำนวณหาว่า กองทุนที่ได้ดอกเบี้ยอยู่ 7% ต่อปี ต้องลงทุนไว้กี่ปีเงินที่ฝากจึงจะโตเป็นสองเท่า

ถ้าคุณได้อ่านบทความก่อนหน้าที่ผมพูดถึงสูตรเลขคำนวณ PV ตอนนี้คุณรู้เข้าใจสูตรคำนวณ PV,FV แล้ว วิธีการที่ถูกต้องที่สุดในการคำนวณจำนวนปีก็ใช้สูตรเดิมอันนี้แหละ  PV (1+r)n  =  FV  โดยเราตั้งสมการเพื่อหา n แบบนี้ครับ

อ่านต่อ »

ลงทุนสไตล์ไหนที่เหมาะกับคุณ?

What is Your Investment Style?

ผมว่าป่านนี้คุณพอจะรู้แล้วล่ะ ว่าในปัจจุบันมันมีสไตล์การลงทุนอยู่หลากหลายเหมือนกัน สังเกตได้จากว่าคนที่มาพูดทางทีวีนี่เค้าบางทีพูดกันไปคนละเรื่องเลย แต่ทีนี้สำคัญกว่าคืออันไหนมันเหมาะกับคุณล่ะ เพราะลงทุนสไตล์ไม่เหมาะนี่มันจะยากเหมือนกันนะ ลงทุนแบบไม่ถูกจริตกับตัวเองนี่มันจะทำได้ยากครับเพราะมันฝืน แล้วส่วนใหญ่จะขาดทุนด้วย ตอนสมัยเริ่มหัดนี่ผมงงกับเรื่องพวกนี้เหมือนกัน วันนี้ผมเลยไปรวบรวมแนวลงทุนหลายๆแบบมาคุยให้ฟังเผื่อว่าคุณจะค้นพบตัวเองเร็วขึ้นครับ

อ่านต่อ »

รู้ไว้ใช่ว่า – มาตรการ QE

Quantitative Easing (QE)

เรียกว่าเป็นข่าวอยู่พักใหญ่ทีเดียวครับไอตัว QE เนี่ย จะมีอยู่ช่วงหนึ่งครับที่ออกข่าวทุกวันเรื่องนี้ หุ้นขึ้นก็บอกเพราะเค้าใช้ QE หุ้นตกก็บอกเพราะเค้าจะเลิกใช้ QE คือเรียกว่าเป็นประเด็นที่มีการไปสัมภาษณ์คนนู้นคนนี้ เดากันไปต่างๆนาๆว่าจะเลิกมั้ยเลิกเมื่อไหร่อะไรเต็มไปหมด ผมเลยอยากจะอธิบายไว้คร่าวๆเผื่อว่ามีคนที่ยังไม่เข้าใจเรื่องนี้

QE หรือ Quantitative Easing นี่มันเป็นนโยบายทางการเงินที่ใช้กรณีพิเศษอันหนึ่งครับ มีไว้กระตุ้นเศรษฐกิจด้วยวิธีการเพิ่มเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ ถ้าเป็นวิธีการเพิ่มเงินในระบบปกติเค้าจะซื้อพันธบัตรรัฐบาล ส่วนที่เรียกว่าพิเศษนี่คือเพราะเค้าจะไปซื้อตราสารหนี้จากภาคเอกชนเทน ไอเดียมันก็เหมือนๆกันครับ คือทำเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินสดเยอะๆสามารถไปปล่อยกู้ต่อให้กับธุรกิจได้ พอธุรกิจสามารถมีเงินทุนมีการกู้ก็จะมีการผลิตมีการจ้างงาน และดังนั้นก็จะทำให้ไม่เกิดสภาพเงินฝืดหรืออะไรพวกนั้น จริงๆถ้าพูดเรื่องผลต่อสภาพเศรษฐกิจไม่มีใครทราบแน่นอนครับ บางคนก็บอกว่าดีเพราะทำให้วิกฤติเศรษฐกิจไม่ลุกลามคนตั้งตัวได้ทันไม่ตกใจ บางคนก็บอกว่าไม่ดีเพราะธนาคารพาณิชย์ก็อาจจะไม่ปล่อยกู้ก็ได้ แล้วยังจะไปทำให้เกิดเงินเฟ้อและปัญหาอื่นในอนาคตอีกด้วย

อ่านต่อ »

อย่าได้เสียเงินเชียว

Never Lose Money

Never Lose Money - Warren Buffet

“Rule No.1 is never lose money. Rule No.2 is never forget rule number one.”

Warren Buffett

กฎของการลงทุนโดยคุณวอร์เร็น บัฟเฟตต์  เค้าบอกว่า “กฎข้อที่หนึ่งคืออย่าเสียเงิน  กฎข้อที่สองคืออย่าลืมกฎข้อที่หนึ่ง”  วันนี้ผมชวนคุยเรื่องนี้ครับ  เป็นหัวข้อที่คนเริ่มต้นควรจะรู้

อ่านต่อ »

เคยอยากเป็นเจ้าของกิจการไหมครับ?

Ever Want To Be a Business Owner ?

คนจำนวนมากอยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง  อยากเป็นเจ้าของกิจการ  แต่ที่ไม่ได้เริ่มซะที  ส่วนใหญ่ข้อจำกัดของเราคืออะไรบ้าง  ใช่เรื่องเหล่านี้มั้ยครับ

  • ไม่รู้จะทำธุรกิจอะไรดี
  • ต้องใช้เงินทุนเยอะ
  • กลัวเจ๊ง
  • ไม่มีเวลา

ถ้าเรื่องเหล่านี้เป็นปัญหาสำหรับคุณ  โชคดีมากเลยครับที่โลกนี้มันมีการลงทุนในหุ้นอยู่  และพวกเราบุคคลทั่วไปสามารถซื้อหุ้นได้ด้วย   เพราะการลงทุนในหุ้นคือการเข้าไปเป็นเจ้าของร่วมของธุรกิจนั้นๆ  เราจะเป็นเจ้าของกิจการได้  มีสิทธิ์ได้เงินจากกำไรของบริษัท  โดยปราศจากปัญหาวุ่นวายทั้งหลายด้านบนได้

อ่านต่อ »

มีปันผลหรือไม่มีปันผลดีกว่ากัน

Dividend or No Dividend

เรื่องนี้จริงๆก็น่าสนใจอยู่  วันนี้เดี๋ยวผมพูดถึงคร่าวๆก่อนว่าปกติเค้าเถียงกันเรื่องนี้เค้าพูดอะไรกัน  แล้วก็เล่ามุมมองส่วนตัวผมด้วยว่าสำหรับผมมีปันผลหรือไม่มีปันผลดีกว่ากัน

ก่อนอื่นเข้าใจคอนเซปของปันผลก่อนครับ  เงินปันผลเป็นการจัดสรรกำไรวิธีหนึ่ง  เวลาบริษัททำธุรกิจกำไรมา  เค้ามี 2 ทางเลือกหลักๆ  หนึ่งคือจ่ายเงินที่กำไรออกมาเป็นเงินสดคืนให้กับผู้ถือหุ้น (เจ้าของ)  ซึ่งก็คือปันผล (dividend)  หรือทางเลือกสองคือ  เก็บกำไรที่ได้มาไว้ในบริษัทเพื่อเอาไว้ทำอย่างอื่น  จะเก็บไว้จ่ายคืนหนี้สิน, ซื้อหุ้นบริษัทอื่น, ลงทุน หรืออะไรก็แล้วแต่  เรียกว่ากำไรสะสมที่ยังไม่ได้จัดสรร (retained earnings)

โดยปกติบริษัทเลือกได้  สมมติมีกำไร 100 บาท

  • ว่าจะจ่ายปันผลทั้งหมดเลย 100 บาท เรียกว่าอัตราการจ่ายปันผลต่อกำไร 100%
  • หรือไม่จ่ายปันผลเลย จ่าย 0 บาท  เก็บอย่างเดียว  เรียกว่าอัตราการจ่ายปันผลต่อกำไร 0%
  • หรือจ่ายบางส่วนเก็บบางส่วนก็ได้ เช่นจ่ายออกมา 60 บาท  เรียกว่าอัตราการจ่ายปันผลต่อกำไร 60%

อ่านต่อ »

จงดีใจที่ตลาดผันผวนไม่แน่นอน

Embrace Uncertainties

พอพูดถึงตลาดที่ผันผวนไม่แน่นอนเกิดขึ้น  ผมเห็นคนมักจะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องไม่ดี  ในขณะที่ความเห็นผมตรงกันข้ามเลย  ผมว่ายิ่งตลาดผันผวน  ยิ่งมีความไม่แน่นอนเท่าไหร่ก็ยิ่งต้องดีใจสิ  เลยเขียนแชร์ไอเดียให้คิดเล่นๆครับ

สาเหตุที่ตลาดผันผวนไม่แน่นอน  เป็นเพราะปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาหุ้นในช่วงสั้นมันมาจากปัจจัยด้านสภาวะจิตของนักลงทุนซะเยอะ  ซึ่งเรื่องแบบนี้มันคาดเดายาก  สภาวะจิตนักลงทุนในตลาดมันถูกกระทบได้จากปัจจัยเยอะแยะไปหมด  ทั้งที่เกี่ยวกับหุ้นหรือบางทีก็ไม่เกี่ยวเลย  ดังนั้นมันก็เลยเป็นธรรมชาติที่ตลาดจะผันผวนไม่แน่นอน

อ่านต่อ »