บริษัทแม่กับบริษัทลูกอยู่ในตลาดหุ้นทั้งคู่ ถ้าบริษัทแม่เจ๊งจะมีผลกระทบกับบริษัทลูกมั้ย ?

บริษัทแม่กับบริษัทลูกอยู่ในตลาดหุ้นทั้งคู่ ถ้าบริษัทแม่เจ๊งจะมีผลกระทบกับบริษัทลูกมั้ย ?

คำตอบคือไม่มีผลอะไรครับ  บริษัทลูกไม่ได้มีภาระผูกพันต้องไปชดใช้หนี้สินของบริษัทแม่หรืออะไร

แต่อาจจะมีผลในแง่ว่าบริษัทพวกนี้อาจจะมีรายการระหว่างกันเช่นบริษัทแม่เป็นลูกค้าหลักของบริษัทลูกหรือบริษัทลูกมีการให้บริษัทแม่ยืมเงิน  เช่นอย่าง China Evergrande Group นี่คือบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีปัญหาใช่มะ  เป็นบริษัทแม่มีอำนาจควบคุมบริษัท Evergrande Property Services Group ซึ่งทำธุรกิจบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์  ทั้งสองบริษัทนี้มีหุ้น  พอ China Evergrande Group มีปัญหา  Evergrande Property Services ก็พลอยเดือดร้อนไปด้วยเพราะลูกค้าของบริษัทคือบริษัทแม่ตัวเองซะเยอะประมาณ 31% ของรายได้  เค้ากลัวจะเก็บหนี้ไม่ได้กับรายได้อนาคตจะลด  ไม่ได้กลัวว่าต้องไปใช้หนี้แทน China Evergrande

นอกเหนือจากนั้นก็อาจจะมีผลทางอ้อมกับราคาหุ้นเพราะคนตกใจเฉยๆ  หรือในกรณีที่บริษัทแม่ขายหุ้นบริษัทลูกเพื่อชดใช้หนี้ก็อาจจะทำให้ราคาตกลง

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

คิดยังไงกับ Omicron ต้องปรับพอร์ตมั้ย ปรับยังไง ?

Our take on Omicron

คิดยังไงกับ Omicron ต้องปรับพอร์ตมั้ย ปรับยังไง ?

ประเด็นเรื่องนี้โดยส่วนตัวผมกังวลสุด  สิ่งที่ผมกังวลคือความเป็นไปได้ที่การปิดการเดินทางหรือปิดธุรกิจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต  จากทั้งโอมิครอนและอาจจะสายพันธุ์บ้าบออื่นๆที่เกิดขึ้นในอนาคต

เท่าที่เห็นคือประเทศที่จำนวนผู้ป่วยเยอะแล้วในอดีตและฉีดวัคซีนได้เยอะอย่างประเทศอังกฤษก็มีจำนวนผู้ป่วยสูงพุ่งขึ้นจากโอมิครอน  นั่นก็แปลว่าเดี่ยวประเทศอื่นซึ่งรวมถึงไทยก็อาจจะมีจำนวนผู้ป่วยพุ่งสูงอีกละ  เนเธอร์แลนด์อันนี้เรารู้ตามข่าวแล้วว่ามีการปิดธุรกิจ  อังกฤษตอนนี้บอกยังไม่แน่  ต้องรอดูว่าสรุปเคสอาการหนักโอมิครอนมันจะเยอะมั้ย  ไทยเริ่มมีการกันนักท่องเที่ยวละ

ทั้งนี้ต่อให้โอมิครอนคราวนี้อาการไม่หนัก  คนป่วยไม่ล้นโรงพยาบาล  ไม่ต้องปิดธุรกิจหรือปิดก็แค่แปปเดียวเพราะมันระบาดเร็วจัด  แต่อนาคตก็เสี่ยงที่จะมีสายพันธ์ุใหม่ๆโผล่มาก่อกวนได้อีก  และปิดๆเปิดๆมันกระทบต่อธุรกิจมาก  อย่างท่องเที่ยวงี้ตอนนี้ไทยเราเองก็เปลี่ยนนโยบายละ  หุ้นบริษัทที่อยู่ในธุรกิจที่มันต้องให้สถานการณ์ปกติใช้เวลาฟื้นนานก็ดูจะเสียเปรียบมากในเวลานี้

ความเห็นผมในเวลานี้ก็เลยเปลี่ยนไปนิดหน่อยตรงที่เราควรจะลงทุนฉวยโอกาสซื้อหุ้นที่ได้รับผลกระทบจากโควิดและราคาตกนะ  แต่ถ้าเป็นไปได้เลือกที่มันกระทบแบบกำไรหดไปเยอะก็พอ  เพราะพวกนี้มันรอได้ไง  กำไรลดจริงแต่ยังมีกำไรอยู่กระแสเงินสดเป็นบวกอยู่ก็รอไปได้เรื่อยๆ  ควรระวังพวกที่โดนโควิดจนถึงกับขาดทุนและกระแสเงินสดติดลบ  พวกนี้มันรอได้จำกัด  ถ้าเกิดมันลากยาวเกินคาดไปมากๆเดี๋ยวต้องกู้เงินเพิ่มออกหุ้นเพิ่มอีกซึ่งจะเดือดร้อนเราถ้าเราถือหุ้นพวกนี้

ความหวังในเวลานี้ดูเหมือนจะเป็นยาละมั้ง  วัคซีนนี่ผมเริ่มไม่แน่ใจละว่ามันจะจบได้จริง  ฉีดเพิ่มไปเรื่อยนะรู้สึก

สรุปผมมองว่าเรายังควรลงทุนอยู่ในหุ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นไปได้คือขยับเข้าไปในหุ้นกลุ่มที่โดนผลของโควิดในระดับที่ไม่ถึงกับขาดทุน  เพื่อให้มันไม่เสี่ยงจนเกินไปเผื่อสถานการณ์ยืดเยื้อเกินคาด  หุ้นพวกนี้ระยะยาวควรให้ผลตอบแทนดีมากทีเดียวเมื่อปัญหาโควิดจบในที่สุดและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเกิดขึ้นเต็มที่

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ใช้ P/E หรือ P/BV ดี ?

Use P/E or P/BV

ใช้ P/E หรือ P/BV ดี ?

ถ้าถามผมโดยส่วนตัวคือไม่ได้ซีเรียสกับสองอันนี้เท่าไหร่  แต่อันที่ใช้บ่อยกว่าแน่ๆคือ P/E ครับ  ส่วน P/BV นี่ปกติคือไม่ได้ดูเลย

โดยไอเดียคือทั้งสองอัตราส่วนนี้เค้าพยายามดูว่าหุ้นถูกหรือแพงโดยการเอาราคาของหุ้นไปเทียบกับอะไรซักอย่างของหุ้นนั้น  P/E คือเอาราคาเทียบกับกำไร  ส่วน P/BV คือเอาราคาเทียบกับส่วนของผู้ถือหุ้น

แต่ที่ผมนิยม P/E มากกว่าเพราะว่า

  • รู้สึกว่าเปรียบเทียบราคาหุ้นกับกำไรที่บริษัททำได้มันดูสมเหตุสมผลกว่า  เพราะวัตถุประสงค์ของบริษัทคือทำธุรกิจให้มีกำไร  มูลค่าของบริษัทก็ควรจะเกี่ยวข้องกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัท  มากกว่าจะบอกเกี่ยวข้องกับส่วนของผู้ถือหุ้น
  • เวลาบริษัทขาดทุน P/E เป็นเลขติดลบซึ่งแสดงถึงปัญหา  ในขณะที่ P/BV อาจจะเป็นเลขบวกอยู่

โดยรวมผมเลยไม่ใช้ P/BV ครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

หุ้นที่มีการซื้อหุ้นคืน วิธีทำประเมินมูลค่า DCF ต้องทำอะไรต่างออกไปมั้ย ?

How do you allow for stock buybacks in DCF?

หุ้นที่มีการซื้อหุ้นคืน วิธีทำประเมินมูลค่า DCF ต้องทำอะไรต่างออกไปมั้ย ?

มีคนถามว่าถ้ากรณีที่บริษัทมีการซื้อหุ้นคืน  มันจะมีผลอะไรกับการหามูลค่าหุ้นด้วย Discounted cash flow หรือเปล่า

ถ้าเราทำ Discounted FCFE หรือ FCFF มันไม่เกี่ยวอยู่ละ  สองวิธีการนั่นสิ่งที่เราคิดลดคือตัว free cash flow หรือคือเงินสดที่สามารถเอามาจ่ายปันผลหรือซื้อหุ้นคืนอยู่แล้ว  การที่บริษัทจะจ่ายปันผลหรือไม่จ่าย  ซื้อหุ้นคืนหรือไม่ได้ซื้อก็เลยไม่มีผลกับการคำนวณทั้งสิ้น

ถ้าเราทำ Discounted Dividend มีผลครับ  คือในแง่นึงการซื้อหุ้นคืนก็เป็นการตอบแทนผู้ถือหุ้นวิธีหนึ่งคล้ายๆกับการจ่ายเป็นปันผลออกมา  แต่ความต่างคือการซื้อหุ้นคืนมันมีผลดีกับผู้ถือหุ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับราคาหุ้นที่บริษัททำการซื้อคืนมา  หมายความว่าสมมติปีนี้บริษัทซื้อหุ้นคืนด้วยเงิน 100 ล้าน  กับปีหน้าก็ซื้อหุ้นคืนด้วยเงิน 100 ล้าน  ผลที่มีต่อผู้ถือหุ้นมันไม่เท่ากัน

แต่ทีนี้ในทางปฏิบัติเราจะเอาผลของการซื้อหุ้นคืนใส่ไปใน Discounted Dividend ยังไง  ผมก็คิดว่าเราทำได้ดีสุดคือทำเหมือนมันเป็นปันผลละกันครับ  ก็คือบวกกับจำนวนเงินที่บริษัทจ่ายเป็นปันผลไปตรงๆเลย  ถือว่าเป็นการตอบแทนผู้ถือหุ้นแบบนึง  และเราอาจจะต้องเฉลี่ยการซื้อหุ้นคืนหลายปีหน่อยเพราะในแต่ละปีการซื้อหุ้นคืนมันมักจะต่างกันเยอะในแต่ละปีครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ถ้าบริษัทไม่จ่ายปันผล เราจะคิด Discounted Dividend ได้มั้ย ?

Can you use Discounted Dividend on companies that pay no dividend ?

ถ้าบริษัทไม่จ่ายปันผล เราจะคิด Discounted Dividend ได้มั้ย ?

จะทำจริงๆก็ได้แหละครับ  แต่ได้แบบต้องตั้งสมมติฐานว่ามันจะจ่ายปันผลซักวันนึงนะ

โดยปกติสาเหตุที่บริษัทยังไม่จ่ายปันผลเป็นเพราะบริษัทยังอยู่ในช่วงที่มีความจำเป็นต้องลงทุนเพิ่มเติมเยอะ  ยังมีโอกาสขยายได้อยู่มาก  ผู้บริหารก็เลยเลือกที่จะยังไม่จ่ายปันผลเพื่อเก็บเงินเอาไปลงทุนต่อ

เวลาเราคำนวณเราก็ต้องกะเอาว่าการเติบโตของบริษัทมันจะพ้นช่วง growth stage มาอยู่ใน steady state เมื่อไหร่  พอบริษัทเริ่มปันผลมันจะปันผลออกมาเป็นกี่ % ของกำไรเมื่อไหร่

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ธุรกิจผู้ดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์

Custodian and asset servicing companies

ธุรกิจผู้ดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์

วีดิโอที่แล้วที่พูดถึงธุรกิจบริหารจัดการเงินลงทุนผมลืมพูดถึงอันนี้ไป  ข้างหลังธุรกิจการจัดการเงินลงทุนมันจะมีบริษัทที่คอยซัพพอร์ตทำเรื่องการจัดการหลังบ้านอยู่  บริษัทพวกนี้โดยปกติก็จะไม่ค่อยเด่นไม่ค่อยเป็นที่รู้จักนะคล้ายๆเป็นตัวประกอบ  แต่เป็นตัวประกอบที่กำไรดีมากเช่นกันผมเลยอยากจะพูดถึงไว้เพื่อความครบถ้วนครับ

ธุรกิจรายได้มาจากอะไร

ธุรกิจกลุ่มนี้รายได้มาจากการให้บริการหลังบ้านกับบริษัทในธุรกิจบริหารจัดการเงินลงทุนอีกที  ผมไม่รู้ว่าชื่อเรียกภาษาไทยว่าอะไรแต่ภาษาอังกฤษที่เคยเจอจะเป็น Custodian กับ asset servicing  บริการหลังบ้านที่ทำก็จะมีหลายอย่างเช่นคอยทำการบันทึกติดตามบัญชีของลูกค้าที่มาลงทุน, เป็นผู้ดูแลทรัพย์สิน, เป็นคนจัดการ settlement เวลามีการสั่งซื้อขาย, คำนวณมูลค่าเงินลงทุนปัจจุบันให้บัญชีลูกค้า, บริการโปรแกรมวิเคราะห์ผลการลงทุน, คอยออกรายงานต่างๆตามกฎหมาย, เก็บปันผล, ตามดอกเบี้ย, คำนวณค่าธรรมเนียม, ทำเอกสารภาษีปันผลหัก ณ ที่จ่าย ฯลฯ  

รายได้ก็มักจะคิดเป็น % จากจำนวนเงินลงทุนที่ดูแลคล้ายๆกับของ asset manager แต่เป็น % ที่เล็กกว่ามากเช่น 0.05%

ธรรมชาติธุรกิจนี้

โดยภาพรวมธุรกิจนี้ต้องใช้การลงทุนในระบบหรือเทคโนโลยีพอสมควรเพราะส่วนใหญ่คือเรื่องที่พลาดไม่ได้ต้องการความแม่นยำสม่ำเสมอและรองรับธุรกรรมจำนวนมาก  ในขณะที่รายได้ก็มักจะเป็นสัดส่วน % ที่เล็กมากเทียบกับมูลค่าของเงินลงทุนหรือมูลค่าของทรัพย์สินที่ดูแล  แต่ข้อดีคือคล้ายๆกับพวกบริษัทบริหารจัดการเงินลงทุนตรงที่ลุกค้าที่เยอะขึ้นไม่ได้ทำให้ต้นทุนมากขึ้น  ส่วนใหญ่มันเป็นการลงทุนกับระบบที่ทำไปแล้วแต่แรก

ดังนั้นบริษัทพวกนี้จะมี economies of scale ที่ดีมาก  คู่แข่งใหม่จะโผล่มานี่แทบเป็นไปไม่ได้  และก็เลยกำไรดีสม่ำเสมอมาก

วิธีสังเกตว่าบริษัทไหนดี

  • จำนวนลูกค้าที่เยอะกับขนาดที่ใหญ่แทบจะเป็นเรื่องเดียวเลย  พวกตัวเล็กๆตอนนี้น่าจะตายกันไปหมดละ
  • บริษัทระดับโลกในด้านนี้เป็นที่รู้จักดีก็จะมีเช่น State Street, BNY Mellon

 

จริงๆนอกเหนือจาก Custodian กับ Asset servicing แล้วก็มีธุรกิจหลังบ้านแบบอื่นๆอีกแหละ  เช่นคนที่ทำระบบ IT ให้ธุรกิจสายการลงทุน  พวกนี้ก็น่าจะดีนะ  แต่ผมก็ไม่ได้รู้จักมันทั้งหมดครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

หุ้นธุรกิจบริหารจัดการกองทุน

Asset Management business

หุ้นธุรกิจบริหารจัดการกองทุน

อันนี้เป็นอีกธุรกิจที่ผมมีความเข้าใจ  และเป็นธุรกิจที่ผมชอบด้วยเพราะที่ผ่านมาผมพบว่าบริษัทในกลุ่มนี้กำไรดีมาก  ขนาดว่าบางบริษัทที่ค่อนไปทางห่วยแล้วของกลุ่มนี้ก็ยังดูผลประกอบการดีมาก  ดังนั้นจึงเป็นกลุ่มธุรกิจที่เราควรรู้จักเอาไว้

ธุรกิจรายได้มาจากอะไร

บริษัทพวกนี้เป็นคนบริหารจัดการเงินลงทุนของลูกค้าที่มาลงทุนในกองทุน  รายได้หลักก็จะมาจาก Management Fee ซึ่งคิดเป็น % จากจำนวนเงินที่บริหารให้ลูกค้า  ดังนั้นการทำกำไรของบริษัทก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของเงินที่อยู่ภายใต้การบริหารจัดการเป็นหลัก

ธรรมชาติธุรกิจนี้

ธุรกิจนี้โดยภาพรวมเป็นธุรกิจที่ economies of scale ดีมาก  ยิ่งจำนวนสินทรัพย์ภายใต้การบริหารยิ่งเยอะรายได้ยิ่งเยอะ  ในขณะที่ค่าใช้จ่ายหลักซึ่งคือค่าจ้างพนักงานไม่ได้สูงขึ้นตาม  สินทรัพย์ภายใต้การบริหารเพิ่มขึ้นสองเท่าก็ไม่ได้จำเป็นต้องใช้คนเพิ่มขึ้นสองเท่าตาม  แปลว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นเกือบจะตกไปเป็นกำไรตรงๆได้เลย  เลยเป็นเหตุผลที่ธุรกิจนี้ Margin ดีมาก Net profit margin 20% นี่หาได้ทั่วไป  บางบริษัทอาจถึง 30-40%

แล้วแค่นั้นไม่พอธุรกิจนี้คู่แข่งใหม่ๆจะเข้ามาแข่งก็ยากอีก  เพราะกว่าจะสร้างกองทุนซักกองมันใช้เวลา  ต้องมีสะสมชื่อเสียงให้มี track record ดึงคนมาลงทุนจนมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารเยอะๆมันไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่จะทำได้ในระยะเวลาสั้น  บริษัทที่มี scale อยู่แล้วสามารถที่จะเริ่มสร้างกองทุนใหม่ได้ง่ายกว่ามาก  และยังสามารถบีบคู่แข่งด้วยค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่าได้ด้วย

ประเภทกองทุนจริงๆก็จะมีหลากหลาย  แต่แบ่งกว้างๆได้เป็นกองทุน passive กับ active  กอง passive คือกองที่เน้นลงทุนตามดัชนีอะไรซักอย่าง  เป้าหมายคือให้ผลตอบแทนตามดัชนีนั้นให้ได้มากที่สุดไม่ได้เน้นทำได้ดีกว่าดัชนีหรืออะไร  ส่วนกอง active คือกองที่ผู้บริหารกองทุนเลือกหุ้นด้วยตัวเองและพยายามทำให้ดีกว่าดัชนีหรือตัววัดบางตัว

วิธีสังเกตว่าบริษัทไหนดี

เรื่องที่สำคัญที่สุดในธุรกิจนี้คือสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร AUM (asset under management)  ตัวเลขนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ที่ดีที่สุดว่าบริษัททำได้ดีขึ้นหรือแย่ลง  โดยปกติแล้วในช่วงตลาดหุ้นขาขึ้น AUM มันจะเพิ่มโดยตัวมันเองอยู่แล้วเพราะมูลค่าเงินที่บริหารมันสูงขึ้น  แต่สิ่งที่เราต้องสังเกตคือที่มาของ AUM  ถ้าเป็นไปได้เราต้องการบริษัทที่มี Net inflows  และในทางกลับกันถ้าเราเห็น Net outflows ต่อเนื่องหลายปีเราต้องสงสัยละ

นอกเหนือจาก AUM แล้วเรื่องอื่นที่แนะนำให้มองหาคือ

  • เป็นผู้นำในตลาด  บริษัทที่ใหญ่และเป็นผู้นำในตลาดก็อย่างที่บอกว่ามี economies of scale มีประวิติผลงานการบริหารกองทุนมายาวนานได้เปรียบมาก  ไม่ว่าจะเป็นบริษัทที่เน้นกองทุน passive หรือ active  การเป็นผู้นำตลาดอยู่และมี scale ยังไงก็ได้เปรียบมาก  ยิ่งถ้าแบบมีชื่อเสียงเฉพาะด้านมีผลงานโดดเด่นต่อเนื่องยิ่งดี  เช่นแบบดังเรื่องกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ  หรือกองทุนที่ลงทุนใน distressed assets อะไรงี้  พวกกองทุนที่มันคนทำไม่เยอะปกติก็จะค่าธรรมเนียมสูงกว่า
  • กองทุนควรจะมีหลากหลาย  ความที่มีกองทุนหลากหลายทำให้บริษัทไม่ได้รับผลกระทบเยอะเกินเวลามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นกับซักตลาดนึง  นึกภาพถ้าสมมติบริษัทมีกองทุนหุ้นอย่างเดียว  เวลาตลาดหุ้นตก  ลูกค้าอาจจะย้ายเงินลงทุนออกจากบริษัทไป  แต่ถ้าบริษัทมีกองทุนหลากหลายลูกค้าก็อาจจะย้ายจากกองหุ้นไปกองตราสารหนี้ในบริษัทเดียวกันได้
  • ประเภทลูกค้าที่ลงทุนยาว  แต่ละบริษัทที่มาของลูกค้าก็ไม่เหมือนกัน  บริษัทที่มีลูกค้าประเภทที่ไม่ย้ายหนีง่ายๆไม่ตกใจง่ายก็จะได้เปรียบ  โดยปกติลูกค้าสถาบันหรือลูกค้าที่เป็นกองทุนบำนาญของพนักงานหรืออะไรพวกนี้ก็จะไม่ค่อยย้ายเพราะมีความสัมพันธ์กับบริษัทผู้บริหารกองทุน  หรือลูกค้าพวก high-net-worth ก็เช่นกันมักจะไม่ค่อยย้ายเพราะมักจะมี wealth manager ดูแลอยู่  หรือไม่ก็กองทุนอย่าง RMF ที่โดยธรรมชาติคนลงทุนกันยาวๆไม่ขาย  มีลูกค้าพวกนี้อยู่เยอะๆคือดี

โดยปกติหุ้นของบริษัทประเภทนี้จะผูกกับสภาพตลาดหุ้นมาก  ซึ่งเป็นเรื่องดีสำหรับเรา  เหตุผลเพราะในเวลาที่ตลาดหุ้นตกนอกจากปัจจัยเรื่องคนตกใจแล้ว  การที่หุ้นในตลาดตกก็จะทำให้ผลการดำเนินงานของกองทุนไม่ดีไปด้วย  และก็จะมีลูกค้าบางส่วนที่ตกใจอาจจะขายออกมาหรือย้ายจากกองทุนหุ้นไปกองทุน money market ซึ่งค่าธรรมเนียมต่ำกว่ามาก  ก็ยิ่งทำให้ผลประกอบการของบริษัทต่ำลง  และนักลงทุนทั่วไปก็รู้ว่ามันจะเป็นแบบนี้ดังนั้นก็เลยมักจะทำให้หุ้นตกมากขึ้นไปอีก

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

หุ้นกลุ่มประกันชีวิต

Life Insurance Stocks

หุ้นกลุ่มประกันชีวิต

จากครั้งที่แล้วที่ผมพูดถึงประกันภัย  วีดิโอนี้ผมจะพยายามอธิบายภาพรวมของธุรกิจประกันชีวิต  :ซึ่งโดยส่วนตัวผมว่ามันมีความใกล้เคียงกันอยู่นะ

ธุรกิจทำกำไรจากอะไร

สินค้าหลักของบริษัทประกันชีวิตคือสัญญาที่จะจ่ายเงินตามที่ตกลงกันไว้ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระหว่างระยะเวลาของสัญญาและกับการได้รับเบี้ยประกัน  ในภายหลังบริษัทประกันชีวิตก็มีสินค้าหลากหลายมากขึ้นนอกจากแค่คุ้มครองกรณีการเสียชีวิตอย่างเดียวเช่นมีการพ่วงประกันสุขภาพ, ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์, ประกันชีวิตแบบบำนาญ, ฯลฯ

บริษัทประกันชีวิตจะกำไรก็คือต้องหวังว่าเบี้ยประกันที่ได้รับรวมกับกำไรที่ทำได้จากการเอาเบี้ยไปลงทุนจะต้องมีมากพอให้หักค่าสินไหมหรือผลประโยชน์ใดๆที่สุดท้ายต้องจ่ายกับค่าบริหารจัดการอื่นๆแล้วเหลือ

ธรรมชาติธุรกิจประกันชีวิต

ก็เป็นธุรกิจที่ยากอีกเช่นกัน  เผลอๆจะยากกว่าประกันวินาศภัยด้วย

อย่างแรกก่อนเลยก็คือสินค้าซึ่งคือตัวสัญญามันเป็นอะไรที่เลียนแบบกันได้ง่ายมาก  ใครทำออกมาก็เหมือนๆกัน  มันก็เลยแข่งกันที่ราคากับผลประโยชน์เป็นหลัก

กับที่ทำให้มันยากจริงๆคือสัญญาประกันชีวิตมันจะยาวนานหลายปี  และดังนั้นมันก็เลยยากมากที่จะเดาตัวแปรต่างๆในอนาคต  ตัวแปรที่มีผลกระทบกับผลประกอบการของบริษัทประกันชีวิตก็เช่นผลกำไรจากการลงทุนที่คาดว่าจะทำได้, life expectancy, อัตราการยกเลิกกรมธรรม์, ถ้ามีประกันสุขภาพด้วยก็อาจจะมีเรื่องอัตราเงินเฟ้อของค่ารักษาพยาบาลเพิ่มไปด้วย  บริษัทประกันชีวิตเค้าก็พยายามเต็มที่แหละ  แต่มันยากเพราะมันต้องเดาไปในอนาคตหลายปีจัด  ทำให้วันนี้ที่เค้าขายประกันชีวิตจริงๆเค้าก็ไม่ชัวร์ว่าที่ขายไปนั่นมันจะกำไรหรือเปล่ากว่าจะรู้ก็อีกหลายปีต่อมา  ในอดีตก็เคยมีบริษัทเจ๊งมาแล้วเพราะประมาณผลตอบแทนจากเงินลงทุนผิด

ส่วนใหญ่ความสามารถในการเติบโตหรือ ROE ธุรกิจนี้ก็จะเฉยๆไม่น่าตื่นเต้น  การเติบโตนี่ถ้าไม่นับว่ามีซื้อกิจการก็จะโตแบบช้าๆ  ส่วน ROE ก็จะไม่สูงอยู่ประมาณหลักสิบต้น

วิธีสังเกตว่าบริษัทไหนดี

งบการเงินบริษัทประกันชีวิตมันจะบอกอะไรเราได้น้อย  บนงบดุลแทบจะเรียกได้ว่ามีรายการหลักใหญ่อยู่ 2 อันเท่านั้น  ฝั่งทรัพย์สินอันใหญ่สุดจะเป็นเงินลงทุนซึ่งก็คือเบี้ยที่รับมาแล้วเอาไปลงทุนอยู่ในอะไรซักอย่าง  ส่วนฝั่งหนี้สินก็จะเป็นหนี้สินจากสัญญาประกันภัยซึ่งมาจากประมาณการมูลค่าปัจจุบันของภาระสินไหมทั้งหมดที่เค้าคาดว่าจะเกิดในอนาคตดึงกลับมาเป็นมูลค่าปัจจุบัน

ในทางปฏิบัติคือเราไม่รู้ว่าหนี้สินที่เค้าคำนวณมานั่นมันมาได้ไงอยู่ละ  ดังนั้นเราก็ทำได้ดีสุดแค่คอยติดตามว่ามันเพิ่มขึ้นหรือเปล่ายังไงเท่านั้น

ส่วนหลักการในการเลือกบริษัทประกันชีวิตสมมติว่าเราต้องซื้อ  แนะนำว่าดู

  • การเติบโตไม่สูงเว่อร์เทียบกับทั้งอุตสาหกรรม  คือหลักๆเราไม่ต้องการบริษัทที่มัน aggressive เพราะพวกนี้มักจะมาจากการตั้งราคาที่ต่ำหรือให้ผลประโยชน์สูงเพื่อดึงลูกค้า  และเดี๋ยวมันจะมามีปัญหาตอนหลัง
  • เป็นบริษัทใหญ่มีชื่อเสียง  ปกติพวกนี้จะได้เปรียบเรื่องความน่าเชื่อถือ, มีทีมขายหรือการจัดจำหน่ายที่ดีกว่า, มีสินค้าหลากหลายและอาจจะมีความสัมพันธ์ในการขายกับลูกค้าองค์กร  โดยรวมก็จะทำให้ได้เปรียบบ้าง
  • Credit rating สูงไว้ก่อน  ถ้าให้ดีดูตรงที่เค้าแจกแจงว่าลงทุนในอะไรบ้าง  ส่วนใหญ่ก็จะเป็นตราสารหนี้แหละ  แต่บางทีถ้าเจอว่าลงทุนในตราสารหนี้แบบ High Yield Bond ก็จะน่ากลัวหน่อย

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

งบการเงินแต่ละประเทศต่างกันเยอะมั้ย ? หลักการบันทึกเหมือนของไทยหรือเปล่า ?

How different are accounting rules in different countries?

งบการเงินแต่ละประเทศต่างกันเยอะมั้ย ? หลักการบันทึกเหมือนของไทยหรือเปล่า ?

มีคนมีคำถามนี้เพราะกังวลว่าวิธีอ่านงบการเงินมันจะต่างออกไปจากของประเทศไทยหรือเปล่า

เท่าที่ผมเจอมาไม่น่าจะต้องกังวลนะ  คือเห็นแหละว่าแต่ประเทศมันจะมีมาตรฐานการบันทึกบัญชีของตัวเอง  อย่างของไทยก็ TFRS  ฮ่องกงก็มี HKFRS  รัสเซียมี RAS  แต่ทั้งหมดนี่ผมว่ามันเหมือนๆกันนะ  สุดท้ายคือมาตรฐานบัญชีของประเทศต่างๆมันก็อิงไม่ IFRS ก็ US GAAP แหละ  ผมเข้าใจว่าอาจจะมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ต่างกันออกไปมั้ง  แต่ที่ผ่านมาเท่าที่เจอคือไม่ได้มีอะไรที่แบบต่างกันมากจนต้องระวังหรืออะไร  แล้วยิ่งหลังๆมา IFRS กับ US GAAP ก็คล้ายกันมากขึ้นเรื่อยๆ

ดังนั้นสรุปคือผมว่าไม่ต่างนะ  ไม่มีอะไรที่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญครับ  สบายใจได้

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ศึกษาหุ้นมาซักพัก แต่ยังรู้สึกไม่มั่นใจ ทำไงดี ?

Not confident to make decisions

ศึกษาหุ้นมาซักพัก แต่ยังรู้สึกไม่มั่นใจ ทำไงดี ?

#ไม่กล้าลงทุน #กลัวขาดทุน

มีนักเรียนเราที่บอกว่าเข้าใจวิธีการเลือกหุ้น, เข้าใจวิธีการคำนวณมูลค่าพื้นฐานและเรียนรู้ทฤษฎีเรื่องสำคัญต่างๆเกี่ยวกับการลงทุนในหุ้นเรียบร้อยละ  แต่ก็ยังรู้สึกว่าไม่ค่อยมั่นใจในการลงทุนอยู่ดี  กรณีนี้ทำไงดี

อันนี้เป็นปัญหายากเหมือนกัน  แต่ผมก็พอเข้าใจนะ  สำหรับคนเพิ่งเริ่มต้นจะให้มั่นใจสุดๆก็แปลกอยู่  ผมแนะนำว่าทำงี้

  1. เช็คความเข้าใจเราอีกรอบ  เราต้องรู้ว่าเราทำอะไรอยู่เพราะอะไร  สรุปกระบวนการลงทุนเราอีกทีว่าเราจะทำอะไรบ้าง  ทำไมถึงทำแบบนั้น   อธิบายเหตุผลกับตัวเองได้แล้วแน่ๆใช่มั้ย  ถ้ามีตรงไหนหลุดไปก็ไปเช็คหรือทำความเข้าใจเพิ่ม
  2. นึกในใจเสมอว่ายังไงก็ต้องมีพลาด  ความผิดพลาดเป็นเรื่องปกติ  ผลตอบแทนเราจะออกมาดีเพราะโดยรวมเราถูกมากกว่าผิด  ไม่ใช่ว่าต้องไม่มีพลาดเลย  ต่อให้วิธีการลงทุนเราถูกต้องดีแค่ไหนก็ต้องมีพลาดบ้าง  ขนาดนักลงทุนระดับโลกอย่าง Warren Buffett ยังมีลงทุนไปแล้วพลาดขาดทุน  ที่สำคัญมันคือพลาดแล้วเราเรียนรู้อะไรบ้างมากกว่า  ดังนั้นมันดีมากแล้วที่เรากำลังจะได้ตัดสินใจลงทุนด้วยตัวเอง  เวลาพลาดเราจะได้รู้ว่าพลาดตรงไหน  อย่าพลาดแบบลงทุนตามคนอื่น  เพราะถึงเวลาพลาดขึ้นมาเราก็ไม่รู้อะไรเพิ่มเลย
  3. เริ่มศึกษาหุ้นจริงด้วยตัวเอง  เริ่มจากบริษัทที่เราชอบและมั่นใจก่อน  โดยปกติเมื่อเราศึกษามากขึ้นเข้าใจความได้เปรียบเสียเปรียบของธุรกิจที่เราสนใจมากขึ้น  ความมั่นใจมันจะมากขึ้นเอง
  4. ลงทุนทีละน้อย
  5. ในกรณีที่เจอตลาดตกหรือมีความกังวลว่าตลาดอาจจะตก  ย้ำกับตัวเองอีกรอบว่าไม่มีใครรู้อนาคตตลาดจะตกจริงป่าวก็ไม่รู้  และสมมติมันตกจริงขึ้นมาก็สุดยอดเพราะเราลงทุนทีละน้อยใช่มะ  เงินสดที่เหลืออยู่ก็จะมีโอกาสซื้อหุ้นราคาถูกพอดีเลย  สุดยอดมากตลาดตก
  6. อย่าฟังพวกข่าวระยะสั้นและความเห็นที่บอกควรซื้อหรือขายหุ้นอะไรซักอย่าง

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี