อ่าน 56-1 กับ Oppday เพียงพอมั้ย ? การทำ Scuttlebutt จำเป็นหรือเปล่า ?

How necessary is Scuttlebutt ?

อ่าน 56-1 กับ Oppday เพียงพอมั้ย ? การทำ Scuttlebutt จำเป็นหรือเปล่า ?

#Scuttlebutt นี่มันจำเป็นขนาดไหน

มีคนสงสัยว่าการทำ scuttlebutt หาข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นโดยการพยายามถามคนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทไม่ว่าจะเป็นคู่แข่ง, ลูกค้า, พนักงานเหล่านี้มันจำเป็นขนาดไหน  เราตัดสินใจจากการอ่านข้อมูลรายงาน 56-1, ฟัง oppday เอาเฉยๆเพียงพอมั้ย  เพราะการทำ scuttlebutt นี่มันก็ไม่ได้ง่ายและกับบางบริษัทมันก็ไม่รู้จะทำได้ยังไงถ้าเราไม่รู้จักคนที่เกี่ยวข้อง

ในความเห็นส่วนตัวผมคือ scuttlebutt นี่สำคัญมากอยู่ครับ  แต่ไม่ถึงกับจำเป็นว่าถ้าทำไม่ได้คือแปลว่าไม่ควรซื้อหุ้นนั้นเลย  scuttlebutt นี่มันก็เป็นแหล่งข้อมูลแบบนึงนะ  เวลาเรากำลังจะซื้อหุ้นที่เรามีข้อมูลแค่จากการอ่านรายงาน 56-1, oppday กับพวกงบการเงิน  เราก็ต้องรู้ตัวว่าเรามีข้อมูลจำกัดแค่นั้นและการซื้อก็มีความเสี่ยงมากขึ้นจากการขาดข้อมูลบางส่วนไปนะ  ถ้าเรารู้สึกว่ามันเพียงพอให้เราตัดสินใจได้

ผมมองว่า scuttlebutt เป็นแหล่งข้อมูลเพิ่มเติมที่ดีเพราะว่ามันให้ข้อมูลบางอย่างที่หลายครั้งมันไม่มีในรายงานเช่น  พนักงานหรืออดีตพนักงานอาจจะสามารถบอกเราได้ว่าบรรยากาศการทำงานเป็นยังไง  คนได้รับการสนับสนุนให้คิดสร้างสรรค์ลองอะไรใหม่ๆมั้ย  ลูกค้าของบริษัทอาจจะสามารถบอกเราได้ว่าทำไมเค้าซื้อสินค้าของบริษัทนี้เลือกซื้อสินค้าเพราะปัจจัยอะไร  นอกจากบริษัทที่เราสนใจแล้วเค้าชอบสินค้าของคู่แข่งเจ้าไหนอีกเพราะอะไร  มีแนวโน้มจะเปลี่ยนใจไปซื้อของคู่แข่งมั้ย  เพราะว่าอะไร  และจริงๆเรื่องนี้ผมว่าสำคัญมาก  ผมเคยรอดจากการลงทุนผิดในหุ้น BEAUTY ก็จากการถามกลุ่มคนที่น่าจะเป็นลูกค้าและไปเดินดูหน้าร้านเค้า

ดังนั้นสรุปแล้วถ้าถามว่าจำเป็นต้องทำเลยมั้ยก็ไม่ถึงขนาดนั้น  แต่ผมก็ว่าควรต้องทำแหละครับ  ยอมรับว่าบางเคสผมก็ตัดสินใจซื้อโดยที่ไม่ได้ทำ scuttlebutt ก็มีเหมือนกัน  เราแค่ต้องรู้ตัวนะว่าไม่ทำแปลว่าเสี่ยงมากขึ้นอยู่ครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

หุ้นกลุ่มประกันภัย

Insurance industry

หุ้นกลุ่มประกันภัย

#หุ้นประกันภัย #หุ้นประกัน #ธุรกิจประกัน 

ธุรกิจประกันมันจะแบ่งออกเป็นสองอันหลักๆคือประกันชีวิตกับประกันวินาศภัย  ธุรกิจที่ผมมีความเข้าใจมากหน่อยก็จะเป็นธุรกิจประกันภัยเพราะคนที่บ้านอยู่ในธุรกิจนี้

ธุรกิจนี้เค้าทำเงินจากอะไร

ไอเดียหลักๆคือบริษัทรับประกันภัยสัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายในกรณีที่เกิดภัย (เงินที่จ่ายชดใช้ค่าเสียหายนี่เรียกว่าสินไหมทดแทน) ให้คนแลกกับการที่คนจ่ายเงินให้บริษัทประกันภัย (เงินนี่เรียกว่าเบี้ยประกันภัย)  บริษัทประกันภัยคาดหวังว่าการที่รวมความเสี่ยงของคนจำนวนมากไว้ด้วยกันมันจะเป็นการกระจายความเสี่ยงของบริษัทประกัน  เพราะทุกคนที่ซื้อประกันก็ไม่ใช่ว่าจะเกิดภัยหมด  บางคนก็จะไม่เกิดภัยและบริษัทประกันก็จะไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหาย  ส่วนบางคนก็จะเกิดภัยและบริษัทต้องจ่ายชดใช้ค่าเสียหาย  ตราบใดที่โดยรวมแล้วเบี้ยประกันทั้งหมดที่เก็บมาจากทุกคนรวมกันมันใหญ่กว่าค่าสินไหมทั้งหมดที่ต้องจ่ายบริษัทประกันก็จะมีกำไร  ส่วนมองจากมุมของลูกค้าก็ได้ประโยชน์ด้วยเพราะมันทำให้ชีวิตมั่นคงมากขึ้น  จริงอยู่บางคนซื้อไปสุดท้ายไม่เกิดภัยอาจจะไม่ได้ใช้  แต่จริงๆแล้วคือไม่มีใครรู้ว่าชีวิตจะเกิดภัยหรือเปล่าและไม่มีใครอยากให้เกิด  การมีประกันภัยอยู่มันทำให้ชีวิตปลอดภัยมากขึ้นคาดเดาได้มากขึ้น

ความได้เปรียบอีกอย่างหนึ่งของธุรกิจนี้คือเบี้ยประกันภัยมันจะเก็บมาก่อนที่จะต้องจ่ายค่าสินไหม  ดังนั้นบริษัทก็จะมีเงินจำนวนหนึ่งอยู่ในมือที่สามารถเอาไปลงทุนได้  เงินนี่เค้าจะเรียกว่า float

โดยรวมแล้วบริษัทประกันภัยจะมีกำไรมั้ยมากหรือน้อยก็จะขึ้นอยู่กับว่ารับประกันแล้วต้องจ่ายค่าสินไหมขนาดไหน  มีเหลือพอคุ้มค่าใช้จ่ายอื่นๆหรือเปล่า  และระหว่างนั้นสามารถเอา float ไปลงทุนได้ดีหรือเปล่า

ธรรมชาติธุรกิจนี้

โดยคอนเซปต์มันฟังดูดีนะ  ธุรกิจนี้ก็เพียงแค่ต้องดูในอดีตว่าโดยเฉลี่ยแล้วความเสียหายต่อคนหรือต่อคันหรือต่ออาคารคือเท่าไหร่  แล้วก็แค่ตั้งราคาให้มันสูงพอคุ้มค่าสินไหมบวกค่าใช้จ่ายต่างๆแค่นี้ก็กำไรละนี่  แล้วยังมีกำไรจากการเอา float ไปลงทุนอีก  ธุรกิจก็ดูไม่ต้องลงทุนเครื่องจักรไม่ต้องผลิตอะไรเยอะแยะ  แค่พิมพ์กระดาษกรมธรรม์ออกมาแค่นั้นเอง  ดูเหมือนมีแต่ได้นะ

แต่เอาจริงๆคือมันเป็นธุรกิจยาก  เพราะจำนวนคู่แข่งมีเยอะ  ขายสินค้าเหมือนๆกัน  คนซื้อตัดสินใจก็มาจากราคาเบี้ยประกันเป็นหลัก  ดังนั้นโดยส่วนใหญ่ก็จะแข่งกันด้วยราคา  แล้วถ้าเกิดมีไอบ้าเจ้าไหนทำราคาต่ำจนเว่อร์อาจจะเพราะต้องการแย่งส่วนแบ่งตลาดเลยยอมขาดทุน  เจ้าอื่นก็ต้องตามไม่งั้นก็ต้องยอมไม่ขาย  ใครคิดอะไรใหม่ออกมาดูเข้าท่าคนอื่นก็สามารถลอกสัญญาทำสินค้าแบบเดียวกันออกมาได้แทบในทันที

นอกเหนือจากนั้นแล้วธุรกิจประกันภัยก็มักจะถูกควบคุมหรือมีกฎใหม่ๆที่มีผลกระทบออกมาโดยหน่วยงานที่กำกับดูแล  เช่นอย่างคปภ.ของไทยบางทีก็สั่งให้เพิ่มความคุ้มครองโดยไม่เพิ่มเบี้ย  เป็นการสร้างผลงานเอื้อประโยชน์ให้ประชาชน  ซึ่งก็เข้าใจได้แต่มันก็จะเป็นความซวยของบริษัทประกัน

วิธีสังเกตว่าบริษัทไหนดี

ธุรกิจนี้จะหาแบบดีกว่าคนอื่นมาๆก็จะยากนิดเพราะอย่างที่บอกว่าสินค้ามันเหมือนๆกัน  แต่ก็ไม่ใช่เป็นไปไม่ได้  โดยรวมมันต้องพึ่งพาผู้บริหารที่มีสติแหละ  เท่าที่ผมเคยเห็นบริษัทประกันภัยที่จะได้เปรียบก็มีเช่น

  1. บริษัทที่เลือกภัยได้ดีกว่าคนอื่น และพร้อมที่จะไม่รับถ้ามองว่ารับไปไม่กำไร  โดยปกติพวกนี้ก็ต้องมีความสามารถในการเลือกลูกค้าที่ดีกว่า  ถ้าทำได้ Loss ratio ก็จะต่ำกว่าคนอื่น  จุดสังเกตก็จะเป็นตัว Loss ratio นี่แหละ  ถ้าดูว่ารับประกันประเภทเดียวกันกับคู่แข่งแต่ Loss ratio ต่ำกว่าต่อเนื่อง  อันนี้เป็นสัญญาณที่ดีละ  และโดยปกติพวกนี้จะไม่ agressive พยายามจะโตพรวดพราดหรือแข่งราคาเพื่อแย่งตลาด
  2. บริษัทที่ทำประกันภัยแบบ niche จัด  บางบริษัทเค้ารับประกันภัยประเภทที่มีคนสนใจซื้อน้อยตลาดแคบ  ข้อดีคือคู่แข่งที่จะเข้ามาก็จะน้อยเพราะประกันมันเป็นประเภทที่ไม่ได้ขายได้เยอะ  มันก็เลยทำให้พวกที่ทำ niche นี่ตั้งราคาได้มากกว่า  และที่สำคัญคือถ้าบริษัทนี้เค้ารับประกัน niche มานาน  เค้าจะเริ่มรู้และมีข้อมูลว่าจะเลือกภัยยังไง  ความเสียหายจะประมาณเท่าไหร่  ก็จะทำให้ทำได้ดีกว่าคนอื่นเข้าไปอีก  ประกันแปลกๆที่ผมเคยเห็นก็เช่นรับประกันค่ายลูกเสือ, เรือยอร์ช, งานแต่งงาน, คนสอนขี่ม้า, โรงเรียนสอนดำน้ำ ฯลฯ
  3. มี captive market  คือมีช่องทางเอาลูกค้ามาจากไหนซักอย่างที่ได้เปรียบคนอื่น  เช่นบริษัทประกันญี่ปุ่นในไทย Sompo, Tokio Marine, Mitsui Sumitomo พวกนี้ได้ลูกค้าญี่ปุ่นส่วนใหญ่  ยังไงมันก็จะทำประกันกับสามเจ้านี่  ไม่ว่าจะมีเสนอราคาถูกกว่าแค่ไหนก็ตาม  หรือมีช่องทางธนาคารอย่างกรุงเทพประกันภัยก็จะได้งานจากลูกค้าธนาคารที่กู้เงินจากธนาคารกรุงเทพ  แบบนี้ก็จะทำให้ธุรกิจได้เปรียบไประดับหนึ่งละ
  4. มีผลการดำเนินงานเข้มแข็งเงินสำรองเยอะ  สำคัญโดยเฉพาะกับพวกที่รับประกันทรัพย์สิน  บางบริษัทผู้บริหารเค้าเข้าใจธุรกิจรู้ว่าบางทีมันก็จะมีภัยใหญ่โตเกิดขึ้นได้  กรุงเทพประกันภัยนี่เป็นตัวอย่างบริษัทที่เข้าใจธุรกิจและมีเงินสำรองเยอะขนาดว่าปี 2554 น้ำท่วมใหญ่เค้ามีเงินจ่ายสินไหมได้  ในขณะที่เจ้าอื่นอาจจะต้องรอ reinsurer หรือบางบริษัทต้องระดมทุนเพิ่ม

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

เวลาคำนวณ DCF ตอนคิด Terminal Value ถ้าสมมุติอัตราการเติบโตมากกว่าอัตราคิดลด จะเกิดอะไรขึ้น ?

In DCF, what happened if growth is higher than the discount rate ?

เวลาคำนวณ DCF ตอนคิด Terminal Value ถ้าสมมุติอัตราการเติบโตมากกว่าอัตราคิดลด จะเกิดอะไรขึ้น ?

#DCF #ถ้าการเติบโตมากกว่าอัตราคิดลดจะเกิดอะไรขึ้น

มีคนถามเกี่ยวกับการคำนวณ DCF  เค้าสงสัยตรงส่วนที่เราคำนวณ PV ของ terminal value ที่สมมติว่าบริษัทโตไปเรื่อยๆเป็น perpetuity  สูตรมันจะเป็น CF1/(r-g)  ปกติ r>g ก็ไม่มีปัญหาอะไร  แต่ถ้า r<g จะเกิดอะไรขึ้น  มูลค่าบริษัทมันจะเป็นตัวเลขติดลบเหรอ

คำตอบคือมูลค่าของบริษัทจะเป็น infinity ครับ  ไม่ใช่เลขติดลบ  ลองนึกภาพตามง่ายๆจากสมการที่เราใช้คำนวณ PV

PV ก็คือการแก้สมการนี่หาค่า X ถูกมะ  C คือ กระแสเงินสด  g คืออัตราการเติบโต  ส่วน r คือ discount rate  แต่ละเลขที่บวกกันอยู่นั่นคือคิดลดกระแสเงินสดปีที่ 1, 2, … ไปเรื่อยๆถึง infinity  รวมกันก็จะเป็นมูลค่าในวันนี้ของกระแสเงินสดทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตถูกมะ

ถ้าสมมติ g > r นะ  ก็แปลว่าตัวเลขคิดลดของปีที่ 2 ก็ใหญ่กว่าปีที่ 1  ปีที่ 3 ก็ใหญ่กว่า 2  แบบนี้ไปเรื่อยถูกมะ  ถ้าเลขใหญ่ขึ้นเรื่อยๆไปถึง infinity บวกรวมกันมันก็จะได้เลขใหญ่เป็น infinity ไง  เห็นภาพมั้ยครับ

แต่ถ้า g < r  ตัวเลขคดลดของปีที่ 2 ก็จะเล็กกว่าปีที่ 1  ปีที่ 3 ก็จะเล็กกว่าปีที่ 2  และเล็กลงเรื่อยๆจนเข้าใกล้ 0 ใช่มะ  แปลว่าสุดท้ายมันบวกกันได้ไง  เพราะมันจะเข้าใกล้เลขอะไรซักเลขนึงซึ่งคำนวณได้

ทีนี้ตอบเพิ่มเติมอีกนิด  ต่อจากตรงนี้ผมคุย math มากขึ้นไปอีก  ถ้าใครไม่ใช่สายเลขก็ไม่ต้องดูต่อก็ได้นะ  คุณน่าจะเคยเห็นสูตร perpetuity ที่เป็น C0(1+g)/(r-g)  ที่มาของมันมาจากการแก้อนุกรมครับ

อันนี้คือสมการเดียวกันแต่สมมติว่าคิดลดไปถึงปี n ก่อน  เก็บสมการอันนี้เป็นสมการที่ 1

สมการที่ 2  เราทำการคูณ (1+r) หาร (1+g) กับทั้งสองฝั่งของสมการที่ 1

แล้วเราก็เอาสมการ 2 ลบด้วยสมการ 1  จัดรูปมันก็จะเป็นแบบนี้

เราจะเห็นว่า  สมมติจำนวนปีที่เราพิจารณา n มันเข้าใกล้ infinity  ถ้า r>g ตัว (C0(1+g)^n)/(1+r)^n ก็จะเข้าใกล้ 0  และค่า X ก็จะเท่ากับ C0(1+g)/(r-g)  อันนี้คือที่มาของสมการที่หา PV ของ perpetuity ครับ  และจะเห็นว่าข้อกำหนดมันคือ r ต้องมากกว่า g นะ  ถ้า r<g สิ่งที่เกิดขึ้นคือ X ก็จะกลายเป็น infinity เนี่ยครับ  ส่วนถ้า r=g พอดีมันก็จะ error ละ not defined เพราะสมการมันจะหารด้วยศูนย์ 

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

หุ้นเติบโตเร็ว แต่ P/E สูงมาก น่าลงทุนมั้ย ?

Why I'm wary of companies with very high P/E

หุ้นเติบโตเร็ว แต่ P/E สูงมาก น่าลงทุนมั้ย ?

#หุ้นP/Eสูง

โดยรวมผมอาจจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับ P/E เท่าไหร่เวลาตัดสินใจลงทุน  คือ ไม่ได้ซีเรียสว่า P/E ต้องต่ำกว่า 10 ถึงซื้อหรือ P/E เกิน 20 คือซื้อไม่ได้หรืออะไร  แต่ถึงอย่างนั้นก็ตามผมก็จะระวังหุ้นที่ P/E สูงมากเป็นพิเศษ  อย่างถ้า P/E เกิน 40 เท่าขึ้นไปนี่ผมก็เริ่มรู้สึกระแวงละ  ส่วนนึงคือหุ้นที่คนนิยมมากก็มักจะเป็นหุ้นราคาแพงเกินอยู่ตั้งแต่แรก  บวกกับความนิยมของคนมันเปลี่ยนได้

โดยตัวมันเอง P/E สูงมากไม่ได้แปลว่าไม่ดีหรือธุรกิจมันมีปัญหาหรืออะไรนะ  #P/E สูงมากแปลว่าคนนิยมหุ้นนี้มากเท่านั้นเอง  หรือพูดอีกแบบนึงคือคนมีมุมมองที่ดีต่อบริษัทและมีความเชื่อมั่นมากก็เลยยินดีซื้อที่ราคาหลายเท่าของกำไร  ซึ่งกรณีส่วนใหญ่ที่มันเป็นแบบนั้นได้ก็คือบริษัทมันเป็นบริษัทที่ดูมีอนาคตจริง  ที่ผ่านมาอาจจะโตอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มจะยังโตได้ต่อไป

ปัญหาคือความนิยมของคนนี่มันเปลี่ยนได้  เมื่อเวลาผ่านไปคนก็อาจจะเปลี่ยนทัศนคติกับบริษัทก็เป็นไปได้  เช่นสมมติมีบริษัท A ตอนนี้กำไรต่อหุ้นคือ 1 บาท  ด้วยความเชื่อว่าบริษัทจะสามารถทำกำไรโตได้เป็น 2 เท่าในเวลาไม่กี่ปีหุ้น A ก็เลยขายอยู่ที่ P/E 100 เท่าซึ่งแปลว่าตอนนี้ราคาหุ้นคือ 100 บาท  ทีนี้สมมติบริษัทโตเร็วจริงผ่านไปไม่กี่ปีกำไรโตเป็น 2 บาทต่อหุ้นละ  แต่ถึงตอนนั้นระดับความนิยมของคนอาจจะไม่ใช่ P/E 100 เท่าละเพราะคนอาจจะมองว่าเออมันโตมาเยอะละนะอนาคตต่อจากนี้ไปก็ไม่น่าจะโตได้เร็วเท่าเดิมละนะ  สมมติ P/E มันเหลือ 60 เท่าละกัน  ก็แปลว่าราคาหุ้นมันก็จะเป็น 120 บาท  เทียบกับตอนแรกที่เราซื้อมา 100 บาทก็คิดเป็นกำไรแค่ 20% เท่านั้นเอง  ทั้งที่บริษัทจริงๆกำไรเติบโตเท่าตัวแน่ะ

ดังนั้นโดยรวมผมก็เลยไม่นิยมหุ้น P/E สูงมากครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

วิเคราะห์งบการเงิน Evergrande – เราจะเห็นปัญหาได้ก่อนมันจะเป็นข่าวมั้ย ?

Analyzing Evergrande Financial Statement - Could we spot the issue before it became known ?

วิเคราะห์งบการเงิน Evergrande – เราจะเห็นปัญหาได้ก่อนมันจะเป็นข่าวมั้ย ?

#อ่านงบการเงิน #วิเคราะห์งบการเงิน Evergrande

ก็เป็นคำถามที่ดี  คือเนื่องจากตอนนี้เรารู้แล้วว่ามันมีปัญหาแน่  ดังนั้นถ้าเราเปิดไปดูงบการเงินย้อนหลังเราก็คงมีความลำเอียงว่ามันดูมีปัญหาแหละ  แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ลองเปิดดูนะ

ปัญหามันดังขึ้นมากลางปีนี้ 2021 ถูกมะ  ดังนั้นเราก็จะเห็นงบสิ้นปี 2020 และงบการเงินใดๆที่มาก่อนหน้านั้น

สิ่งที่เราจะสังเกตได้จากการอ่านงบการเงินคือ

  • ยอดขาย  ดูหยุดโตไปตั้งแต่ปี 2019 นะ  ซึ่งในเวลานั้นไม่เกี่ยวกับโควิดแน่ๆ  จริงๆเราคงไม่ได้คาดหวังว่ามันจะโตเร็วแบบปีก่อนหน้าไปเรื่อยๆ  แต่การเติบโตมันดูเปลี่ยนแปลงเยอะอยู่  จากปี 2017 มา 2018 นี่รายได้เติบโต 49.89% นะ  ในขณะที่จาก 2018 มา 2019 นี่ 2.44% เอง  อันนี้ก็ผิดสังเกตนะ
  • ต้นทุนตรง  ดูเพิ่มขึ้นเยอะกว่ารายได้  อย่างปี 2019 ที่รายได้โตช้า 2.44%  ต้นทุนตรงโต 15.94%  เอาจนกำไรขั้นตั้นลดลงด้วยซ้ำ  ส่วนปี 2020 นี่แย่ลงไปอีก  
  • SG&A  เพิ่มขึ้นทุกปีนะ  และก็เช่นกันกับต้นทุนตรงคือในปีที่รายได้โตช้า  ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารก็ยังเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนที่เยอะกว่าอยู่  รวมถึงปีโควิดด้วย
  • กำไรจากการดำเนินงานตกลงเยอะตั้งแต่ปี 2019 ละ
  • เมื่อไปอ่านตัวรายงานปัญหาดูจะเป็นเรื่องขายไม่ได้  เค้าก็พูดชัดเจนอยู่ว่าปัญหาของยอดขายไม่โตและอัตราส่วนกำไรขั้นต้นที่ต่ำลงคือสินค้าขายไม่ออก  ต้องมีการลดราคาเพื่อพยายามขายให้ออก
  • Finance cost ปี 2020 มันดูลดลงเยอะมาก  แต่เมื่อไปดูหมายเหตุก็จะเจอว่าจริงๆค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยมันเพิ่มขึ้นแหละ  มันเหมือนจะลดลงแค่เพราะมัน capitalised ไปกับว่ามีโชคดีจากอัตราแลกเปลี่ยน
  • กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน  ดูน่ากลัวอยู่  ทั้งที่เหมือนจะกำไรทุกปีแต่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานติดลบบางปี  จาก 6 ปีที่เราดูอยู่มีบวกแค่ 2 ปีคือ 2018 กับ 2020  เท่าที่ดูคือเงินมันไปอยู่ใน properties under development กับที่ held for sale
  • ทรัพย์สินส่วนใหญ่ของบริษัทคืออยู่ในรูป properties under development กับที่ held for sale  เพิ่มขึ้นทุกปี
  • ธุรกิจอื่นๆของบริษัทที่ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ขาดทุน
  • Cost of borrowing ดูสูงขึ้น  โดยเฉพาะดอกเบี้ยธนาคารที่เป็นแหล่งเงินกู้หลัก  ทั้งที่อย่างปี 2020 เรารู้ว่าธนาคารกลางของจีนลดอัตราดอกเบี้ยนี่  อันนี้จริงๆบ่งชี้ว่าธนาคารจีนเค้าก็เห็นว่าบริษัทมีความเสี่ยงเยอะขึ้น

สรุปคือ  มันก็พอเห็นปัญหาได้อยู่นะ  ส่วนตัวแล้วเรื่องขายไม่ออกนี่เป็นประเด็นสำหรับผมมากสุด  ซึ่งเราเห็นแววมาตั้งแต่ 2019 ละ  ทั้งยอดขายไม่โตและบริษัทก็บอกเองว่าต้องลดราคาทำ clearance sale  ไม่เกี่ยวกับโควิดแน่เพราะปีนั้นยังไม่โควิดด้วย  กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานติดลบหลายปีนี่คือเงินมันไปกองอยู่ในอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังสร้างหรือสร้างแล้วยังขายไม่ได้  ซึ่งตราบใดที่มันขายได้ดีต่อไปเรื่อยก็คงไม่เป็นไร  แต่เราเห็นไงว่าทรงมันจะขายไม่ได้มันเตือนมาก่อนละ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

งบการเงินของ REIT กับหุ้นต่างกันมั้ย ? ต้องดูอะไรเป็นพิเศษรึเปล่า ?

Is financial statement of REIT different from normal company ?

งบการเงินของ REIT กับหุ้นต่างกันมั้ย ? ต้องดูอะไรเป็นพิเศษรึเปล่า ?

เร็วๆนี้มีคนถามมาทาง fb บอกว่างบการเงิน REIT หน้าตาไม่เหมือนหุ้น  แล้วก็สงสัยว่างบ REIT ควรดูยังไง  วีดิโอนี้เราตอบเรื่องนี้ครับ

ก่อนอื่นตอบอย่างแรกก่อนเลย  ที่บอกงบการเงิน REIT หน้าตาไม่เหมือนงบการเงินหุ้นนั่นไม่จริงครับ  คนถามน่าจะเข้าใจอะไรผิดซักอย่าง  หน้าตามันเหมือนกันมากและรายการที่อยู่บนนั้นความหมายก็เหมือนกันในสาระสำคัญทั้งหมดเลย  ซึ่งเดี๋ยวผมเปิดให้ดู

และดังนั้นสำหรับคำถามต่อมาที่ถามว่างบการเงิน REIT นี่เราควรดูอะไรยังไง  ในเมื่อมันก็เหมือนงบการเงินของหุ้นเราก็ดูเหมือนๆกันน่ะครับ  หลักๆแล้วคือเราอยากรู้ว่าตัวตึกที่ REIT เป็นเจ้าของนี่มันเป็นที่ต้องการมั้ย  รายได้ค่าเช่าเพิ่มขึ้นมั้ย, เก็บเงินได้มั้ย, ฯลฯ  เรื่องตัวกำไรขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าทรัพย์สินที่ประเมินใหม่  อันนี้โดยตัวมันเองถ้าไม่ใช่ว่าเปลี่ยนแปลงรุนแรงโดยปกติก็ไม่ได้ซีเรียสนะ  มันไม่ได้มีผลกระทบอะไรโดยตรงกับผลการดำเนินงานของ REIT  เพียงแต่บางทีเราอาจจะต้องสงสัยถ้าเห็นมันลดค่าลงอย่างต่อเนื่องทุกปี  เราต้องเริ่มคิดว่าอะไรทำให้คนประเมินมูลค่าปรับการประเมินเยอะขนาดนั้น  ทำเลแย่ลงเหรอ  อนาคตความต้องการน่าจะน้อยลงเหรอ  หรือมีคู่แข่งโผล่มาในพื้นที่แถวนั้นเยอะขึ้นเหรอ

สรุปคือ  งบการเงินก็เหมือนหุ้น  เรื่องที่ดูบนงบการเงินก็เหมือนๆกัน  และที่สำคัญเรื่องที่ไม่ได้อยู่บนงบการเงินก็ต้องดูเหมือนๆกัน  อย่างเช่นคำถามว่าสรุปบริษัทมันทำอะไรกันแน่, ทำไมที่ผ่านมาทำได้ดี  และมันจะยังทำได้ดีต่อไปในอนาคตมั้ยเป็นต้น

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

ทำไมหุ้นบางตัวถึงถูกระงับการซื้อขาย ?

Why is there "halt trading" ?

ทำไมหุ้นบางตัวถึงถูกระงับการซื้อขาย ?

ก็เป็นคำถามที่ดีนะ  ในหลักการก็คือเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของนักลงทุนแบบเรานี่แหละ  แต่ในรายละเอียดผมก็ไม่รู้เหมือนกันเลยไปเปิดเวป SET มาตอบให้ครับ

เท่าที่อ่านดู  การที่ตลาดหลักทรัพย์สั่งให้หยุดซื้อขายหุ้นมันก็จะมีเหตุผลสรุปคร่าวๆดังนี้

  1. กรณีที่มีข้อมูลหรือข่าวสารสำคัญเกิดขึ้น  หรือจะแค่สงสัยก็แล้วแต่  หยุดเพื่อให้เวลาคนรับทราบข้อมูลหรือบริษัทแจ้งข่าวสาร
  2. บริษัทฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหรือข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์  ให้ข้อมูลเป็นเท็จ, ไม่นำส่งงบการเงิน, งบการเงินมีปัญหาผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็น, ฯลฯ 
  3. การดำเนินงานมีปัญหา  เช่นบริษัทเลิกกิจการ, ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์, มีการขายทรัพย์สินออกไปเกือบหมด, ขาดทุนสะสมจนส่วนของผู้ถือหุ้นต่ำกว่าศูนย์, ฯลฯ
  4. ดำเนินการใดๆที่ทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงกับผู้ถือหุ้น

 

แนะนำให้ไปอ่านเพิ่มเติมเองที่

https://www.set.or.th/th/regulations/simplified_regulations/files/20191230_PossibleDelist_Grounds.pdf

https://www.set.or.th/th/products/trading/equity/tradingsystem_p9.html

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

วิธีคำนวณมูลค่า REIT วิธีไหนดีสุด ?

Best Way to Evaluate REIT Value

วิธีคำนวณมูลค่า REIT วิธีไหนดีสุด ?

ที่นิยมกันก็จะมีใช้ NAV กับ Discounted Dividend

Net asset value เป็นอะไรที่ REIT ต้องรายงานอยู่แล้ว  หลักการคือเอามูลค่าของทรัพย์สินทั้งหมดหักด้วยหนี้สินทั้งหมดก็ออกมาเป็นมูลค่าของ REIT ละ  และข้อดีคือ REIT นี่เค้าต้องทำการประเมินมูลค่าทรัพย์สินโดยบุคคลที่สามตลอดทุกปี  ดังนั้นตัวเลขมูลค่าทรัพย์สินมันก็จะค่อนข้างเป็นปัจจุบันไม่ใช่บันทึกตามราคาณ ตอนที่ซื้อแบบบริษัทปกติ

ส่วน Discount dividend หลักการก็แบบเดียวกับหุ้นนะ  คือคิดลดกระแสเงินสดที่เราคาดว่าจะได้จาก REIT ในอนาคตทั้งหมดมาเป็นมูลค่าวันนี้

ส่วนตัวผมว่าใช้ Discounted Dividend เลยครับ  ตรงประเด็นสุด  REIT นี่ตามกฎเค้าโดนบังคับให้ต้องจ่ายกำไรเกือบทั้งหมดออกมาเป็นปันผลอยู่แล้วด้วย  ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นต้องคิดถึง free cash flow อะไรให้ยุ่งยาก

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

หาข้อมูล ETF ต่างประเทศยังไง ?

How to find information for foreign ETFs ?

หาข้อมูล ETF ต่างประเทศยังไง ?

มีคนถามประมาณนี้  ผมไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่พยายามจะหานี่คืออะไร  แต่ทั้งนี้ผมว่าเรื่องกองทุนมันไม่ได้มีอะไรมากก็เลยทำวีดิโอตอบแบบครอบคลุมละกัน

ไอเดียของการเลือกกองทุนรวมหรือ ETF จะในไทยหรือต่างประเทศผมว่ามันเหมือนกัน  และหัวข้อนี้เราเคยทำวีดิโอตอบไปแล้ว  ผมทิ้งลิ้งค์ไว้ให้ https://youtu.be/yRDYYol68vI

ทีนี้เรื่องการหาข้อมูล  สมมติเราเริ่มจากเราต้องการจะรู้ว่า ETF มีอะไรบ้าง  มันก็ทำได้โดย Google ตรงๆเลยครับ  หาคำประมาณว่า list of ETF in …(ประเทศที่เราต้องการ)…  หรือไม่อย่างนั้นผมก็แนะนำให้ใช้เครื่องมือเปรียบเทียบกองทุนของ Morningstar  เค้ามีแยกหมวด ETF ออกมาอยู่

แล้วต่อมา  สมมติเรามีกองทุน ETF ที่เราสนใจละ 2-3 ชื่อ  เราต้องการหาข้อมูลเพิ่มนอกเหนือจากที่เจอบนเวปของ Morningstar  สิ่งที่เราทำได้มากสุดก็คือไปที่เวปของผู้บริหารกองทุนนั้นๆเลยครับ  แล้วก็ไปอ่าน prospectus หรือพวกเอกสารที่สรุปสาระสำคัญต่างๆของกองทุน  นโยบายการลงทุน, ค่าธรรมเนียม, ผลตอบแทนย้อนหลัง, ผู้บริหารกองทุนเป็นใคร, ฯลฯ

จบละ  มันทำได้มากสุดแค่นี้แหละครับ

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี

Share Class มันคืออะไร ? ทำไมหุ้นบางบริษัทมีหลาย Class ?

What are Share Classes ? Why do some companies have multiple share classes ?

Share Class มันคืออะไร ? ทำไมหุ้นบางบริษัทมีหลาย Class ?

มีคนเห็นว่าหุ้น Alphabet มี Class A กับ Class C  เค้าถามว่ามันต่างกันยังไง

ต่างกันยังไงสมมติเราดูแค่ชื่อนี่คือไม่มีทางรู้ได้ครับ  มันไม่ได้มีหลักสากลอะไร  ต้องเปิดไปดูเวปของบริษัทปกติเค้าจะอธิบายไว้อยู่

เช่นอย่างกรณี Alphabet นี่  มันต่างกันตรงสิทธิในการออกเสียง

  • Class A คือ 1 หุ้น 1 โหวต
  • Class B คือ 1 หุ้น 10 โหวต
  • Class C คือ 1 หุ้น 0 โหวต

ส่วนกรณี Berkshire Hathaway มันต่างกันทั้งสัดส่วนความเป็นเจ้าของและสิทธิในการออกเสียง

  • Class A คือ 1 หุ้น 1 ส่วนความเป็นเจ้าของ 1 โหวต
  • Class B คือ 1 หุ้น 1/1500 ส่วนความเป็นเจ้าของ 1/10000 โหวต

อย่างที่เห็นคือมันแบ่งได้หลากหลายมาก  ดังนั้นเราต้องเช็คด้วยตัวเองเสมอว่ามันต่างกันยังไง  กรณีส่วนใหญ่การแบ่ง Class หุ้นเค้าทำไปเพราะเจ้าของเดิมอยากรักษาความสามารถในการควบคุมบริษัทเอาไว้  กำไรแบ่งกันไม่เป็นไร  ก็เลยเป็นที่มาว่างั้นเอางี้ละกัน  แทนที่จะมีหุ้นแบบเดียวที่มีสิทธิออกเสียงเท่ากัน  เปลี่ยนเป็นออกหุ้นให้มันมีมากกว่าแบบเดียว  อันนึงมีสิทธิในการออกเสียงควบคุมบริษัทมากกว่าส่วนอีกอันน้อยกวา

 

ฟังแล้วเป็นยังไงบ้าง Comment ได้เลยนะครับ

หากชอบเนื้อหา อย่าลืมกด Like & Share และ Follow เราในช่องทางต่างๆ ได้ตามนี้ 🙂

ติดตามพวกเราได้บน Facebook https://www.facebook.com/smartstockinvestment/

หรือทาง YouTube https://www.youtube.com/channel/UCXXwuZIQdWiS1OIzy0uP1fg

ตอนนี้เรามีคอร์ส Workshop ออนไลน์แล้วด้วยนะ
https://www.adisonc.com/

หรือ ทดลองเรียนฟรี